คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชุ่ม สุนทรธัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 410 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และข้อยกเว้นการห้ามนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร
ฟ้องโจทก์มีทุนทรัพย์ 37,500 บาท ส่วนฟ้องแย้งมีทุนทรัพย์ 30,000 บาท คำขออื่นตามฟ้องแย้งเป็นคำขอไม่มีทุนทรัพย์ต่อเนื่องจากคำขอมีทุนทรัพย์ดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกินห้าหมื่นบาทเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6)พ.ศ.2518 มาตรา 6
การที่จำเลยนำสืบว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้นั้น มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างสัญญาเช่าซื้อว่าไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของนายจ้างต่อการกระทำโดยประมาทของลูกจ้าง
ศาลพิพากษาคดีอาญาว่าจำเลยที่ 2 ประมาททำให้เป็นอันตรายแก่กายข้อเท็จจริงนี้ไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 นายจ้างซึ่งไม่ได้ถูกฟ้องในคดีอาญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าข้าว: หลักฐานการซื้อจากโรงสีต้องชัดเจนเพื่ออ้างสิทธิไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ประกอบการค้าข้าวโดยซื้อข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศในปี พ.ศ. 2504 และ 2510 โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ข) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชี และรายรับจากการค้าประเภทการค้าข้าวหมายความรวมถึงเงินที่ได้รับหรือพึงได้จากการขายข้าวซึ่งไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นข้าวที่ได้มาหรือได้รับช่วงมาจากผู้ประกอบกิจการตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด)
โจทก์อ้างว่าข้าวที่โจทก์ส่งไปจำหน่ายเป็นข้าวที่โจทก์ซื้อจากบรรดาโรงสีต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร มีใบเสร็จรับเงินที่โรงสีข้าวนั้นๆ ออกให้เป็นหลักฐาน เมื่อทางนำสืบรับฟังได้ว่าผู้ที่ขายข้าวให้โจทก์ตามใบเสร็จดังกล่าวมิใช่ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า จึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ซื้อข้าวจากผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด) โจทก์จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับในการที่ขายข้าวที่ซื้อมาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าข้าว: หลักฐานการซื้อจากโรงสี ต้องแสดงได้ว่าเป็นผู้ประกอบการค้าจริง
โจทก์ประกอบการค้าข้าวโดยซื้อข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศในปี พ.ศ.2509 และ 2510 โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ข) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชี และรายรับจากการค้าประเภทการค้าข้าวหมายความรวมถึงเงินที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายข้าวซึ่งไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นข้าวที่ได้มาหรือได้รับช่วงมาจากผู้ประกอบกิจการตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด)
โจทก์อ้างว่าข้าวที่โจทก์ส่งไปจำหน่ายเป็นข้าวที่โจทก์ซื้อจากบรรดาโรงสีต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร มีใบเสร็จรับเงินที่โรงสีข้าวนั้นๆ ออกให้เป็นหลักฐานเมื่อทางนำสืบรับฟังได้ว่าผู้ที่ขายข้าวให้โจทก์ตามใบเสร็จดังกล่าวมิใช่ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 2 ชนิด1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าจึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ซื้อข้าวจากผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด) โจทก์จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับในการที่ขายข้าวที่ซื้อมาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาซื้อขายลดเช็ค: สิทธิเรียกร้องตามสัญญามีอายุความ 10 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสลักหลังเช็คพิพาทนำมาขายลดให้แก่โจทก์โดยตกลงกับโจทก์ว่าเมื่อถึงกำหนดชำระเงินแล้วให้โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินได้ หากขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยยอมรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ย ครั้นเมื่อถึงกำหนดวันชำระเงินตามเช็คพิพาทโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ จึงขอให้บังคับจำเลยใช้เงินตามเช็คและหนังสือสัญญาขายลดเช็คพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์หาได้ฟ้องจำเลยผู้สลักหลังเช็คให้รับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คแต่อย่างเดียวไม่แต่โจทก์ยังได้ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาขายลดเช็คที่จำเลยทำกับโจทก์อีกด้วย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีอายุความ 10 ปีแม้โจทก์ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลงในเช็คพิพาทคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีตามสัญญาขายลดเช็ค: สัญญาไม่มีกำหนดอายุความเฉพาะ ใช้กฎหมายทั่วไป (10 ปี)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสลักหลังเช็คพิพาทนำมาขายลดให้แก่โจทก์ โดยตกลงกับโจทก์ว่าเมื่อถึงกำหนดชำระเงินแล้วให้โจทก์นำเช็คไปขึ้นได้ หากขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยยอมรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ย ครั้นเมื่อถึงกำหนดวันชำระเงินตามเช็คพิพาท โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ จึงขอให้บังคับจำเลยใช้เงินตามเช็คและหนังสือสัญญาขายลดเช็คพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์หาได้ฟ้องจำเลยผู้สลักหลังเช็คให้รับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้ทรงเช็ค แต่อย่างเดียวไม่ แต่โจทก์ยังได้ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาขายลดเช็คที่จำเลยทำกับโจทก์อีกด้วย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ของโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีอายุความ 10 ปี แม้โจทก์ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลงในเช็คพิพาท คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากบาดแผลฉกรรจ์ แม้ไม่สำเร็จความตายเข้าข่ายพยายามฆ่า
ขณะที่ผู้เสียหายกำลังยืนดูมวยอยู่มิได้ระวังตัว จำเลยใช้มีดโกนปาด (ในลักษณะที่ชกเฉี่ยวปาด) ที่บริเวณคอผู้เสียหายมีบาดแผลยาวถึง 10 เซนติเมตร นายแพทย์สุทัศน์ (ผู้ชันสูตรบาดแผล) เบิกความว่า ที่คอที่หลอดคอกับเส้นโลหิตใหญ่เป็นอวัยวะสำคัญ บาดแผลของผู้เสียหายถูกเส้นโลหิตดำขาด แต่ไม่ถูกเส้นโลหิตแดง ถ้าหากเส้นโลหิตแดงใหญ่ขาดทำให้ถึงตายได้ การที่จำเลยเลือกทำร้ายผู้เสียหายที่อวัยวะสำคัญและกระทำโดยแรงมีบาดแผลฉกรรจ์ด้วยอาวุธมีดโกนชนิดพับได้อย่างที่ใช้กันในร้านตัดผมใบมีดยาว 5 นิ้วฟุต กว้าง 1 นิ้วมือเศษ ทั้งใบมีดและด้ามยาวคืบเศษ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แต่การกระทำของจำเลยไม่บรรลุผล เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่า: การทำร้ายด้วยอาวุธมีดโกนที่คอ แม้ไม่ถึงแก่ความตาย แต่มีเจตนาฆ่า
ขณะที่ผู้เสียหายกำลังยืนดูมวยอยู่มิได้ระวังตัว จำเลยใช้มีดโกนปาด(ในลักษณะที่ชกเฉี่ยวปาด) ที่บริเวณคอผู้เสียหายมีปาดแผลยาวถึง 10 เซนติเมตร นายแพทย์สุทัศน์ (ผู้ชันสูตรบาดแผล) เบิกความว่า ที่คอมีหลอดคอกับเส้นโลหิตใหญ่เป็นอวัยวะสำคัญ บาดแผลของผู้เสียหายถูกเส้นโลหิตดำขาด แต่ไม่ถูกเส้นโลหิตแดง ถ้าหากเส้นโลหิตแดงใหญ่ขาดทำให้ถึงตายได้ การที่จำเลยเลือกทำร้ายผู้เสียหายที่อวัยวะสำคัญและกระทำโดยแรงมีบาดแผลฉกรรจ์ด้วยอาวุธมีดโกนชนิดพับได้อย่างที่ใช้กันในร้านตัดผมใบมีดยาว 5 นิ้วฟุต กว้าง 1 นิ้วมือเศษ ทั้งใบมีดและด้ามยาวคืบเศษ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แต่การกระทำของจำเลยไม่บรรลุผล เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าและอากรแสตมป์ของผู้ทำการแทนผู้ประกอบการค้าที่รับเงินค่าจ้าง
บริษัท ค. เป็นบริษัทในต่างประเทศได้ร่วมกันอีกบริษัทหนึ่งทำสัญญารับเหมาก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันกับกระทรวงกลาโหม โจทก์เป็นผู้ลงนามในสัญญากับกระทรวงกลาโหมแทนบริษัท ค. บริษัท ค. ได้มอบให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจเต็มและมีสิทธิทำการทุกอย่างใดขอบเขตเรื่องการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน โจทก์เป็นผู้มีอำนาจเต็มและมีสิทธิทำการทุกอย่างในขอบเขตเรื่องการก่อสร้างกลั่นน้ำมัน โจทก์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงกลาโหมชี้แจงข้อความเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้ลงนามกู้เงินจากธนาคารมาใช้ในการก่อสร้างโดยเปิดบัญชีไว้ 4 บัญชี ทุกบัญชีโจทก์มีอำนาจสั่งจ่าย ครั้นก่อสร้างเสร็จกระทรวงกลาโหมจ่ายเงินค่าจ้างแก่ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้ แล้วธนาคารจึงจ่ายต่อไปให้แก่ผู้รับเหมา เมื่อมีเงินเหลือธนาคารก็จ่ายให้โจทก์และโอนเข้าบัญชีอื่นๆ ที่โจทก์มีอำนาจสั่งจ่าย แม้บริษัท ค. จะมีสำนักงานไว้ ณ สถานที่ก่อสร้างก้เพื่อติดต่อเกี่ยวกับคนงานที่มาก่อสร้างเท่านั้น มิใช่บริษัท ค. ใช้สถานที่นั้นเป็นสาขาประกอบการค้าในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้ทำการแทนบริษัท ค. เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า และเสียภาษีการค้าตามรายรับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.
ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้เป็นผู้รับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.จากกระทรวงกลาโหมมาจ่ายให้บริษัท ค.ผู้รับจ้าง เงินที่รับมานั้นจึงเป็นค่าจ้างทำของซึ่งจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนเงินแบ่งสินจ้าง เมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการแทนบริษัท ค. ในประเทศไทย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียค่าอากรแสตมป์ในเงินค่าจ้างซึ่งเสมือนเสียจากผู้รับจ้างนั่นเอง โจทก์ต้องเป็นผู้เสียค่าอากรแสตมป์นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าและอากรแสตมป์ของผู้ทำการแทนผู้ประกอบการค้าในสัญญาจ้างทำของ
บริษัท ค. เป็นบริษัทในต่างประเทศได้ร่วมกับอีกบริษัทหนึ่งทำสัญญารับเหมาก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันกับกระทรวงกลาโหมโจทก์เป็นผู้ลงนามในสัญญากับกระทรวงกลาโหมแทนบริษัท ค. บริษัท ค. ได้มอบให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจเต็มและมีสิทธิทำการทุกอย่างในขอบเขตเรื่องการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน โจทก์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงกลาโหมชี้แจงข้อความเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้ลงนามกู้เงินจากธนาคารมาใช้ในการก่อสร้างโดยเปิดบัญชีไว้ 4 บัญชี ทุกบัญชีโจทก์มีอำนาจสั่งจ่ายครั้นก่อสร้างเสร็จกระทรวงกลาโหมจ่ายเงินค่าจ้างแก่ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้แล้วธนาคารจึงจ่ายต่อไปให้แก่ผู้รับเหมาเมื่อมีเงินเหลือธนาคารก็จ่ายให้โจทก์และโอนเข้าบัญชีอื่นๆ ที่โจทก์มีอำนาจสั่งจ่าย แม้บริษัท ค. จะมีสำนักงานไว้ ณ สถานที่ก่อสร้างก็เพื่อติดต่อเกี่ยวกับคนงานที่มาก่อสร้างเท่านั้น มิใช่บริษัท ค. ใช้สถานที่นั้นเป็นสาขาประกอบการค้าในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้ทำการแทนบริษัท ค. เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและเสียภาษีการค้าตามรายรับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.
ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้เป็นผู้รับเงินค่าจ้างของบริษัท ค. จากกระทรวงกลาโหมมาจ่ายให้บริษัท ค. ผู้รับจ้าง เงินที่รับมานั้นจึงเป็นค่าจ้างทำของซึ่งจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนเงินแบ่งสินจ้างเมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการแทนบริษัท ค. ในประเทศไทย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียค่าอากรแสตมป์ในเงินค่าจ้างซึ่งเสมือนเสียจากผู้รับจ้างนั่นเองโจทก์ต้องเป็นผู้เสียค่าอากรแสตมป์นี้
of 41