คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1003

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับอาวัลมีสิทธิฟ้องได้ภายใน 10 ปี มิใช่ 6 เดือน
โจทก์บรรยายฟ้องส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 ตามสำเนาท้ายฟ้อง(แก่ผู้ถือ) แล้วมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์สลักหลังเช็คดังกล่าวชำระหนี้แก่ผู้มีชื่อ ผู้มีชื่อนำเช็คเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้มีชื่อได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยให้โจทก์ชำระเงินตามเช็คดังกล่าวในฐานะที่โจทก์สลักหลังเป็นอาวัลผู้สั่งจ่าย โจทก์ชำระเงินตามเช็คแก่ผู้มีชื่อแล้วรับเช็คดังกล่าวคืนมา โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจนถึงวันฟ้องและต่อไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็ค เมื่อเช็คดังกล่าวธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง และโจทก์ได้มีคำขอบังคับไว้ในคำฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจนถึงวันฟ้องและต่อไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่าถูกใครใช้สิทธิไล่เบี้ยเมื่อใด ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์กลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สภาพแห่งข้อหาที่กฎหมายบังคับให้ต้องแสดงไว้ในคำฟ้อง การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ซึ่งมาตรา 989 วรรคแรกบัญญัติให้นำมาใช้บังคับในเรื่องเช็คด้วยนั้น บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า เป็นเพียงการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายหาได้ถือว่าเป็นการสลักหลังโอนหรือสลักหลังลอยไม่ เมื่อโจทก์สลักหลังเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 ซึ่งจำเลยสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้รับอาวัลจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวจึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับจำเลยซึ่งโจทก์ประกัน เมื่อโจทก์ผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ได้ประกันไว้การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการใช้สิทธิของผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินไปตามเช็คแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งตนได้ประกันไว้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา989 วรรคแรก บัญญัติให้สิทธิไว้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับเสียภายในระยะเวลาเท่าใด ฉะนั้นจึงต้องมีกำหนด 10 ปี ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) บัญญัติไว้ คดีตามคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 หาใช่กรณีโจทก์ผู้สลักหลังโอนเช็คแก่ผู้ทรง หรือผู้สลักหลังลอยโอนเช็คแก่ผู้ทรงใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คอันมีอายุความ6 เดือน ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003บัญญัติไว้ไม่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเช็ค: ผู้ทรงเช็ค (จากผู้ประกัน) มีสิทธิฟ้องภายใน 1 ปีนับจากเช็คถึงกำหนด
เช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918,989 การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทแล้วนำไปขายลดให้แก่ธนาคารย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921,989 เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารและเข้าถือเอาเช็คนั้นกลับคืนมา โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน เพราะโจทก์มิใช่ผู้สลักหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็ค: ผู้ทรงเช็ค vs. ผู้สลักหลัง
เช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 918, 989 การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทแล้วนำไปขายลดให้แก่ธนาคารย่อมเป็นเพียงประกัน(อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 921, 989 เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารและเข้าถือเอาเช็คนั้นกลับคืนมา โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1002 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน เพราะโจทก์มิใช่ผู้สลักหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่ใช่ 6 เดือนตามมาตรา 1003
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับซื้อเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คการสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921ประกอบด้วยมาตรา 989 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะค้ำประกันหนี้ตามเช็คของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลย และเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงเช็คบรรดามีเหนือจำเลยด้วย กรณีเช่นนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ทรงจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 หาใช่อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 1003 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็ค และการรับผิดในหนี้ค่าซื้อขาย
ผู้สลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่อมอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989เมื่อได้ชำระหนี้แก่ผู้ทรงไปแล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ย เอาจากผู้สั่งจ่ายและเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงที่มีเหนือผู้สั่งจ่ายด้วยกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดอายุความเท่าใด สิทธิเรียกร้องของผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงต่อผู้สั่งจ่าย จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 ผู้สลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือมิใช่ผู้สลักหลังตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1003 จึงไม่นำอายุความ 6 เดือนตามมาตรานี้มาใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 6 เดือน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับซื้อเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คการสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921ประกอบด้วยมาตรา 989 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะค้ำประกันหนี้ตามเช็คของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลย และเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงเช็คบรรดามีเหนือจำเลยด้วย กรณีเช่นนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ทรงจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 หาใช่อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 1003 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: สิทธิผู้รับช่วงจากผู้ทรงเช็คมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่อายุความ 1 ปี
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ถือ โจทก์ผู้ทรงได้สลักหลังเช็คนั้นโดยมิได้ ระบุข้อความใด ๆ ไว้แล้วนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับซื้อเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงการสลักหลังของโจทก์เป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรง โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คของจำเลย เมื่อผู้ทรงรับเงินตามเช็คไม่ได้และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้ทรงแทนจำเลยไป ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงที่จะไล่เบี้ยเอาจากจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 กรณีไม่ต้องด้วย มาตรา1002 ซึ่งบัญญัติไว้แต่เฉพาะกรณีที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย และโจทก์ก็มิได้อยู่ในฐานะผู้สลักหลังเช็คตามมาตรา 1003

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คและสิทธิเรียกร้องของผู้รับช่วงสิทธิ: อายุความ 10 ปี
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ถือโจทก์ผู้ทรงได้สลักหลังเช็คนั้นโดยมิได้ ระบุข้อความใด ๆไว้แล้วนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอกผู้รับซื้อเช็คไว้ ย่อมเป็นผู้ทรงการสลักหลังของโจทก์เป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คที่จำเลย จะต้องรับผิดต่อผู้ทรงโจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็ค ของจำเลยเมื่อผู้ทรงรับเงินตามเช็คไม่ได้และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้ทรง แทนจำเลยไปย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงที่จะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา1002 ซึ่งบัญญัติไว้แต่เฉพาะกรณีที่ ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายและโจทก์ก็มิได้อยู่ในฐานะ ผู้สลักหลังเช็คตามมาตรา 1003

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คผู้ถือ การสลักหลังเป็นประกัน และสิทธิของผู้ทรง
เช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยการส่งมอบ ให้กันโดยไม่จำต้องสลักหลัง การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทขายลดให้แก่ธนาคาร ย่อมเป็นเพียงประกัน(อาวัล) จำเลยผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อเช็คพิพาท เรียกเก็บเงินไม่ได้ ธนาคารผู้รับซื้อเช็คจึงหักเงินจากบัญชีโจทก์และส่งเช็คกลับคืนมาให้โจทก์ครอบครองโจทก์จึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตามมาตรา 904จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1002. กรณีไม่เข้ามาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน เพราะโจทก์ มิใช่ผู้สลักหลังตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คผู้ถือ สลักหลังเป็นประกัน (อาวัล) ผู้ถือมีสิทธิฟ้องภายใน 1 ปี
เช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยการส่งมอบให้กันโดยไม่จำต้องสลักหลัง การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทขายลดให้แก่ธนาคาร ย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) จำเลยผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921, 989 เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ ธนาคารผู้รับซื้อเช็คจึงหักเงินจากบัญชีโจทก์และส่งเช็คกลับคืนมาให้โจทก์ครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตาม มาตรา 904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปีตามมาตรา 1002 กรณีไม่เข้ามาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน เพราะโจทก์มิใช่ผู้สลักหลังตามกฎหมาย
of 3