คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 435

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากอาคารข้างเคียง: การรื้อถอนกำแพง vs. ก่อสร้างใหม่ และขอบเขตอำนาจฟ้อง
โจทก์ก่อสร้างโรงงานและกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กผนังอิฐบล็อกที่พิพาทบนที่ดินของโจทก์ ต่อมาจำเลยกับพวกได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตสำนักงานสูง 4 ชั้นชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เป็นเหตุให้กำแพงพิพาทมีรอยแตกร้าวเป็นเส้น เฉพาะกำแพงช่องที่ 1 ที่ 5 และที่ 22 รอยแตกร้าวของปูนเป็นช่องใหญ่ประมาณ1 นิ้ว ช่องผนังกำแพงที่แตกร้าวเป็นเส้นมีจำนวน 14 ช่อง และบริเวณแนวกำแพงที่โอนเอน*เข้ามาจากระดับตั้งฉากเดิม เมื่อนับจากผนังกำแพงใกล้กับท่อน้ำทิ้งหลังอาคารสำนักงานของจำเลยผนังกำแพงเอน*จากแนวตั้งฉากประมาณ4เซนติเมตรและเอน*เข้าไปด้านในจนถึงจุดที่เอน*มากที่สุดห่างจุดแรก 9 เมตร มีความเอน*ประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อความเสียหายของกำแพงพิพาทมีเพียงบางส่วน จำนวน 14 ช่องของจำนวนกำแพงพิพาทซึ่งมีทั้งหมด22 ช่อง ถือได้ว่ามีความเสียหายมากเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกำแพงพิพาท อีกทั้งกำแพงพิพาทยังเอียงจากแนวระดับตั้งฉากเดิมอีกด้วยประกอบกับความเอียงของกำแพงมิได้อยู่คงที่หากแต่มีการเอียงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลให้กำแพงพิพาทส่วนอื่นที่ยังไม่ได้รับความเสียหาย มีโอกาสเอียงไปตามแรงดึงของกำแพงส่วนที่เอียงได้ เมื่อได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการทำละเมิดของจำเลยแล้ว การให้จำเลยจัดการรื้อถอนกำแพงพิพาทและก่อสร้างใหม่ย่อมมีความเหมาะสมกว่าให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่เฉพาะส่วนที่เสียหาย แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 435 ที่บัญญัติให้บุคคลใดที่จะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น ให้บุคคลนั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้ก็ตามแต่ในการก่อสร้างอาคารของจำเลย จำเลยมิได้อาศัยหรือใช้กำแพงพิพาทของโจทก์จำเลยเพียงแต่ก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เท่านั้น เมื่อศาลได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาทรวมทั้งที่ได้กำหนดให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่ให้แก่โจทก์แล้วถือได้ว่าได้มีการบำบัดปัดป้องภยันตรายในระดับหนึ่งแล้วกรณีจึงยังไม่สมควรที่จะให้จำเลยรื้ออาคารที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายกำแพงจากก่อสร้างอาคารติดกัน: การรื้อถอนหรือก่อสร้างใหม่
โจทก์ก่อสร้างโรงงานและกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กผนังอิฐบล็อกที่พิพาทบนที่ดินของโจทก์ ต่อมาจำเลยกับพวกได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตสำนักงานสูง4 ชั้นชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เป็นเหตุให้กำแพงพิพาทมีรอยแตกร้าวเป็นเส้น เฉพาะกำแพงช่องที่ 1 ที่ 5 และที่ 22 รอยแตกร้าวของปูนเป็นช่องใหญ่ประมาณ 1 นิ้วช่องผนังกำแพงที่แตกร้าวเป็นเส้นมีจำนวน 14 ช่อง และบริเวณแนวกำแพงที่โอนเอนเข้ามาจากระดับตั้งฉากเดิม เมื่อนับจากผนังกำแพงใกล้กับท่อน้ำทิ้งหลังอาคารสำนักงานของจำเลย ผนังกำแพงเอนจากแนวตั้งฉากประมาณ 4 เซนติเมตร และเอนเข้าไปด้านในจนถึงจุดที่เอนมากที่สุดห่างจุดแรก 9 เมตร มีความเอนประมาณ 15เซนติเมตร เมื่อความเสียหายของกำแพงพิพาทมีเพียงบางส่วน จำนวน 14 ช่องของจำนวนกำแพงพิพาทซึ่งมีทั้งหมด 22 ช่อง ถือได้ว่ามีความเสียหายมากเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกำแพงพิพาท อีกทั้งกำแพงพิพาทยังเอียงจากแนวระดับตั้งฉากเดิมอีกด้วยประกอบกับความเอียงของกำแพงมิได้อยู่คงที่ หากแต่มีการเอียงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลให้กำแพงพิพาทส่วนอื่นที่ยังไม่ได้รับความเสียหาย มีโอกาสเอียงไปตามแรงดึงของกำแพงส่วนที่เอียงได้ เมื่อได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการทำละเมิดของจำเลยแล้ว การให้จำเลยจัดการรื้อถอนกำแพงพิพาทและก่อสร้างใหม่ย่อมมีความเหมาะสมกว่าให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่เฉพาะส่วนที่เสียหาย
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 435 ที่บัญญัติให้บุคคลใดที่จะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น ให้บุคคลนั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้ก็ตามแต่ในการก่อสร้างอาคารของจำเลย จำเลยมิได้อาศัยหรือใช้กำแพงพิพาทของโจทก์จำเลยเพียงแต่ก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เท่านั้น เมื่อศาลได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาท รวมทั้งที่ได้กำหนดให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่ให้แก่โจทก์แล้ว ถือได้ว่าได้มีการบำบัดปัดป้องภยันตรายในระดับหนึ่งแล้ว กรณีจึงยังไม่สมควรที่จะให้จำเลยรื้ออาคารที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5284/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ, ละเมิด, ความรับผิดร่วมกัน, การตรวจควบคุมงาน, อายุความฟ้องละเมิด
คดีนี้โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็ก และทางพิจารณาได้ความว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว กล่าวคือจำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างฝ่ายน้ำล้นจนแล้วเสร็จตามสัญญาและส่งมอบงานแก่โจทก์ไปแล้ว และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าก่อสร้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 ไปเสร็จสิ้นแล้วเช่นกัน หนี้ที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามสัญญาได้สิ้นสุดลง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาอีกหรือไม่ จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างฝายน้ำล้นกับโจทก์โดยมีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระและแรงงานในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และโจทก์ตกลงให้ค่าก่อสร้างแก่จำเลยที่ 1 สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 587 ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างฝายน้ำล้นที่พิพาทได้กำหนดกรณีที่การงานที่ทำชำรุดบกพร่องไว้ว่า ถ้ามีการชำระเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างภายใน 365 วัน นับแต่วันที่รับมอบงานเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างจะต้องรีบแก้ไขซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหากยังมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นอีก ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นของจำเลยที่ 1เป็นสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดินตามแบบแปลนที่โจทก์กำหนดโดยฝ่ายจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาสัมภาระเองและฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างได้เกิดชำรุดแตกร้าวทรุดตัวอันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติเป็นที่ประจักษ์แก่โจทก์ภายในเวลาไม่ถึงปีนับแต่วันส่งมอบ ดังนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 595 และ 600 ไม่ว่าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าการชำรุดบกพร่องมีอยู่ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในการบกพร่องนั้น เว้นแต่การชำระบกพร่องนั้นจะเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ผู้ว่าจ้าง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยที่ 1ฎีกาโต้เถียงว่า ก่อนก่อสร้างจำเลยที่ 1 ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของดินบริเวณที่ก่อสร้างได้บดอัดดินจนแน่นก่อนเทคอนกรีตได้ผสมปูนตามสัดส่วนที่กำหนดไว้และได้นำแท่งคอนกรีตไปตรวจสอบหาความแข็งแรงให้รับน้ำหนักได้ตามที่กำหนดรวมทั้งการผูกเหล็กและวางตะแกรงเหล็กได้กระทำตามที่โจทก์กำหนดไว้หรือไม่ จึงไม่ต้องวินิจฉัย ที่จำเลยที่ 1 ให้การว่า ความเสียหายของฝ่ายเกิดขึ้นเพราะการออกแบบไม่ถูกต้องมิได้เผื่อไว้ในกรณีน้ำมากกว่าปกติ ที่ฝายกั้นน้ำเสียหายนั้นเป็นเพราะมีปริมาณน้ำเหนือฝายเกินกว่าปกติแม้จะดำเนินการก่อสร้างฝายถูกต้องตามแบบทุกประการฝายก็ยังต้องพังทลาย เพราะมีน้ำป่าผ่านเหนือฝายสูงกว่าปกติทำให้เกิดปริมาณน้ำมากเกินกว่าความแข็งแรงของฝายที่จะรับน้ำได้ จึงเกิดความเสียหายขึ้นนั้นเมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นจำเลยที่ 1ต้องทราบดีว่ามีวัตถุประสงค์จะจัดการเกี่ยวกับน้ำที่ไหลมาจำนวนมากผิดปกติ ซึ่งก่อนทำสัญญารับเหมาก่อสร้าง จำเลยที่ 1ก็น่าจะตรวจสอบสภาพธรรมชาติของน้ำให้ได้ข้อมูลที่แน่นอนเสียก่อนลงมือก่อสร้าง จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างเหตุอุทกภัยดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดว่าเป็นเหตุสุดวิสัยได้ จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างบกพร่อง เลือกสถานที่ก่อสร้างผิดพลาดไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นมุมหัก ไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ เมื่อมีน้ำไหลแรงจึงเกิดการปะทะเป็นเหตุหนึ่งทำให้ฝายชำรุดและผู้ออกแบบไม่ได้หาข้อมูลจากส่วนราชการที่มีความชำนาญเกี่ยวข้องกับการออกแบบเขื่อนกั้นน้ำและฝายขนาดใหญ่เช่น กรมชลประทาน ดังนี้ นับได้ว่าเหตุที่ฝ่ายน้ำล้นของโจทก์ไม่แข็งแรงเกิดชำรุดบกพร่องในภายหลังโจทก์ได้มีส่วนผิดอยู่ด้วย โจทก์ได้ออกคำสั่ง 2 ฉบับ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคลต้องรับผิดชอบกรณีฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็กชำรุดเสียหาย คณะกรรมการได้สรุปรายงานผลการสอบสวนเสนอโจทก์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2527สำหรับความรับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าจำเลยที่ 2(ถึงแก่กรรม) จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานไม่อยู่ควบคุมงานก่อสร้างทุกคนต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 5 ไม่ปรากฏว่าได้ละเลยหน้าที่ไม่ควรต้องรับผิดทางแพ่ง ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้แทนของโจทก์ในขณะนั้นได้ทราบรายงานดังกล่าวแล้วตั้งแต่เมื่อใด จึงถือได้ว่ารายงานการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคลต้องรับผิดเป็นรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ไม่อาจรับฟังได้รับโจทก์ได้รับตัวผู้ทำละเมิดแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจการจ้างส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นกรรมการควบคุมงานก่อสร้างและการก่อสร้างฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างซึ่งได้กระทำไปโดยไม่ถูกต้องตามแบบและวิธีการก่อสร้างเป็นเหตุให้ฝายน้ำล้นชำรุดบกพร่องแตกร้าวและพังทลายเสียหายจนใช้การไม่ได้ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำรายงานเสนอโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยถูกต้องตามแบบรูปและรายละเอียดแนบท้ายสัญญาควรรับไว้ใช้ในราชการซึ่งหากจำเลยที่ 5 กับที่ 6 ไม่ประมาณเลินเล่อเอาใจใส่สอดส่องควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาโดยใกล้ชิดฝายน้ำล้นก็ไม่น่าจะแตกร้าวพังชำรุดเสียหายในเวลาอันรวดเร็วหลังจากการส่งมอบงานเช่นนั้น และโจทก์หลงเชื่อตามรายงานของจำเลยทั้งสี่ว่าการก่อสร้างได้เป็นไปตามแบบโดยถูกต้อง จึงได้จ่ายเงินค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ไปเต็มจำนวนตามสัญญาจ้าง ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยร่วมกันประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างทำของ ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ละเมิดแม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดียวกัน แต่ก็เป็นความรับผิดที่ต่างต้องรับผิดในความเสียหายอันเดียวกันเท่านั้น จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5284/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทั้งสัญญาและละเมิดจากการก่อสร้างชำรุด: ฝายน้ำล้นแตกร้าวจากทั้งการก่อสร้างและควบคุมงาน
คดีนี้โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็ก และทางพิจารณาได้ความว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้วกล่าวคือ จำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างฝายน้ำล้นจนแล้วเสร็จตามสัญญาและส่งมอบงานแก่โจทก์ไปแล้ว และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าก่อสร้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 ไปเสร็จสิ้นแล้วเช่นกัน หนี้ที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามสัญญาได้สิ้นสุดลง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาอีกหรือไม่
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างฝายน้ำล้นกับโจทก์โดยมีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระและแรงงานในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และโจทก์ตกลงให้ค่าก่อสร้างแก่จำเลยที่ 1 สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 587
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างฝายน้ำล้นที่พิพาทได้กำหนดกรณีที่การงานที่ทำชำรุดบกพร่องไว้ว่า ถ้ามีการชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างภายใน365 วัน นับแต่วันที่รับมอบงานเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างจะต้องรีบแก้ไขซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหากยังมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นอีก ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างตาม ป.พ.พ.อีกด้วย เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นของจำเลยที่ 1 เป็นสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดินตามแบบแปลนที่โจทก์กำหนด โดยฝ่ายจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาสัมภาระเองและฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างได้เกิดชำรุดแตกร้าวทรุดตัว อันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติเป็นที่ประจักษ์แก่โจทก์ภายในเวลาไม่ถึงปีนับแต่วันส่งมอบ ดังนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 595 และ 600 ไม่ว่าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าการชำรุดบกพร่องมีอยู่ จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดในการบกพร่องนั้น เว้นแต่การชำรุดบกพร่องนั้นจะเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ผู้ว่าจ้าง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้เถียงว่า ก่อนก่อสร้างจำเลยที่ 1ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของดินบริเวณที่ก่อสร้างได้บดอัดดินจนแน่นก่อนเทคอนกรีตได้ผสมปูนตามสัดส่วนที่กำหนดไว้และได้นำแท่งคอนกรีตไปตรวจสอบหาความแข็งแรงให้รับน้ำหนักได้ตามที่กำหนด รวมทั้งการผูกเหล็กและวางตะแกรงเหล็กได้กระทำตามที่โจทก์กำหนดไว้หรือไม่ จึงไม่ต้องวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 1 ให้การว่า ความเสียหายของฝายเกิดขึ้นเพราะการออกแบบไม่ถูกต้องมิได้เผื่อไว้ในกรณีน้ำมากกว่าปกติ ที่ฝายกั้นน้ำเสียหายนั้นเป็นเพราะมีปริมาณน้ำเหนือฝายเกินกว่าปกติ แม้จะดำเนินการก่อสร้างฝายถูกต้องตามแบบทุกประการฝายก็ยังต้องพังทลาย เพราะมีน้ำป่าผ่านเหนือฝายสูงกว่าปกติทำให้เกิดปริมาณน้ำมากเกินกว่าความแข็งแรงของฝายที่จะรับน้ำได้ จึงเกิดความเสียหายขึ้นนั้น เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นจำเลยที่ 1 ต้องทราบดีว่ามีวัตถุประสงค์จะจัดการเกี่ยวกับน้ำที่ไหลมาจำนวนมากผิดปกติ ซึ่งก่อนทำสัญญารับเหมาก่อสร้าง จำเลยที่ 1 ก็น่าจะตรวจสอบสภาพธรรมชาติของน้ำให้ได้ข้อมูลที่แน่นอนเสียก่อนลงมือก่อสร้าง จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างเหตุอุทกภัยดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดว่าเป็นเหตุสุดวิสัยได้
จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างบกพร่อง เลือกสถานที่ก่อสร้างผิดพลาดไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นมุมหัก ไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ เมื่อมีน้ำไหลแรงจึงเกิดการปะทะเป็นเหตุหนึ่งทำให้ฝายชำรุดและผู้ออกแบบไม่ได้หาข้อมูลจากส่วนราชการที่มีความชำนาญเกี่ยวข้องกับการออกแบบเขื่อนกั้นน้ำและฝายขนาดใหญ่ เช่น กรมชลประทาน ดังนี้ นับได้ว่าเหตุที่ฝายน้ำล้นของโจทก์ไม่แข็งแรงเกิดชำรุดบกพร่องในภายหลังโจทก์ได้มีส่วนผิดอยู่ด้วย
โจทก์ได้ออกคำสั่ง 2 ฉบับ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคลต้องรับผิดชอบกรณีฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็กชำรุดเสียหายคณะกรรมการได้สรุปรายงานผลการสอบสวนเสนอโจทก์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2527สำหรับความรับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า จำเลยที่ 2 (ถึงแก่กรรม)จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานไม่อยู่ควบคุมงานก่อสร้างทุกคนต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 5 ไม่ปรากฏว่าได้ละเลยหน้าที่ ไม่ควรต้องรับผิดทางแพ่ง ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้แทนของโจทก์ในขณะนั้นได้ทราบรายงานดังกล่าวแล้วตั้งแต่เมื่อใด จึงถือได้ว่ารายงานการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคคลต้องรับผิดเป็นรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้ตัวผู้ทำละเมิดแล้ว
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจการจ้างส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นกรรมการควบคุมงานก่อสร้าง และการก่อสร้างฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างซึ่งได้กระทำไปโดยไม่ถูกต้องตามแบบและวิธีการก่อสร้าง เป็นเหตุให้ฝายน้ำล้นชำรุดบกพร่องแตกร้าวและพังทลายเสียหายจนใช้การไม่ได้ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำรายงานเสนอโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยถูกต้องตามแบบรูปและรายละเอียดแนบท้ายสัญญาควรรับไว้ใช้ในราชการ ซึ่งหากจำเลยที่ 5 กับที่ 6 ไม่ประมาทเลินเล่อเอาใจใส่สอดส่องควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาโดยใกล้ชิดฝายน้ำล้นก็ไม่น่าจะแตกร้าวพังชำรุดเสียหายในเวลาอันรวดเร็วหลังจากการส่งมอบงานเช่นนั้น และโจทก์หลงเชื่อตามรายงานของจำเลยทั้งสี่ว่าการก่อสร้างได้เป็นไปตามแบบโดยถูกต้อง จึงได้จ่ายเงินค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ไปเต็มจำนวนตามสัญญาจ้าง ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยร่วมกันประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างทำของส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ละเมิดแม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดียวกัน แต่ก็เป็นความรับผิดที่ต่างต้องรับผิดในความเสียหายอันเดียวกันเท่านั้น จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างรุกล้ำโดยความยินยอม ไม่ทำให้เกิดสิทธิถาวร เมื่อเจ้าของใหม่ไม่มีสิทธิในการรุกล้ำ ย่อมต้องรื้อถอน
การปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในเขตห้องของโจทก์ โดยโจทก์ยินยอม แม้จะไม่เป็นการละเมิด แต่ก็ไม่ทำให้เกิดมีสิทธิที่ให้สิ่งปลูกสร้างรุกล้ำอยู่ได้ตลอดไป เมื่อจำเลยรับโอนห้องมาและไม่มีสิทธิที่จะให้สิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตห้องของโจทก์ได้จำเลยก็ต้องรื้อไป เพราะเมื่อโจทก์มีสิทธิและบอกให้รื้อจำเลยไม่รื้อ การซึ่งไม่เป็นละเมิดก็กลายเป็นละเมิดขึ้น