พบผลลัพธ์ทั้งหมด 410 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และปลอมเอกสาร กรณีแก้ไขจำนวนเงินในใบเสร็จรับเงินค่าปรับ
ตำรวจได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เสมียนเปรียบเทียบ และได้ทำงานในหน้าที่นั้น แม้ไม่ได้เซ็นทราบคำสั่งถือว่าได้ทราบการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่แล้วการแก้หรือลงจำนวนเงินในสำเนาใบเสร็จให้น้อยลงกว่าต้นฉบับ แล้วส่งเงินต่ำกว่าจำนวนที่ได้รับจริง เป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกตาม มาตรา147 ฐานปลอมเอกสารในหน้าที่ของตนตาม มาตรา161,266 ต่างกระทงแต่ละรายที่ได้กระทำ ไม่ใช่ มาตรา162 ซึ่งเป็นการทำเอกสารเท็จ การกระทำก่อนใช้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 2 ให้ลงโทษตามกระทงที่หนักที่กระทำหลังจากนั้นต้องลงโทษทุกกรรมในกระทงความผิด ตามมาตรา161,266 ลงโทษตาม มาตรา 266 ซึ่งเป็นบทหนัก
จำเลยฎีกาว่า ระเบียบของกรมตำรวจให้นายตำรวจผู้ปกครองสถานีตำรวจรับผิดชอบในเงินค่าเปรียบเทียบปรับ ไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยซึ่งเป็นเสมียนเปรียบเทียบข้อนี้จำเลยไม่ได้อ้างในศาลชั้นต้น จำเลยปฏิเสธว่าไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินค่าปรับ จึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า ระเบียบของกรมตำรวจให้นายตำรวจผู้ปกครองสถานีตำรวจรับผิดชอบในเงินค่าเปรียบเทียบปรับ ไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยซึ่งเป็นเสมียนเปรียบเทียบข้อนี้จำเลยไม่ได้อ้างในศาลชั้นต้น จำเลยปฏิเสธว่าไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินค่าปรับ จึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2607/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาแบ่งมรดก: ยึดทรัพย์ก่อนขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย
ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ 2 ใน 3 ส่วน ถ้าตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์กับจำเลย หากยังไม่ตกลงกันก็ให้ขายทอดตลาดแบ่งเงินกัน ฝ่ายโจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทให้ แต่ตกลงกันไม่ได้เพราะจำเลยจะแบ่งให้เพียงครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกจำเลยมาประมูลทรัพย์สินระหว่างกันเอง จำเลยก็ไม่มาพบเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่นนี้ถือได้ว่าการแบ่งทรัพย์หรือการประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีทางตกลงกันได้แล้ว ที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จึงเป็นการถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว และเมื่อกรณีมีความจำเป็นต้องดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทแก่โจทก์ตามคำพิพากษาด้วยวิธีขายทอดตลาดการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์พิพาทก่อนทำการขายทอดตลาดย่อมเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2607/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาแบ่งมรดก: ยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมายเมื่อตกลงแบ่งกันเองไม่ได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ 2 ใน 3 ส่วน ถ้าตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์กับจำเลย หากยังไม่ตกลงกันก็ให้ขายทอดตลาดแบ่งเงินกัน ฝ่ายโจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทให้ แต่ตกลงกันไม่ได้เพราะจำเลยจะแบ่งให้เพียงครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกจำเลยมาประมูลทรัพย์สินระหว่างกันเอง จำเลยก็ไม่มาพบเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่นนี้ถือได้ว่าการแบ่งทรัพย์หรือประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีทางตกลงกันได้แล้ว ที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขาดทอดตลาดทรัพย์พิพาท จึงเป็นการถูกต้องตามขั้นตอนแล้วและเมื่อกรณีมีความจำเป็นต้องดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาท แก่โจทก์ตามคำพิพากษาด้วยวิธีขายทอดตลาด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์พิพาทก่อนทำการขายทอดตลาดย่อมเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การแก้ไขคำเสนอ, การรับรองความเสี่ยง, และการปฏิเสธการจ่ายเงิน
คำสนองรับประกันภัยที่แก้ไขคำเสนอ คนของผู้รับประกันภัยนำไปตกลงกับผู้ขอเอาประกันภัย เป็นคำเสนอต่อหน้าขึ้นใหม่เกิดสัญญาเมื่อตกลงกันทันที บันทึกล่วงหน้าของผู้รับประกันภัยเป็นเอกสารตาม มาตรา 867 ได้ ไม่ต้องส่งมอบกรมธรรม์ เงื่อนไขในใบสมัครที่ว่าต้องได้ออกและส่งมอบกรมธรรม์ก่อน ไม่มีผลบังคับ
คำแถลงเกี่ยวกับอาชีพของผู้ขอประกันภัยไม่เป็นความจริง แต่ผู้รับประกันภัยไม่ถือเป็นสำคัญ ไม่ทำให้สัญญาประกันภัยไม่สมบูรณ์
มีคำเตือนให้ผู้รับประกันภัยใช้เงิน ผู้รับประกันภัยตอบปฏิเสธเป็นการผิดนัดตั้งแต่วันปฏิเสธ ต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันปฏิเสธนั้น
คำแถลงเกี่ยวกับอาชีพของผู้ขอประกันภัยไม่เป็นความจริง แต่ผู้รับประกันภัยไม่ถือเป็นสำคัญ ไม่ทำให้สัญญาประกันภัยไม่สมบูรณ์
มีคำเตือนให้ผู้รับประกันภัยใช้เงิน ผู้รับประกันภัยตอบปฏิเสธเป็นการผิดนัดตั้งแต่วันปฏิเสธ ต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันปฏิเสธนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินและการใช้ประโยชน์จากคูน้ำร่วมกัน การป้องกันทรัพย์สินไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยขุดคูเพื่อชักน้ำจากคลองใช้ทำสวน โจทก์ทำสวนในที่ดินแม่ยายและได้ขุดคูชักน้ำใช้ทำสวนต่อจากคูที่จำเลยขุดไว้ แล้วโจทก์ถือวิสาสะใช้เรือยนต์บรรทุกอุปกรณ์ในการทำสวนมีเครื่องสูบน้ำเป็นต้นผ่านคูที่จำเลยขุดเข้าไปในที่ดินที่โจทก์ทำสวนโดยไม่ขออนุญาตจากจำเลย ในหน้าน้ำจำเลยปักไม้ไผ่ขวางคูนั้นเพื่อป้องกันคนร้ายนำเรือยนต์ผ่านคูที่จำเลยขุดมาขโมยผลไม้ในสวนของจำเลย โจทก์นำเรือยนต์บรรทุกเครื่องยนต์เข้าไปสูบน้ำที่ท่วมในสวนของโจทก์ไม่ได้ ทำให้สวนของโจทก์ถูกน้ำท่วมเสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิในทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้มีเจตนากลั่นแกล้ง จึงไม่เป็นการละเมิด และไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้สิทธิไม่สุจริตในอสังหาริมทรัพย์ทำให้โจทก์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเสาไฟฟ้าฯ มิใช่สัญญาจ้างทำของ ผู้ประกอบการค้าไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ทำเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงส่งแก่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สัญญาที่โจทก์ทำกับการไฟฟ้าทั้งสองระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายข้อความในหนังสือสัญญาให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนามุ่งจะให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เพื่อตอบแทนการใช้ราคา มิได้มุ่งหวังในผลสำเร็จในการงาน แม้ข้อความในสัญญาจะได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะของทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบว่าจะต้องเป็นไปตามแบบและรายการแนบท้ายสัญญา ก็เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาซื้อขายหาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
โจทก์นำลวดเหล็กเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงเพื่อขาย มิใช่ลวดเหล็กนั้นเข้ามาเพื่อขาย โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตาม มาตรา 78 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1606/2512) กรณีนี้โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
กรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยและเมื่อศาลเห็นว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่กรมสรรพากรจำเลยยกขึ้นอ้างอิงเพื่อเรียกเก็บภาษีจากโจทกืไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจไม่ให้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียได้
โจทก์นำลวดเหล็กเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงเพื่อขาย มิใช่ลวดเหล็กนั้นเข้ามาเพื่อขาย โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตาม มาตรา 78 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1606/2512) กรณีนี้โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
กรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยและเมื่อศาลเห็นว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่กรมสรรพากรจำเลยยกขึ้นอ้างอิงเพื่อเรียกเก็บภาษีจากโจทกืไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจไม่ให้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเสาไฟฟ้าฯ มิใช่สัญญาจ้างทำของ ผู้ประกอบการค้าไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ทำเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงส่งแก่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สัญญาที่โจทก์ทำกับการไฟฟ้าทั้งสองระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขาย ข้อความในหนังสือสัญญาแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนามุ่งจะให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เพื่อตอบแทนการ ใช้ราคา มิได้มุ่งหวังในผลสำเร็จในการงานแม้ข้อความในสัญญาจะได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบว่าจะต้องเป็นไปตามแบบและรายการแนบท้ายสัญญา ก็เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาซื้อขายหาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
โจทก์นำลวดเหล็กเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงเพื่อขาย มิใช่สั่งลวดเหล็กนั้นเข้ามาเพื่อขาย โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจท์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1606/2512) กรณีนี้โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
กรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 5 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยและเมื่อศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ กรมสรรพากรจำเลยยกขึ้นอ้างอิงเพื่อเรียกเก็บ ภาษีจากโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจไม่ใช้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียได้
โจทก์นำลวดเหล็กเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงเพื่อขาย มิใช่สั่งลวดเหล็กนั้นเข้ามาเพื่อขาย โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจท์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1606/2512) กรณีนี้โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
กรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 5 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยและเมื่อศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ กรมสรรพากรจำเลยยกขึ้นอ้างอิงเพื่อเรียกเก็บ ภาษีจากโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจไม่ใช้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายถือเป็นเงินได้ลูกจ้าง ไม่เป็นการประเมินซ้ำซ้อน
นายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ส่งภายใน 7 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50,52 ซึ่งตาม มาตรา 60 ให้ถือภาษีที่ได้หักและนำส่งเป็นเงินได้ที่ได้รับ จึงต้องรวมกับเงินได้ของลูกจ้างในปีนั้น ไม่เป็นการประเมินภาษีซ้ำซ้อน
ฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยผู้เดียวในคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภาษีเงินได้ ไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานเหล่านั้นด้วย
ฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยผู้เดียวในคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภาษีเงินได้ ไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานเหล่านั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องค่าไฟฟ้าไม่เคลือบคลุม อายุความ 10 ปี เหตุเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ใช่พ่อค้า
ฟ้องเรียกเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระ แม้ไม่บรรยายว่าจำเลย ใช้ไฟฟ้าจากเลขวัดหน่วยที่เท่าใดถึงหน่วยที่เท่าใด ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมเพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ดำเนินกิจการสาธารณูปโภคซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประโยชน์ของรัฐและประชาชน ดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ.2503 มาตรา 6,8,41 หาใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรตามปกติไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลากรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความห้าปีตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนดสิบปีตามมาตรา 164มาใช้บังคับ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ดำเนินกิจการสาธารณูปโภคซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประโยชน์ของรัฐและประชาชน ดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ.2503 มาตรา 6,8,41 หาใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรตามปกติไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลากรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความห้าปีตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนดสิบปีตามมาตรา 164มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าไฟฟ้า-กิจการไฟฟ้าสาธารณูปโภค-ฟ้องเคลือบคลุม: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องอายุความและรายละเอียดฟ้อง
ฟ้องเรียกเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระ แม้ไม่บรรยายว่าจำเลยใช้ไฟฟ้าจากเลขวัดหน่วยที่เท่าใดถึงหน่วยที่เท่าใดก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ดำเนินกิจการสาธารณูปโภคซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประโยชน์ของรัฐและประชาชนดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มาตรา 6, 8, 41 หาใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรตามปกติไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลากรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความห้าปีตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนดสิบปีตามมาตรา 164 มาใช้บังคับ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ดำเนินกิจการสาธารณูปโภคซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประโยชน์ของรัฐและประชาชนดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มาตรา 6, 8, 41 หาใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรตามปกติไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลากรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความห้าปีตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนดสิบปีตามมาตรา 164 มาใช้บังคับ