คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 8 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653-655/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: การอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด - เหตุหนี้สินล้นพ้นตัว - อำนาจฟ้อง - อายุความ - การส่งหมายเรียก
จำเลยโต้แย้งว่า ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสาม, 33 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 8 (4) (9) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ ขอให้ศาลล้มละลายกลางส่งคำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 264 การที่ศาลล้มละลายกลางสั่งในคำร้องของจำเลยเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226, 247 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว จึงต้องนำบทบัญญัติตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้มาใช้บังคับ อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะอุทธรณ์ได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่จำเลยอุทธรณ์ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ทั้งไม่มีกรณีจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ จึงไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณา
ปัญหาที่ว่าหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 หรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28 จำเลยอุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้จำเลยโดยวิธีปิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2539 ซึ่งถือว่าจำเลยได้รับแล้วในวันปิดนั้นเองตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง และวรรคสาม จำเลยมิได้ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อโต้แย้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรตามคำวินิจฉัยดังกล่าวจึงเด็ดขาดและเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตามกฎหมาย ระยะเวลาที่โจทก์มีอำนาจใช้วิธีการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยผู้ค้างชำระหนี้ภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 271 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 เริ่มตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์คือวันที่ 23 มีนาคม 2539 นับถึงวันฟ้องคดีนี้คือวันที่ 21 มีนาคม 2546 ยังไม่พ้น 10 ปี หนี้ตามฟ้องไม่ใช่หนี้ที่โจทก์หมดสิทธิบังคับคดี
เจ้าพนักงานของโจทก์ได้ปิดหมายเรียก ณ ที่อยู่หรือสำนักงานของจำเลยตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง และถือว่าจำเลยได้รับหมายโดยชอบแล้วตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงไม่นำหลักการนับระยะเวลาปิดหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง มาใช้บังคับ เจ้าพนักงานของโจทก์ปิดหมายเรียกวันที่ 16 พฤษภาคม 2538 หมายเรียกกำหนดให้จำเลยไปพบคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วันที่ 6 มิถุนายน 2538 เป็นการให้เวลาจำเลยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 32 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการค้ำประกัน, ภูมิลำเนา, เหตุล้มละลาย: การพิจารณาคำฟ้องขอให้ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2เป็นบุคคลล้มละลายเนื่องจากเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ได้ขอกู้ยืมเงินโจทก์ในฐานะผู้ส่งออกเพื่อจัดซื้อและเตรียมส่งสินค้าออกไปต่างประเทศโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นประกันหนี้ดังกล่าวด้วยมิใช่ฟ้องบังคับจำเลยที่2ให้ร่วมรับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยตรงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่มีกำหนดอายุความโดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปี โจทก์ส่งหนังสือทวงถามไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่2ให้ชำระหนี้ไม่น้อยกว่า2ครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า30วันแม้ไม่มีผู้รับหนังสือก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่2หลบเลี่ยงไม่ยอมรับถือว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้วพฤติการณ์ของจำเลยที่2ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8(4)(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: พฤติการณ์หนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินที่จะยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตามคำพิพากษาอีก 3 คดี ซึ่งยังไม่มีการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองย้ายที่อยู่หลายครั้งโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179(1) บัญญัติให้คิดค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องหรือคำร้องขอให้ล้มละลายห้าสิบบาท จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาซึ่งพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าว 50 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายจากหนี้สินล้นพ้นตัว การส่งคำบอกกล่าวโดยชอบ และการพิสูจน์ทรัพย์สิน
หนี้เงินกู้ตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์กำหนดระยะเวลาชำระคืนและมีข้อสัญญาว่าทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ทั้งหมดคืนก่อนกำหนด การที่ทนายโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญากู้และทวงถามให้ชำระหนี้ รวม 2 ครั้งโดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 และมีผู้รับไว้แทนจึงเป็นการส่งโดยชอบ สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันเลิกกันหนี้ของโจทก์จึงถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงตก เป็นผู้ผิดนัด การที่จำเลยทั้งสองมีหนี้ที่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ รวมจำนวนถึง 637,431.30 บาท จำเลยที่ 1 เบิกความว่ามีอาชีพทำตะเกียบ ส่งประเทศไต้หวันตลอดจนมีทรัพย์สินหลายรายการและกำไรที่จะได้รับจากอาชีพที่ทำอยู่เกินกว่าที่เป็นหนี้โจทก์ จำเลยที่ 2เบิกความว่ามีแผงลอย 2 แผงสำหรับขายของที่ตลาดถ้า โอนไปจะได้เงินประมาณ 150,000 บาท แต่เป็นเพียงคำกล่าวอ้างของจำเลยลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนให้เชื่อ ว่าเป็นความจริง คดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะหนี้กู้ยืมมีประกัน vs. จำนำ และการหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ทำหนังสือสัญญากู้เงินโจทก์และรับเงินไปโดยนำใบรับของคลังสินค้ามามอบไว้ ดังนี้ เป็นการกู้เงินโดยมีใบรับของคลังสินค้าเป็นประกันมิใช่จำนำ และต่อมาจำเลยก็นำสินค้านั้นขายไปหมดแล้ว โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 10
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ แล้วจำเลยย้ายที่อยู่หลายคราวเป็นการถาวร เมื่อจำเลยย้ายไปโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ เวลาโจทก์ฟ้องก็ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้ไม่ได้ ต้องประกาศหนังสือพิมพ์ ก็ต้องถือว่าได้ไปเสียจากเคหสถาที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับขำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข.