พบผลลัพธ์ทั้งหมด 762 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงยุติว่าจำเลยกับพวกวิ่งราวเครื่องรับวิทยุพร้อมเครื่องบันทึกเสียงของนายเฮ้าตงไป โดยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมเช่นนี้ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับพวกใช้ในการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาต้องเป็นกรณีที่ศาลเห็นว่ามีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับพยานหลักฐาน ไม่ใช่แค่การโต้แย้งดุลพินิจการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 3 เดือน โดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้รอการลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษ และร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้เห็นว่า ฎีกาของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะได้รับการวินิจฉัยจากศาลสูงเพราะเป็นปัญหาสำคัญในภาวะปัจจุบัน จึงอนุญาตให้ฎีกาได้ ดังนี้ เป็นการอนุญาตให้โจทก์ฎีกาเพื่อศาลฎีกาจะใช้ดุลพินิจว่าควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยหรือไม่เท่านั้น มิใช่เป็นการฎีกาและอนุญาตให้ฎีกาเพื่อศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ฎีกานั้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยกรณีโต้แย้งดุลพินิจรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 3 เดือน โดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้รอการลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษ และร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้เห็นว่า ฎีกาของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะได้รับการวินิจฉัยจากศาลสูงเพราะเป็นปัญหาสำคัญในภาวะปัจจุบัน จึงอนุญาตให้ฎีกาได้ ดังนี้เป็นการอนุญาตให้โจทก์ฎีกาเพื่อศาลฎีกาจะใช้ดุลพินิจว่าควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยหรือไม่เท่านั้น มิใช่เป็นการฎีกาและอนุญาตให้ฎีกาเพื่อศาลฎีกาและได้วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ฎีกานั้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมที่ทำภายใต้การข่มขู่เป็นโมฆียะ บอกล้างได้ภายใน 1 ปี
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะผู้สอบสวนของผู้อำนวยการป้องกันและปราบปรามของคณะปฏิวัติขู่ว่าจะขังจำเลยฐานเป็นภัยต่อสังคม ดังนี้เป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างภายใน 1 ปี ก็ตกเป็นโมฆะ บังคับจำเลยตามนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินถูกล้อม และการได้ภาระจำยอมโดยอายุความ
ที่ดินของโจทก์ซึ่งผู้ซื้อคนก่อนและโจทก์ไม่เคยเข้าอยู่หรือเกี่ยวข้องทำประโยชน์และไม่เคยใช้ทางพิพาทเดินผ่าน เข้าออกที่ดินดังกล่าว ดังนี้ โจทก์จะอ้างว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความหาได้ไม่ เพราะการจะได้ภารจำยอมโดยเหตุดังกล่าวจะต้องเป็นการใช้สิทธิ์โดยปรปักษ์เดินผ่านทางพิพาทเข้าออกที่ดิน ของโจทก์ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว และเหตุเพียงแต่ว่าที่ดินของโจทก์ได้แบ่งแยกจากทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ก็หาใช่เป็นการใช้สิทธิ์โดยปรปักษ์อันจะทำให้เกิดภาระจำยอมโดยอายุความไม่
ที่ดินโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อมโดยรอบ โจทก์มีความจำเป็นจะต้องมีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่ที่ดินของโจทก์นี้แบ่งแยกออกมาจากที่ดินซึ่งอยู่ติดกับทางสาธารณะ จึงเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ที่ให้โจทก์มีสิทธิ์เรียกร้องเอาทางเดินจากที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกได้ โจทก์จะเอาทางเดินจากที่ดินแปลงอื่นหาได้ไม่ และเมื่อกรณีต้องด้วยมาตรา 1350 ก็จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายและพาณิชย์ มาตรา 1349 มาปรับแก่คดีของโจทก์ไม่ได้
ที่ดินโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อมโดยรอบ โจทก์มีความจำเป็นจะต้องมีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่ที่ดินของโจทก์นี้แบ่งแยกออกมาจากที่ดินซึ่งอยู่ติดกับทางสาธารณะ จึงเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ที่ให้โจทก์มีสิทธิ์เรียกร้องเอาทางเดินจากที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกได้ โจทก์จะเอาทางเดินจากที่ดินแปลงอื่นหาได้ไม่ และเมื่อกรณีต้องด้วยมาตรา 1350 ก็จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายและพาณิชย์ มาตรา 1349 มาปรับแก่คดีของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเดินทาง (ภารจำยอม/ทางจำเป็น) เมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ การใช้สิทธิโดยปรปักษ์
ที่ดินของโจทก์ซึ่งผู้ซื้อคนก่อนและโจทก์ไม่เคยเข้าอยู่หรือเกี่ยวข้องทำประโยชน์และไม่เคยใช้ทางพิพาทเดินผ่านเข้าออกที่ดินดังกล่าว ดังนี้ โจทก์จะอ้างว่าทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความหาได้ไม่ เพราะการจะได้ภารจำยอมโดยเหตุดังกล่าวจะต้องเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์เดินผ่านทางพิพาทเข้าออกที่ดินของโจทก์ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว และเหตุเพียงแต่ว่าที่ดินของโจทก์ได้แบ่งแยกจากทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ก็หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์อันจะทำให้เกิดภารจำยอมโดยอายุความไม่
ที่ดินโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อมโดยรอบ โจทก์มีความจำเป็นจะต้องมีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่ที่ดินของโจทก์นี้แบ่งแยกออกมาจากที่ดินซึ่งอยู่ติดกับทางสาธารณะ จึงเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกได้โจทก์จะเอาทางเดินจากที่ดินแปลงอื่นหาได้ไม่ และเมื่อกรณีต้องด้วยมาตรา 1350 ก็จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 มาปรับแก่คดีของโจทก์ไม่ได้
ที่ดินโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อมโดยรอบ โจทก์มีความจำเป็นจะต้องมีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่ที่ดินของโจทก์นี้แบ่งแยกออกมาจากที่ดินซึ่งอยู่ติดกับทางสาธารณะ จึงเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกได้โจทก์จะเอาทางเดินจากที่ดินแปลงอื่นหาได้ไม่ และเมื่อกรณีต้องด้วยมาตรา 1350 ก็จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 มาปรับแก่คดีของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ แม้จำเลยไม่ผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกได้
หนังสือสัญญาเช่าระบุให้ผู้เช่าเสียค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าจนเต็มจำนวนของกำหนดเวลา หรือเป็นค่าเสียหายของผู้ให้เช่า ในกรณีที่ผู้เช่าบอกเลิกการเช่าก่อนสัญญาครบกำหนดนั้นเป็นการกำหนดเบี้ยปรับให้ผู้เช่าชำระให้แก่ผู้ให้เช่า ซึ่งหากเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้า300,000 บาท เงินประกันค่าเสียหาย 75,000 บาท และค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียไป 28,700 บาทรวมเป็นเงินค่าเสียหาย 403,700 บาท ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ถือว่าค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายเป็นค่าเสียหายของโจทก์ด้วย และที่ศาลชั้นต้นกำหนดเรื่องค่าเสียหายเป็นประเด็นนั้น จึงหมายถึงค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายด้วยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายส่วนที่เหลือจากหักค่าเสียหายให้จำเลยแล้ว จึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
แม้จะฟังว่าจำเลยไม่ผิดสัญญา แต่โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ก่อนสัญญาเช่าครบกำหนด และตามสัญญาเช่ากำหนดค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยในกรณีที่โจทก์บอกเลิกการเช่าก่อนสัญญาเช่าครบกำหนดไว้ด้วย ศาลก็จำต้องวินิจฉัยถึงเบี้ยปรับว่าจำเลยควรได้เบี้ยปรับหรือค่าเสียหายเท่าใด หากเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายที่จำเลยควรได้รับน้อยกว่าค่าเช่าล่วงหน้า และเงินประกันค่าเสียหายที่จำเลยรับไปจากโจทก์จำเลยก็จะต้องคืนเงินส่วนที่เกินจากเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ศาลจะยกฟ้องโจทก์เสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้า300,000 บาท เงินประกันค่าเสียหาย 75,000 บาท และค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียไป 28,700 บาทรวมเป็นเงินค่าเสียหาย 403,700 บาท ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ถือว่าค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายเป็นค่าเสียหายของโจทก์ด้วย และที่ศาลชั้นต้นกำหนดเรื่องค่าเสียหายเป็นประเด็นนั้น จึงหมายถึงค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายด้วยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายส่วนที่เหลือจากหักค่าเสียหายให้จำเลยแล้ว จึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
แม้จะฟังว่าจำเลยไม่ผิดสัญญา แต่โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ก่อนสัญญาเช่าครบกำหนด และตามสัญญาเช่ากำหนดค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยในกรณีที่โจทก์บอกเลิกการเช่าก่อนสัญญาเช่าครบกำหนดไว้ด้วย ศาลก็จำต้องวินิจฉัยถึงเบี้ยปรับว่าจำเลยควรได้เบี้ยปรับหรือค่าเสียหายเท่าใด หากเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายที่จำเลยควรได้รับน้อยกว่าค่าเช่าล่วงหน้า และเงินประกันค่าเสียหายที่จำเลยรับไปจากโจทก์จำเลยก็จะต้องคืนเงินส่วนที่เกินจากเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ศาลจะยกฟ้องโจทก์เสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าสูงเกินส่วน ศาลลดเบี้ยปรับได้ และการคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้า/ประกัน
หนังสือสัญญาเช่าระบุให้เช่าเสียค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าจนเต็มจำนวนของกำหนดเวลา หรือเป็นค่าเสียหายของผู้ให้เช่าในกรณีที่ผู้เช่าบอกเลิกการเช่าก่อนสัญญาครบกำหนดนั้น เป็นการกำหนดเบี้ยปรับให้ผู้เช่าชำระให้แก่ผู้ให้เช่า ซึ่งหากเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้า 300,000 บาท เงินประกันค่าเสียหาย 75,000 บาท และค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียไป 28,700 บาท รวมเป็นเงินค่าเสียหาย 403,700 บาท ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ถือว่าค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายเป็นค่าเสียหายของโจทก์ด้วย และที่ศาลชั้นต้นกำหนดเรื่องค่าเสียหายเป็นประเด็นนั้น จึงหมายถึงค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายส่วนที่เหลือจากหักค่าเสียหายให้จำเลยแล้ว จึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
แม้จะฟังว่าจำเลยไม่ผิดสัญญา แต่โจทก์มีสิทธิ์บอกเลิกการเช่าได้ก่อนสัญญาเช่าครบกำหนด และตามสัญญาเช่ากำหนดค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยในกรณีที่โจทก์บอกเลิกการเช่าก่อนสัญญาครบกำหนดไว้ด้วย ศาลก็จำต้องวินิจฉัยถึงเบี้ยปรับว่าจำเลยควรได้เบี้ยปรับหรือค่าเสียหายเท่าใด หากเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายที่จำเลยควรได้รับน้อยกว่าค่าเช่าล่วงหน้า และเงินประกันค่าเสียหายที่จำเลยรับไปจากโจทก์ จำเลยก็จะต้องคืนเงินส่วนที่เกินจากเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ศาลจะยกฟ้องโจทก์เสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้า 300,000 บาท เงินประกันค่าเสียหาย 75,000 บาท และค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียไป 28,700 บาท รวมเป็นเงินค่าเสียหาย 403,700 บาท ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ถือว่าค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายเป็นค่าเสียหายของโจทก์ด้วย และที่ศาลชั้นต้นกำหนดเรื่องค่าเสียหายเป็นประเด็นนั้น จึงหมายถึงค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายส่วนที่เหลือจากหักค่าเสียหายให้จำเลยแล้ว จึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
แม้จะฟังว่าจำเลยไม่ผิดสัญญา แต่โจทก์มีสิทธิ์บอกเลิกการเช่าได้ก่อนสัญญาเช่าครบกำหนด และตามสัญญาเช่ากำหนดค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยในกรณีที่โจทก์บอกเลิกการเช่าก่อนสัญญาครบกำหนดไว้ด้วย ศาลก็จำต้องวินิจฉัยถึงเบี้ยปรับว่าจำเลยควรได้เบี้ยปรับหรือค่าเสียหายเท่าใด หากเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายที่จำเลยควรได้รับน้อยกว่าค่าเช่าล่วงหน้า และเงินประกันค่าเสียหายที่จำเลยรับไปจากโจทก์ จำเลยก็จะต้องคืนเงินส่วนที่เกินจากเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ศาลจะยกฟ้องโจทก์เสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค: การยินยอมโดยปริยายและการลงวันที่โดยสุจริต
จำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์ก่อนฟ้องคดี 3 ปี แต่ตามฟ้องและคำให้การไม่มีข้อเท็จจริงว่าเหตุใดจำเลยผู้ออกเช็คจึงไม่ลงวันที่ขณะออกเช็ค ฉะนั้น จึงถือเป็นปริยายว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ลงวันที่ในเช็คเอาเองภายหลังเมื่อจะเบิกเงิน และตามข้อตกลงที่รับกันในชั้นพิจารณาย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ลงวันที่โดยสุจริต ดังนั้นอายุความต้องนับตั้งแต่วันที่ระบุในเช็ค ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค: การยินยอมโดยปริยายและการลงวันที่โดยสุจริต
จำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์ก่อนฟ้องคดี 3 ปี แต่ตามฟ้องและคำให้การไม่มีข้อเท็จจริงว่าเหตุใดจำเลยผู้ออกเช็คจึงไม่ลงวันที่ขณะออกเช็คฉะนั้นจึงถือเป็นปริยายว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ลงวันที่ในเช็คเอาเองภายหลังเมื่อเบิกเงิน และตามข้อตกลงที่รับกันในชั้นพิจารณาย่อมถือได้ว่าโจทก์ ได้ลงวันที่ โดยสุจริต ดังนั้นอายุความต้องนับตั้งแต่วันที่ระบุในเช็ค ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002