คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชุ่ม สุนทรธัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 410 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้ากรณีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า: การตีความ 'ขาย' ตามประมวลรัษฎากร
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการขายของประเภท 1 ชนิด 1(ก)ในฐานะผู้ผลิตสินค้าซิเมนต์ เหล็ก อิฐ ได้สั่งกระดาษม้วน ด้าย และเทปกระดาษเข้ามาเพื่อผลิตเป็นถุงกระดาษบรรจุปูนซิเมนต์ ดังนี้ ไม่ว่าโจทก์จะขายถุงปูนซิเมนต์โดยคำนวณต้นทุนผลิตรวมกันไปกับปูนซิเมนต์หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์สั่งสินค้าดังกล่าวเข้ามาใช้ผลิตเพื่อขายซึ่งสินค้าที่โจทก์ได้ประกอบการค้าอยู่ สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่โจทก์นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายแล้ว จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งได้ขายสินค้านี้ และให้ถือมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (1) ต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ
โจทก์สั่งลวดเหล็กเข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าตะปูหรือสินค้าเหล็กและสั่งโลหะผสมแร่เข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าเหล็กของโจทก์เพื่อขายต่อไป ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้สั่งลวดเหล็กและโลหะผสมแร่เข้ามาเพื่อขาย โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรค 2 และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าลวดเหล็กและโลหะผสมแร่ ก็จะถือว่าการนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาสำหรับผลิตสินค้าเท่ากับนำสินค้าไปใช้ เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3)ไม่ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้ากรณีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า: การพิจารณาผู้ประกอบการค้าและการขายสินค้า
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการขายของประเภท 1 ชนิด 1 (ก) ในฐานะผู้ผลิตสินค้าซิเมนต์ เหล็ก อิฐ ได้สั่งกระดาษม้วน ด้าย และเทปกระดาษเข้ามาเพื่อผลิตเป็นถุงกระดาษบรรจุปูนซิเมนต์ ดังนี้ ไม่ว่าโจทก์จะขายถุงปูนซิเมนต์โดยคำนวณต้นทุนผลิตรวมกันไปกับปูนซิเมนต์หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์สั่งสินค้าดังกล่าวเข้ามาใช้ผลิตเพื่อขายซึ่งสินค้าที่โจทก์ได้ประกอบการค้าอยู่ สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่โจทก์นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายแล้ว จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งได้ขายสินค้านี้ และให้ถือมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (1) ต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ
โจทก์สั่งลวดเหล็กเข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าตะปูหรือสินค้าเหล็ก และสั่งโลหะผสมแร่เข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าเหล็กของโจทก์เพื่อขายต่อไป ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้สั่งลวดเหล็กและโลหะผสมแร่เข้ามาเพื่อขาย โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรค 2 และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าลวดเหล็กและโลหะผสมแร่ ก็จะถือว่าการนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาสำหรับผลิตสินค้าเท่ากับนำสินค้าไปใช้ เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ อายัดทรัพย์สินเพื่อความมั่นคง และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นที่สุด
การที่นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินของ ถ. อันเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทซึ่งมีชื่อภริยาของ ถ. ทางทะเบียนถูกอายัดไปด้วยนั้น เนื่องมาจากคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ดังกล่าว มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งเดิม ให้ทรัพย์สินที่ถูกอายัดหรือยึดไว้ตามคำสั่งฉบับแรกตกเป็นของรัฐทันที ในกรณีที่บุคคลใดอ้างว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตนให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าผู้ร้องไม่อาจพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ตนได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนทรัพย์สินให้ การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด คำสั่งที่ให้การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการในกรณีไม่คืนทรัพย์เป็นที่สุดนั้น ก็เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีที่สั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการที่วินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่าคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไรบ้าง การที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่ารถยนต์เป็นของโจทก์ควรจะคืนให้โจทก์ จึงเป็นเรื่องโต้เถียงคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการซึ่งโจทก์มีความเห็นไม่ตรงกับคณะกรรมการเท่านั้น หาใช่คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ เมื่อคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นไปโดยชอบ คำสั่งจึงเป็นอันยุติเด็ดขาดเพียงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ อายัดทรัพย์สินเพื่อความมั่นคง และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด
การที่นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตาม มาตรา17 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินของ ถ. อันเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทซึ่งมีชื่อภริยาของ ถ. ทางทะเบียนถูกอายัดไปด้วยนั้น เนื่องมาจากคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ดังกล่าว มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งเดิม ให้ทรัพย์สินที่ถูกอายัดหรือยึดไว้ตามคำสั่งฉบับแรกตกเป็นของรัฐทันที ในกรณีที่บุคคลใดอ้างว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตนให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าผู้ร้องไม่อาจพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ตนได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนทรัพย์สินให้ การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด คำสั่งที่ให้การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการในกรณีไม่คืนทรัพย์เป็นที่สุดนั้น ก็เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีที่สั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการที่วินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่าคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไรบ้าง การที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่ารถยนต์เป็นของโจทก์ควรจะคืนให้โจทก์จึงเป็นเรื่องโต้เถียงคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการซึ่งโจทก์มีความเห็นไม่ตรงกับคณะกรรมการเท่านั้น หาใช่คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ เมื่อคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นไปโดยชอบ คำสั่งจึงเป็นอันยุติเด็ดขาดเพียงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยคนต่างด้าว การละเมิด และค่าเสียหายจากการรื้อถอนเรือน
โจทก์ที่ 1 และบิดามารดาจำเลยล้วนเป็นคนต่างด้าว ได้ร่วมกันออกเงินซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมาบิดามารดาจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินส่วนของตนให้แก่โจทก์ ที่ 1 ในราคา 19,000 บาท ดังนี้ การการแบ่งที่ดินพิพาทบางส่วนให้เป็นของโจทก์ที่ 1 ไม่อาจทำได้ เพราะจะเป็นการบังคับให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายที่ดิน ศาลชอบที่จะสั่งให้ขายทอดตลาดที่ดินได้เงินเท่าใดแบ่งให้จำเลยในฐานะทายาท 19,000 บาท เงินส่วนที่เหลือเป็นของโจทก์
เรือนซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 จำเลยได้บอกให้ผู้อื่นรื้อเอาไปการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์ที่ 1 จะเป็นคนต่างด้าวไม่อาจมีกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ ก็ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย
จำเลยฎีกาว่า หากศาลจะฟังว่าต้องขายทอดตลาดที่ดินพิพาทก็ชอบที่จะต้องเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งกันตามส่วนที่ออกเงินซื้อ นั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนต่างด้าวซื้อที่ดินร่วมกับคนไทย การขายทอดตลาด และค่าเสียหายจากการรื้อถอนเรือน
โจทก์ที่ 1 และบิดามารดาจำเลยล้วนเป็นคนต่างด้าว ได้ร่วมกันออกเงินซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมาบิดามารดาจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินร่วมของตนให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคา 19,000 บาท ดังนี้ การแบ่งที่ดินพิพาทบางส่วนให้เป็นของโจทก์ที่ 1 ไม่อาจทำได้ เพราะจะเป็นการบังคับให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายที่ดิน ศาลชอบที่สั่งให้ขายทอดตลาดที่ดินได้เงินเท่าใดแบ่งให้จำเลยในฐานะทายาท 19,000 บาท เงินส่วนที่เหลือเป็นของโจทก์
เรือนซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 จำเลยได้บอกให้ผู้อื่นรื้อเอาไป การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์ที่ 1 จะเป็นคนต่างด้าวไม่อาจมีกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ ก็ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย
จำเลยฎีกาว่า หากศาลจะฟังว่าต้องขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ก็ชอบที่จะต้องเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งกันตามส่วนที่ออกเงินซื้อ นั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การใหม่ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 18 ไม่สามารถอุทธรณ์ตามมาตรา 228(3) ได้
เมื่อศาลชั้นต้นไม่รับคำให้การของจำเลยเพราะยื่นพ้นกำหนด 8 วันแล้ว จำเลยหาได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นไม่ แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การใหม่ อ้างว่าจำเลยไม่มีเจตนาจงใจไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้ว มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การใหม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นครั้งใหม่ที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามคำร้องนี้ไม่ใช่คำสั่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ที่จำเลยจะใช้สิทธิตามมาตรา 228(3) อุทธรณ์ได้ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยอุทธรณ์คำสั่งนั้นทันทีไม่ได้ตามมาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ขยายระยะเวลายื่นฎีกาเนื่องจากความประมาทเลล่าของจำเลย แม้ทนายความถูกทำร้าย
จำเลยฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 3 ตุลาคม 2518 แล้วยื่นคำร้องลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2518 ว่า เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2518 มีคนร้ายยิงทนายจำเลยได้รับอันตรายสาหัส ป่วยหนัก ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล สำนวนและเอกสารยังหาไม่พบจำเลยความรู้น้อยไม่สามารถทำฎีกาด้วยตนเอง ทั้งเป็นคนยากจนได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถายังจัดหาทนายคนอื่นไม่ได้ทันท่วงที ขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาไปอีก 10 วัน ดังนี้ จำเลยฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วไม่ทำฎีกายื่น จนเวลาล่วงเลยไป 14 วัน ทนายของจำเลยจึงถูกคนร้ายยิง จากนั้นจำเลยมีเวลาหาทนายความคนอื่นและมีเวลาดำเนินการยื่นฎีกาอีก 15 วันก่อนขอขยายระยะเวลาฎีกา เห็นได้ว่าจำเลยเพิกเฉยมาแต่ต้น ไม่รีบแก้ไขเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นแก่ทนายความของจำเลย กรณีไม่นับว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษ ไม่สมควรขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลายื่นฎีกา: เหตุสุดวิสัยที่ไม่สมควรรับฟัง
จำเลยฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 3 ตุลาคม 2518 แล้วยื่นคำร้องลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2518 ว่า เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2518 มีคนร้ายยิงทนายจำเลยได้รับอันตรายสาหัส ป่วยหนัก ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล สำนวนและเอกสารยังหาไม่พบจำเลยความรู้น้อยไม่สามารถทำฎีกาด้วยตนเอง ทั้งเป็นคนยากจนได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถายังจัดหาทนายคนอื่นไม่ได้ทันท่วงที ขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาไปอีก 10 วัน ดังนี้ จำเลยฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วไม่ทำฎีกายื่น จนเวลาล่วงเลยไป 14 วัน ทนายของจำเลยจึงถูกคนร้ายยิง จากนั้นจำเลยมีเวลาหาทนายความคนอื่นและมีเวลาดำเนินการยื่นฎีกาอีก 15 วันก่อนขอขยายระยะเวลาฎีกา เห็นได้ว่าจำเลยเพิกเฉยมาแต่ต้น ไม่รีบแก้ไขเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นแก่ทนายความของจำเลย กรณีไม่นับว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษ ไม่สมควรขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการปล้นทรัพย์: ผู้รอรับของที่ได้จากการปล้น มีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิด
จำเลยรอรับแบกกระสอบใส่ของที่คนร้ายปล้น อยู่ห่างจากสถานที่ปล้นประมาณ 3 เส้น อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดในขณะกระทำความผิดนั้น จำเลยจึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
of 41