คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศวิต สมหวัง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 216 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่าก่อนการเสียชีวิตของผู้ขายและสิทธิเรียกร้องในการจดทะเบียน
ส. ขายที่ดินมือเปล่าแก่โจทก์ส่งมอบให้ครอบครองแล้วระหว่าง ส.ประกาศรังวัดแบ่งขายส. ตาย จำเลยผู้เป็นทายาทกลับคัดค้านต่ออำเภอ โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนได้ คดีไม่ใช่ฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ไม่ขาดอายุความ 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเอาสัญญาที่ผู้ไม่มีอำนาจลงนาม และการกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขาย
ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทลงนามเป็นผู้ขายในนามของบริษัทเมื่อบริษัทได้รับเอาสัญญาที่ผู้จัดการฝ่ายขายลงนามไว้กับผู้ซื้อเป็นของบริษัทแล้ว ต่อมาบริษัทจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าผู้จัดการฝ่ายขายลงนามเป็นผู้ขายในนามบริษัทโดยไม่มีหนังสือมอบอำนาจหาได้ไม่
สัญญาซื้อขายข้อ 7 ที่มีข้อความว่า "ถ้าผู้ขายไม่นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อให้ถูกต้องภายในกำหนดสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นเงินร้อยละ 5 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้ส่ง โดยคิดเป็นรายเดือนจนกว่าผู้ขายจะได้นำสิ่งของนั้นๆ มาส่งให้ผู้ซื้อจนครบถ้วนและถูกต้องตามสัญญา" นั้นเป็นเรื่องผู้ขายส่งมอบสิ่งของล่าช้ากว่ากำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิปรับผู้ขายได้จนกว่าผู้ขายจะส่งมอบให้ผู้ซื้อครบถ้วนตามสัญญา แต่กรณีที่ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้ผู้ซื้อไม่ได้เลยนั้น ผู้ซื้อจะคำนวณเอาค่าปรับจากผู้ขายตามสัญญาข้อ 7 นี้ไม่ได้ การที่ผู้ซื้อตั้งมูลฟ้องให้บังคับผู้ขายตามสัญญาข้อ 7 พอจะแปลเจตนาของผู้ซื้อได้ว่า เพื่อจะคิดเป็นเกณฑ์กำหนดค่าเสียหายในการเลิกสัญญากับผู้ขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391นั่นเอง เมื่อผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้ผู้ซื้อไม่ได้เป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ย่อมเกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ และเมื่อความเสียหายไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ศาลย่อมกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ตามควรแก่กรณี (อ้างฎีกาที่ 1086/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธความรับผิดในสัญญาซื้อขายเนื่องจากไม่มีหนังสือมอบอำนาจ และการกำหนดค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทลงนามเป็นผู้ขายในนามของบริษัทเมื่อบริษัทได้รับเอาสัญญาที่ผู้จัดการฝ่ายขายลงนามไว้กับผู้ซื้อเป็นของบริษัทแล้ว ต่อมาบริษัทจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าผู้จัดการฝ่ายขายลงนามเป็นผู้ขายในนามบริษัทโดยไม่มีหนังสือมอบอำนาจหาได้ไม่
สัญญาซื้อขายข้อ 7 ที่มีข้อความว่า "ถ้าผู้ขายไม่นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อให้ถูกต้องภายในกำหนดสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นเงินร้อยละ 5 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้ส่ง โดยคิดเป็นรายเดือนจนกว่าผู้ขายจะได้นำสิ่งของนั้น ๆ มาส่งให้ผู้ซื้อจนครบถ้วนและถูกต้องตามสัญญา" นั้นเป็นเรื่องผู้ขายส่งมอบสิ่งของล่าช้ากว่ากำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิปรับผู้ขายได้จนกว่าผู้ขายจะส่งมอบให้ผู้ซื้อครบถ้วนตามสัญญา แต่กรณีที่ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้ผู้ซื้อไม่ได้เลยนั้น ผู้ซื้อจะคำนวณเอาค่าปรับจากผู้ขายตามสัญญาข้อ 7 นี้ไม่ได้ การที่ผู้ซื้อตั้งมูลฟ้องให้บังคับผู้ขายตามสัญญาข้อ 7 พอจะแปลเจตนาของผู้ซื้อได้ว่า เพื่อจะคิดเป็นเกณฑ์กำหนดค่าเสียหายในการเลิกสัญญากับผู้ขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 นั่นเอง เมื่อผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้ผู้ซื้อไม่ได้เป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ย่อมเกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ และเมื่อความเสียหายไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ศาลย่อมกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ตามควรแก่กรณี (อ้างฎีกาที่ 1086/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสังหาริมทรัพย์เกิน 500 บาท ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากมีการชำระหนี้แล้ว
ข้อที่ว่า การซื้อขายเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์เกินกว่า500 บาท แต่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่นั้น เป็นปัญหาในอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การซื้อขายกระดาษรายพิพาท จำเลยได้รับมอบกระดาษไปครบถ้วนตามที่สั่งซื้อแล้วถือว่าเป็นการซื้อขายเด็ดขาดซึ่งมีการชำระหนี้แล้ว โจทก์ผู้ขายมีสิทธิฟ้องเรียกราคากระดาษได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสังหาริมทรัพย์เกิน 500 บาท ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากมีการส่งมอบสินค้าและชำระหนี้แล้ว
ข้อที่ว่า การซื้อขายเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์เกินกว่า500 บาท แต่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่นั้น เป็นปัญหาในอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การซื้อขายกระดาษรายพิพาท จำเลยได้รับมอบกระดาษไปครบถ้วนตามที่สั่งซื้อแล้วถือว่าเป็นการซื้อขายเด็ดขาด ซึ่งมีการชำระหนี้แล้ว โจทก์ผู้ขายมีสิทธิฟ้องเรียกราคากระดาษได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คค้ำประกันยังผูกพันตามกฎหมาย แม้ไม่ระบุมูลหนี้ในฟ้องก็ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การว่าจำเลยออกเช็คเพื่อเป็นหลักประกันมิใช่จ่ายเงินตามเช็คเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ ดังนี้แม้จำเลยจะนำสืบฟังได้ตามข้อต่อสู้ก็ไม่พ้นความรับผิดเพราะการออกเช็คเพื่อค้ำประกันลูกหนี้ให้โจทก์ก็เป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะให้ผูกพันและชำระหนี้ได้ตามกฎหมายโดยลูกหนี้มีมูลหนี้ต่อโจทก์จริง
การฟ้องเรียกเงินตามเช็ค แม้จะมิได้ระบุมูลหนี้ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมเพราะเช็คเป็นเพียงตราสารที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินมูลหนี้เป็นค่าอะไร เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันได้ในชั้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อค้ำประกันไม่พ้นความรับผิด เช็คเป็นเพียงตราสารสั่งจ่ายเงิน มูลหนี้เป็นรายละเอียดที่สืบได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การว่าจำเลยออกเช็คเพื่อเป็นหลักประกันมิใช่จ่ายเงินตามเช็คเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ ดังนี้ แม้จำเลยจะนำสืบฟังได้ตามข้อต่อสู้ก็ไม่พ้นความรับผิดเพราะการออกเช็คเพื่อค้ำประกันลูกหนี้ให้โจทก์ก็เป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะให้ผูกพันและชำระหนี้ได้ตามกฎหมายโดยลูกหนี้มีมูลหนี้ต่อโจทก์จริง
การฟ้องเรียกเงินตามเช็ค แม้จะมิได้ระบุมูลหนี้ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเช็คเป็นเพียงตราสารที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินมูลหนี้เป็นค่าอะไร เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันได้ในชั้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171-2173/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดของลูกจ้างที่กระทำในทางการจ้าง แม้มีคำสั่งห้ามภายใน
การที่ลูกจ้างผู้มีหน้าที่ซ่อมเครื่องยนต์ได้นำรถยนต์ของนายจ้างออกแล่นลองเครื่องนั้น เป็นการกระทำในทางการที่จ้างเมื่อลูกจ้างไปกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นนายจ้างย่อมจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย แม้นายจ้างจะมีคำสั่งเป็นการภายใน ห้ามช่างซ่อมเครื่องยนต์นำรถยนต์ออกขับลองเครื่อง ก็หาอาจยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171-2173/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดของลูกจ้างเมื่อกระทำในทางการที่จ้าง แม้มีคำสั่งห้ามภายใน
การที่ลูกจ้างผู้มีหน้าที่ซ่อมเครื่องยนต์ได้นำรถยนต์ของนายจ้างออกแล่นลองเครื่องนั้น เป็นการกระทำในทางการที่จ้างเมื่อลูกจ้างไปกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นนายจ้างย่อมจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย แม้นายจ้างจะมีคำสั่งเป็นการภายในห้ามช่างซ่อมเครื่องยนต์นำรถยนต์ออกขับลองเครื่องก็หาอาจยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการทำนิติกรรมของผู้อนุบาลในสินบริคณห์: การยกที่ดินให้บุตรโดยเสน่หาไม่ผูกพันส่วนของผู้ไร้ความสามารถ
กรณีภริยาเป็นผู้อนุบาลสามีซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 นั้น มาตรา 1581ไม่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับจึงจะนำมาตรา 1561,1562,1563. ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับแก่ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามีหาได้ไม่
ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามี มีสิทธิทำนิติกรรมขายสินบริคณห์ได้โดยลำพัง หากกระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 710/2490 แต่การที่ภริยาเอาที่ดินสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรคนหนึ่งโดยเสน่หา มิใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีแต่อย่างใด ภริยาในฐานะผู้อนุบาลจึงไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนที่เป็นของสามีไปยกให้แก่บุตรโดยเสน่หาได้ คงมีสิทธิกระทำได้ในฐานะที่เป็นภริยา ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินสินบริคณห์นั้นด้วย โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 39 นิติกรรมการให้ที่ดินโดยเสน่หาดังกล่าว จึงผูกพันส่วนที่เป็นของภริยา แต่ไม่ผูกพันส่วนของสามี เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าที่ดินสินบริคณห์นั้น สามีกับภริยามีส่วนคนละเท่าใด และภริยาก็ทำนิติกรรมให้บุตรมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับสามีอันมีผลเท่ากับภริยายอมสละส่วนของตนให้แก่บุตรเท่านั้น นิติกรรมรายนี้จึงไม่เป็นโมฆะ
of 22