พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง: สิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ขาดอายุความ แต่จำกัดดอกเบี้ยค้างชำระ และราคาทรัพย์จำนองเกินหนี้
จำเลยร่วมกู้เงินโจทก์ โดยจำเลยนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน จำเลยร่วมค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 7 ปีเศษโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อตาม ป.พ.พ.มาตรา 745 ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น กล่าวคือ ห้ามบังคับจำนองหนี้ประเภทเดียวคือดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความหรือไม่ก็ตาม หาใช่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนที่ค้างชำระไม่เกินห้าปีเท่านั้น
โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ.2530 เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดินของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัวอยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้
ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (3) นั้น ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ.2530 เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดินของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัวอยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้
ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (3) นั้น ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง: บังคับจำนองได้แม้หนี้ขาดอายุความ แต่จำกัดดอกเบี้ยค้างชำระ และไม่สามารถเอาทรัพย์หลุดได้หากราคาทรัพย์ท่วมหนี้
จำเลยร่วมกู้เงินโจทก์ โดยจำเลยนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน จำเลยร่วมค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 7 ปีเศษโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 745 ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น กล่าวคือ ห้ามบังคับจำนองหนี้ประเภทเดียวคือดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความหรือไม่ก็ตาม หาใช่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเรียก ดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนที่ค้างชำระไม่เกินห้าปี เท่านั้น โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ. 2530เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดิน ของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัว อยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงิน ที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้ ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3) นั้นปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับ วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์การยืมวัตถุโบราณและการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่2รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทของโจทก์ไปจริงโดยเชื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทจากโจทก์เพื่อนำไปแสดงยังสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่1ในประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่1ได้รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์แล้วซึ่งตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยทั้งสองยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์จริงหรือไม่ศาลอุทธรณ์จึงมิได้วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงิน225,000บาทนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่เจ้าของสินค้าที่สูญหายไปคือตั้งแต่วันที่10มกราคม2535ถึงวันฟ้องเป็นเงิน32,250บาทรวมกับต้นเงินเป็นยอดเงินที่โจทก์เรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองถึงวันฟ้องจำนวน257,250บาทและโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน225,000บาทอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์อีกด้วยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทให้แก่โจทก์หากคืนไม่ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงิน50,000ฟรังก์ฝรั่งเศสหรือเงินไทย257,250บาทแก่โจทก์แสดงว่าโจทก์อุทธรณ์รวมเอาเงินดอกเบี้ยจำนวน32,250บาทอันเป็นดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่10มกราคม2535ถึงวันฟ้องเข้ากับต้นเงินจำนวน225,000บาทมาในฟ้องอุทธรณ์ด้วยแล้วดังนั้นแม้ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน225,000บาทอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จมาด้วยแต่โดยนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(3)ประกอบด้วยมาตรา246เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่1ผู้แพ้คดีชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงิน225,000บาทนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่1ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์และการบังคับดอกเบี้ยตามฟ้อง แม้ไม่ได้ขอในอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทของโจทก์ไปจริงโดยเชื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทจากโจทก์เพื่อนำไปแสดงยังสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 ในประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 1 ได้รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยทั้งสองยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณไปจากโจทก์จริงหรือไม่ ศาลอุทธรณ์จึงมิได้วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน225,000 บาท นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่เจ้าของสินค้าที่สูญหายไปคือ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2535 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 32,250 บาท รวมกับต้นเงินเป็นยอดเงินที่โจทก์เรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองถึงวันฟ้องจำนวน 257,250 บาทและโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน 225,000 บาท อัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์อีกด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทให้แก่โจทก์หากคืนไม่ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงิน 50,000 ฟรังก์ฝรั่งเศส หรือเงินไทย257,250 บาท แก่โจทก์ แสดงว่าโจทก์อุทธรณ์รวมเอาเงินดอกเบี้ยจำนวน 32,250บาท อันเป็นดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2535 ถึงวันฟ้องเข้ากับต้นเงินจำนวน225,000 บาท มาในฟ้องอุทธรณ์ด้วยแล้ว ดังนั้น แม้ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน 225,000 บาท อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จมาด้วย แต่โดยนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 142 (3)ประกอบด้วยมาตรา 246 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควร ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้แพ้คดีชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 225,000 บาทนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน225,000 บาท นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่เจ้าของสินค้าที่สูญหายไปคือ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2535 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 32,250 บาท รวมกับต้นเงินเป็นยอดเงินที่โจทก์เรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองถึงวันฟ้องจำนวน 257,250 บาทและโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน 225,000 บาท อัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์อีกด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทให้แก่โจทก์หากคืนไม่ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงิน 50,000 ฟรังก์ฝรั่งเศส หรือเงินไทย257,250 บาท แก่โจทก์ แสดงว่าโจทก์อุทธรณ์รวมเอาเงินดอกเบี้ยจำนวน 32,250บาท อันเป็นดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2535 ถึงวันฟ้องเข้ากับต้นเงินจำนวน225,000 บาท มาในฟ้องอุทธรณ์ด้วยแล้ว ดังนั้น แม้ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน 225,000 บาท อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จมาด้วย แต่โดยนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 142 (3)ประกอบด้วยมาตรา 246 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควร ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้แพ้คดีชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 225,000 บาทนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาชดใช้ค่าเสียหายจากความรับผิดในสัญญาและการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทของโจทก์ไปจริงโดยเชื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทจากโจทก์เพื่อนำไปแสดงยังสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1ในประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 1 ได้รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยทั้งสองยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์จริงหรือไม่ ศาลอุทธรณ์จึงมิได้วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน225,000 บาท นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่เจ้าของสินค้าที่สูญหายไปคือ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2535ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 32,250 บาท รวมกับต้นเงินเป็นยอดเงินที่โจทก์เรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองถึงวันฟ้องจำนวน257,250 บาท และโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน 225,000 บาท อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์อีกด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงิน 50,000 ฟรังก์ฝรั่งเศส หรือเงินไทย257,250 บาท แก่โจทก์ แสดงว่าโจทก์อุทธรณ์รวมเอาเงินดอกเบี้ยจำนวน 32,250 บาท อันเป็นดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่10 มกราคม 2535 ถึงวันฟ้องเข้ากับต้นเงินจำนวน 225,000 บาทมาในฟ้องอุทธรณ์ด้วยแล้ว ดังนั้น แม้ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน 225,000 บาทอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จมาด้วย แต่โดยนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(3) ประกอบด้วยมาตรา 246 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้แพ้คดีชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 225,000 บาทนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ไม่ใช่เหตุยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย และการคำนวณดอกเบี้ย
ตามบทบัญญัติของกฎหมายก็ดี ระเบียบของจำเลยก็ดีที่ให้พนักงานพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิได้กำหนดให้ผูกพันจ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติพนักงานของจำเลยเป็นการทั่วไป พนักงานของจำเลยจึงมิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำนาญแตกต่างกับค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ถึงหากคำนวณแล้วจะมีจำนวนมากกว่าค่าชดเชย แต่ก็มีความประสงค์ในการจ่ายและวิธีการคำนวณแตกต่างกัน จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากค่าชดเชย
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเป็นการเกินคำขอของโจทก์ ศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ระบุมาในคำฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเพียง 2 ปี 5 เดือนไม่ถึงวันฟ้อง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระแก่โจทก์เสร็จจึงไม่ถูกต้อง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำนาญแตกต่างกับค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ถึงหากคำนวณแล้วจะมีจำนวนมากกว่าค่าชดเชย แต่ก็มีความประสงค์ในการจ่ายและวิธีการคำนวณแตกต่างกัน จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากค่าชดเชย
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเป็นการเกินคำขอของโจทก์ ศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ระบุมาในคำฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเพียง 2 ปี 5 เดือนไม่ถึงวันฟ้อง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระแก่โจทก์เสร็จจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาค้ำประกัน-ความรับผิดหุ้นส่วน-อำนาจฟ้อง-ค่าทนายความ
โจทก์มีสิทธิ์เรียกเบี้ยปรับจากจำเลยได้ตามสัญญา เมื่อธนาคารผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้ชำระเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวนที่ยังเหลือได้ หาใช่เป็นการเรียกค่าปรับซ้อนกันไม่
แม้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาในฐานะตัวแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มิใช่ในฐานะส่วนตัว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
กรมตำรวจเป็นกรมในรัฐบาลย่อมเป็นนิติบุคคลมีอำนาจฟ้องหรือเป็นโจทก์ได้ ไม่จำต้องให้กระทรวงมหาดไทยเป็นโจทก์ ทั้งมีอำนาจมอบให้หัวหน้ากองพลาธิการ กรมตำรวจฟ้องคดีได้ด้วย
แม้ในใบมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ประเภทไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องรับผิดตามสัญญาร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย การฟ้องคดีของโจทก์จึงถูกต้องตามใบมอบอำนาจแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเบี้ยปรับหรือนัยหนึ่งค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของคู่สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องบรรยายอีกว่าเสียหายอะไร อย่างไร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ความเสียหายที่คู่กรณีได้กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นค่าปรับในสัญญาแล้วนั้น การปรับตามสัญญาไม่ได้หมายความเฉพาะแต่ในการส่งทรัพย์สินล่าช้าเท่านั้น หากแต่รวมถึงการไม่ส่งด้วย
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว สิทธิ์ของโจทก์ในการคิดดอกเบี้ยย่อมมีขึ้นหากจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาล่าช้า และศาลมีอำนาจกำหนดให้จำเลยชำระได้นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3)
คดีแพ่งและทนายโจทก์เป็นข้าราชการกรมอัยการ เมื่อจำเลยแพ้คดี ศาลก็มีอำนาจให้จำเลยชำระค่าทนายความแทนโจทก์ได้ เป็นการชำระให้แก่คู่ความที่ชนะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
แม้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาในฐานะตัวแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มิใช่ในฐานะส่วนตัว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
กรมตำรวจเป็นกรมในรัฐบาลย่อมเป็นนิติบุคคลมีอำนาจฟ้องหรือเป็นโจทก์ได้ ไม่จำต้องให้กระทรวงมหาดไทยเป็นโจทก์ ทั้งมีอำนาจมอบให้หัวหน้ากองพลาธิการ กรมตำรวจฟ้องคดีได้ด้วย
แม้ในใบมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ประเภทไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องรับผิดตามสัญญาร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย การฟ้องคดีของโจทก์จึงถูกต้องตามใบมอบอำนาจแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเบี้ยปรับหรือนัยหนึ่งค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของคู่สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องบรรยายอีกว่าเสียหายอะไร อย่างไร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ความเสียหายที่คู่กรณีได้กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นค่าปรับในสัญญาแล้วนั้น การปรับตามสัญญาไม่ได้หมายความเฉพาะแต่ในการส่งทรัพย์สินล่าช้าเท่านั้น หากแต่รวมถึงการไม่ส่งด้วย
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว สิทธิ์ของโจทก์ในการคิดดอกเบี้ยย่อมมีขึ้นหากจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาล่าช้า และศาลมีอำนาจกำหนดให้จำเลยชำระได้นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3)
คดีแพ่งและทนายโจทก์เป็นข้าราชการกรมอัยการ เมื่อจำเลยแพ้คดี ศาลก็มีอำนาจให้จำเลยชำระค่าทนายความแทนโจทก์ได้ เป็นการชำระให้แก่คู่ความที่ชนะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ, และดอกเบี้ย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นบิดาผู้ปกครองผู้ตายซึ่งมีอายุ 19 ปี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธหรือยกเป็นข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาผู้ปกครองผู้ตาย ข้อที่ว่าผู้ตายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นโต้เถียงกัน
ผู้มีชื่อนำรถยนต์เข้ามาวิ่งร่วมในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 2 โดยโอนกรรมสิทธิ์รถให้จำเลยที่ 2 ต้องพ่นสีและตีตราเป็นรถของจำเลยที่ 2 คนเก็บเงินค่าโดยสารต้องแต่งเครื่องแบบของจำเลยที่ 2 ถ้าประพฤติตนไม่ดี ผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 มีอำนาจพิจารณาลงโทษได้ ตั๋วที่จำหน่ายแก่ผู้โดยสารก็เป็นตั๋วของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังได้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าบริการเมื่อรถเข้าจอดเทียบสถานีของจำเลยที่ 2 เที่ยวละ 3 บาท พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ชี้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นรถของจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับเจ้าของรถมีรถยนต์ดังกล่าวเพื่อใช้ในกิจการหารายได้ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 คนขับรถปฏิบัติกิจการของจำเลยที่ 2 โดยมีสินจ้าง จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถชนบุตรโจทก์ในระหว่างขับรถขนส่งคนโดยสารในกิจการของจำเลยที่ 2 (อ้างฎีกาที่ 1576/2506)
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นจะต้องพิจารณาตามความสมควร ตามความจำเป็น และตามฐานะของผู้ตายและบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วย และต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
การที่บุตรตายลงทำให้บิดาต้องขาดไร้อุปการะ บิดาชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากการต้องขาดไร้อุปการะ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าปัจจุบันผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูบิดาหรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
ค่าสินไหมทดแทนค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ค่าเสียหายในอนาคตซึ่งมีจำนวนกำหนดแน่นอน โจทก์สามารถบังคับได้ในวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา
ผู้มีชื่อนำรถยนต์เข้ามาวิ่งร่วมในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 2 โดยโอนกรรมสิทธิ์รถให้จำเลยที่ 2 ต้องพ่นสีและตีตราเป็นรถของจำเลยที่ 2 คนเก็บเงินค่าโดยสารต้องแต่งเครื่องแบบของจำเลยที่ 2 ถ้าประพฤติตนไม่ดี ผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 มีอำนาจพิจารณาลงโทษได้ ตั๋วที่จำหน่ายแก่ผู้โดยสารก็เป็นตั๋วของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังได้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าบริการเมื่อรถเข้าจอดเทียบสถานีของจำเลยที่ 2 เที่ยวละ 3 บาท พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ชี้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นรถของจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับเจ้าของรถมีรถยนต์ดังกล่าวเพื่อใช้ในกิจการหารายได้ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 คนขับรถปฏิบัติกิจการของจำเลยที่ 2 โดยมีสินจ้าง จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถชนบุตรโจทก์ในระหว่างขับรถขนส่งคนโดยสารในกิจการของจำเลยที่ 2 (อ้างฎีกาที่ 1576/2506)
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นจะต้องพิจารณาตามความสมควร ตามความจำเป็น และตามฐานะของผู้ตายและบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วย และต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
การที่บุตรตายลงทำให้บิดาต้องขาดไร้อุปการะ บิดาชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากการต้องขาดไร้อุปการะ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าปัจจุบันผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูบิดาหรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
ค่าสินไหมทดแทนค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ค่าเสียหายในอนาคตซึ่งมีจำนวนกำหนดแน่นอน โจทก์สามารถบังคับได้ในวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง, ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ และดอกเบี้ย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นบิดาผู้ปกครองผู้ตายซึ่งมีอายุ 19 ปีจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธหรือยกเป็นข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาผู้ปกครองผู้ตาย ข้อที่ว่าผู้ตายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นโต้เถียงกัน
ผู้มีชื่อนำรถยนต์เข้ามาวิ่งร่วมในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 2 โดยโอนกรรมสิทธิ์รถให้จำเลยที่ 2 ต้องพ่นสีและตีตราเป็นรถของจำเลยที่ 2 คนเก็บเงินค่าโดยสารต้องแต่งเครื่องแบบของจำเลยที่ 2 ถ้าประพฤติตนไม่ดี ผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 มีอำนาจพิจารณาลงโทษได้ ตั๋วที่จำหน่ายแก่ผู้โดยสารก็เป็นตั๋วของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังได้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าบริการเมื่อรถเข้าจอดเทียบสถานีของจำเลยที่ 2 เที่ยวละ 3 บาท พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ชี้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นรถของจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับเจ้าของรถมีรถยนต์ดังกล่าวเพื่อใช้ในกิจการหารายได้ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 คนขับรถปฏิบัติกิจการของจำเลยที่ 2 โดยมีสินจ้าง จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถชนบุตรโจทก์ในระหว่างขับรถขนส่งคนโดยสารในกิจการของจำเลยที่ 2 (อ้างฎีกา ที่ 1576/2506)
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นจะต้องพิจารณาตามความสมควร ตามความจำเป็น และตามฐานะของผู้ตายและบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วย และต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
การที่บุตรตายลงทำให้บิดาต้องขาดไร้อุปการะบิดาชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากการต้องขาดไร้อุปการะ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าปัจจุบันผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูบิดาหรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
ค่าสินไหมทดแทนค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ค่าเสียหายในอนาคตซึ่งมีจำนวนกำหนดแน่นอน โจทก์สามารถบังคับได้ในวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา
ผู้มีชื่อนำรถยนต์เข้ามาวิ่งร่วมในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 2 โดยโอนกรรมสิทธิ์รถให้จำเลยที่ 2 ต้องพ่นสีและตีตราเป็นรถของจำเลยที่ 2 คนเก็บเงินค่าโดยสารต้องแต่งเครื่องแบบของจำเลยที่ 2 ถ้าประพฤติตนไม่ดี ผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 มีอำนาจพิจารณาลงโทษได้ ตั๋วที่จำหน่ายแก่ผู้โดยสารก็เป็นตั๋วของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังได้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าบริการเมื่อรถเข้าจอดเทียบสถานีของจำเลยที่ 2 เที่ยวละ 3 บาท พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ชี้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นรถของจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับเจ้าของรถมีรถยนต์ดังกล่าวเพื่อใช้ในกิจการหารายได้ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 คนขับรถปฏิบัติกิจการของจำเลยที่ 2 โดยมีสินจ้าง จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถชนบุตรโจทก์ในระหว่างขับรถขนส่งคนโดยสารในกิจการของจำเลยที่ 2 (อ้างฎีกา ที่ 1576/2506)
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นจะต้องพิจารณาตามความสมควร ตามความจำเป็น และตามฐานะของผู้ตายและบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วย และต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
การที่บุตรตายลงทำให้บิดาต้องขาดไร้อุปการะบิดาชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากการต้องขาดไร้อุปการะ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าปัจจุบันผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูบิดาหรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
ค่าสินไหมทดแทนค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ค่าเสียหายในอนาคตซึ่งมีจำนวนกำหนดแน่นอน โจทก์สามารถบังคับได้ในวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายแร่: การชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญา, คุณภาพสินค้า, ค่าเสียหาย, และการหักเงินทดรอง
(1) เมื่อจำเลยซึ่งมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณนา แม้จะส่งของทันเวลาแต่ไม่ตรงตามคำพรรณาในสัญญาจะบังคับให้โจทก์ผู้ซื้อยอมรับชำระหนี้บางส่วนหาได้ไม่และกรณีอย่างนี้ถือได้ว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ และโจทก์เรียกค่าเสียหายได้
(2) เรื่องจำนวนค่าเสียหาย เมื่อจำเลยไม่ได้อ้างว่าจำนวนที่ศาลล่างกำหนดมานั้นสูงเกินควรอย่างไรย่อมไม่มีเหตุที่ศาลสูงจะแก้
(3) เมื่อเอกสารที่โจทก์อ้างยันอยู่ว่าของที่ซื้อนั้นจำเลยเป็นผู้ออกเงินเองส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้ช่วยซื้อ เมื่อโจทก์สืบหักล้างไม่ได้ว่าโจทก์ได้ออกเงินแทนไป ก็ต้องหักเงินจำนวนค่าซื้อของนี้ออก
(4) เมื่อศาลชั้นต้นกล่าวในคำพิพากษาว่า น้ำหนักของของที่ส่งไปขายยังสับสนกันอยู่แม้โจทก์จะแถลงว่าได้ขายของนั้นได้เงินมาจำนวนหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ย่อมไม่มีประเด็นในชั้นศาลฎีกาที่จะวินิจฉัยเรื่องขายของในระหว่างคดี หากแต่ต้องว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง
(2) เรื่องจำนวนค่าเสียหาย เมื่อจำเลยไม่ได้อ้างว่าจำนวนที่ศาลล่างกำหนดมานั้นสูงเกินควรอย่างไรย่อมไม่มีเหตุที่ศาลสูงจะแก้
(3) เมื่อเอกสารที่โจทก์อ้างยันอยู่ว่าของที่ซื้อนั้นจำเลยเป็นผู้ออกเงินเองส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้ช่วยซื้อ เมื่อโจทก์สืบหักล้างไม่ได้ว่าโจทก์ได้ออกเงินแทนไป ก็ต้องหักเงินจำนวนค่าซื้อของนี้ออก
(4) เมื่อศาลชั้นต้นกล่าวในคำพิพากษาว่า น้ำหนักของของที่ส่งไปขายยังสับสนกันอยู่แม้โจทก์จะแถลงว่าได้ขายของนั้นได้เงินมาจำนวนหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ย่อมไม่มีประเด็นในชั้นศาลฎีกาที่จะวินิจฉัยเรื่องขายของในระหว่างคดี หากแต่ต้องว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง