พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามลำดับขั้นตอนที่ศาลพิพากษา การแบ่งทรัพย์สินก่อนชำระค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้กลับมาเป็นของโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง ให้แบ่งที่ดินดังกล่าวให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละเท่า ๆ กัน หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเอง หรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันคนละครึ่ง หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดการให้เป็นไปตามข้อแรกได้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย หรือค่าที่ดินให้โจทก์ 150,000 บาท ดังนี้ การบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับที่ศาลได้พิพากษาไว้ คือต้องแบ่งที่ดินพิพาทกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของรวมเสียก่อน ถ้าการแบ่งตกลงกันไม่ได้ก็เอาที่ดินออกขายแบ่งเงินกันตามส่วน จำเลยที่ 1 จะไม่ยอมแบ่งที่ดินให้โจทก์โดยจะเลือกใช้ค่าเสียหายแทนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์จำนวนเงินที่ได้รับจริงในสัญญากู้ และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามจำนวนในสัญญากู้ 8,000 บาท แม้โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องว่าจำเลยได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้ว แต่พอเข้าใจตามคำฟ้องนั้นได้ว่าจำเลยได้รับเงินตามสัญญากู้แล้ว จำเลยให้การว่ากู้ไปเพียง 300 บาทแต่โจทก์ตกลงให้มารับเงินกู้ไปจนครบจำนวนที่ลงไว้ในสัญญากู้ จำเลยได้รับเงินกู้ไปหลายครั้ง เป็นเงินรวมทั้งหมด 3,300 บาท เห็นได้ว่าจำเลยสู้คดีว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องไม่สมบูรณ์ เพราะโจทก์ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้จำเลยไม่ครบจำนวนที่ตกลงกัน จำเลยมีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ของ จำเลยได้ว่าได้รับเงินจากโจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยมิได้นำข้อความในเอกสารบางข้อที่อ้างอิงขึ้นมาวินิจฉัย แต่นำข้อความบางข้อมาวินิจฉัยในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ เป็นการมิชอบ เป็นการโต้เถีงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลอุทธรณ์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาเป็นปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยมิได้นำข้อความในเอกสารบางข้อที่อ้างอิงขึ้นมาวินิจฉัย แต่นำข้อความบางข้อมาวินิจฉัยในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ เป็นการมิชอบ เป็นการโต้เถีงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลอุทธรณ์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาเป็นปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์จำนวนเงินกู้ที่ได้รับจริง ไม่ถือเป็นการแก้ไขเอกสาร และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามจำนวนในสัญญากู้ 8,000 บาท แม้โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องว่าจำเลยได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้ว แต่พอเข้าใจตามคำฟ้องนั้นได้ว่าจำเลยได้รับเงินตามสัญญากู้แล้ว จำเลยให้การว่ากู้ไปเพียง 300 บาท แต่โจทก์ตกลงให้มารับเงินกู้ไปจนครบจำนวนที่ลงไว้ในสัญญากู้ จำเลยได้รับเงินกู้ไปหลายครั้ง เป็นเงินรวมทั้งหมด 3,300 บาท เห็นได้ว่าจำเลยสู้คดีว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องไม่สมบูรณ์ เพราะโจทก์ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้จำเลยไม่ครบจำนวนที่ตกลงกัน จำเลยมีสิทธิ์นำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ว่าได้รับเงินจากโจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยมิได้นำข้อความในเอกสารบางข้อที่อ้างอิงขึ้นมาวินิจฉัย แต่นำข้อความบางข้อมาวินิจฉัยในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ เป็นการมิชอบ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยมิได้นำข้อความในเอกสารบางข้อที่อ้างอิงขึ้นมาวินิจฉัย แต่นำข้อความบางข้อมาวินิจฉัยในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ เป็นการมิชอบ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของคนต่างด้าวในการฟ้องคดีที่ดิน แม้ไม่ได้กรรมสิทธิ์ แต่มีสิทธิเรียกร้อง
กฎหมายที่ดินมิได้ห้ามคนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดินโดยเด็ดขาด แม้ว่าโจทก์จะเป็นคนต่างด้าวก็มีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดิน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลย แต่ยกฟ้องเพราะบังคับให้คืนเงินตามคำขอของโจทก์ไม่ได้ จำเลยอุทธรณ์ฎีกาได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2340/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจากพินัยกรรม: การครอบคลุมทรัพย์สินทั้งหมด
ข้อความในพินัยกรรมมีว่า ขอมอบพินัยกรรมให้แก่ ม. และขอตั้งให้ ม. เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฯ เป็นการชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าตั้ง ม. เป็นผู้จัดการมรดก โดยไม่จำกัดว่าเป็นทรัพย์มรดกสิ่งใดบ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2334/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองในที่สาธารณะ การซื้อขายสิทธิครอบครอง และอำนาจฟ้องขับไล่
จำเลยปลูกบ้านอาศัยในที่สาธารณะ จำเลยหามีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทไม่ คงมีแต่สิทธิครอบครองเท่านั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1405/2515) ต่อมาจำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ โดยทำหนังสือซื้อขายกันเอง ชำระราคากันครบถ้วนและยอมส่งมอบบ้านให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นการแสดงเจตนาสละการครอบครองบ้านดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยขออาศัยอยู่ในบ้านพิพาทต่อมานั้น เป็นการครอบครองแทนโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2334/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองบ้านในที่สาธารณะ การซื้อขายโดยไม่จดทะเบียน และสิทธิการฟ้องขับไล่
จำเลยปลูกบ้านอาศัยในที่สาธารณะ จำเลยหามีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทไม่ คงมีแต่สิทธิ์ครอบครองเท่านั้น (อ้างฎีกาที่ 1405/2515) ต่อมาจำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ โดยทำหนังสือซื้อขายกันเอง ชำระราคากันครบถ้วนและยอมส่งมอบบ้านให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นการแสดงเจตนาสละการครอบครองบ้านดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยขออาศัยอยู่ในบ้านพิพาทต่อมานั้น เป็นการครอบครองแทนโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2314/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ vs. การขายฝากสุจริต: สิทธิใครเหนือกว่า
เดิมโจทก์ฟ้อง บ. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่พิพาท โดยอ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์มาเกิน 10 ปีคดีหนึ่ง และโจทก์ได้ฟ้อง บ. กับจำเลยคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ บ. นำที่พิพาทไปจดทะเบียนขายฝากจำเลยอีกคดีหนึ่ง แม้ศาลฎีกาได้พิพากษาคดีแรกว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ แต่ก็ได้พิพากษาคดีหลังว่าการขายฝากระหว่าง บ. กับจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ย่อมผูกพันโจทก์มิให้โต้เถียงได้อีกว่าการขายฝากที่พิพาทเป็นไปโดยสมยอมกัน การขายฝากสมบูรณ์ตามกฎหมายโจทก์หาอาจฟ้องคดีใหม่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการขายฝากได้ไม่ ทั้งโจทก์ก็ไม่มีทางไถ่ถอนได้เพราะเวลาไถ่ถอนได้ล่วงพ้นไปแล้ว การที่โจทก์ยังอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่วันฟ้องแย้งย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของจำเลย โจทก์ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยตามฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2314/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิเจ้าหนี้จำนองจากการขายฝาก สิทธิใครเหนือกว่า
เดิมโจทก์ฟ้อง บ. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่พิพาท โดยอ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์มาเกิน 10 ปี คดีหนึ่ง และโจทก์ได้ฟ้อง บ. กับจำเลยคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรม บ. นำที่พิพาทไปจดทะเบียนขายฝากจำเลยอีกคดีหนึ่ง แม้ศาลฎีกาได้พิพากษาคดีแรกว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ แต่ก็ได้พิพากษาคดีหลังว่าการขายฝากระหว่าง บ. กับจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ย่อมผูกพันโจทก์มิให้โต้เถียงได้อีกว่าการขายฝากที่พิพาทเป็นไปโดยสมยอมกัน การขายฝากสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์หาอาจฟ้องคดีใหม่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการขายฝากได้ไม่ ทั้งโจทก์ก็ไม่มีทางไถ่ถอนได้เพราะเวลาไถ่ถอนได้ล่วงพ้นไปแล้ว การที่โจทก์ยังอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่วันฟ้องแย้งย่อมเป็นการละเมิดสิทธิ์ของจำเลย โจทก์ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยตามฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเจ้าของร่วมแบ่งแยกที่ดินก่อนจำเลยซื้อฝาก และจำเลยรู้เห็นยินยอมการแบ่งแยก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดอยู่ก่อนจำเลยรับซื้อฝากที่ดินจากเจ้าของรวมคนนั้น เมื่อโจทก์กับเจ้าของรวมได้รังวัดเพื่อแบ่งแยกโฉนดไปตามส่วนที่โจทก์ครอบครอง จำเลยก็รู้เห็นยินยอมด้วย ต่อมาจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รับซื้อฝาก ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกโฉนดตามที่เจ้าพนักงานรังวัดแบ่งแยกไว้ ดังนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยได้รู้และมีอยู่ก่อนจำเลยรับซื้อฝากที่ดิน หาใช่เรื่องฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาหรือตามเรื่องประนีประนอมยอมความไม่ กรณีเช่นนี้แม้มิได้มีหนังสือระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย แล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 แม้คู่ความจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานไว้ ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย แล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 แม้คู่ความจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานไว้ ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้