คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกโฉนดที่ดินในเขตหวงห้าม: ศาลเพิกถอนคำสั่งไม่ออกโฉนด หากราษฎรครอบครองก่อนการหวงห้าม
บ. ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2468 โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อจาก บ. และทายาท บ. แม้ที่ดินพิพาทจะอยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์หวงห้ามที่ดิน ฯ พ.ศ. 2481 แต่เป็นที่ดินซึ่งราษฎรเข้าครอบครองทำประโยชน์ก่อนการหวงห้ามในปี 2481 จึงไม่ต้องห้ามที่จะออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ทั้งสองตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หมวด 3 ข้อ 14 (4) คำสั่งของจำเลยที่ไม่ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ทั้งสอง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องคดีเพื่อมุ่งประสงค์จะขอให้ใช้อำนาจศาลบังคับให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ไม่ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ทั้งสอง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเองที่ไม่ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ทั้งสองเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
การที่ศาลล่างทั้งสองบังคับให้จำเลยดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ทั้งสอง หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น ไม่อาจทำได้เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลบังคับจำเลยให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การเลิกสัญญาโดยปริยายและการคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทในราคา 3,500,000 บาทโดยโจทก์วางเงินมัดจำแก่จำเลย 300,000 บาท เมื่อถึงกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินโจทก์จำเลยต่างไปยังสำนักงานที่ดินแต่ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทได้เนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศขายที่ดินพิพาท และการประกาศดังกล่าวเป็นการประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่ 35(พ.ศ. 2531) ข้อ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปิดประกาศ ฉะนั้น การที่จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญา และไม่ใช่ความรับผิดชอบของโจทก์ โจทก์จึงไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญาเช่นกัน
จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากโจทก์ไม่ไปตามนัด หาใช่เนื่องจากโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงกันไว้ไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัดตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบ
เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืนส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วยแสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำ 300,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้เป็นต้นไป แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัด เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยผิดนัดไม่คืนมัดจำแก่โจทก์เมื่อใดจึงสมควรให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์, การครอบครองปรปักษ์, และการโอนการครอบครอง
ล. ในฐานะส่วนตัวและในฐานะบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ทั้งสี่ซึ่งขณะนั้นยังเป็นผู้เยาว์ ได้โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ก. โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสี่ และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสี่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ล. กับ ก. จึงไม่มีผลผูกพันส่วนของโจทก์ทั้งสี่ แม้ ล. ได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้ ก. และจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันเข้าทำประโยชน์ตลอดมาเป็นเวลาถึง 16 ปีเศษ ก็ต้องถือว่า ก. และจำเลยเข้ายึดถือที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสี่แทนโจทก์ทั้งสี่ ก. และจำเลยจึงไม่อาจยกเอาระยะเวลาที่ ก. และจำเลยเข้าทำนาในที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้กับโจทก์ทั้งสี่จนกว่าจำเลยกับ ก. จะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสี่ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสี่อีกต่อไป แต่ทางพิจารณาไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่
แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ล. กับ ก. จะไม่ผูกพันที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่ แต่เมื่อได้ความว่าหลังจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว ล. ยอมให้จำเลยกับ ก. เข้าทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมา ประกอบกับที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งบุคคลมีเพียงสิทธิครอบครอง และอาจโอนการครอบครองให้กันได้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 การที่ ล. มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยกับ ก. เข้าทำนาจึงมีผลเป็นการโอนการครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนของ ล. ให้แก่จำเลยและ ก. จำเลยและ ก. ย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนนี้ การที่จำเลยฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งหมด แต่เมื่อได้ความว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทบางส่วน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยได้รับส่วนแบ่งตามสิทธิของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2)
ที่จำเลยมีคำขอท้ายฟ้องแย้ง ขอให้บังคับโจทก์ทั้งสี่ไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยนั้น แม้จะฟังได้ว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกับโจทก์ทั้งสี่ แต่ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจจำเลยที่จะขอให้บังคับเช่นนั้นได้ อีกทั้งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 77 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) กฎกระทรวงฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2536) ออกตามความใน พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ได้กำหนดวิธีการในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร จำเลยย่อมสามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้ได้รับผลตามวัตถุประสงค์ได้อยู่แล้ว กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน – การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ – เขตอุทยานฯ – การโต้แย้งสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์มิใช่ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่ยอมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้วโจทก์จึงฟ้องจำเลยซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ที่พิพาทมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติในที่พิพาทมีผู้ครอบครองมาตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดินแต่มีได้แจ้งการครอบครองรวมทั้งผู้ครอบครองต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าวจนถึงโจทก์โดยที่รัฐยังมิได้เข้าไปจัดที่ดินย่อมยังมีสิทธิครอบครองอยู่โจทก์มีสิทธิขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้จำเลยเป็นนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โต้แย้งว่าที่พิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติให้งดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เมื่อปรากฎว่าที่พิพาทมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติจำเลยจึงชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินทำประโยชน์เดิมที่ไม่ได้แจ้งการครอบครอง แม้ต่อมาที่ดินนั้นถูกอ้างว่าเป็นเขตอุทยานฯ หากพิสูจน์ได้ว่าที่ดินนั้นอยู่นอกเขตอุทยานฯ โจทก์มีสิทธิขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์มิใช่ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัว และการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่ยอมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ที่พิพาทมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ในที่พิพาทมีผู้ครอบครองมาตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน แต่มีได้แจ้งการครอบครอง รวมทั้งผู้ครอบครองต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าวจนถึงโจทก์โดยที่รัฐยังมิได้เข้าไปจัดที่ดิน ย่อมยังมีสิทธิครอบครองอยู่ โจทก์มีสิทธิขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ จำเลยเป็นนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โต้แย้งว่าที่พิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติให้งดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อปรากฎว่าที่พิพาทมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติจำเลยจึงชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน - การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ - การโต้แย้งสิทธิ - อำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ มิใช่ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัว และการที่โจทก์อ้างว่า จำเลยไม่ยอมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ที่พิพาทมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ในที่พิพาทมีผู้ครอบครองมาตั้งแต่ก่อนใช้ ป.ที่ดิน แต่มิได้แจ้งการครอบครอง รวมทั้งผู้ครอบครองต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าวจนถึงโจทก์โดยที่รัฐยังมิได้เข้าไปจัดที่ดิน ย่อมยังมีสิทธิครอบครองอยู่ โจทก์มีสิทธิขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ จำเลยเป็นนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โต้แย้งว่าที่พิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ให้งดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ จำเลยจึงชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ทายาทอื่นรับมรดกที่ดิน ย่อมทำให้ผู้รับมรดกมีกรรมสิทธิ์สมบูรณ์
บันทึกที่ จ.ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินใจความว่า ที่ดินพิพาทมีชื่อ ฉ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ซึ่งได้ตายไปแล้ว วันนี้ (วันที่ 2 ธันวาคม 2530) ทายาทของผู้ตายคือจำเลยได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของ ฉ. จ.ได้รับทราบเรื่องราวและประกาศขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้โดยตลอดแล้ว จ.เป็นทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ด้วย แต่ จ.ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่อย่างใด และยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่เพียงผู้เดียว เช่นนี้ถ้อยคำของ จ.เป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติไปตาม ป.ที่ดิน มาตรา 81ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2516) ออกตามความในพ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ซึ่งถ้อยคำของ จ.ดังกล่าวไม่ใช่กรณีทายาทสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ.มาตรา 1612 เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนหนึ่งของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด แต่บันทึกถ้อยคำของนายจำรัสดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความ มีผลบังคับได้ตาม มาตรา 850, 852 และ 1750ทั้งตามโฉนดที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนเสร็จสิ้น อันถือได้ว่าจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้โดยสมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินแล้วโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ จ.จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินแปลงนี้จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5963/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการบังคับคดีและมรดก: การจดทะเบียนสิทธิและการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
สิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาในฐานะเป็นผู้ชนะคดีตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด และข้อตกลงในชั้นบังคับคดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับผู้แพ้คดีนั้นเป็นการได้สิทธิโดยผลของคำพิพากษา จึงแตกต่างกับสิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาท ซึ่งถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินแทนที่เจ้ามรดก แม้การได้สิทธิในที่ดินดังกล่าวตามคำพิพากษาโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าเป็นทายาทของเจ้ามรดกก็หาใช่การได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโดยทางมรดกโดยทั่วไปอันจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามลำดับขั้นตอนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 81 ประกอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 24(พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และระเบียบของกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2516 ให้เสร็จสิ้นเสียชั้นหนึ่งก่อนไม่ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะขอจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมได้ทันที แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็นสมควรไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5963/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากคำพิพากษาและมรดก: ไม่ต้องจดทะเบียนมรดกก่อนแบ่งแยกได้
สิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาในฐานะเป็นผู้ชนะคดีตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด และข้อตกลงในชั้นบังคับคดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับผู้แพ้คดีนั้นเป็นการได้สิทธิโดยผลของคำพิพากษา จึงแตกต่างกับสิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาท ซึ่งถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินแทนที่เจ้ามรดก แม้การได้สิทธิในที่ดินดังกล่าวตามคำพิพากษาโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าเป็นทายาทของเจ้ามรดกก็หาใช่การได้มาซึ่ง สิทธิในที่ดินโดยทางมรดกโดยทั่วไปอันจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามลำดับขั้นตอนตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 81 ประกอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และระเบียบของกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2516 ให้เสร็จสิ้นเสียชั้นหนึ่งก่อนไม่ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะขอจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมได้ทันที
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็นสมควรไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบโฉนดที่ดินหลังศาลตัดสินให้กรรมสิทธิ์แก่ผู้ครอบครอง แม้โฉนดอยู่ที่จำเลย ไม่ต้องมีนิติกรรมบังคับ
การที่ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินบางส่วนตามโฉนดที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองนั้น แม้โฉนดที่ดินอยู่ที่จำเลย โจทก์ก็จะขอให้จำเลยส่งมอบโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์เพื่อไปจดทะเบียนสิทธิหาได้ไม่เพราะกรณีนี้ไม่มีนิติกรรม นิติเหตุ หรือบทกฎหมายใดที่กำหนดให้จำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินแก่โจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องทำอย่างไร โจทก์ย่อมสามารถที่จะปฏิบัติตามและได้รับผลตามความประสงค์ของโจทก์อยู่แล้ว.
of 4