คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศวิต สมหวัง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 216 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2150/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลที่อาจชนะคดีได้ มิใช่เพียงโอกาสชนะ
จำเลยซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ ขาดนัดพิจารณา และศาลพิพากษาให้แพ้คดี ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ในคำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล เพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไร คงกล่าวแต่เพียงว่า ถ้าจำเลยมีโอกาสต่อสู้คดี จำเลยก็มีโอกาสชนะคดีได้เท่านั้น คำขอเช่นนี้ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 208 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ศาลจะสั่งให้มีการพิจารณาใหม่ได้
ปัญหาที่ว่า คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 208 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือไม่นั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง โจทก์ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้
(วรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่เบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการ แม้ไม่ใช่ทรัพย์ของทางราชการโดยตรง ก็มีความผิดตามมาตรา 147
ความผิดตามมาตรา 147 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นเรื่องบัญญัติเอาผิดแก่เจ้าหน้าที่ที่เบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนได้มาหรือถือไว้เพื่อจัดการตามหน้าที่ ไม่ใช่เอาผิดแต่เฉพาะว่าทรัพย์นั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของทางการหรือของใคร
การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเงินที่ไม่ใช่เป็นเงินผลประโยชน์ของทางการรถไฟฯโดยแท้ ดังนี้ ไม่เป็นกรณีที่ทางพิจารณาได้ความต่างกับฟ้องอันจำเป็นที่ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดมาตรา 147 อาญา: เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ที่ได้รับมอบหมาย แม้ไม่ใช่ทรัพย์ของทางราชการโดยตรง
ความผิดตามมาตรา 147 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นเรื่องบัญญัติเอาผิดแก่เจ้าหน้าที่ที่เบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนได้มาหรือถือไว้เพื่อจัดการตามหน้าที่ ไม่ใช่เอาผิดแต่เฉพาะว่าทรัพย์นั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของทางการหรือของใคร
การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเงินที่ไม่ใช่เป็นเงินผลประโยชน์ของทางการรถไฟฯ โดยแท้ ดังนี้ ไม่เป็นกรณีที่ทางพิจารณาได้ความต่างกับฟ้องอันจำเป็นที่ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704-1705/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงและการรับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรม
จำเลยที่ 1 ขอยืมที่ดินของโจทก์เพื่อนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้จากธนาคาร โจทก์จึงแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ส่วนหนึ่งแล้วใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโดยตกลงกันว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ธนาคารหมดแล้วจะคืนที่ดินให้โจทก์เป็นการแสดงเจตนาลวง ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่จำเลยตกอยู่ในความผูกพันที่จะต้องโอนที่ดินคืนให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเอาที่ดินไปขายให้ผู้อื่น
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดย ทราบถึงการแสดงเจตนาลวงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704-1705/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงและการรับโอนโดยไม่สุจริต ทำให้เพิกถอนนิติกรรมได้
จำเลยที่ 1 ขอยืมที่ดินของโจทก์เพื่อนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้จากธนาคาร โจทก์จึงแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ส่วนหนึ่งแล้วใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโดยตกลงกันว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ธนาคารหมดแล้วจะคืนที่ดินให้โจทก์เป็นการแสดงเจตนาลวง ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่จำเลยตกอยู่ในความผูกพันที่จะต้องโอนที่ดินคืนให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเอาที่ดินไปขายให้ผู้อื่น
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดย ทราบถึงการแสดงเจตนาลวงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายร่วมกัน และการไม่นำหลักฐานชั้นสอบสวนมาพิจารณา
มีดที่พวกของจำเลยใช้ทำร้าย ยาวประมาณ 1 ฟุตรวมทั้งด้าม แทงผู้ตายมีบาดแผลภายนอกผิวหนังฉีกขาดขนาดประมาณ2X0.5 เซนติเมตร ทะลุผ่านเนื้อกล้ามเข้าช่องซี่โครงที่ 11 ข้างซ้ายด้านหลัง เข้าช่องอกเฉี่ยวกระบังลมข้างซ้ายฉีกขาดทะลุเข้าหลอดเลือดแดงใหญ่ แม้ผู้แทงจะแทงผู้ตายเพียงทีเดียว เมื่อปรากฏว่าสถานที่เกิดเหตุมีแสงไฟสว่าง เห็นได้ชัด ผู้แทงมีโอกาสเลือกแทงได้ทั้งบาดแผลก็แสดงว่าแทงโดยแรงถูกอวัยวะสำคัญมากจนผู้ตายล้มลงขาดใจตายอยู่ตรงนั้น ดังนี้. ฟังได้ว่าผู้แทงมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
ถึงแม้ในชั้นสอบสวน จำเลยจะรับว่าได้เตะทำร้ายตามข้อกล่าวหา แต่ในชั้นศาลกลับให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้นและยังอ้างตนเองนำสืบปฏิเสธว่าไม่ได้เตะใครในคืนเกิดเหตุไม่เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็มิได้นำเอาคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนขึ้นวินิจฉัยฟังประกอบคำพยานโจทก์ลงโทษจำเลย คำให้การของจำเลยจึงไม่เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการแทงด้วยอาวุธอันตราย และการพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา
มีดที่พวกของจำเลยใช้ทำร้าย ยาวประมาณ 1 ฟุตรวมทั้งด้าม แทงผู้ตายมีบาดแผลภายนอกผิวหนังฉีกขาดขนาดประมาณ2X0.5 เซนติเมตร ทะลุผ่านเนื้อกล้ามเข้าช่องซี่โครงที่ 11 ข้างซ้ายด้านหลัง เข้าช่องอกเฉี่ยวกระบังลมข้างซ้ายฉีกขาดทะลุเข้าหลอดเลือดแดงใหญ่ แม้ผู้แทงจะแทงผู้ตายเพียงทีเดียว เมื่อปรากฏว่าสถานที่เกิดเหตุมีแสงไฟสว่างเห็นได้ชัด ผู้แทงมีโอกาสเลือกแทงได้ทั้งบาดแผลก็แสดงว่าแทงโดยแรงถูกอวัยวะสำคัญมากจนผู้ตายล้มลงขาดใจตายอยู่ตรงนั้น ดังนี้. ฟังได้ว่าผู้แทงมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
ถึงแม้ในชั้นสอบสวน จำเลยจะรับว่าได้เตะทำร้ายตามข้อกล่าวหา แต่ในชั้นศาลกลับให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้นและยังอ้างตนเองนำสืบปฏิเสธว่าไม่ได้เตะใครในคืนเกิดเหตุไม่เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็มิได้นำเอาคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนขึ้นวินิจฉัยฟังประกอบคำพยานโจทก์ลงโทษจำเลย คำให้การของจำเลยจึงไม่เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากแก้ไขจำนวนเงินโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้ไม่มีผลผูกพันและใช้เป็นหลักฐานไม่ได้
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไป 600 บาท ได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้และค้ำประกันที่ยังไม่ได้กรอกข้อความอื่นใดไว้เลยมอบให้โจทก์ไว้ ต่อมาโจทก์ได้กรอกข้อความและจำนวนเงินลงในเอกสารสัญญากู้และค้ำประกันว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้เงินโจทก์ไป6,000 บาท และจำเลยที่ 2 ค้ำประกันเงินกู้จำนวนดังกล่าว การที่โจทก์กรอกข้อความลงในสัญญากู้และค้ำประกันว่าได้มีการกู้และค้ำประกันในจำนวนเงินถึง 6,000 บาท เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริงโดยจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้นสัญญากู้และค้ำประกันตามฟ้องจึงไม่สมบูรณ์ ทำให้เอกสารดังกล่าวนั้นเป็นเอกสารปลอม โจทก์จึงอ้างเอกสารนั้นมาเป็นพยานหลักฐานในคดีอย่างใดไม่ได้ ฉะนั้น การกู้เงิน 6,000 บาท และการค้ำประกันตามที่โจทก์นำมาฟ้องจึงถือว่าไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ (อ้างฎีกาที่ 286/2507 และ 1104/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางอาญา: ดุลพินิจศาล, การประมาทเลินเล่อ, การชดใช้ค่าเสียหาย และการปราบปรามอาชญากรรม
การลงโทษแก่ผู้กระทำผิดมิใช่คำนึงแต่เพียงในแง่ส่วนตัวของผู้กระทำผิดเท่านั้นแต่เพื่อปราบปรามให้เกรงขามและรักษาความสงบเรียบร้อยโดยทั่ว ๆ ไปด้วย การที่จำเลยกระทำโดยประมาทอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้คนตายนั้น แม้จำเลยได้ยอมชดใช้เงินค่าเสียหายให้แก่เจ้าทุกข์และบิดาผู้ตายก่อนโดยดีมาตั้งแต่ต้นก็ตาม ก็เป็นข้อที่ศาลได้มีดุลพินิจกำหนดโทษให้เบาลงมากอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: การที่จำเลยดำเนินคดีต่อเมื่อผู้กล่าวหายังยืนยันดำเนินคดี ไม่ถือเป็นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์ฉ้อโกง อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 348 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้แล้วโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความจะใช้หนี้ให้แก่ผู้กล่าวหาร้องทุกข์ แต่แล้วโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อผู้กล่าวหาร้องทุกข์ยังมิได้ถอนคำร้องทุกข์และยืนยันให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ต่อไป ทำให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเข้าใจว่าผู้กล่าวหาร้องทุกข์ยังมีสิทธิขอให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ต่อไปได้ จึงดำเนินคดีแก่โจทก์ต่อมาเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
of 22