พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้บริการขนส่งเพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องมีลักษณะเป็นการรับขนส่งเพื่อบำเหน็จที่เป็นค่าระวางพาหนะ
ป.รัษฎากรมิได้บัญญัติว่า การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรหมายความว่าอย่างไร จึงต้องถือความหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และมาตรา 610 จากบทบัญญัติดังกล่าว การให้บริการขนส่งจึงหมายถึงการรับขนส่งของหรือคนโดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อบำเหน็จคือค่าระวางพาหนะเป็นทางค้าปกติของผู้ขนส่ง ฉะนั้น หากบำเหน็จที่ได้รับมิใช่ค่าระวางพาหนะแล้ว การให้บริการนั้นก็ไม่ถือเป็นการให้บริการขนส่ง ซึ่งค่าระวางพาหนะจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับระยะทาง ความยากง่ายและระยะเวลาขนส่งเป็นสำคัญ เมื่อบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าเป็นค่าตอบแทนการที่โจทก์ส่งพนักงานไปส่งเอกสารให้ลูกค้าตามที่ลูกค้าสั่ง เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับเป็นรายเดือนจำนวนแน่นอนตามที่ตกลงในสัญญาจ้างบริการโดยมิได้คำนึงถึงระยะทาง ความยากง่ายและระยะเวลาขนส่งในแต่ละคราวเป็นสำคัญ ค่าบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นค่าระวางพาหนะ การให้บริการของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นการให้บริการขนส่งอันจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ) แม้จะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7664/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมค้ำประกันไม่ใช่ค่าบริการ แต่เป็นการทดรองจ่าย โจทก์ไม่สามารถนำมาถือเป็นภาษีซื้อได้
โจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. โดยโจทก์ต้องหาผู้ค้ำประกันให้แก่ธนาคาร อ. ผู้ให้กู้ บริษัท ผ. ซึ่งเป็นผู้ร่วมทุนในกิจการร่วมค้าของโจทก์เป็นผู้ดำเนินการให้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าค้ำประกันสัญญากู้ยืมเงินของโจทก์โดยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมจากบริษัท ผ. 11,714,062.50 บาท ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจึงเป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้บรรลุเงื่อนไขตามสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ทำกับธนาคาร อ. อันเป็นกิจการของโจทก์และเพื่อประโยชน์แก่กิจการของโจทก์ บริษัท ผ. มีหน้าที่ต้องช่วยเหลือโจทก์ในการจัดหาผู้ค้ำประกัน และโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันคืนให้แก่ผู้ร่วมทุนตามที่ระบุใน สัญญาร่วมทุน ข้อ 4 เรื่องการเงิน เงินค่าธรรมเนียมที่บริษัท ผ. ชำระให้แก่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงเป็นเงินที่บริษัท ผ. ได้ออกทดรองไปแทนโจทก์ การที่บริษัท ผ. เรียกให้โจทก์ชำระเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงเป็นการเรียกคืนเงินทดรองที่ได้จ่ายแทนไปไม่ใช่เรียกค่าบริการ บริษัท ผ. จึงไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีขายและ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,171,406.25 บาท จากโจทก์ โจทก์จึงนำมาถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การจัดอาหารให้พนักงานโรงแรม ถือเป็นการให้บริการทางธุรกิจ ต้องเสียภาษี
การที่โจทก์จัดอาหารให้กับพนักงานของโจทก์ แยกต่างหากจากการที่ให้บริการลูกค้าของโรงแรม ก็เป็นการให้บริการแก่พนักงานโดยใช้บริการของตนเองอันอยู่ในความหมายของคำว่า "บริการ" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1(10) ซึ่งโจทก์จะต้องนำมูลค่าของอาหารที่บริการแก่พนักงานมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์ในการบริการการทำงานของพนักงานจากการที่ให้พนักงานรับประทานอาหาร แต่ก็มิใช่ประโยชน์ในการบริหารงานของกิจการอันเป็นการประกอบกิจการของโจทก์โดยตรง จะถือเป็นการนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรงตามมาตรา 77/1(10)(ก)แห่งประมวลรัษฎากรไม่ได้
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78)เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่ง ประมวลรัษฎากร ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2541 แต่กรณีของโจทก์เกิดก่อนหน้าประกาศดังกล่าวจะใช้บังคับ จึงไม่อาจนำประกาศดังกล่าวมาใช้บังคับได้
เมื่อบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ให้โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาได้ว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารและไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรไม่
แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์ในการบริการการทำงานของพนักงานจากการที่ให้พนักงานรับประทานอาหาร แต่ก็มิใช่ประโยชน์ในการบริหารงานของกิจการอันเป็นการประกอบกิจการของโจทก์โดยตรง จะถือเป็นการนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรงตามมาตรา 77/1(10)(ก)แห่งประมวลรัษฎากรไม่ได้
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78)เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่ง ประมวลรัษฎากร ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2541 แต่กรณีของโจทก์เกิดก่อนหน้าประกาศดังกล่าวจะใช้บังคับ จึงไม่อาจนำประกาศดังกล่าวมาใช้บังคับได้
เมื่อบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ให้โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาได้ว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารและไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีอาหารพนักงาน: การให้บริการโดยใช้บริการของตนเองต้องนำมูลค่ามาคำนวณภาษี
การที่โจทก์จัดอาหารให้กับพนักงานของโจทก์ แยกต่างหากจากการที่ให้บริการลูกค้าของโรงแรม ก็เป็นการให้บริการแก่พนักงานโดยใช้บริการของตนเอง อันอยู่ในความหมายของคำว่า "บริการ" ตามมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งโจทก์จะต้องนำมูลค่าของอาหารที่บริการแก่พนักงานมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จะอ้างว่าการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็นประโยชน์ในการบริหารงานของกิจการอันเป็นการประกอบกิจการของโจทก์โดยตรงหาได้ไม่ แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์จากการที่ให้พนักงานรับประทานอาหาร แต่การให้พนักงานรับประทานอาหารมิใช่การบริหารงานของกิจการโดยตรง จะถือเป็นการนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ตามมาตรา 77/1 (10) (ก) แห่ง ป.รัษฎากรไม่ได้ ส่วนประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่ง ป.รัษฎากร ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2541 แต่กรณีของโจทก์เกิดก่อนหน้าที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่อาจนำประกาศดังกล่าวมาใช้บังคับได้
บทบัญญัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ให้โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาได้ว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะหากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับการงดหรือลดเบี้ยปรับว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยอ้างว่าเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำวินิจฉัยให้งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 แห่ง ป.รัษฎากร ที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดี จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
บทบัญญัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ให้โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาได้ว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะหากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับการงดหรือลดเบี้ยปรับว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยอ้างว่าเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำวินิจฉัยให้งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 แห่ง ป.รัษฎากร ที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดี จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการ: การตีความฐานภาษีที่ถูกต้องเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลง
โจทก์ทำสัญญารับจ้างทำของหรือสัญญาให้บริการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 และประมวลรัษฎากรมาตรา 77/1(10) ข้อตกลงระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยชำระราคาค่าจ้างให้แก่โจทก์ 3 งวด จากจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมด 5,950,000 บาท เป็นเงินงวดละ 1,983,333.33 บาทต่อมาแม้โจทก์จะได้ตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่โดยให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรข้อตกลงดังกล่าวต่างกับสัญญาที่ทำไว้เดิม โดยระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและเป็นผู้ชำระราคาซี.ไอ.เอฟ. จำนวน 1,655,641 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม115,894 บาท ตามหลักฐานของกรมศุลกากรก็ตาม แต่โจทก์ก็รับว่าเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ชำระแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ยังคงรับเงินค่าจ้างจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในงวดแรกเป็นจำนวนเงิน 1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญาเดิม จึงต้องถือว่าโดยพฤตินัยการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรแทนโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าสินค้าตราไปรษณียากรพร้อมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินตามหลักฐานที่กรมศุลกากรออกให้อยู่นั้นเอง จึงเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่ว่านี้มิใช่ราคาค่าจ้างหรือค่าบริการที่โจทก์ได้ทำการตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่ แต่ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าบริการในการนำเข้าตราไปรษณียากรจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเงิน 1,983,333.33 บาทตรงตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่โจทก์จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับบริการคิดเป็นภาษีขายจำนวน 138,833.33 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79และมาตรา 82/4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการนำเข้าตราไปรษณียากร โดยผู้รับจ้างชำระค่าสินค้าแทน
โจทก์ทำสัญญารับจ้างทำของหรือสัญญาให้บริการตาม ป.พ.พ.มาตรา 587 และ ป.รัษฏากร มาตรา 77/1 (10) ข้อตกลงระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยชำระราคาค่าจ้างให้แก่โจทก์ 3 งวด จากจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมด 5,950,000 บาท เป็นเงินงวดละ 1,983,333.33 บาท ต่อมาแม้โจทก์จะได้ตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่โดยให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากร ข้อตกลงดังกล่าวต่างกับสัญญาที่ทำไว้เดิม โดยระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและเป็นผู้ชำระราคา ซี.ไอ.เอฟ.จำนวน 1,655,641 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 115,894 บาท ตามหลักฐานของกรมศุลกากรก็ตาม แต่โจทก์ก็รับว่าเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ชำระแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ยังคงรับเงินค่าจ้างจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในงวดแรกเป็นจำนวนเงิน 1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญาเดิม จึงต้องถือว่าโดยพฤตินัย การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรแทนโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าสินค้าตราไปรษณียากรพร้อมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินตามหลักฐานที่กรมศุลกากรออกให้อยู่นั้นเอง จึงเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่ว่านี้มิใช่ราคาค่าจ้างหรือค่าบริการที่โจทก์ได้ทำการตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่ แต่ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าบริการในการนำเข้าตราไปรษณียากรจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเงิน1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่โจทก์จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับบริการคิดเป็นภาษีขายจำนวน 138,833.33 บาท ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79และมาตรา 82/4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7129/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าประกันการใช้บริการเป็นค่าบริการที่ต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถออกใบลดหนี้ได้
เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งโจทก์จัดเก็บจากผู้ใช้บริการนั้นแม้โจทก์จะต้องเรียกเก็บเนื่องจากมีข้อผูกพันที่โจทก์ได้ให้ไว้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์ติดตามตัวระบบDIGITAL DISPLAY PAGING ก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ใช้บริการก็เรียกเก็บในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ หากผู้ใช้บริการไม่ชำระเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะไม่ให้บริการและหากผู้ใช้บริการยังค้างชำระค่าบริการอยู่ เมื่อเลิกสัญญาการให้บริการโจทก์ก็สามารถหักจากเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าว และถ้ามีเงินเหลือจึงจะคืนให้แก่ผู้ใช้บริการหรือหากผู้ใช้บริการไม่ค้างชำระค่าบริการก็จะคืนเงินทั้งจำนวนให้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จัดเก็บเพื่อประโยชน์ของโจทก์ และจัดเก็บในขณะที่ผู้ใช้บริการเริ่มขอใช้บริการและหากไม่ชำระโจทก์ก็จะไม่ให้บริการ การเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริการ เงินจำนวนดังกล่าวจึงถือเป็นเงินค่าบริการตามความหมายของคำว่า" "บริการ" ตามมาตรา 77/1 (10) แห่งป.รัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่ง ป.รัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1 (1) แห่ง ป.รัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่ง ป.รัษฎากรยิ่งกว่านั้น เมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งป.รัษฎากร และนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป.รัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่ง ป.รัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1 (1) แห่ง ป.รัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่ง ป.รัษฎากรยิ่งกว่านั้น เมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งป.รัษฎากร และนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7129/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าประกันการใช้บริการถือเป็นค่าบริการตามประมวลรัษฎากร จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งโจทก์จัดเก็บจากผู้ใช้บริการนั้นแม้โจทก์จะต้องเรียกเก็บเนื่องจากมีข้อผูกพันที่โจทก์ได้ให้ไว้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์ติดตามตัวระบบ DIGITALDISPLAY PAGING ก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ใช้บริการก็เรียกเก็บในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ หากผู้ใช้บริการไม่ชำระเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะไม่ให้บริการและหากผู้ใช้บริการยังค้างชำระค่าบริการอยู่ เมื่อเลิกสัญญาการให้บริการโจทก์ก็สามารถหักจากเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าว และถ้ามีเงินเหลือจึงจะคืนให้แก่ผู้ใช้บริการหรือหากผู้ใช้บริการไม่ค้างชำระค่าบริการก็จะคืนเงินทั้งจำนวนให้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จัดเก็บเพื่อประโยชน์ของโจทก์และจัดเก็บในขณะที่ผู้ใช้บริการเริ่มขอใช้บริการและหากไม่ชำระโจทก์ก็จะไม่ให้บริการการเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริการ เงินจำนวนดังกล่าวจึงถือเป็นเงินค่าบริการตามความหมายของคำว่า "บริการ"ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1(1) แห่ง ประมวลรัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ยิ่งกว่านั้นเมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรและนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1(1) แห่ง ประมวลรัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ยิ่งกว่านั้นเมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรและนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7129/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าประกันบริการถือเป็นค่าบริการตามประมวลรัษฎากร ต้องนำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งโจทก์จัดเก็บจากผู้ใช้บริการนั้นแม้โจทก์จะต้องเรียกเก็บเนื่องจากมีข้อผูกพันที่โจทก์ได้ให้ไว้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์ติดตามตัวระบบ DIGITALDISPLAY PAGING ก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ใช้บริการก็เรียกเก็บในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ หากผู้ใช้บริการไม่ชำระเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะไม่ให้บริการและหากผู้ใช้บริการยังค้างชำระค่าบริการอยู่ เมื่อเลิกสัญญาการให้บริการโจทก์ก็สามารถหักจากเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าว และถ้ามีเงินเหลือจึงจะคืนให้แก่ผู้ใช้บริการหรือหากผู้ใช้บริการไม่ค้างชำระค่าบริการก็จะคืนเงินทั้งจำนวนให้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จัดเก็บเพื่อประโยชน์ของโจทก์และจัดเก็บในขณะที่ผู้ใช้บริการเริ่มขอใช้บริการและหากไม่ชำระโจทก์ก็จะไม่ให้บริการการเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริการ เงินจำนวนดังกล่าวจึงถือเป็นเงินค่าบริการตามความหมายของคำว่า "บริการ"ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1(1) แห่ง ประมวลรัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ยิ่งกว่านั้นเมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรและนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1(1) แห่ง ประมวลรัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ยิ่งกว่านั้นเมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรและนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินและอาคารพร้อมเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้าง ไม่ถือเป็นบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์ได้ทำสัญญาให้บริการจัดหาศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้แก่บริษัทท. ตามบันทึกช่วยจำซึ่งแม้ตามข้อ 3.1 จะมีข้อความระบุว่า "ระยะเวลาของข้อตกลงนี้สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการผ่อนชำระค่าก่อสร้างและส่วนของการเช่าที่ดินในเวลา 4 ปี" ซึ่งทำให้เห็นว่าโจทก์ได้รับเงินในวันทำบันทึกช่วยจำในส่วนค่าก่อสร้าง อาคารก็จริง แต่เมื่อนำมาพิจารณาประกอบข้อความ ที่ระบุไว้ในบันทึกช่วยจำข้อ 3.2 วรรคสุดท้าย ที่ว่า "หลังจากผ่อนชำระค่าก่อสร้างครบ 4 ปี แล้ว ค่าเช่าจะเปลี่ยนเป็น 50,000 บาท ต่อเดือน และค่าเช่านี้จะปรับเพิ่ม 5% ทุก ๆ 12 เดือน" แล้วจะเห็นได้ว่าหลังจากก่อสร้างอาคารศูนย์ฝึกอบรมลงบนที่ดินที่ได้ทำการเช่า จากโจทก์เสร็จแล้ว ตัวอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่โจทก์ทำการก่อสร้างก็มิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทท. แต่อย่างใดเพราะบริษัทดังกล่าวยังต้องเช่าจากโจทก์อยู่ต่อไป ดังจะเห็นได้จากที่บริษัทดังกล่าวต้องเสียค่าเช่าอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่โจทก์สร้างเสร็จพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มทุกปีลักษณะเช่นนี้จึงเห็นได้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าที่ดินและอาคารศูนย์ฝึกอบรมโดยบริษัทดังกล่าวต้องออกเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า เมื่อคำว่า "บริการ" ประมวลรัษฎากรมาตรา 77/1(10) ให้หมายความถึงการกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า การให้เช่าทรัพย์สินจึงถือเป็นการให้บริการอย่างหนึ่ง แต่เป็นการให้บริการที่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 81(1)(ต)ได้บัญญัติให้ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและเป็นกิจการที่ไม่มีสิทธิขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา 81/3 ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำที่โจทก์ได้ทำไว้กับบริษัทท.และทำให้โจทก์ไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีและนำส่งภาษีขายเงินค่าก่อสร้าง ตามใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกิจการหลายประเภทได้แก่ การซ่อมแซมสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจและบริการส่วนบุคคลอื่น ๆแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทัน ภายใน 3 วันทำการนั้นเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ ได้รับตามบันทึกช่วยจำ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งตามบัญชีรายงานภาษีขายของเดือนเมษายน 2537 ก็ไม่ปรากฏว่าภาษีขายดังกล่าวเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าวจึงฟังไม่ได้ว่าภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทันภายใน 3 วันทำการเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าว แต่ฟังได้ว่าเป็นภาษีขายของค่าบริการอื่นซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ลงรายงานภาษีขายภายใน 3 วันทำการ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ที่โจทก์นำสืบถึงเหตุที่ลงรายงานภาษีขายดังกล่าวไม่ทันภายใน 3 วันทำการ ว่าเป็นเพราะพนักงานที่มีหน้าที่ลงรายงาน มีเพียงคนเดียว แต่ลาป่วยเป็นเวลา 5 วัน ไม่อาจลงรายการได้ จึงลงรายการต่อท้ายภายในเดือนเมษายน 2537 นั้น ไม่ถือเป็นข้อแก้ตัวให้โจทก์พ้นความรับผิดที่จะต้องเสีย เบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(10) เพราะเป็น เรื่องการบริหารงานภายในของโจทก์เอง