พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลความเสียหายจากกลุ่มบุคคลของสมาคมธนาคารไทย ไม่เป็นหมิ่นประมาท หากทำโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะเลขาธิการ ได้แจ้งข่าวการประชุมของสมาคมธนาคารไทย จำเลยที่ 1 ตามมติของที่ประชุม โดยทำเป็นหนังสือเวียนลับเฉพาะถึงสมาชิก แจ้งให้ทราบถึงพฤติการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ไปขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารสมาชิก แล้วไม่มาติดต่อขอรับราชการไปรับของ ทำให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหาย โดยในหนังสือเวียนได้ระบุชื่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวซึ่งมีชื่อโจทก์รวมอยู่ด้วย เพื่อมิให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหายดังที่มีมาอีก เช่นนี้ ถือได้ว่าการแจ้งข่าวดังกล่าวเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย และความรับผิดของเจ้าหนี้ที่ช่วยเหลือ
เดิมศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ (จำเลย) ล้มละลาย ลูกหนี้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ในระหว่างฎีกา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวตามคำขอของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หลังจากนั้นผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันและได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอทำการแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ขอนำยึดทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งหมดและรับรองจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์ครั้งนี้ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ด้วย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจัดการยึดทรัพย์ตามคำขอของผู้ร้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวและให้ถอนการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจัดการถอนการยึดคืนทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้ และแจ้งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมถอนการยึดไปชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังนี้ อำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามมาตรา 22 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามธรรมดาผู้หนึ่งไม่มีหน้าที่และความรับผิดใด ๆเป็นส่วนตัวโดยตรงตามกฎหมายล้มละลายในเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจทำการยึดทรัพย์เองโดยเชื่อตามคำเสนอแนะของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมมและค่าใช้จ่ายในการถอนการยึดมาชำระได้ ส่วนปัญหาที่ว่าผู้ร้องจะต้องรับผิดตามสัญญาหรือไม่นั้น หากจะฟังว่ามีผลบังคับได้ก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการขอให้ศาลบังคับผู้ร้องตามสัญญาเสียก่อน ศาลจะบังคับผู้ร้องไปทันทีในคดีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว เจ้าหนี้ไม่มีหน้าที่รับผิดค่าใช้จ่ายโดยตรง
เดิมศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ (จำเลย) ล้มละลาย ลูกหนี้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ในระหว่างฎีกา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวตามคำขอของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ หลังจากนั้นผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันและได้ยื่นคำขอรับประกันหนี้ไว้แล้ว ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอทำการแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ขอนำยึดทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งหมดและรับรองจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์ครั้งนี้ ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ด้วย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจัดการยึดทรัพย์ตามคำขอของผู้ร้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวและให้ถอนการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจัดการถอนการยึดคืนทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้ และแจ้งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมถอนการยึดไปชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังนี้ อำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามมาตรา 22 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามธรรมดาผู้หนึ่งไม่มีหน้าที่และความรับผิดใด ๆ เป็นส่วนตัวโดยตรง ตามกฎหมายล้มละลายในเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจทำการยึดทรัพย์เองโดยเชื่อตามคำเสนอแนะของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการถอนการยึดมาชำระได้ ส่วนปัญหาที่ว่าผู้ร้องจะต้องรับผิดตามสัญญาหรือไม่นั้น หากจะฟังว่ามีผลบังคับได้ก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการขอให้ศาลบังคับผู้ร้องตามสัญญาเสียก่อน ศาลจะบังคับผู้ร้องไปทันทีในคดีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863-885/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานทางประวัติศาสตร์รับรองเขตแดนโบราณสถานพระธาตุร่องอ้อ
ตำนานพระธาตุร่องอ้อที่กล่าวถึงวัดศรีดอนคำหรือวัดห้วยอ้อซึ่งเขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2403 โดยคัดลอกจากตำนานเดิมที่เก็บอยู่ ณ หอพระแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่ตามตำนานเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งของไทย และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำหรับชาติไว้แล้ว ทั้งยังมีแผ่นป้ายที่คัดสำเนามามีชื่อเจ้าอาวาสวัดตั้งแต่ พ.ศ.2202 เรื่อยตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ด้วย ตำนานดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ข้อความตามตำนานที่กล่าวถึงเขตแดนพระธาตุร่องอ้อจึงรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีอาญาเดิม ศาลยกฟ้องตามหลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าเปรียบเทียบปรับ ร. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อช่วย ร. ให้รับโทษน้อยลง คดีแรกโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยขัดข้องไม่ส่งสำนวนการสอบสวนต่อศาล คดีหลัง โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเปรียบเทียบปรับโดยไม่มีอำนาจ คดีหลังนี้โจทก์ฟ้องระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีแรก ดังนี้ อนุโลมใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ได้ เป็นฟ้องซ้อน ศาลไม่รับฟ้องคดีหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้ามฟ้องคดีซ้ำเรื่องเดียวกัน แม้สิทธิฟ้องยังไม่ระงับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญากล่าวหาว่าจำเลยเป็นพนักงานสอบสวน ได้ละเว้นการสอบสวนดำเนินคดีที่โจทก์กล่าวหา ร.กับพวกทำร้ายร่างกายโจทก์ คือเปรียบเทียบปรับ ร.โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อช่วยเหลือ ร.ให้ได้รับโทษน้อยลง ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งประทับฟ้อง ในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ขอเพิ่มเติมฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีใหม่ ซึ่งข้อหาเป็นความผิดเรื่องเดียวกัน ดังนี้ แม้สิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ยังมิได้ระงับไปก็ตาม หากโจทก์ได้ใช้สิทธินั้นฟ้องคดีแล้ว โจทก์ย่อมจะฟ้องเรื่องเดียวกันซ้อนเข้ามาอีกหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ซึ่งนำมาใช้บังคับในคดีอาญาได้
(อ้างฎีกาที่ 298-299/2510)
(อ้างฎีกาที่ 298-299/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีความเสียหายจากอุบัติเหตุ: เจ้าของรถไม่มีอำนาจฟ้องโดยตรงหากไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทชนเฉี่ยวรถที่ บ. ขับมาได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 29,66 ตามที่แก้ไข ดังนี้ ด. เจ้าของรถคันที่ถูกชนไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกเพราะยังเรียกไม่ได้ว่าได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)แม้ศาลชั้นต้นจะได้อนุญาตให้ ด. เข้าร่วมเป็นโจทก์ และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ด. อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมยกอุทธรณ์เสียโดยเหตุที่โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีความผิดพ.ร.บ.จราจรทางบก: เจ้าของรถที่เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องเอง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาท ชนเฉี่ยวรถที่ บ. ขับมาได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 29, 66 ตามที่แก้ไข ดังนี้ ด. เจ้าของรถคันที่ถูกชนไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก เพราะยังเรียกไม่ได้ว่าได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) แม้ศาลชั้นต้นจะได้อนุญาตให้ ด. เข้าร่วมเป็นโจทก์ และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ด. อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมยกอุทธรณ์เสีย โดยเหตุที่โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องอาญาและการไต่สวนมูลฟ้อง: การอ้างมาตรา 83 และอำนาจศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) บัญญัติไว้เพียงว่าฟ้องจะต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 หาใช่บทมาตราที่ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดทางอาญาไม่ หากแต่เป็นบทมาตราที่ใช้แก่ความผิดโดยทั่ว ๆ ไปว่า เมื่อมีความผิดโดยการกระทำร่วมกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเกิดขึ้น ศาลจะต้องวางโทษบุคคลเหล่านั้นอย่างไร ฉะนั้นฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้แล้วว่าจำเลยทั้งสามได้สมคบกันสั่งจ่ายเช็ค เพียงแต่ไม่ได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ลงไว้ด้วย จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162(1) บัญญัติว่าถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของศาลเอง โดยตรงที่จะจัดการสั่งให้มีการไต่สวนมูลฟ้องขึ้นเสียก่อนที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณา ดังนั้น ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาแม้โจทก์มิได้ขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องมาด้วย ศาลก็ย่อมสั่งและดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องไปตามกฎหมายได้ หาใช่เป็นการสั่งเกินคำขอของโจทก์ไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162(1) บัญญัติว่าถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของศาลเอง โดยตรงที่จะจัดการสั่งให้มีการไต่สวนมูลฟ้องขึ้นเสียก่อนที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณา ดังนั้น ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาแม้โจทก์มิได้ขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องมาด้วย ศาลก็ย่อมสั่งและดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องไปตามกฎหมายได้ หาใช่เป็นการสั่งเกินคำขอของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องอาญาและการไต่สวนมูลฟ้อง: การอ้างมาตรากฎหมายและอำนาจศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) บัญญัติไว้เพียงว่า ฟ้องจะต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 หาใช่บทมาตราที่ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดทางอาญาไม่ หากแต่เป็นบทมาตราที่ใช้แก่ความผิดโดยทั่วๆ ไปว่า เมื่อมีความผิดโดยการกระทำร่วมกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเกิดขึ้น ศาลจะต้องวางโทษแก่บุคคลเหล่านั้นอย่างไร ฉะนั้น ฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้แล้วว่าจำเลยทั้งสามได้สมคบกันสั่งจ่ายเช็ค เพียงแต่ไม่ได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ลงไว้ด้วย จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 (1) บัญญัติว่า ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของศาลเองโดยตรงที่จะจัดการสั่งให้มีการไต่สวนมูลฟ้องขึ้นเสียก่อนที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณา ดังนั้น ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องมาด้วย ศาลก็ย่อมสั่งและดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องไปตามกฎหมายได้ หาใช่เป็นการสั่งเกินคำขอของโจทก์ไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 (1) บัญญัติว่า ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของศาลเองโดยตรงที่จะจัดการสั่งให้มีการไต่สวนมูลฟ้องขึ้นเสียก่อนที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณา ดังนั้น ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องมาด้วย ศาลก็ย่อมสั่งและดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องไปตามกฎหมายได้ หาใช่เป็นการสั่งเกินคำขอของโจทก์ไม่