พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประกันภัยโจรกรรม: การใช้กำลังและความรุนแรงในการบุกรุก
ผู้เอาประกันภัยได้ปิดร้านค้าที่เก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ มีประตูเหล็กปิดกั้นใส่กุญแจแล้วเอาโซ่ล่ามใส่กุญแจอีกชั้นหนึ่ง คนร้ายได้เปิดประตูเหล็กเข้าไปลักทรัพย์ดังกล่าวในร้านโดยโซ่และกุญแจหายไปด้วย ดังนี้ถือได้ว่าคนร้ายเข้าไปโดยใช้กำลังและวิธีการรุนแรงตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งระบุให้ความคุ้มครองทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยในกรณีที่คนร้ายบุกรุกเข้าไปลักทรัพย์ในสถานที่โดยใช้กำลังและวิธีการรุนแรงแล้ว ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุตัวทรัพย์ผิดพลาดในฟ้องอาญา ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องเสีย มิฉะนั้นศาลลงโทษจำเลยได้หากจำเลยไม่หลงต่อสู้
ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันลักกำไลข้อมือเพชร แหวนเพชร 2 วง จี้เพชรและสร้อยคอทองคำ หรือรับของโจรแหวนเพชร โดยจำเลยนำแหวนเพชร 1 วงที่ถูกลักนั้นไปขาย ฟ้องดังนี้มิได้ยืนยันว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองฐาน แต่บรรยายข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้ศาลวินิจฉัยลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งเท่าที่ทางพิจารณาได้ความ ฟ้องโจทก์ไม่ขัดกันแต่อย่างใด
เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาปรากฏว่าทรัพย์ที่จำเลยเอาไปขายเป็นกำไลข้อมือเพชร หาใช่แหวนเพชรดังที่กล่าวในฟ้องไม่ ก็เป็นเรื่องโจทก์ระบุตัวทรัพย์ผิดพลาดเพราะโจทก์ได้ระบุด้วยว่าของกลางมีราคาเท่าใด ซึ่งเป็นราคาของกำไลข้อมือเพชร และว่าเป็นทรัพย์ชิ้นหนึ่งในบรรดาทรัพย์ที่หายไปข้อแตกต่างในเรื่องตัวทรัพย์เพียงเท่านี้ยังไม่พอจะถือว่าเป็นข้อแตกต่างในข้อสารสำคัญ และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ศาลย่อมลงโทษจำเลยได้ (วรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2518)
เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาปรากฏว่าทรัพย์ที่จำเลยเอาไปขายเป็นกำไลข้อมือเพชร หาใช่แหวนเพชรดังที่กล่าวในฟ้องไม่ ก็เป็นเรื่องโจทก์ระบุตัวทรัพย์ผิดพลาดเพราะโจทก์ได้ระบุด้วยว่าของกลางมีราคาเท่าใด ซึ่งเป็นราคาของกำไลข้อมือเพชร และว่าเป็นทรัพย์ชิ้นหนึ่งในบรรดาทรัพย์ที่หายไปข้อแตกต่างในเรื่องตัวทรัพย์เพียงเท่านี้ยังไม่พอจะถือว่าเป็นข้อแตกต่างในข้อสารสำคัญ และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ศาลย่อมลงโทษจำเลยได้ (วรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินและสัญญากู้: ไม่เข้าข่ายฉ้อโกงเมื่อยินยอมเปลี่ยนสัญญา
ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องการซื้อขายที่ดิน โดยโจทก์ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยแล้วและจำเลยได้ชำระราคาให้โจทก์บางส่วน ส่วนที่เหลือจำเลยได้ตกลงชำระให้โจทก์เป็นงวดๆให้เสร็จสิ้นใน 1 ปี 6 เดือน แม้ภายหลังจำเลยกลับทำสัญญากู้ให้ไว้แทนโดยมีกำหนดชำระเงินกู้ภายใน 5 ปีแต่โจทก์ก็ยินยอมลงนามในสัญญากู้นั้นแล้ว ข้อกล่าวหาของโจทก์ดังนี้ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและสินค้า การคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้า
โจทก์ผลิตขนมชนิดต่างๆ ออกจำหน่าย ใช้คำประดิษฐ์ ไกวไกว เป็นเครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลย และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศต่างๆหลายประเทศแล้ว จำเลยเพิ่งเริ่มผลิตขนมอย่างเดียวกับขนมของโจทก์ออกจำหน่ายทีหลัง และใช้เครื่องหมายการค้าว่า ไกวไกว เช่นเดียวกับโจทก์ ซองที่ใช้บรรจุขนมก็เลียนแบบซองบรรจุขนมของโจทก์ ทั้งคำประดิษฐ์ ไกวไกว ก็ไม่ใช่คำสามัญเช่นนี้ จำเลยเลียนแบบสินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากการกระทำเกินขอบเขตสิทธิ การใช้สิทธิโดยไม่ระมัดระวัง
จำเลยเก็บสินค้าในตึกของจำเลยมีน้ำหนักเกินอัตราที่พื้นคอนกรีตชั้นล่างจะรับได้ ทำให้พื้นคอนกรีตของจำเลยยุบต่ำลง เป็นเหตุให้ตึกของโจทก์ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกันทรุดพื้นคอนกรีต คานและผนังตึกของโจทก์แตกร้าว ตึกของโจทก์เอนเอียงไปทางตึกของจำเลย เช่นนี้ เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลเพื่อส่งเสริมการกลับตัวของเด็กอาชญากรรม โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยซึ่งมีอายุ 14 ปี กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยให้การขอให้ศาลมอบจำเลยให้บิดารับตัวไป แต่หามีบิดามารดาจำเลยมาขอรับจำเลยไปดังคำให้การของจำเลยไม่ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยังสถานพินิจฯมีกำหนด 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ขอให้มอบตัวจำเลยให้บิดา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ายังไม่มีเหตุอันสมควรมอบตัวให้บิดา แต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ส่งตัวไปฝึกอบรมมีกำหนด 1 ปี บิดามารดาของจำเลยมายื่นคำร้องอ้างว่า ในระหว่างอุทธรณ์ จำเลยประพฤติตัวดีน่าจะกลับตัวได้ หากได้อยู่กับบิดามารดา ขอรับตัวจำเลยไปดูแลแทนการส่งตัวไปสถานพินิจฯ การที่มีบิดามารดามาขอรับตัวจำเลยไปเช่นนี้ ถือได้ว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมได้เปลี่ยนแปลงไป มีทางให้ศาลเลือกใช้วิธีการที่จะเป็นผลดีแก่จำเลยมากกว่าวิธีการเดิมที่ได้สั่งไว้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายอาญาแล้ว หาจำเป็นต้องมีการดำเนินการตามคำสั่งเดิมเสียก่อนจึงจะมีคำสั่งใหม่ได้ไม่ เมื่อศาลเห็นด้วยกับคำร้องก็มีอำนาจพิพากษาแก้เป็นให้มอบจำเลยให้แก่ผู้ร้อง ให้ผู้ร้องระวังจำเลยไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนดได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 212/2511 และ 1209/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการซื้อขายที่ดินจากการบอกล้างโมฆียะกรรม และอำนาจฟ้องของทายาท
ม. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินที่พิพาทได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลว่า จำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลโอนเอาที่ดินโฉนดที่พิพาทไป ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ออกจากโฉนดที่พิพาท ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ม. ได้ถูกจำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลจริง พิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1ออกจากโฉนดที่พิพาท คดีถึงที่สุด ระหว่างที่จำเลยที่1 ยังไม่ได้แก้ชื่อในโฉนดที่พิพาทให้เป็นของ ม. ตามเดิมจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นวันที่ ม. ถึงแก่กรรม ดังนี้ โดยผลคำพิพากษาดังกล่าวถือว่าได้มีการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ซึ่งตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่านให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จึงเท่ากับจำเลยที่ 1 ไม่เคยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่พิพาทเลย ที่พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. อยู่ตามเดิม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท และจะยกเอาเหตุที่ได้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต มายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่พิพาทจาก ม. เจ้าของที่พิพาทเดิมหาได้ไม่
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนจากผู้ไม่มีสิทธิในฐานโจทก์เป็นทายาทรับมรดกคนหนึ่งของ ม. เจ้ามรดกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนจากผู้ไม่มีสิทธิในฐานโจทก์เป็นทายาทรับมรดกคนหนึ่งของ ม. เจ้ามรดกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909-1910/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดิน - ข้อตกลงไม่จดทะเบียน - สิทธิจำกัด - การรื้อถอน
เรือนของจำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์เพราะแยกกันได้มาจากเจ้าของเดิมคนเดียวกัน โจทก์ตกลงให้เรือนคงอยู่ในที่พิพาทต่อไป ข้อตกลงนี้ไม่ได้จดทะเบียน จำเลยไม่มีสิทธิเหนือพื้นดิน โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อไปได้ กรณีไม่เข้า มาตรา 1310
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถขวางทาง ถือเป็นการรังแกข่มเหงในที่สาธารณะ แม้ไม่ถึงขั้นหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง
จำเลยจอดรถขวางกั้นไม่ให้โจทก์ถอยรถออกไปจากซอยที่เกิดเหตุ เป็นเพียงขัดขวางไม่ให้โจทก์นำรถออกไปได้เท่านั้น ส่วนตัวโจทก์มีอิสระที่จะออกไปจากซอยได้ การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 แต่เป็นการรังแกข่มเหงทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ แม้ซอยนั้นจะอยู่ในที่ดินของผู้มีชื่อซึ่งแบ่งให้ผู้อื่นเช่าปลูกบ้าน แต่ประชาชนก็ชอบที่จะเข้าออกไปติดต่อกับผู้ที่อยู่ในซอยนั้นได้ ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำในที่สาธารณสถาน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามทำร้ายร่างกาย: การกระทำร่วมกันและการหลบหนีของผู้ถูกทำร้าย
จำเลยที่ 1 ใช้ไม้คมแฝกตีผู้เสียหายซึ่งยืนโต้เถียงกับจำเลยที่ 1 อยู่ในระยะห่างกัน 1 วา แต่ผู้เสียหายหลบเสียทัน จึงไม่ถูก เมื่อผู้เสียหายหนี จำเลยที่ 2,3 หยิบมีดร่วมกับจำเลยที่ 1 ไล่ทำร้ายผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายหนีเข้าห้องเสียทัน จึงทำร้ายไม่ได้ ดังนี้จำเลยทั้งสามมีความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายแล้ว