คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุข หงสไกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความและยึดทรัพย์โดยสุจริต ไม่ถือเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะอ้างว่าได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว
โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้นำรถยนต์ของจำเลยไปทำการชักลากบรรทุกไม้ของโจทก์จำเลยได้รับเครื่องอะไหล่รถยนต์และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ จากโจทก์ และจากบุคคลอื่นซึ่งโจทก์รับชำระราคาแทน และยังได้รับเงินสดจากโจทก์อีกด้วย โดยตกลงให้คิดหักกับสินจ้างที่จำเลยจะได้รับระหว่างอายุสัญญา มีฝนตกชุกจนจำเลยไม่สามารถนำรถยนต์ออกทำการชักลากไม้ได้ตามปกติ จำเลยจึงนำรถยนต์เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมก่อนโจทก์ได้ไปแจ้งความกล่าวหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของโจทก์แล้วพนักงานสอบสวนควบคุมตัวจำเลยและกักรถยนต์ของจำเลยไว้ ต่อมาโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ และขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยึดรถยนต์ของจำเลยไว้ก่อนมีคำพิพากษาโดยไม่ได้ความว่าโจทก์กลั่นแกล้งจำเลย การที่โจทก์แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนนั้น กรณีมีเค้ามูลและเหตุผลที่จะทำให้โจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยทำผิดตามข้อความที่ไปแจ้งความไว้ เพราะเป็นกรณีอยู่ในระหว่างที่จำเลยปฏิบัติตามสัญญายังไม่แล้วเสร็จ ก็นำรถยนต์และสิ่งของไปเสีย ดังนี้ จะถือว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยหาได้ไม่ การที่พนักงานสอบสวนปฏิบัติการควบคุมตัวจำเลยและกักรถยนต์ของจำเลยไว้ ก็เป็นเรื่องอยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำการยึดรถยนต์ของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิทางศาล โดยมีเหตุผลในการขอให้คุ้มครองสิทธิของโจทก์ จำเลยมิได้พิสูจน์ให้ปรากฏว่าศาลได้สั่งการเช่นนั้นโดยศาลมีความเห็นหลงไปโดยความผิดหรือเลินเล่อของโจทก์.ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 263 โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างชักลากไม้ ฝ่ายจำเลยนำรถกลับภูมิลำเนาโดยโจทก์ยินยอม ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา และการแจ้งความยักยอกทรัพย์ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้นำรถยนต์ของจำเลยไปทำการชักลากบรรทุกไม้ของโจทก์จำเลยได้รับเครื่องอะไหล่รถยนต์และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ จากโจทก์ และจากบุคคลอื่นซึ่งโจทก์รับชำระราคาแทน และยังได้รับเงินสดจากโจทก์อีกด้วย โดยตกลงให้คิดหักกับสินจ้างที่จำเลยจะได้รับระหว่างอายุสัญญา มีฝนตกชุกจนจำเลยไม่สามารถนำรถยนต์ออกทำการชักลากไม้ได้ตามปกติ จำเลยจึงนำรถยนต์เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมก่อนโจทก์ได้ไปแจ้งความกล่าวหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของโจทก์แล้วพนักงานสอบสวนควบคุมตัวจำเลยและกักรถยนต์ของจำเลยไว้ ต่อมาโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ และขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยึดรถยนต์ของจำเลยไว้ก่อนมีคำพิพากษาโดยไม่ได้ความว่าโจทก์กลั่นแกล้งจำเลย การที่โจทก์แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนนั้น กรณีมีเค้ามูลและเหตุผลที่จะทำให้โจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยทำผิดตามข้อความที่ไปแจ้งความไว้ เพราะเป็นกรณีอยู่ในระหว่างที่จำเลยปฏิบัติตามสัญญายังไม่แล้วเสร็จ ก็นำรถยนต์และสิ่งของไปเสีย ดังนี้ จะถือว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยหาได้ไม่ การที่พนักงานสอบสวนปฏิบัติการควบคุมตัวจำเลยและกักรถยนต์ของจำเลยไว้ ก็เป็นเรื่องอยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำการยึดรถยนต์ของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิทางศาล โดยมีเหตุผลในการขอให้คุ้มครองสิทธิของโจทก์ จำเลยมิได้พิสูจน์ให้ปรากฏว่าศาลได้สั่งการเช่นนั้นโดยศาลมีความเห็นหลงไปโดยความผิดหรือเลินเล่อของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 263 โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดและเหตุผลที่ไม่สมควร ศาลไม่รับบัญชีพยาน
จำเลยและจำเลยร่วมไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วัน และไม่อ้างเหตุขัดข้องประการใด เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายสืบพยานก่อนสืบพยานเสร็จแล้วถึง 24 วัน จำเลยร่วมจึงยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเช่นนี้ โจทก์ย่อมไม่ทราบถึงพยานหลักฐานของจำเลยร่วมว่ามีอย่างไรก่อนที่จะสืบพยานของตน เป็นการเสียเปรียบในทางคดี และคำร้องของจำเลยร่วมก็มิได้อ้างเหตุสมควรว่าตนไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานมาสืบหรือไม่ทราบว่าพยานหลักฐานมีอยู่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยร่วมระบุพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รอนสิทธิจากการเช่าซื้อและการรับผิดของผู้ขายเมื่อไม่สามารถส่งมอบกรรมสิทธิ์ได้
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์มาจากเจ้าของรถ ขณะที่ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบจำเลยได้นำรถนั้นไปขายให้กับโจทก์โดยให้โจทก์ผ่อนชำระเป็นงวดๆ ต่อมาจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อ เจ้าของรถได้มายึดเอารถยนต์ไป ถือว่าได้มีการรอนสิทธิเกิดขึ้น ทำให้จำเลยไม่สามารถจะส่งมอบและจัดการให้โจทก์ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนี้ได้ ทั้งนี้เพราะความผิดของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475
เมื่อโจทก์ผู้ซื้อถูกรอนสิทธิ จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในการคืนราคารถยนต์ที่จำเลยรับชำระไปจากโจทก์ ส่วนเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการใช้รถพิพาทและเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายรถนั้นให้บุคคลอื่น ไม่ใช่เงินค่ารถยนต์ที่จำเลยจะต้องส่งคืน. จะนำมาคิดหักกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิจากการเช่าซื้อและการรับผิดของคนขายเมื่อส่งมอบรถยนต์ไม่ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์มาจากเจ้าของรถ ขณะที่ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบจำเลยได้นำรถนั้นไปขายให้กับโจทก์โดยให้โจทก์ผ่อนชำระเป็นงวดๆต่อมาจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อ เจ้าของรถได้มายึดเอารถยนต์ไป ถือว่าได้มีการรอนสิทธิเกิดขึ้น ทำให้จำเลยไม่สามารถจะส่งมอบและจัดการให้โจทก์ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนี้ได้ ทั้งนี้เพราะความผิดของจำเลยจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 475
เมื่อโจทก์ผู้ซื้อถูกรอนสิทธิ จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในการคืนราคารถยนต์ที่จำเลยรับชำระไปจากโจทก์ ส่วนเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการใช้รถพิพาทและเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายรถนั้นให้บุคคลอื่นไม่ใช่เงินค่ารถยนต์ที่จำเลยจะต้องส่งคืน. จะนำมาคิดหักกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาส่งมอบวัตถุตามสัญญาจ้างเหมา คุณภาพวัตถุเป็นสาระสำคัญ ผู้รับจ้างต้องรับผิดแม้จะอ้างความเข้าใจผิด
จำเลยทำสัญญากับโจทก์รับจ้างเหมาขุดขนลูกรังและทรายกองรายทางตามคุณภาพและลักษณะซึ่งกำหนดไว้ในประกาศเรียกประกวดราคาและจำเลยต้องส่งตัวอย่างไปให้โจทก์วินิจฉัยก่อน แต่ตัวอย่างที่จำเลยส่งไปโจทก์วินิจฉัยแล้วแจ้งว่าใช้ไม่ได้ ให้นำทรายหยาบแม่น้ำผสมด้วยแม้ตัวอย่างนั้นจำเลยจะนำไปจากแหล่งที่โจทก์แนะนำในประกาศประกวดราคา ประกาศนั้นก็ระบุไว้แล้วว่าการระบุแหล่งวัตถุเป็นการแนะนำ ผู้รับจ้างจะถือเป็นเหตุเพื่อปัดความรับผิดใด ๆ ของตนไม่ได้ การสืบแสวงหาวัตถุตามสัญญา เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่จะต้องจัดหาตามคุณภาพและลักษณะที่กำหนด เมื่อจำเลยประกวดราคาได้และได้ทำสัญญากับโจทก์ดังนี้แล้ว จำเลยจึงจะอ้างเอาความเข้าใจหรือความเชื่อในลักษณะและคุณสมบัติของวัตถุที่โจทก์แนะนำและข้อแนะนำให้เอาทรายหยาบแม่น้ำผสมว่า ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งลูกรังและทรายให้มีคุณภาพและลักษณะตามสัญญา แต่จำเลยเอาลูกรังและทรายที่มีลักษณะไม่ถูกต้องส่งไปให้โจทก์วิจัย แม้จำเลยจะได้รับแจ้งผลการวิจัยว่าใช้ไม่ได้ก่อนสิ้นกำหนดสัญญาเพียง 5 วัน เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานวิเคราะห์ของโจทก์ได้กลั่นแกล้งให้ล่าช้าหรือกระทำการโดยไม่สุจริต จำเลยจะอ้างเป็นเหตุสุดวิสัยว่าทำการขนให้ไม่ทันหาได้ไม่
ข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยส่งตัวอย่างวัตถุไปให้โจทก์วิจัยก่อนเป็นแต่ข้อหนึ่งในสัญญาที่จำเลยต้องปฏิบัติก่อนส่งลูกรังและทรายให้โจทก์ตามสัญญา มิใช่เงื่อนไขแห่งสัญญา
ข้อสัญญาที่ว่าถ้าปรากฏว่าผู้รับจ้างส่งวัตถุไม่ถูกต้องตามคุณภาพและลักษณะตามสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องนำวัตถุที่ถูกต้องมาเปลี่ยนให้จนเป็นการถูกต้อง โดยผู้รับจ้างจะคิดยืดเวลาเอากับผู้ว่าจ้างไม่ได้นั้นเป็นข้อสัญญาที่กำหนดไว้เพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับวัตถุตรงตามสัญญาไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาจะซื้อขายที่ไม่มีการอนุญาตจึงไม่ผูกพัน
การขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต และผู้ใช้อำนาจจะให้ความยินยอมแก่เด็กโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลก็ไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน ทั้งการขายนั้นหมายความรวมถึงสัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กด้วย เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีอำนาจที่จะทำได้ สัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กย่อมไม่ผูกพันเด็ก เด็กจะอ้างว่าผู้จะซื้อผิดสัญญาและจะริบมัดจำหาได้ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 816-817/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาจะซื้อขายที่ไม่มีการอนุญาตจึงไม่ผูกพัน
การขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็ก ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต และผู้ใช้อำนาจจะให้ความยินยอมแก่เด็กโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล ก็ไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน ทั้งการขายนั้นหมายความรวมถึงสัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กด้วย เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีอำนาจที่จะทำได้ สัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กย่อมไม่ผูกพันเด็ก เด็กจะอ้างว่าผู้จะซื้อผิดสัญญาและจะริบมัดจำหาได้ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 816-817/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำหลังถอนฟ้องคดีภาษีอากร ทำให้สิทธิฟ้องหมดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)
โจทก์เคยใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลขอให้ศาลชี้ขาดเกี่ยวกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ แต่แล้วขอถอนฟ้องไป ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ศาลชี้ขาดเกี่ยวกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวอีก แต่เกินกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว คดีของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา30(2) แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะปรากฏว่าในคดีก่อนโจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ภายใน 30 วันตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจมาฟ้องใหม่ได้อีก เพราะการถอนคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง กระทำให้โจทก์จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำคดีภาษีหลังถอนฟ้องเดิม สิทธิฟ้องเป็นไปตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
โจทก์เคยใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลขอให้ศาลชี้ขาดเกี่ยวกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ แต่แล้วขอถอนฟ้องไป ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ศาลชี้ขาดเกี่ยวกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวอีก แต่เกินกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วคดีของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะปรากฏว่าในคดีก่อนโจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจมาฟ้องใหม่ได้อีก เพราะการถอนคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง กระทำให้โจทก์จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
of 3