คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 ม. 14

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีทหารกับพลเรือนประมาทชนกัน
ความผิดเป็นคดีที่ตกอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 4 ประการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498ต้องถือว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร อันมีผลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
คำว่า 'ด้วยกัน' ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14(1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีอาญาที่มีผู้กระทำผิดทั้งทหารและพลเรือน ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณา
จำเลยเป็นทหารประจำการ โจทก์บรรยายฟ้องว่าได้ร่วมกระทำผิดกับพวกอีกคนหนึ่งที่เป็นพลเรือนและทางพิจารณาก็ได้ความว่า จำเลยสมคบกับพวกอีกคนหนึ่งที่ยังจับตัวไม่ได้ร่วมกันกระทำผิด ประกอบกับเจ้าพนักงานตำรวจผู้สืบสวนจับกุมยืนยันว่า คนร้ายอีกคนหนึ่งนั้นเป็นพลเรือนคดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลพลเรือนที่จะทำการพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีอาญาที่มีจำเลยทั้งทหารและพลเรือนอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
จำเลยเป็นทหารประจำการ โจทก์บรรยายฟ้องว่าได้ร่วมกระทำผิด กับพวกอีกคนหนึ่งที่เป็นพลเรือน และทางพิจารณาก็ได้ความว่าจำเลยสมคบกับพวกอีกคนหนึ่งที่ยังจับตัวไม่ได้ร่วมกันกระทำผิด ประกอบกับ เจ้าพนักงานตำรวจผู้สืบสวนจับกุมยืนยันว่า คนร้ายอีกคนหนึ่งนั้นเป็น พลเรือน คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลพลเรือนที่จะทำการพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพลเรือนพิจารณาคดีลักทรัพย์เมื่อฟ้องรวมกับคดีบุกรุกทำลายทรัพย์สิน
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดฐานบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ในวันตามฟ้องต่อเนื่องกันนั้น.เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 ฉะนั้น เมื่อมีการฟ้องคดีในข้อหาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ต่อศาลพลเรือนแล้ว ศาลพลเรือนย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในข้อหาฐานลักทรัพย์ที่ฟ้องรวมกันมาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพลเรือนพิจารณาคดีลักทรัพย์เมื่อฟ้องรวมกับคดีบุกรุกทำลายทรัพย์สิน
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดฐานบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ในวันตามฟ้องต่อเนื่องกันนั้น เป็นคดีที่เกี่ยวกันพันตามความในมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ฉะนั้น เมื่อมีการฟ้องคดีในข้อหาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ต่อศาลพลเรือนแล้ว ศาลพลเรือนย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในข้อหาฐานลักทรัพย์ที่ฟ้องรวมกันมาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีต้องขึ้นศาลพลเรือนหากไม่มีหลักฐานพรรคพวกจำเลยเป็นบุคคลในอำนาจศาลทหาร แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
จำเลยเป็นทหารประจำการ แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าจำเลยสมคบกับพวกกระทำผิดกฎหมาย โดยโจทก์ไม่ยืนยันว่าพวกจำเลยเป็นทหารหรือพลเรือนและชั้นพิจารณาก็ไม่ปรากฏว่าเป็นทหารหรือพลเรือนก็ตาม เมื่อคดีไม่มีหลักฐานว่าพรรคพวกของจำเลยเป็นบุคคลอยู่ในอำนาจศาลทหารแล้ว คดีก็ต้องขึ้นศาลฝ่ายพลเรือนและแม้จะปรากฎตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
(อ้างฎีกาที่ 463/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพลเรือนพิจารณาคดีทหาร: แม้ฟ้องก่อนรู้สถานะทหาร ศาลพลเรือนก็มีอำนาจพิจารณาได้
ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาต่อศาลพลเรือน ศาลพลเรือนได้สั่งรับฟ้องไว้แล้ว ต่อมาความปรากฎว่าจำเลยเป็นทหารประจำการซึ่งควรจะถูกฟ้องต่อศาลทหาร ดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามพระธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 วรรค 2
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2504)
of 2