คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธานินทร์ กรัยวิเชียร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: แม้ศาลฎีกาคดีก่อนไม่ได้ตัดสิทธิ แต่การฟ้องใหม่ต้องได้รับการอนุญาตจากศาลในคดีก่อนจึงจะชอบ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเข้าหุ้นส่วนทำไม้กับโจทก์ 39 รายถ้าทำไม้เสร็จรายใดก็คิดบัญชีกัน จำเลยไม่คิดบัญชีแบ่งผลกำไรจึงขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะต้องเลิกห้างหุ้นส่วนและไม่มีเหตุที่จะต้องชำระบัญชี ส่วนในเรื่องคิดบัญชีกันนั้น เป็นข้อพิพาทโต้เถียงกันในชั้นคิดบัญชีหลังจากทำไม้หุ้นส่วนเสร็จแล้ว โจทก์ชอบที่จะเสนอคดีอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์และไม่ได้ขอบังคับให้จำเลยใช้เงินคืนจึงไม่วินิจฉัยข้อพิพาทโต้เถียงกันในชั้นคิดบัญชีให้ และพิพากษายกฟ้องโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกว่าผิดสัญญาหุ้นส่วนและไม่แบ่งผลกำไรขอให้ใช้เงินคืน ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ก็คือ โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนทำไม้ด้วยกันและจำเลยไม่ยอมแบ่งกำไรซึ่งเป็นข้ออ้างเดียวกันกับที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีก่อน แม้ข้อหาของโจทก์ในคดีก่อนจะเป็นเรื่องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี และข้อหาในคดีนี้เป็นเรื่องให้ใช้เงินคืนก็ตาม ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็สืบเนื่องมาจากมูลฐานและข้ออ้างเดียวกันคือ โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนทำไม้กันหรือไม่ โจทก์ชอบที่จะเสนอข้อหาดังกล่าวรวมไปในฟ้องในคราวเดียวกัน แต่โจทก์มิได้กระทำโดยเลี่ยงไม่ยอมเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลฎีกาในคดีก่อนจึงไม่รับวินิจฉัยข้อหาเรื่องนี้ให้ การที่โจทก์มารื้อร้องฟ้องจำเลยในคดีนี้อีกโดยอาศัยมูลฟ้องและข้ออ้างเดียวกันจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่จะฟ้องใหม่ได้ตามมาตรา 148(3) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลในคดีก่อนอนุญาตไว้ในคำพิพากษา มิใช่ถ้าคำพิพากษาในคดีก่อนไม่ได้ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องว่ากล่าวอีกแล้ว โจทก์จะฟ้องได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติเรื่องห้ามฟ้องซ้ำที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกของมาตรานี้ย่อมไร้ผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีหุ้นส่วนเดิมด้วยข้อหาเดิม แม้เปลี่ยนแปลงคำขอท้ายฟ้อง เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเข้าหุ้นส่วนทำไม้กับโจทก์ 39 ราย ถ้าทำไม้เสร็จรายใดก็คิดบัญชีกัน จำเลยไม่คิดบัญชีแบ่งผลกำไรให้ จึงขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะต้องเลิกห้างหุ้นส่วนและไม่มีเหตุที่จะต้องชำระบัญชี ส่วนในเรื่องคิดบัญชีกันนั้น เป็นข้อพิพาทโต้เถียงกันในชั้นคิดบัญชีหลังจากทำไม้หุ้นส่วนเสร็จแล้ว โจทก์ชอบที่จะเสนอคดีอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์และไม่ได้ขอบังคับให้จำเลยใช้เงินคืน จึงไม่วินิจฉัยข้อพิพาทโต้เถียงกันในชั้นคิดบัญชีให้ และพิพากษายกฟ้อง โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกว่าผิดสัญญาหุ้นส่วนและไม่แบ่งผลกำไรขอให้ใช้คืน ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ก็ถือ โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนทำไม้ด้วยกันและจำเลยไม่ยอมแบ่งกำไรซึ่งเป็นข้อ้อางเดียวกันกับที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีก่อน แม้ข้อหาของโจกท์ในคดีก่อนจะเป็นเรื่องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี และข้อหาในคดีนี้เป็นเรื่องให้ใช้เงินคืนก็ตาม ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็สืบเนื่องมาจากมูลฐานและข้ออ้างเดียวกัน คือ โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนทำไม้กันหรือไม่ โจทก์ชอบที่จะเสนอข้อหาดังกล่าวรวมไปในฟ้องในคราวเดียวกัน แต่โจทก์มิได้กระทำโดยเลี่ยงไม่ยอมเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลฎีกาในคดีก่อนจึงไม่รับวินิจฉัยข้อหาเรื่องนี้ให้ การที่โจทก์มารื้อร้องฟ้องจำเลยในคดีนี้อีกโดยอาศัยมูลฐานและข้ออ้างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่จะฟ้องใหม่ได้ตามมาตรา 148 (3) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลในคดีก่อนอนุญาตไว้ในคำพิพากษา มิใช่ถ้าคำพิพากษาในคดีก่อนไม่ได้ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องว่ากล่าวอีกแล้ว โจทก์จะฟ้องได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติเรื่องห้ามฟ้องซ้ำที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกของมาตรานี้ย่อมไร้ผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยที่ 4 ว่าจ้างจำเลยที่ 1,2,3 ให้นำรถยนต์เข้าไปบรรทุกไม้ยางของกลางที่ป่า ขณะจำเลยที่ 1,2,3 กำลังใช้รถยนต์นำไม้ของกลางจะออกจากป่าก็ถูกเจ้าพนักงานจับกุมโดยจำเลยที่ 1,2,3 ทราบอยู่แล้วว่าไม้ของกลางยังไม่ได้ตีตราค่าภาคหลวง เป็นไม้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ แม้จำเลยที่ 4 แต่ผู้เดียวมีไม้ของกลางไว้ในความครอบครองอันจะต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้แต่การที่จำเลยที่ 1,2,3 รู้ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ผิดกฎหมายก็ยังขืนรับจ้างขนไม้ของกลางนั้นเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 4 ในการกระทำความผิดฐานมีไม้ของกลางไว้ในความครอบครองโดยผิดกฎหมาย จำเลยที่ 1, 2,3 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยอุทธรณ์ลอยๆ ไม่ให้เหตุผลการไม่ได้รับเงินตามสัญญาจำนอง และนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสาร สัญญาจำนองสมบูรณ์ ศาลยืนตามศาลอุทธรณ์
คำให้การของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่า โจทก์ไม่ได้ส่งเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาจำนอง สัญญาจำนองจึงเป็นโมฆะโดยมิได้เหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใดโจทก์จึงไม่ได้ส่งมอบเงินให้จำเลย นั้น เป็นคำให้การที่ขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง มีผลทำให้จำเลยนำสืบต่อสู้คดีไม่ได้
สัญญาจำนองระบุว่า จำเลยได้รับเงินจากโจทก์ไปครบถ้วนแล้ว จำเลยจะนำสืบว่าไม่ได้รับเงินไปตามสัญญาจำนองก็นำสืบไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารจำนองซึ่งระบุไว้ว่า จำเลยได้รับเงินตามสัญญาจำนองจากโจทก์ไปครบถ้วนแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อเท็จจริงขัดแย้งกับเอกสารสัญญา และการให้การปฏิเสธลอยๆ ในคดีจำนอง
คำให้การของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่า โจทก์ไม่ได้ส่งเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาจำนอง สัญญาจำนองจึงเป็นโมฆะโดยมิได้ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใดโจทก์จึงไม่ได้ส่งมอบเงินให้จำเลย นั้น เป็นคำให้การที่ขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177วรรคสอง มีผลทำให้จำเลยนำสืบต่อสู้คดีไม่ได้
สัญญาจำนองระบุว่า จำเลยได้รับเงินจากโจทก์ไปครบถ้วนแล้ว จำเลยจะนำสืบว่าไม่ได้รับเงินไปตามสัญญาจำนองก็นำสืบไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารจำนองซึ่งระบุไว้ว่า จำเลยได้รับเงินตามสัญญาจำนองจากโจทก์ไปครบถ้วนแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมหลายบท: ใช้บทที่มีโทษหนักสุด และกระทงความผิดเรียงกระทง
จำเลยกระทำผิดหลายกรรม แต่ละกรรมเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนี้ ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยทุกกรรม เรียกกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมหลายบทของเจ้าพนักงาน โดยใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดและเรียงกระทง
จำเลยกระทำผิดหลายกรรม แต่ละกรรมเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนี้ ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยทุกกรรม เรียงกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินไถ่จำนองแล้วโจทก์ไม่รับ ศาลสั่งให้ใช้เงินตามที่วางโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย
จำเลยวางเงินไถ่จำนองต่อศาลโดยยอมรับผิดและยอมให้โจทก์รับไปได้ แต่โจทก์ไม่รับไปโดยเห็นว่าควรได้มากกว่านั้น ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงินตามที่จำเลยวางต่อศาล ดังนี้ จำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินนั้นตั้งแต่วันที่วางเงิน ข้อนี้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นใหม่นอกเหนือจากที่ยกขึ้นในศาลชั้นต้น แม้ศาลล่างวินิจฉัยก็เป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์ แล้วจำเลยทั้งสองสบคบกันโอนที่พิพาทให้เป็นชื่อจำเลยที่ 2 โดยรู้ว่าเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนเสีย จำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน โจทก์ทราบการโอนจากประกาศของทางราชการแล้วไม่คัดค้าน ดังนี้จำเลยไม่ได้ตั้งประเด็นว่า จำเลยที่ 2 กับโจทก์ร่วมกันซื้อที่พิพาทจำเลยที่ 1 เพื่อนำมาแบ่งขายเอากำไรกัน โดยให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นเจ้าของใน น.ส.3 และยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่พิพาทกับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยฎีกาว่าตามทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 เพื่อนำมาแบ่งขายเอากำไรแบ่งกันโดยให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นเจ้าของใน น.ส.3 ทั้งการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำนิติกรรมโอนขายที่พิพาทให้แก่กันโจทก์ทราบดีและยินยอมให้กระทำไป ถือว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน โจทก์จะขอให้เพิกถอนไม่ได้ ดังนี้ ประเด็นที่จำเลยทั้งสองฎีกาถือไม่ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยให้ ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาของจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: จำเลยฎีกาประเด็นใหม่นอกเหนือจากที่ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์แล้วจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทให้เป็นชื่อจำเลยที่ 2 โดยรู้ว่าเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนเสีย จำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน โจทก์ทราบการโอนจากประกาศของทางราชการแล้วไม่คัดค้าน ดังนี้จำเลยไม่ได้ตั้งประเด็นว่า จำเลยที่ 2 กับโจทก์ร่วมกันซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 เพื่อนำมาแบ่งขายเอากำไรกันโดยให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นเจ้าของในน.ส.3 และยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่พิพาทกับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยฎีกาว่าตามทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 เพื่อนำมาแบ่งขายเอากำไรแบ่งกันโดยให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นเจ้าของใน น.ส.3. ทั้งการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำนิติกรรมโอนขายที่พิพาทให้แก่กันโจทก์ทราบดีและยินยอมให้กระทำไป ถือว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน โจทก์จะขอให้เพิกถอนไม่ได้ ดังนี้ประเด็นที่จำเลยทั้งสองฎีกาถือไม่ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยให้ ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาของจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
of 40