คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 263 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คชำระหนี้ตามปกติ ไม่ใช่เช็คประกันหนี้ ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยนำเช็คของลูกค้าจำเลยมาขายโจทก์ ต่อมาโจทก์บอกให้จำเลยนำเงินไปชำระมิฉะนั้นจะให้เจ้าพนักงานตำรวจจัดการ จำเลยจึงไปตรวจสอบหนี้สินกับโจทก์ ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เป็นเงิน 496,000 บาท จำเลยได้ชำระหนี้เป็นเงินสดบางส่วน ส่วนหนี้ที่เหลืออีก 450,000 บาท โจทก์ให้จำเลยชำระเดือนละ 45,000 บาท โดยจำเลยออกเช็คให้โจทก์ไว้เช็คที่จำเลยออกให้โจทก์จึงเป็นเช็คชำระหนีตามปกติ มิใช่เช็คออกเพื่อประกันหนี้ เมื่อขึ้นเงินหรือเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ จำเลยก็ต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 (1)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษและขอให้นับโทษต่อ ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษโดยไม่ได้นับโทษต่อให้ โจทก์ไม่ฎีกาหรือแก้ฎีกาในข้อที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษต่อ ศาลฎีกาจึงไม่นับโทษต่อให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในความผิดเช็ค – สิทธิระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแม้คดีอุทธรณ์
ผู้เสียหายเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในการกระทำความผิดเดียวกันกับคดีนี้จนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แม้คดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ก็ถือได้ว่าความผิดของจำเลยซึ่งได้ฟ้องนั้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว สิทธิของพนักงานอัยการโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยคดีนี้ในความผิดเกี่ยวกับเช็คพิพาทรายเดียวกับคดีก่อนจึงระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีเช็ค: สิทธิฟ้องระงับหากมีคำพิพากษาแล้ว แม้จะอยู่ในระหว่างอุทธรณ์
ผู้เสียหายเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในการกระทำความผิดเดียวกันกับคดีนี้จนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แม้คดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ก็ถือได้ว่าความผิดของจำเลยซึ่งได้ฟ้องนั้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว สิทธิของพนักงานอัยการโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยคดีนี้ในความผิดเกี่ยวกับเช็คพิพาทรายเดียวกับคดีก่อนจึงระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันที่เช็คโดยไม่ยินยอมทำให้เช็คเสีย และจำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทลงวันที่ 30 ธันวาคม 2528 ต่อมามีผู้ประทับตราลงวันที่ 17 มีนาคม 2530 ในบรรทัดถัดลงมาโดยจำเลยมิได้เป็นผู้ประทับตราวันเดือนปีซึ่งมุ่งหมายจะให้เป็นวันสั่งจ่ายครั้งใหม่ จึงถือได้ว่ามีผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายใหม่อันเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญของเช็คโดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วยเช็คนั้นจึงเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความระหว่างดำเนินคดีเช็ค ศาลระงับคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีความผิดต่อส่วนตัว ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องเป็นใจความว่า จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่นำมาฟ้องให้แก่โจทก์เป็นที่พอใจแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไปขอถอนคำร้องทุกข์ จำเลยไม่คัดค้าน ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องคดีเอง และไม่เคยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน คำร้องดังกล่าวจึงพอแปลความได้ว่าโจทก์จำเลยยอมความกันสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุวันปฏิเสธการจ่ายเช็คในฟ้องอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ โดย บรรยายฟ้องว่า"...เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2528 เวลากลางวัน ผู้เสียหายซึ่ง เป็นผู้ทรงเช็ค ได้ นำเช็ค ดังกล่าวไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายที่ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา 129 ลาดพร้าว เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค นั้น แต่ ธนาคารได้ ปฏิเสธการจ่ายเงินโดย แจ้งว่า โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย..." เช่นนี้ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นวันเดียวกับวันที่โจทก์นำเช็ค เข้าบัญชีของโจทก์นั้นเอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำผิด คือ วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เป็นฟ้องที่ชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุวันเวลาที่เกิดเหตุ และการตีความตามเจตนาของผู้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ โดยบรรยายฟ้องว่า "...เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2528 เวลากลางวัน ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค ได้นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขา 129 ลาดพร้าว เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น แต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินโดยแจ้งว่า โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย..." เช่นนี้ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นวันเดียวกับวันที่โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์นั้นเอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำผิดคือ วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เป็นฟ้องที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของรายละเอียดผู้ลงนามในเช็ค – ไม่กระทบความผิดฐานออกเช็ค
การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่ง เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดออกเช็ค โดย มีจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราของจำเลยที่ 1แม้ข้อเท็จจริงตาม ทางพิจารณาจะได้ความว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย มิใช่จำเลยที่ 2 ก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดของการบรรยายฟ้องอันเกี่ยวกับตัว ผู้ทำการแทนนิติบุคคลเท่านั้น มิใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเช็คหลายกรรม, การลงโทษ, และการเข้ามาในคดีของจำเลย
โจทก์ได้ บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ตามป.อ. มาตรา 91 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็จะถือว่าศาลลงโทษเกินคำขอหาได้ไม่ ป.วิ.อ. มาตรา 158(6เพียงแต่ บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่ง บัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่ง เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการร่วมกันออกเช็ค อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยที่ 1 โดย ธ. และ ร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีนี้แล้วนับตั้งแต่ วันที่ตั้ง ทนายความ เมื่อจำเลยที่ 3ในนามของจำเลยที่ 1 และในฐานะ ส่วนตัวให้การรับสารภาพโดยจำเลยที่ 3 กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณา การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้สินค้า - การกระทำไม่เป็นความผิด
จำเลยสั่งจ่ายเช็ค เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าที่ค้างชำระโจทก์ร่วมกับสินค้าใหม่ที่จำเลยสั่งซื้อ จากโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมไม่ส่งสินค้าให้จำเลยอีก แต่ นำเช็ค ดังกล่าวไปขึ้นเงิน แม้ธนาคารตามเช็ค ปฏิเสธการจ่ายเงิน อ้างว่าบัญชีปิดแล้ว การกระทำของจำเลยก็ยังไม่เป็นความผิด.
of 27