คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 263 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็ค – ตัวการร่วม, ผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ผู้กระทำความผิดแต่เพียงผู้เดียว
คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้นมิได้มีความหมายเฉพาะผู้ออกเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำความผิดได้ บุคคลอื่นแม้มิใช่ผู้สั่งจ่ายก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดยเป็นตัวการร่วมกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ได้ การที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คมอบให้จำเลยที่ 3 เพื่อนำไปแลกเงินสดต่อมาจำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาท และร่วมกับจำเลยที่ 2 นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 ทำหนังสือยอมรับใช้หนี้ตามเช็คให้โจทก์ไว้ เมื่อเช็คพิพาทถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 3ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นตัวการออกเช็คร่วมกันอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมออกเช็ค: ผู้ไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายก็มีความผิดได้
คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้นมิได้มีความหมายเฉพาะผู้ออกเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำความผิดได้ บุคคลอื่นแม้มิใช่ผู้สั่งจ่ายก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดยเป็นตัวการร่วมกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ได้
การที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คมอบให้จำเลยที่ 3 เพื่อนำไปแลกเงินสดต่อมาจำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาท และร่วมกับจำเลยที่ 2 นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 ทำหนังสือยอมรับใช้หนี้ตามเช็คให้โจทก์ไว้ เมื่อเช็คพิพาทถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 3ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นตัวการออกเช็คร่วมกันอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนการแก้ฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์ก่อนมีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นจนกว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ และมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ไม่อุทธรณ์ได้จนกว่ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นจนกว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ และมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยทนายจำเลยมีอำนาจ ทำให้สิทธิฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ
โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลงกันได้และต่างแถลงร่วมกันว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้วส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลงกันโดยจำเลยจะออกเช็คเงินสดให้โจทก์ไว้ โจทก์รับว่าเมื่อได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แล้ว โจทก์จะคืนเช็คอีก2 ฉบับที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลย และโจทก์จะถอนฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว ทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสองและมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์แล้ว จึงมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอม ย่อมผูกพันโจทก์ สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลงกันได้และต่างแถลงร่วมกันว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้ว ส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลงกันโดยจำเลยจะออกเช็คเงินสดให้โจทก์ไว้ โจทก์รับว่าเมื่อได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แล้ว โจทก์จะคืนเช็คอีก2 ฉบับที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลย และโจทก์จะถอนฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว ทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสองและมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์แล้ว จึงมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีอาญาทำให้สิทธิฟ้องระงับ การถอนคำร้องขอถอนฟ้องเป็นไปไม่ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวในชั้นฎีกาตามคำร้องขอถอนฟ้องระบุว่าจำเลยทั้งสองได้นำเงิน 40,000 บาทมาชำระให้แก่โจทก์พร้อมใบคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ โดยสัญญาว่าจะทำการโอนทะเบียนกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์แก่โจทก์ภายใน 10 วันหากไม่สามารถโอนได้ จะยอมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ 20,000 บาทโจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป จึงขอถอนฟ้อง และท้ายคำร้องจำเลยก็ได้ร่วมลงลายมือชื่อด้วย ดังนี้ ตามคำร้องขอถอนฟ้องดังกล่าวเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตั้งแต่มีการยอมความกันตามป.วิ.อ. มาตรา 35 (2) โจทก์จึงไม่อาจมายื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอถอนฟ้องในภายหลังอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีอาญาทำให้สิทธิฟ้องระงับ การถอนคำร้องขอถอนฟ้องเป็นไปไม่ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวในชั้นฎีกาตามคำร้องขอถอนฟ้องระบุว่าจำเลยทั้งสองได้นำเงิน 40,000 บาทมาชำระให้แก่โจทก์พร้อมใบคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ โดยสัญญาว่าจะทำการโอนทะเบียนกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์แก่โจทก์ภายใน 10 วันหากไม่สามารถโอนได้ จะยอมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ 20,000 บาทโจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป จึงขอถอนฟ้อง และท้ายคำร้องจำเลยก็ได้ร่วมลงลายมือชื่อด้วย ดังนี้ ตามคำร้องขอถอนฟ้องดังกล่าวเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตั้งแต่มีการยอมความกันตามป.วิ.อ. มาตรา 35(2) โจทก์จึงไม่อาจมายื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอถอนฟ้องในภายหลังอีกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การร้องทุกข์โดยไม่ชอบทำให้การฟ้องเป็นโมฆะ
โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค แต่ พ. ไม่ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 กลับไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นการร้องทุกข์ที่ไม่ชอบ เพราะ พ. ไม่ใช่ผู้เสียหาย เท่ากับว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีนี้ซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวแก่จำเลยทั้งสองต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 และพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การร้องทุกข์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค แต่ พ. ไม่ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 กลับไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1ในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นการร้องทุกข์ที่ไม่ชอบ เพราะ พ. ไม่ใช่ผู้เสียหาย เท่ากับว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีนี้ซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวแก่จำเลยทั้งสองต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 และพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120.
of 27