พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสัญชาติไทยเนื่องจากถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และความผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญ
จำเลยเป็นคนเชื้อชาติจีนเกิดในราชอาณาจักรไทย แต่ได้ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยมิได้ประสงค์จะถือสัญชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ.2491 ตลอดมาจนพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508ใช้บังคับซึ่งมาตรา 21 บัญญัติให้ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวถ้าได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว ให้เสียสัญชาติไทย ดังนี้ บทบัญญัติแห่งมาตรา 21 ดังกล่าวจึงมีผลถึงจำเลยซึ่งถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ แม้มาตรา 21 ดังกล่าวจะมิได้บัญญัติความว่า ให้ขาดจากสัญชาติไทย ไม่ว่าจะได้รับใบสำคัญประจำตัวก่อนหรือหลังวันพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับก็ตามก็ไม่เป็นผลให้แตกต่างกันอย่างไร เมื่อจำเลยไม่ต่อใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว จำเลยย่อมมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยไม่สิ้นสุดแม้บิดาขอจดทะเบียนเป็นคนต่างด้าวโดยไม่ได้รับความยินยอม
ผู้ที่เกิดในประเทศไทยและได้สัญชาติไทยในขณะเกิดมานั้น เมื่อบิดาไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้น ผู้นั้นยังหาขาดจากการมีสัญชาติเป็นไทยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนสัญชาติไทยหลังขอเป็นคนต่างด้าวและผลกระทบของกฎหมายสัญชาติฉบับต่างๆ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย ต่อมาได้ไปประเทศจีนแล้วเดินทางกลับมา กองตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ในประเทศไทยได้ภายในเวลาจำกัด โจทก์ร้องขอพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นคนไทยต่อกองตรวจคนเข้าเมือง อธิบดีกรมตำรวจสั่งระงับการพิสูจน์สัญชาติ โจทก์จึงขอให้พิพากษาแสดงว่าโจทก์เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย และไม่ได้เกิดในประเทศไทย แต่เกิดในประเทศจีน มีสัญชาติจีน โจทก์ร้องขออยู่ในประเทศไทยชั่วคราวโดยไม่มีที่สิ้นสุด จำเลยจึงสั่งไม่ให้โจทก์อยู่ต่อไป ดังนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าเป็นคนสัญชาติไทยหรือไม่
การที่โจทก์จะได้มาซึ่งสัญชาติไทยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
โจทก์เกิดในประเทศไทยและมีสัญชาติไทย แต่ต่อมาโจทก์ได้ขอใบสำคัญเป็นคนต่างด้าว โจทก์จึงขาดจากสัญชาติไทยไประยะหนึ่ง ในระหว่างที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496 มาตรา 5 ใช้บังคับอยู่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2499 ประกาศใช้ โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยกลับคืนมาโดยมาตรา 3 และ 7 แห่งพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 โจทก์ไม่จำต้องไปร้องขอคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2495 มาตรา 20 (2) ทั้งกรณีเช่นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องตามมาตรานี้ด้วย
การที่โจทก์จะได้มาซึ่งสัญชาติไทยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
โจทก์เกิดในประเทศไทยและมีสัญชาติไทย แต่ต่อมาโจทก์ได้ขอใบสำคัญเป็นคนต่างด้าว โจทก์จึงขาดจากสัญชาติไทยไประยะหนึ่ง ในระหว่างที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496 มาตรา 5 ใช้บังคับอยู่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2499 ประกาศใช้ โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยกลับคืนมาโดยมาตรา 3 และ 7 แห่งพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 โจทก์ไม่จำต้องไปร้องขอคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2495 มาตรา 20 (2) ทั้งกรณีเช่นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องตามมาตรานี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสัญชาติไทยและการเนรเทศ: คำสั่งเนรเทศชอบด้วยกฎหมายแม้ภายหลังมีกฎหมายใหม่ให้สัญชาติคืน
โจทก์เกิดในประเทศไทย บิดาเป็นคนต่างด้าวและโจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ต่อมาจำเลยสั่งเนรเทศโจทก์ก่อนพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ คำสั่งเนรเทศดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ก่อนมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทยซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังคงเป็นบุคคลขาดสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าต่อมาได้มีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับแล้วก็ดีปัญหาที่ว่า โจทก์จะได้สัญชาติไทยกลับคืนมาหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องเพื่อขอแสดงว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยเพื่อจะให้ยกเลิกคำสั่งเนรเทศเท่านั้น
ก่อนมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทยซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังคงเป็นบุคคลขาดสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าต่อมาได้มีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับแล้วก็ดีปัญหาที่ว่า โจทก์จะได้สัญชาติไทยกลับคืนมาหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องเพื่อขอแสดงว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยเพื่อจะให้ยกเลิกคำสั่งเนรเทศเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสัญชาติและการเนรเทศ: คำสั่งเนรเทศชอบด้วยกฎหมายแม้ภายหลังมีการแก้ไขกฎหมายสัญชาติ
โจทก์เกิดในประเทศไทย บิดาเป็นคนต่างด้าวและโจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ต่อมาจำเลยสั่งเนรเทศโจทก์ก่อนพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ คำสั่งเนรเทศดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ก่อนมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทย ซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังคงเป็นบุคคลขาดสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าต่อมาได้มีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ใช้บังคับแล้วก็ดีปัญหาที่ว่า โจทก์จะได้สัญชาติไทยกลับคืนมาหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องเพื่อขอแสดงว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยเพื่อจะให้ยกเลิกคำสั่งเนรเทศเท่านั้น
ก่อนมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทย ซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังคงเป็นบุคคลขาดสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าต่อมาได้มีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ใช้บังคับแล้วก็ดีปัญหาที่ว่า โจทก์จะได้สัญชาติไทยกลับคืนมาหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องเพื่อขอแสดงว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยเพื่อจะให้ยกเลิกคำสั่งเนรเทศเท่านั้น