พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7712/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรถยนต์ประกอบจากชิ้นส่วน - รถใหม่ไม่ใช่รถเดิม
รถยนต์คันที่โจทก์ได้รับมอบกรรมสิทธิ์มาจากบริษัท บ. หมายเลขทะเบียน 9 ห - 7742 กรุงเทพมหานคร แต่รถยนต์พิพาทมีเพียงหัวเก๋งกับกระบะเท่านั้นที่เป็นของคันหมายเลขทะเบียน 9 ห - 7742 ส่วนคัสซีหรือเลขตัวรถและเครื่องยนต์เป็นของคันหมายเลขทะเบียน บ - 1317 ชัยภูมิ ซึ่งเจ้าของได้ขอจดทะเบียนรถยนต์ประเภทรถยนต์ที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์เก่า รถยนต์พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการเอาอุปกรณ์หรือสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากันจนเป็นส่วนควบหรือแบ่งแยกไม่ได้ และโดยที่หัวเก๋งกับกระบะไม่ใช่ทรัพย์ประธาน รถยนต์พิพาทจึงเป็นรถยนต์คันใหม่ ไม่ใช่รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 9 ห - 7742 กรุงเทพมหานคร ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1316 ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนโอนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 9 ห - 7742 กรุงเทพมหานคร โดยมิได้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปให้จำเลยตรวจสอบ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2531 หมวด 2, 4 และ 6 การโอนรถ ข้อ 35 (1) ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10, 13, 16 และ 17 แห่ง พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. รถยนต์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2530 วางระเบียบไว้ และมีผลใช้ในทำนองเดียวกับกฎหมาย จำเลยชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์ตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและสิทธิในการใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างสาธารณูปโภค
จำเลยที่ 1 ทำการปรับปรุงถนนบนที่ดินที่ ส.อุทิศเป็นสาธารณประโยชน์โดยก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และการก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวเขตเป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ตารางวา และจำเลยที่ 3 ได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามแนวขอบถนนจำนวน4 ต้น โดยมี ส.เจ้าของที่ดินชี้แนวเขตในการสร้างถนน และโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างทั้งโจทก์และ ส.ก็ยังเข้าใจว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 3 จึงมิได้กระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ไม่เป็นการละเมิด แต่เป็นการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้รื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้ากับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้
โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหาย แต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้
สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ป.พ.พ.มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ.มาตรา1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลูกสร้างคดีนี้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1310 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์
โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหาย แต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้
สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ป.พ.พ.มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ.มาตรา1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลูกสร้างคดีนี้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1310 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5784/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสื่อมราคา, ส่วนควบ, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, การชดใช้ค่าเสียหาย
ข้อกำหนดที่ให้จำเลยชดใช้ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ที่เช่าซื้อตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อก็คือราคารถยนต์ที่ยึดคืนมาขายได้น้อยกว่าราคาที่เช่าซื้อที่จำเลยต้องรับผิดนั่นเองข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับซึ่งศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ถ้าเห็นว่าสูงเกินส่วน ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาไม่ใช่ค่าเช่าซื้อหรือเงินอื่นใดที่ค้างชำระดังที่สัญญาเช่าซื้อระบุไว้ให้เรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ1.75ต่อเดือนหากแต่เป็นหนี้เงินซึ่งโจทก์สามารถเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งเท่านั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์เป็นผู้นำกระบะบรรทุกมาติดตั้งประกอบเข้ากับรถยนต์ที่เช่าซื้อกระบะบรรทุกดังกล่าวจึงเป็นส่วนควบของรถยนต์ที่เช่าซื้อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์อันถือได้ว่าเป็นเจ้าทรัพย์เป็นประธานย่อมเป็นเจ้าของกระบะบรรทุกที่ติดตั้งประกอบเข้ากับรถยนต์ที่เช่าซื้อแต่ผู้เดียวแต่ต้องใช้ค่ากระบะรถบรรทุกนั้นให้แก่จำเลยที่1ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1316วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5784/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสื่อมรถเช่าซื้อ, ดอกเบี้ยผิดนัด, และกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ
ข้อกำหนดที่ให้จำเลยชดใช้ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ที่เช่าซื้อตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อก็คือราคารถยนต์ที่ยึดคืนมาขายได้น้อยกว่าราคาที่เช่าซื้อที่จำเลยต้องรับผิดนั่นเอง ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ถ้าเห็นว่าสูงเกินส่วน
ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาไม่ใช่ค่าเช่าซื้อหรือเงินอื่นใดที่ค้างชำระ ดังที่สัญญาเช่าซื้อระบุไว้ให้เรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 1.75 ต่อเดือนหากแต่เป็นหนี้เงินซึ่งโจทก์สามารถเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์เป็นผู้นำกระบะบรรทุกมาติดตั้งประกอบเข้ากับรถยนต์ที่เช่าซื้อ กระบะบรรทุกดังกล่าวจึงเป็นส่วนควบของรถยนต์ที่เช่าซื้อ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์อันถือได้ว่าเป็นเจ้าของทรัพย์เป็นประธานย่อมเป็นเจ้าของกระบะบรรทุกที่ติดตั้งประกอบเข้ากับรถยนต์ที่เช่าซื้อแต่ผู้เดียว แต่ต้องใช้ค่ากระบะบรรทุกนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1316 วรรคสอง
ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาไม่ใช่ค่าเช่าซื้อหรือเงินอื่นใดที่ค้างชำระ ดังที่สัญญาเช่าซื้อระบุไว้ให้เรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 1.75 ต่อเดือนหากแต่เป็นหนี้เงินซึ่งโจทก์สามารถเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์เป็นผู้นำกระบะบรรทุกมาติดตั้งประกอบเข้ากับรถยนต์ที่เช่าซื้อ กระบะบรรทุกดังกล่าวจึงเป็นส่วนควบของรถยนต์ที่เช่าซื้อ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์อันถือได้ว่าเป็นเจ้าของทรัพย์เป็นประธานย่อมเป็นเจ้าของกระบะบรรทุกที่ติดตั้งประกอบเข้ากับรถยนต์ที่เช่าซื้อแต่ผู้เดียว แต่ต้องใช้ค่ากระบะบรรทุกนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1316 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การยึดรถของผู้เช่าซื้อที่ไม่ผิดนัด, การชดใช้ค่าต่อตัวถัง, และประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้รถ
การที่จำเลยผู้ให้เช่าซื้อไปยึดรถยนต์พิพาทคืนจากโจทก์โดยโจทก์ผู้เช่าซื้อไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดและสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยแล้ว โจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทโดยไม่มีตัวถัง โจทก์ผู้เช่าซื้อเป็นผู้ว่าจ้างให้ต่อตัวถังขึ้น กรณีจึงเป็นการเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมาร่วมเข้าด้วยกันจนเป็นส่วนควบหรือแบ่งแยกไม่ได้ ตัวรถยนต์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธานจำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์ประธานที่รวมเข้าด้วยกันแต่เพียงผู้เดียว แต่ต้องใช้ค่าแห่งทรัพย์อื่นๆ ให้แก่เจ้าของทรัพย์นั้นๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1316 วรรคสอง เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันจำเลยจึงต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการต่อตัวถังรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์
โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้จำเลยเพียง 5 งวด แต่จากบันทึกการตรวจสภาพรถยนต์พิพาทประกอบกับโจทก์ใช้รถยนต์พิพาทขนส่งน้ำดื่ม เป็นระยะทางถึง 30,183 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่าโจทก์ใช้รถยนต์พิพาทตั้งแต่ต่อตัวถังเสร็จจนถึงวันที่จำเลยไปยึดรถยนต์พิพาทคืนมา เชื่อว่าใช้รถยนต์พิพาทอย่างน้อย 17เดือน โจทก์จึงใช้รถยนต์พิพาทเพื่อประโยชน์ของโจทก์โดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าขาดประโยชน์ของโจทก์ซึ่งมีค่าเช่าซื้อรวมอยู่ด้วยนับแต่วันที่รถยนต์พิพาทถูกยึดถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเป็นเวลา 22 เดือนเศษแล้ว โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อมากกว่าค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์พึงได้รับ โจทก์จะเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายกรณีที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทอีกหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทโดยไม่มีตัวถัง โจทก์ผู้เช่าซื้อเป็นผู้ว่าจ้างให้ต่อตัวถังขึ้น กรณีจึงเป็นการเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมาร่วมเข้าด้วยกันจนเป็นส่วนควบหรือแบ่งแยกไม่ได้ ตัวรถยนต์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธานจำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์ประธานที่รวมเข้าด้วยกันแต่เพียงผู้เดียว แต่ต้องใช้ค่าแห่งทรัพย์อื่นๆ ให้แก่เจ้าของทรัพย์นั้นๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1316 วรรคสอง เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันจำเลยจึงต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการต่อตัวถังรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์
โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้จำเลยเพียง 5 งวด แต่จากบันทึกการตรวจสภาพรถยนต์พิพาทประกอบกับโจทก์ใช้รถยนต์พิพาทขนส่งน้ำดื่ม เป็นระยะทางถึง 30,183 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่าโจทก์ใช้รถยนต์พิพาทตั้งแต่ต่อตัวถังเสร็จจนถึงวันที่จำเลยไปยึดรถยนต์พิพาทคืนมา เชื่อว่าใช้รถยนต์พิพาทอย่างน้อย 17เดือน โจทก์จึงใช้รถยนต์พิพาทเพื่อประโยชน์ของโจทก์โดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าขาดประโยชน์ของโจทก์ซึ่งมีค่าเช่าซื้อรวมอยู่ด้วยนับแต่วันที่รถยนต์พิพาทถูกยึดถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเป็นเวลา 22 เดือนเศษแล้ว โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อมากกว่าค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์พึงได้รับ โจทก์จะเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายกรณีที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทอีกหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด ยึดทรัพย์คืน สิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการต่อตัวถัง และค่าเสียหายจากการใช้รถ
การที่จำเลยผู้ให้เช่าซื้อไปยึดรถยนต์พิพาทคืนจากโจทก์โดยโจทก์ผู้เช่าซื้อไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดและสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกันจำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยแล้วโจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทโดยไม่มีตัวถัง โจทก์ผู้เช่าซื้อเป็นผู้ว่าจ้างให้ต่อตัวถังขึ้น กรณีจึงเป็นการเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้าด้วยกันจนเป็นส่วนควบหรือแบ่งแยกไม่ได้ ตัวรถยนต์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธาน จำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์ประธานที่รวมเข้าด้วยกันแต่ผู้เดียว แต่ต้องใช้ค่าแห่งทรัพย์อื่น ๆ ให้แก่เจ้าของทรัพย์นั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1316 วรรคสอง เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการต่อตัวถังรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้จำเลยเพียง 5 งวด แต่โจทก์ใช้รถยนต์พิพาทตั้งแต่ต่อตัวถังเสร็จจนถึงวันที่จำเลยไปยึดรถยนต์พิพาทคืนมา เป็นเวลาอย่างน้อย 17 เดือน โจทก์จึงใช้รถยนต์พิพาทเพื่อประโยชน์ของโจทก์โดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าขาดประโยชน์ของโจทก์ซึ่งมีค่าเช่าซื้อรวมอยู่ด้วยนับแต่วันที่รถยนต์พิพาทถูกยึดถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเป็นเวลา 22 เดือนเศษแล้วโจทก์จึงได้รับประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อมากกว่าค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์พึงได้รับ โจทก์จะเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายกรณีที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ถูกยักยอก การซื้อขายโดยสุจริต และสิทธิในการเรียกร้องค่าทรัพย์สินส่วนแบ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันพิพาทพร้อมตัวถังและอุปกรณ์ตามฟ้องหรือไม่คดีย่อมมีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันพิพาทโดยซื้อมาจากเจ้าของที่แท้จริงหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ซื้อมาจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ขายมิใช่เจ้าของที่แท้จริง แม้โจทก์จะรับซื้อไว้โดยสุจริตโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ผู้เป็นเจ้าของย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 การที่เจ้าของและเจ้าพนักงานยึดรถยนต์บรรทุกคันพิพาทคืนจากโจทก์ จึงไม่เป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งไม่มีตัวถัง แต่โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างให้ต่อตัวถังขึ้น ตัวรถยนต์บรรทุกถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธาน จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันนั้นแต่ผู้เดียว เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคารถยนต์บรรทุกทั้งคันอันเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์เป็นของตนทั้งหมด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งคือค่าต่อตัวถังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ขายมิใช่เจ้าของที่แท้จริง แม้โจทก์จะรับซื้อไว้โดยสุจริตโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ผู้เป็นเจ้าของย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 การที่เจ้าของและเจ้าพนักงานยึดรถยนต์บรรทุกคันพิพาทคืนจากโจทก์ จึงไม่เป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งไม่มีตัวถัง แต่โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างให้ต่อตัวถังขึ้น ตัวรถยนต์บรรทุกถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธาน จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันนั้นแต่ผู้เดียว เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคารถยนต์บรรทุกทั้งคันอันเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์เป็นของตนทั้งหมด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งคือค่าต่อตัวถังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ได้มาโดยไม่สุจริต และสิทธิในการเรียกร้องค่าต่อตัวถัง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันพิพาทพร้อมตัวถังและอุปกรณ์ตามฟ้องหรือไม่คดีย่อมมีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันพิพาทโดยซื้อมาจากเจ้าของที่แท้จริงหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ซื้อมาจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ขายมิใช่เจ้าของที่แท้จริง แม้โจทก์จะรับซื้อไว้โดยสุจริตโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนผู้เป็นเจ้าของย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 การที่เจ้าของและเจ้าพนักงานยึดรถยนต์บรรทุกคันพิพาทคืนจากโจทก์ จึงไม่เป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งไม่มีตัวถัง แต่โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างให้ต่อตัวถังขึ้น ตัวรถยนต์บรรทุกถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธาน จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันนั้นแต่ผู้เดียว เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคารถยนต์บรรทุกทั้งคันอันเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์เป็นของตนทั้งหมดแต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งคือค่าต่อตัวถังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ขายมิใช่เจ้าของที่แท้จริง แม้โจทก์จะรับซื้อไว้โดยสุจริตโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนผู้เป็นเจ้าของย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 การที่เจ้าของและเจ้าพนักงานยึดรถยนต์บรรทุกคันพิพาทคืนจากโจทก์ จึงไม่เป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งไม่มีตัวถัง แต่โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างให้ต่อตัวถังขึ้น ตัวรถยนต์บรรทุกถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธาน จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันนั้นแต่ผู้เดียว เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคารถยนต์บรรทุกทั้งคันอันเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์เป็นของตนทั้งหมดแต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งคือค่าต่อตัวถังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากสิ้นสภาพเมื่อเรือนถูกรื้อถอน การฟ้องขับไล่เรือนหลังใหม่จึงไม่ชอบ
จำเลยขายฝากเรือนเลขที่ 126 ขนาดกว้าง 8 ศอก ยาว 3วาให้โจทก์ ต่อมาระหว่างอายุสัญญาจำเลยรื้อเรือนดังกล่าวแล้วสร้างขึ้นใหม่กว้าง 3 วา ยาว 4 วาโดยใช้ไม้ของเรือนหลังเดิมบางส่วน และใช้บ้านเลขที่ 126 ตามเดิมดังนี้ถือได้ว่าเรือนหลังเดิมซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาขายฝากและเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้สิ้นสภาพไปแล้วเรือนหลังใหม่คือเรือนพิพาทย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของสัญญาขายฝากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเรือนพิพาท คงมีอำนาจที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยในกรณีที่จำเลยรื้อเรือนหลังเดิมอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาขายฝากเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระเงิน ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบรถและเงินดาวน์ แต่ต้องชดใช้ค่าตัวถังหลังหักค่าเสื่อม
โจทก์เช่าซื้อรถจากจำเลย การที่โจทก์มิได้ชำระเงินงวด 1 ตามสัญญาถือว่าโจทก์ผิดนัดผิดสัญญา ฝ่ายจำเลยย่อมมีสิทธิริบเงินดาวน์ และยึดรถพิพาทคืนตามข้อตกลงโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะได้รับความเสียหาย จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน
แม้เอกสาร ล.1 จะระบุว่า 'ใบสั่งขาย' แต่ข้อความที่ปรากฏมีชัดว่าเป็นการเช่าซื้อ ก็ย่อมเป็นสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อรถระบุว่า ถ้าผิดนัดชำระเงินงวดใดงวดหนึ่งยอมให้ยึดรถคืน ดังนี้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระเงินงวดที่ 1 ผู้ให้เช่าซื้อก็มีสิทธิยึดรถคืนได้ (อ้างฎีกาที่ 1192/2501) และการยึดรถพิพาทคืน ย่อมรวมถึงตัวถังรถซึ่งเป็นส่วนควบด้วย แต่ผู้ให้เช่าซื้อต้องชดใช้ราคาตัวถังรถให้แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อหักค่าเสื่อมราคาจากราคาค่าต่อตัวถังแล้ว
แม้เอกสาร ล.1 จะระบุว่า 'ใบสั่งขาย' แต่ข้อความที่ปรากฏมีชัดว่าเป็นการเช่าซื้อ ก็ย่อมเป็นสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อรถระบุว่า ถ้าผิดนัดชำระเงินงวดใดงวดหนึ่งยอมให้ยึดรถคืน ดังนี้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระเงินงวดที่ 1 ผู้ให้เช่าซื้อก็มีสิทธิยึดรถคืนได้ (อ้างฎีกาที่ 1192/2501) และการยึดรถพิพาทคืน ย่อมรวมถึงตัวถังรถซึ่งเป็นส่วนควบด้วย แต่ผู้ให้เช่าซื้อต้องชดใช้ราคาตัวถังรถให้แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อหักค่าเสื่อมราคาจากราคาค่าต่อตัวถังแล้ว