คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยงยุทธ เลอลภ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 762 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2352/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาข้อหาเบียดบังทรัพย์ ต้องระบุรายละเอียดการกระทำที่ชัดเจนเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยครอบครองเรือยนต์ของผู้เสียหายโดยผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยนำไปทำการดูดแร่ในทะเลแล้วจำเลยเบียดบังเอาเรือยนต์นั้นเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ดังนี้ ข้อกล่าวหาที่ว่าจำเลยเบียดบังนั้น โจทก์มิได้ระบุ การกระทำของจำเลยให้ชัดว่าจำเลยกระทำการอย่างไรที่พอจะถือได้ว่าจำเลยเบียดบังเอาเรือยนต์ไปเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สาม โดยทุจริต เมื่อโจทก์ไม่บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอสมควร เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1057/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้จัดการแทนผู้เสียหาย การสิ้นสุดสิทธิเรียกร้องเมื่อผู้จัดการแทนตาย
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ในกรณีที่บิดาผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายโดยเจตนา ในฐานะผู้จัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) นั้น เมื่อบิดาผู้เสียหายตายลงระหว่างพิจารณา ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของบิดาผู้เสียหาย (พี่ชายผู้เสียหาย) หามีสิทธิดำเนินคดีต่างบิดาผู้เสียหายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ เพราะบิดาผู้เสียหายเป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ซึ่งถูกทำร้ายถึงตายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2280/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตและการริบของกลาง: ศาลฎีกาตัดสินว่าการริบอาวุธปืนที่มีใบอนุญาตไม่ชอบ
จำเลยพาอาวุธปืนของจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีได้โดยชอบเข้าไปในเมืองโดยไม่มีเหตุอันสมควร และไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท คือ ผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคแรก, 72 ทวิ วรรคสอง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 37 เมื่อลงโทษตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ไม่ทำให้ อาวุธปืนที่มีใบอนุญาตตกเป็นปืนที่ผิดกฎหมายและบทลงโทษตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่ได้ให้อำนาจศาลสั่งริบ จึงริบอาวุธปืนและ กระสุนปืนของกลางไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต, สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, และความรับผิดทางละเมิด
เดิมที่พิพาทเป็นของ ผ. ซึ่งเป็นมารดาของโจทก์และ ก. หลังจาก ผ.ถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ฟ้องก.ขอแบ่งมรดกของผ. แล้วโจทก์กับ ก. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยก.ยอมแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง แต่ก. กลับโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 เสียแล้วจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เช่าที่พิพาทปลูกสร้างอาคารสำหรับค้าไม้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในที่สุดจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์ และยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่พิพาทภายใน 3 เดือน ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 รับโอนที่พิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่า ก. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งที่ดินให้โจทก์ จึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริตและทำให้โจทก์เสียเปรียบ เมื่อรับโอนมาแล้วจำเลยที่ 1 เอาที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 เช่าเอาผลประโยชน์เป็นของตนแต่ผู้เดียว ทำให้โจทก์เสียหาย แม้สิ่งปลูกสร้างจะเป็นของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่1 รู้อยู่แล้วว่าเป็นของจำเลยที่ 2 ตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องจัดการให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป การที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่รื้อถอนจำเลยที่ 1 ก็ไม่จัดการอย่างใดจนพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ผ่อนผัน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และเมื่อจำเลยที่ 1 ยังคงปล่อยให้สิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยไม่มีสิทธิจะอยู่ต่อไปได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ด้วย
เมื่อคดีก่อนศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ออกไปจากที่พิพาทแล้ว ก็ไม่จำต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่พิพาทของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาใหม่ เมื่อจำเลยอยู่ต่างประเทศขณะฟ้องคดี
จำเลยเดินทางออกจากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2512 และกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2515 โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความจากจำเลย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2514 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัด รายงานของเจ้าพนักงานเดินหมายระบุว่าได้ส่งคำบังคับให้จำเลยรับ ในวันที่ 3 สิงหาคม 2519 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2519 จึงไม่เกินกำหนดตามกฎหมาย จำเลยมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและพิจารณาคดี การพิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้จงใจขาดนัด
จำเลยเดินทางออกจากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2512 และกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2515 โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความจากจำเลย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2514 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัด รายงานของเจ้าพนักงานเดินหมายระบุว่าได้ส่งคำบังคับให้จำเลยรับ ในวันที่ 3 สิงหาคม 2519 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2519 จึงไม่เกินกำหนดตามกฎหมาย จำเลยมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีเรื่องเอกสารปลอมต้องระบุเหตุแห่งการปลอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม โดยไม่อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่าปลอมอย่างไร ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นมรดก แต่การโอนหรือขายต้องมีผู้ให้เช่ายินยอม ส่วนแบ่งสิทธิการเช่าเป็นไปตามสัดส่วน
จ.และจำเลยมีสิทธิการเช่าห้องพิพาทร่วมกัน เมื่อ จ.ตายสัญญาเช่าของ จ.ย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท (คือโจทก์) ที่จะมีสิทธิการเช่าร่วมกับจำเลย แต่ที่โจทก์จะให้นำสิทธิการเช่าดังกล่าวไปโอนให้บุคคลอื่นหรือขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาแบ่งกันระหว่างจำเลยกับทายาทของจ.นั้น ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลนอกคดีต้องยินยอมด้วย กรณีไม่อาจบังคับตามคำขอได้
เมื่อสิทธิการเช่ามีราคา 95,000 บาท โจทก์ขอแบ่งสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่ 12 ปี สิทธิการเช่าจึงมีราคา 76,000 บาท โจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 38,000 บาท ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 38,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นมรดก ทายาทมีสิทธิร่วมกับผู้เช่าเดิม การแบ่งสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของทรัพย์
จ.และจำเลยมีสิทธิการเช่าห้องพิพาทร่วมกัน เมื่อ จ.ตาย สัญญาเช่าของ จ.ย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท (คือโจทก์) ที่จะมีสิทธิการเช่าร่วมกับจำเลย แต่ที่โจทก์จะให้นำสิทธิการเช่าดังกล่าวไปโอนให้บุคคลอื่นหรือขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาแบ่งกันระหว่างจำเลย กับทายาทของ จ. นั้น ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลนอกคดีต้องยินยอมด้วย กรณีไม่อาจบังคับตามคำขอได้
เมื่อสิทธิการเช่ามีราคา 95,000 บาท โจทก์ขอแบ่งสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่ 12 ปี สิทธิการเช่าจึงมีราคา 76,000 บาท โจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 38,000 บาท ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 38,000 บาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170-2190/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ ผู้รับเช่าผูกพันตามสัญญา แม้ผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์
การให้เช่าทรัพย์นั้นผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่า
เมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์ และได้รับประโยชน์ในแผงที่เช่าตามสัญญาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์นำแผงพิพาทมาให้จำเลยเช่าโดยไม่มีอำนาจอย่างไรแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่าตามสัญญา และจำเลยจะต้องผูกพันตามสัญญาเช่านั้นจำเลยจะโต้เถียงอำนาจโจทก์ว่าไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในแผงพิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
of 77