พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5318/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีอาญาที่จำเลยเป็นทหาร แต่มีพวกที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณา
แม้จำเลยจะเพิ่งยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้างในชั้นฎีกาว่า ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยจะต้องฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร แต่เมื่อปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง,225
จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นนายทหารประทวนมียศสิบเอก เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 13,16(3) และโจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียวแม้จะมีพวกของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าอยู่นอกอำนาจศาลทหาร โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร ปัญหานี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดกับพวกอีกคนหนึ่งที่ยังหลบหนี โดยไม่ได้ระบุว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร จำเลยไม่เคยโต้แย้งว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร จำเลยอ้างในฎีกาเพียงว่า ไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยอยู่นอกอำนาจศาลทหาร หรืออีกนัยหนึ่งคือพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหารซึ่งเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยปราศจากหลักฐาน รับฟังไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็จะถือว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ได้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารกับพวกของจำเลยที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน อันเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 14(1) ศาลแขวงดุสิตซึ่งเป็นศาลพลเรือนจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นนายทหารประทวนมียศสิบเอก เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 13,16(3) และโจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียวแม้จะมีพวกของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าอยู่นอกอำนาจศาลทหาร โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร ปัญหานี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดกับพวกอีกคนหนึ่งที่ยังหลบหนี โดยไม่ได้ระบุว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร จำเลยไม่เคยโต้แย้งว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร จำเลยอ้างในฎีกาเพียงว่า ไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยอยู่นอกอำนาจศาลทหาร หรืออีกนัยหนึ่งคือพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหารซึ่งเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยปราศจากหลักฐาน รับฟังไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็จะถือว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ได้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารกับพวกของจำเลยที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน อันเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 14(1) ศาลแขวงดุสิตซึ่งเป็นศาลพลเรือนจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จของทหาร ไม่เกี่ยวพันกับคดีแพ่งเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซึ่ง เป็นนายทหารเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งต่อศาลพลเรือน การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยทั้งสองมาฟ้องคดีนี้ หาใช่คดีนี้เกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่ แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีนี้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ และจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16(1) และ (3) ตามลำดับ ทั้งเป็นคดีที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จเป็นพยานหลักฐาน ไม่ใช่คดีเกี่ยวพันกับคดีแพ่ง
การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่งมาฟ้องเป็นคดีอาญา หาใช่เป็นคดีเกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่ แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีอาญาเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ และจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) และ (3) และไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 ดังนี้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13
การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้รับคดีไว้พิจารณาหมายความว่าให้รับคดีนี้ไว้ไต่สวนมูลฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 162(1) ยังถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นประทับฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จะถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้รับคดีไว้พิจารณาหมายความว่าให้รับคดีนี้ไว้ไต่สวนมูลฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 162(1) ยังถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นประทับฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จะถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จของทหาร ไม่เกี่ยวพันกับคดีแพ่งเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายทหารเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลพลเรือน การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยทั้งสองมาฟ้องคดีนี้ หาใช่คดีนี้เกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีนี้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการและจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) และ (3) ตามลำดับ ทั้งเป็นคดีที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จของนายทหาร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซึ่ง เป็นนายทหารเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งต่อ ศาลพลเรือน การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยทั้งสองมาฟ้องคดีนี้ หาใช่คดีนี้เกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่ แต่ เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมา เป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีนี้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ และจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการจำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) และ (3)ตามลำดับ ทั้งเป็นคดีที่ไม่ต้องด้วย ข้อยกเว้นตาม มาตรา 14 คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา ตาม มาตรา 13.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหารลงโทษละเมิดอำนาจศาล: ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์
การกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 ถึง มาตรา 33นั้น หากมีความจำเป็นจะต้องใช้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใด ก็เป็นอำนาจของศาลที่พิจารณาคดีนั้นที่จะใช้อำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าว
การที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 3(ศาลจังหวัดอุดรธานี)ลงโทษผู้ขอประกันฐานละเมิดอำนาจศาลในการพิจารณาคดี ย่อมเป็นการลงโทษในกรณีที่ผู้ขอประกันละเมิดอำนาจศาลทหาร ไม่ใช่ละเมิดอำนาจศาลพลเรือน คำสั่งลงโทษดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งของศาลทหาร ศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์ของผู้ขอประกันไว้พิจารณา
การที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 3(ศาลจังหวัดอุดรธานี)ลงโทษผู้ขอประกันฐานละเมิดอำนาจศาลในการพิจารณาคดี ย่อมเป็นการลงโทษในกรณีที่ผู้ขอประกันละเมิดอำนาจศาลทหาร ไม่ใช่ละเมิดอำนาจศาลพลเรือน คำสั่งลงโทษดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งของศาลทหาร ศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์ของผู้ขอประกันไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีความผิดหลายกระทงภายใต้คำสั่ง คปท. และผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลพลเรือน
ความผิดฐานกรรโชกนั้นได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 1 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ระหว่างเกิดเหตุว่าอยู่ใน อำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาส่วนความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบซึ่งไม่อยู่ใน อำนาจศาลทหารนั้น ได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 30 ว่าบรรดาคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาถ้าคดีใดประกอบด้วยการกระทำหลายอย่าง แม้แต่ละอย่างจะเป็นความผิดได้ในตัวเองและไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา ดังนั้นข้อหาฐานนี้จึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาด้วยศาลพลเรือนรับไว้พิจารณาพิพากษาไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีอาญาที่จำเลยเป็นทหารร่วมกับพลเรือน ศาลพลเรือนยังมีอำนาจพิจารณาได้
จำเลยซึ่งเป็นทหารกับพวกอีกหลายคนที่แต่งกายพลเรือนและยังจับตัวไม่ได้ร่วมกันกระทำผิดฐานรับของโจร คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษา เพราะไม่ปรากฏชัดว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร และในกรณีเช่นนี้ หากจะปรากฏตามทางพิจารณาภายหลังว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตามศาลพลเรือนก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
(อ้างฎีกาที่ 463/2504 และที่ 979/2504)
(อ้างฎีกาที่ 463/2504 และที่ 979/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีรับของโจรที่มีจำเลยเป็นทหารและพลเรือน ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณา แม้ภายหลังพบว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
จำเลยซึ่งเป็นทหารกับพวกอีกหลายคนที่แต่งกายพลเรือนและยังจับตัวไม่ได้ ร่วมกันกระทำผิดฐานรับของโจร คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษา เพราะไม่ปรากฏชัดว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร และในกรณีเช่นนี้ หากจะปรากฏตามทางพิจารณาภายหลังว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ตาม ศาลพลเรือนก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
(อ้างฎีกาที่ 463/2504 และที่ 979/2504)
(อ้างฎีกาที่ 463/2504 และที่ 979/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีที่ทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกัน แม้มิได้ร่วมกระทำความผิดโดยตรง
ความผิดเป็นคดีที่ตกอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 4 ประการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ต้องถือว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร อันมีผลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
คำว่า "ด้วยกัน" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 (1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14 (1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)
คำว่า "ด้วยกัน" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 (1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14 (1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)