พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบโฉนดที่ดินหลังศาลตัดสินให้กรรมสิทธิ์แก่ผู้ครอบครอง แม้โฉนดอยู่ที่จำเลย ไม่ต้องมีนิติกรรมบังคับ
การที่ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินบางส่วนตามโฉนดที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองนั้น แม้โฉนดที่ดินอยู่ที่จำเลย โจทก์ก็จะขอให้จำเลยส่งมอบโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์เพื่อไปจดทะเบียนสิทธิหาได้ไม่เพราะกรณีนี้ไม่มีนิติกรรม นิติเหตุ หรือบทกฎหมายใดที่กำหนดให้จำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินแก่โจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องทำอย่างไร โจทก์ย่อมสามารถที่จะปฏิบัติตามและได้รับผลตามความประสงค์ของโจทก์อยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661-1667/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ การครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ที่พิพาทเดิมเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(1) ซึ่งพระราชบัญญัติ ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 ที่ใช้บังคับในระหว่างโจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทบัญญัติว่า จะต้องขอจับจองและได้รับใบอนุญาตให้จับจองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะมีสิทธิเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ผู้ใดฝ่าฝืนเข้าครอบครองพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ออกไปเสียจากที่ดินได้ หากยังขัดคำสั่งก็มีความผิดต้องระวางโทษ เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาตแม้ต่อมาจะได้แจ้งการครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ ที่พิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่จะเรียกร้องให้กองทัพเรือจำเลยซึ่งเข้าครอบครองที่ดินตามอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในท้องที่ตำบลบางพระอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2499 จำต้องจัดสรรที่ดินหรือจ่ายเงินชดเชยค่าที่ดินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเหนือกว่า น.ส.3 ที่ดินมือเปล่า ผู้ซื้อไม่อาจอ้างสิทธิเหนือผู้ครอบครองเดิม
หนังสือรับรองการทำประโยชน์มิใช่หลักฐานที่แสดงว่าผู้มีชื่อในหนังสือ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นในทางทะเบียนเช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน ฉะนั้นโจทก์ผู้ซื้อที่ดินจึงไม่อาจอ้าง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1299 มาใช้ยันกับสิทธิของจำเลยผู้ครอบครองที่ดินนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นโมฆะ แต่สิทธิครอบครองยังฟ้องบังคับได้
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าที่ทำเป็นหนังสือโดยมิได้มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าผู้ซื้อกับผู้ขายประสงค์จะให้สัญญาซื้อขายได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่นนี้ การที่จะนำสืบว่าผู้ขายจะไปยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) แล้วจะ จดทะเบียนโอนให้ผู้ขายนั้น เป็นการสืบเพิ่มเติมเอกสาร สัญญาซื้อขาย ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา94 สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่ดิน เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา456 วรรคแรก และ มาตรา115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินก่อนประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยบุกรุกเข้าครอบครองที่พิพาทก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 มีผลใช้บังคับ การกระทำของจำเลย จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 108 ทวิ เพราะการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 9 และมีโทษตามมาตรา 108 ทวิ นั้นจะต้องเป็นการฝ่าฝืนนับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนต่างด้าวซื้อที่ดินร่วมกับคนไทย การขายทอดตลาด และค่าเสียหายจากการรื้อถอนเรือน
โจทก์ที่ 1 และบิดามารดาจำเลยล้วนเป็นคนต่างด้าว ได้ร่วมกันออกเงินซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมาบิดามารดาจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินร่วมของตนให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคา 19,000 บาท ดังนี้ การแบ่งที่ดินพิพาทบางส่วนให้เป็นของโจทก์ที่ 1 ไม่อาจทำได้ เพราะจะเป็นการบังคับให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายที่ดิน ศาลชอบที่สั่งให้ขายทอดตลาดที่ดินได้เงินเท่าใดแบ่งให้จำเลยในฐานะทายาท 19,000 บาท เงินส่วนที่เหลือเป็นของโจทก์
เรือนซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 จำเลยได้บอกให้ผู้อื่นรื้อเอาไป การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์ที่ 1 จะเป็นคนต่างด้าวไม่อาจมีกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ ก็ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย
จำเลยฎีกาว่า หากศาลจะฟังว่าต้องขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ก็ชอบที่จะต้องเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งกันตามส่วนที่ออกเงินซื้อ นั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เรือนซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 จำเลยได้บอกให้ผู้อื่นรื้อเอาไป การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์ที่ 1 จะเป็นคนต่างด้าวไม่อาจมีกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ ก็ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย
จำเลยฎีกาว่า หากศาลจะฟังว่าต้องขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ก็ชอบที่จะต้องเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งกันตามส่วนที่ออกเงินซื้อ นั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าที่ยังไม่ได้รับการรับรองการทำประโยชน์ ย่อมโอนได้เฉพาะสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แม้จะได้แจ้งการครอบครองแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ย่อมไม่อาจโอนกันได้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้โดยการ ส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1378
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากตราจองก่อน พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดิน และความชอบด้วยกฎหมายของหนังสือรับรองการทำประโยชน์
โจทก์ได้รับตราจองซึ่งตราว่า 'ทำประโยชน์แล้ว' ตั้งแต่ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 บังคับใช้ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่วันได้รับตราจองตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 มาตรา 11 ตลอดมา
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยออกทับที่พิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว และที่พิพาทอยู่ในเขตจังหวัดพิจิตร ฉะนั้น เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์จึงไม่มีอำนาจที่จะออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ของจำเลย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยออกทับที่พิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว และที่พิพาทอยู่ในเขตจังหวัดพิจิตร ฉะนั้น เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์จึงไม่มีอำนาจที่จะออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ของจำเลย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการจดทะเบียนทำประโยชน์ก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน และความชอบด้วยกฎหมายของหนังสือรับรองการทำประโยชน์
โจทก์ได้รับตราจองซึ่งตราว่า "ทำประโยชน์แล้ว" ตั้งแต่ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 บังคับใช้ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่วันได้รับตราจองตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 มาตรา 11 ตลอดมา
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยออกทับที่พิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว และที่พิพาทอยู่ในเขตจังหวัดพิจิตร ฉะนั้น เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยออกทับที่พิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว และที่พิพาทอยู่ในเขตจังหวัดพิจิตร ฉะนั้น เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อฝากที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิเหนือที่ดิน: ข้อพิพาทระหว่างวัดกับเอกชน
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์รับซื้อฝากที่ดินไว้จากผู้มีชื่อเจ้าของเดิมไม่ไถ่คืนที่ดินและโรงเรือนพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าหลวงศรีสุพรรณดิษฐ์รับซื้อฝากที่ดินแทนโจทก์ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น และคำฟ้องโจทก์ไม่ได้แตกต่างกับข้อเท็จจริงในทางพิจารณา เพราะเป็นการสืบถึงรายละเอียดของวิธีรับซื้อฝากและความเป็นมาแห่งการเป็นเจ้าของที่ดินของโจทก์
แม้การรับซื้อฝากแทนโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่ผู้รับซื้อฝากได้ครอบครองแทนโจทก์ ที่พิพาทก็ตกเป็นของโจทก์ได้โดยทางครอบครอง
ที่วิวาทจะเป็นของโจทก์หรือเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์จำเลยซึ่งเป็นเอกชนไม่มีสิทธิที่จะยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์
ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาไม่มีข้อความตอนใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ตรงไหน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วัดเป็นนิติบุคคลที่ทำการรับซื้อฝากที่ดินและเรือนได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาวัตถุประสงค์ของวัดไม่จำต้องกล่าวในฟ้องเพราะไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติให้วัดแจ้งวัตถุประสงค์ไว้แต่อย่างใด
เมื่อจำเลยมิได้ยกประเด็นที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จะยกขึ้นมากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้
แม้การรับซื้อฝากแทนโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่ผู้รับซื้อฝากได้ครอบครองแทนโจทก์ ที่พิพาทก็ตกเป็นของโจทก์ได้โดยทางครอบครอง
ที่วิวาทจะเป็นของโจทก์หรือเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์จำเลยซึ่งเป็นเอกชนไม่มีสิทธิที่จะยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์
ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาไม่มีข้อความตอนใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ตรงไหน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วัดเป็นนิติบุคคลที่ทำการรับซื้อฝากที่ดินและเรือนได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาวัตถุประสงค์ของวัดไม่จำต้องกล่าวในฟ้องเพราะไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติให้วัดแจ้งวัตถุประสงค์ไว้แต่อย่างใด
เมื่อจำเลยมิได้ยกประเด็นที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จะยกขึ้นมากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้