คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม ทันด่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีเจ้าของร่วมแบ่งแยกที่ดินก่อนจำเลยซื้อฝาก และจำเลยรู้เห็นยินยอมการแบ่งแยก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดอยู่ก่อนจำเลยรับซื้อฝากที่ดินจากเจ้าของรวมคนนั้น เมื่อโจทก์กับเจ้าของรวมได้รังวัดเพื่อแบ่งแยกโฉนดไปตามส่วนที่โจทก์ครอบครอง จำเลยก็รู้เห็นยินยอมด้วย ต่อมาจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รับซื้อฝาก ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกโฉนดตามที่เจ้าพนักงานรังวัดแบ่งแยกไว้ ดังนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยได้รู้และมีอยู่ก่อนจำเลยรับซื้อฝากที่ดิน หาใช่เรื่องฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาหรือตามเรื่องประนีประนอมยอมความไม่ กรณีเช่นนี้แม้มิได้มีหนังสือระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย แล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 แม้คู่ความจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานไว้ ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด – ค่าธรรมเนียมศาล
เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นแล้วเช่นนี้ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 โจทก์ไม่มีสิทธิ์ที่จะฎีกาต่อไปได้อีก การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ จึงไม่เป็นการถูกต้อง ศาลฎีการับฎีกาของโจทก์ไว้วินิจฉัยไม่ได้
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างใดในชั้นอุทธรณ์และคู่ความประสงค์ที่จะโต้แย้งคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นต่อศาลฎีกา ก็ชอบที่จะต้องยื่นฎีกามาในรูปของคำฟ้องฎีกา และต้องเสียค่าธรรมเนียมค่ารับคำฟ้อง ค่าขึ้นศาล และค่าตัดสินมาด้วย สำหรับคดีนี้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมเป็นค่าคำร้องเพียง 20 บาท ยังขาดอยู่และเมื่อศาลฎีการับฟ้องฎีกาของโจทก์ไม่ได้แล้ว ก็ชอบที่จะต้องสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดให้แก่โจทก์ นอกจากค่ารับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 แต่โดยเหตุที่ค่าธรรมเนียม ค่ารับฟ้องฎีกามีจำนวนเงินเท่ากับค่าคำร้องที่โจทก์เสียมาแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องคืนค่าธรรมเนียมหรือเรียกค่าธรรมเนียมเพิ่มจากโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 236 และการยื่นฎีกาไม่ถูกต้องตามรูปแบบ
เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นแล้วเช่นนี้ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฎีกาต่อไปได้อีกการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ จึงไม่เป็นการถูกต้อง ศาลฎีการับฎีกาของโจทก์ไว้วินิจฉัยไม่ได้
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างใดในชั้นอุทธรณ์และคู่ความประสงค์ที่จะโต้แย้งคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นต่อศาลฎีกา ก็ชอบที่จะต้องยื่นฎีกามาในรูปของคำฟ้องฎีกา และต้องเสียค่าธรรมเนียมค่ารับคำฟ้องค่าขึ้นศาล และค่าตัดสินมาด้วย สำหรับคดีนี้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมเป็นค่าคำร้องเพียง 20 บาท ยังขาดอยู่และเมื่อศาลฎีการับฟ้องฎีกาของโจทก์ไม่ได้แล้ว ก็ชอบที่จะต้องสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดให้แก่โจทก์นอกจากคำรับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 แต่โดยเหตุที่ค่าธรรมเนียม คำรับฟ้องฎีกามีจำนวนเงินเท่ากับค่าคำร้องที่โจทก์เสียมาแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องคืนค่าธรรมเนียมหรือเรียกค่าธรรมเนียมเพิ่มจากโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่อาจอ้างไม่ชอบเพื่อเพิกถอนการโอนได้
คดีก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีนั้นโอนที่พิพาทให้จำเลย การที่จำเลยดำเนินการเพื่อให้มีการโอนที่พิพาทไปตามคำพิพากษาจนในที่สุดเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลย จึงเป็นการดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีนั้น โจทก์จะนำมาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างว่าการบังคับคดีไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนเสียหาได้ไม่ และเมื่อโจทก์ไม่อาจอ้างได้ดังกล่าวข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยละเมิดย่อมตกไปในตัว โจทก์จะขอให้ขับไล่จำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2072/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบและอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการแรงงานสัมพันธ์ ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 24 มิได้มีข้อห้ามแต่งตั้งข้าราชการประจำ หรือข้าราชการบำนาญเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และมิได้กำหนดว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ทั้งหมดจะต้องแต่งตั้งจากฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างแต่ประการใด บัญญัติเพียงว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนและไม่เกินเก้าคน ต้องแต่งตั้งจากฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนเท่านั้น ดังนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีเก้าคน ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการบำนาญด้วย และกรรมการในฐานะผู้แทนนายจ้าง ผู้แทนลูกจ้างฝ่ายละคน จึงเป็นกรรมการที่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวแล้ว
ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้อ 26 บัญญัติไว้เพียงว่าการประชุมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุมมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก มิได้กำหนดว่าจะต้องมีกรรมการที่เป็นผู้แทนฝ่ายฝ่ายจ้างและฝ่ายลูกจ้างร่วมประชุม หรือลงชื่อในคำชี้ขาดด้วยทุกครั้งไป ดังนั้นการที่ไม่มีกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างร่วมลงนามในคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ไม่ทำให้คำชี้ขาดนั้นขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยแต่อย่างใด
โจทก์ฎีกาว่า ผู้แต่งตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ใช้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงไม่มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์นั้น เมื่อไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีคำชี้ขาดของกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่
โจทก์เป็นเจ้าของและผู้จัดการโรงเรียน ได้ถูกครูกล่าวหาว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยทั้ง 8 ในฐานะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ออกคำชี้ขาดว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับครูผู้กล่าวหาเข้าทำงานตามเดิมและจ่ายเงินให้ผู้กล่าวหาอีกจำนวนหนึ่ง โดยให้โจทก์ปฏิบัติภายใน 15 วันนั้น คำชี้ขาดดังกล่าวได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามข้อ 75 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการแรงงานสัมพันธ์ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 คำชี้ขาดตามประกาศดังกล่าว ข้อ 17,18 ให้บังคับได้เป็นเวลา 1 ปี หาใช่เป็นเพียงคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานหรือพนักงานเงินทดแทนไม่ ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานมีและขายยาเสพติดเป็นความผิดต่างกรรมกัน แม้จะใช้ยาเสพติดจำนวนเดียวกัน
ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้เพื่อขายกระทงหนึ่งและฐานขายเฮโรอีนอีกกระทงหนึ่ง แม้เฮโรอีนที่ขายไปจะเป็นจำนวนเดียวกันกับที่จำเลยมีไว้เพื่อขาย ก็เป็นความผิดต่างกรรมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์สินจากการบังคับคดี: กำหนดเวลาและข้อยกเว้นตามมาตรา 290 วรรคสี่
จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย และในวันที่ 20 มิถุนายน 2518 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลอายัดเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน 52,600 บาท ซึ่งจะได้รับจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ศาลชั้นต้นออกหมายอายัดในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องและสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินต่อศาลภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งวันที่ 3 กรกฎาคม 2518 ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงิน 52,600 บาทมาให้ตามหมายอายัด หนังสือนำส่งเงินมาถึงศาลชั้นต้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2518 ต่อมาวันที่ 14 กรกฎาคม 2518 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงิน 52,600 บาท ดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินที่พิพาทหลังจากวันที่ศาลชั้นต้นได้รับเงินไว้แล้วถึง 9 หรือ 10 วัน ล่วงพ้นกำหนดเวลาตามความในตอนต้นของมาตรา 290 วรรคสี่ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว
การที่ผู้ร้องเพิ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2518 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ ศาลชั้นต้นได้รับเงินที่อายัดไว้แล้วนั้นย่อมถือไม่ได้ว่าเป็น "กรณีใด" ดังที่บัญญัติไว้ตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่ ตรงกันข้ามกลับจะแสดงว่าในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งให้อายัดเงินที่พิพาทก็ดี หรือวันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินมาให้ศาลก็ดี ผู้ร้องยังหาได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำขอเฉลี่ยเงินจำนวนพิพาทไม่ คำว่า "กรณีใด ๆ " ในตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่นั้นเป็นเพียงข้อยกเว้นของตอนต้นเท่านั้น เมื่อกรณีใดต้องด้วยข้อความในตอนต้นโดยตรงแล้ว ก็ย่อมจะนำข้อยกเว้นมาใช้แก่กรณีนั้นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์สินจากการบังคับคดี: ผู้ร้องต้องยื่นคำขอภายในกำหนดตามกฎหมาย แม้เป็นเจ้าหนี้รายใหม่
จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย และในวันที่ 20 มิถุนายน2518 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลอายัดเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน 52,600 บาท ซึ่งจะได้รับจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ศาลชั้นต้นออกหมายอายัดในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องและสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินต่อศาลภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งวันที่ 3 กรกฎาคม 2518 ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงิน 52,600 บาทมาให้ตามหมายอายัด หนังสือนำส่งเงินมาถึงศาลชั้นต้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2518 ต่อมาวันที่ 14 กรกฎาคม 2518 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงิน 52,600 บาท ดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินที่พิพาทหลังจากวันที่ศาลชั้นต้นได้รับเงินไว้แล้วถึง 9 หรือ 10 วันล่วงพ้นกำหนดเวลาตามความในตอนต้นของมาตรา 290 วรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว
การที่ผู้ร้องเพิ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2518 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ศาลชั้นต้นได้รับเงินที่อายัดไว้แล้ว นั้นย่อมถือไม่ได้ว่าเป็น " กรณีใด" ดังที่บัญญัติไว้ในตอนท้ายของมาตรา 290วรรคสี่ ตรงกันข้ามกลับจะแสดงว่าในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งให้อายัดเงินที่พิพาทก็ดี หรือวันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินมาให้ศาลก็ดี ผู้ร้องยังหาได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำขอเฉลี่ยเงินจำนวนพิพาทไม่ คำว่า"กรณีใดๆ" ในตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่นั้นเป็นเพียงข้อยกเว้นของตอนต้นเท่านั้น เมื่อกรณีใดต้องด้วยข้อความในตอนต้นโดยตรงแล้ว ก็ย่อมจะนำข้อยกเว้นมาใช้แก่กรณีนั้นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างที่กระทำตามหน้าที่ในทางการที่จ้าง
การที่ลูกจ้างผู้มีหน้าที่ซ่อมรถยนต์ได้นำรถยนต์ของนายจ้างออกขับทดลองเครื่อง เป็นการกระทำในทางการที่จ้าง เมื่อเกิดการละเมิดขึ้น นายจ้างก็ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้นด้วย
of 43