คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม ทันด่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: ต้องนับจากวันที่เจ้าหนี้รู้ถึงการฉ้อฉล ไม่ใช่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รู้
ตามธรรมดาบุคคลที่จะ อ้างอาศัยมาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะต้องเป็นเจ้าหนี้ของผู้กระทำนิติกรรมการโอนทรัพย์สินเท่านั้น ส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำคำร้องขอต่อศาลในกรณีเช่นนี้ได้ ก็เป็นเรื่องที่กฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องขอต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีขึ้นมาใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้นับก็ย่อมจะต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักนับวันเริ่มต้นอายุความไม่ได้เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นการขยายอายุความออกไปโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
เจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ซึ่งอ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 นี้ ย่อมจะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบที่เป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้รู้ถึงการโอนหุ้นพิพาทนี้ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้ก็น่าจะรู้ได้แล้วว่าการโอนหุ้นที่ลูกหนี้ได้กระทำลงไปนั้น เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบแต่เจ้าหนี้ก็หาได้ใช้สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ เมื่อนับจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอต่อศาลก็เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ สัญญาใหม่ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้เช่าไม่อาจอ้างสิทธิขยายสัญญาเดิม
สัญญาเช่ากำหนดเวลาสิ้นอายุไว้ และมีว่าถ้าไม่ทำสัญญากันใหม่เป็นหนังสือ ผู้เช่าจะไม่อ้างเหตุใด ๆ ขยายอายุสัญญาออกไป ผู้เช่ายกเหตุที่มีสัญญาให้ผู้เช่าได้เช่าใหม่ขึ้นอ้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการยักยอกทรัพย์ ผู้ถือหุ้นฟ้องเรียกความเสียหาย
กรรมการกับผู้อื่นยักยอกทรัพย์ของบริษัท กรรมการไม่ฟ้องคดีอาญา ผู้ถือหุ้นเป็นผู้เสียหายฟ้องกรรมการและผู้อื่นนั้น ขอให้ลงโทษฐานยักยอกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่ผู้ฟ้องนำเช็คไปขึ้นเงินโดยไม่มีมูลหนี้ ถือเป็นการกระทำผิดทางอาญา และจำเลยไม่ต้องรับผิดตามเช็ค
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองออกเช็ค 5 ฉบับชำระหนี้ค่าบ้านที่ดินกับค่าหุ้นที่จำเลยซื้อจากโจทก์ตามสัญญาซื้อขาย (เอกสารหมาย จ.3) โจทก์ได้รับเงินตามเช็คเพียง 1 ฉบับส่วนอีก 4ฉบับธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็ค 4 ฉบับพร้อมทั้งดอกเบี้ย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์มิใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์บังอาจเอาเช็คของจำเลยไปและได้นำเช็คไปขึ้นเงินแล้ว 1ฉบับ จึงขอให้โจทก์คืนเงินและเช็คดังกล่าวให้จำเลยปรากฏว่าโจทก์ได้ถูกอัยการศาลทหารฟ้องเป็นจำเลยและศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ลักเช็คทั้ง 5 ฉบับนั้นจากจำเลยที่ 2 ไปลงวันที่สั่งจ่ายแล้วนำไปขึ้นเงินที่ธนาคาร 1 ฉบับ นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินอีก 4 ฉบับทั้งที่โจทก์จำเลยมิได้มีมูลหนี้ต่อกันแต่อย่างใดและพิพากษาจำคุกโจทก์ ศาลทหารกลางพิพากษายืน คดีถึงที่สุด ดังนี้ คดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ลักเช็คพิพาทจากจำเลยที่ 2 ไปขึ้นเงิน โดยที่โจทก์จำเลยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน จำเลยจึงไม่ผูกพันจะต้องชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนแบ่งกำไร: สัญญาซื้อขายที่ดิน+หุ้นส่วน, การแบ่งกำไรตามสัดส่วนเงินลงทุน, ผู้ชำระบัญชีที่เป็นกลาง
โจทก์ฟ้องขอให้เลิกกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยกล่าวไว้ในฟ้องว่า ในการเข้าหุ้นส่วนค้าที่ดินและตึกแถวกันนี้จำเลยตกลงแบ่งกำไรให้โจทก์ร้อยละ 60 จำเลยขายที่ดินและตึกแถวไปหลายห้องไม่แบ่งกำไรให้โจทก์ ขอให้พิพากษาเลิกกิจการห้างหุ้นส่วนและตั้ง ค. เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่หุ้นส่วน ศาลได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์กับจำเลยเป็นหุ้นส่วนกันหรือไม่ ตกลงแบ่งผลกำไรกันเท่าใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกหุ้นส่วนกันหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์จำเลยประสงค์จะแบ่งปันกำไรกันอย่างไรจึงเป็นประเด็นวินิจฉัย ศาลพิพากษาให้แบ่งกำไรกันตามที่พิจารณาได้ความได้
ในชั้นแรก โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยมาดำเนินการตามโครงการของโจทก์นั้น โจทก์ต้องแบ่งกำไรสุทธิให้จำเลยร้อยละ 40 ครั้นเมื่อโจทก์ดำเนินการต่อไปไม่ได้ เพราะขาดทุนหมุนเวียน จนจำเลยต้องเข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนด้วยสัญญาเข้าหุ้นส่วนระบุว่าการแบ่งผลประโยชน์ที่โจทก์จะได้รับให้เป็นไปตามแนวข้อตกลงของสัญญาซื้อที่ดิน "แนวข้อตกลง"จึงมีความหมายว่าจะต้องแบ่งกำไรสุทธิให้จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินร้อยละ 40 อย่างเดิมเสียก่อน กำไรที่เหลืออีกร้อยละ 60 จึงแบ่งกันระหว่างโจทก์จำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนกันตามส่วนของเงินที่ลงหุ้น
โจทก์ขอให้ศาลตั้ง ค.เป็นผู้ชำระบัญชี ถึงแม้จำเลยจะมิได้คัดค้านเกี่ยวกับตัวผู้ชำระบัญชีไว้ แต่จำเลยได้ให้การปฏิเสธว่า โจทก์จำเลยมิได้เป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อจำเลยปฏิเสธในเรื่องหุ้นส่วนเสียแล้ว ก็ไม่จำต้องกล่าวถึงตัวผู้ชำระบัญชี จะถือว่าจำเลยเห็นชอบให้ ค.เป็นผู้ชำระบัญชีหาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นตั้ง ค.เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยก็ได้อุทธรณ์ฎีกาต่อมาคัดค้านว่าไม่ควรตั้ง ค. เป็นผู้ชำระบัญชี และเป็นทนายโจทก์มีส่วนได้เสียโดยตรงกับโจทก์และไม่มีความรู้ความสามารถในการชำระบัญชี ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้และเห็นว่า เมื่อโจทก์จำเลยไม่อาจร่วมกันตั้งผู้ชำระบัญชีได้ ศาลฎีกาจึงตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ชำระบัญชีต่อไป การชำระบัญชีจะได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยไม่ติดขัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์เอกสารได้, ค่าธรรมเนียมเป็นค่าฤชาธรรมเนียม
ในคดีแพ่ง ศาลรับฟังความเห็นที่ผู้เชี่ยวชาญแสดงเป็นหนังสือได้
ค่าธรรมเนียมผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์เอกสารเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในคดี ศาลกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดรับผิดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานการประชุมเท็จและการเพิกถอนสิทธิกรรมการ: คดีมิใช่มีทุนทรัพย์ ฟ้องฐานทำละเมิดสิทธิผู้ถือหุ้นได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนรายงานการประชุมของบริษัทอันเป็นเท็จห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับบริษัท มิใช่ฟ้องเรียกหุ้นคืนจากจำเลย ตามข้อต่อสู้ของจำเลยก็มีประเด็นเพียงว่า โจทก์โอนหุ้นให้แก่ผู้อื่นไปแล้วหรือไม่ มิใช่โต้เถียงว่าโจทก์ไม่มีหุ้นตามฟ้อง จึงไม่ใช่เป็นคดีมีทุนทรัพย์
โจทก์มิได้มีข้อโต้แย้งกับบริษัท แต่จำเลยเป็นผู้กระทำให้สิทธิในหุ้นของโจทก์สิ้นไป เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง และตามคำฟ้องของโจทก์ก็ไม่รับรองว่าจำเลยเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลหากแต่เป็นผู้ทำละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1151 ที่ว่าที่ประชุมใหญ่เท่านั้นอาจจะตั้งหรือถอนกรรมการได้ ใช้บังคับเฉพาะผู้ที่เป็นกรรมการโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
การประชุมใหญ่ที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอน มิใช่เป็นการประชุมใหญ่ที่ผิดระเบียบตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 แต่เป็นรายงานการประชุมเท็จ เพราะไม่มีการประชุมกันจริง จึงไม่อยู่ในบังคับให้ต้องฟ้องเพิกถอนภายในกำหนดเดือนหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว
บัญชีผู้ถือหุ้น บันทึกรายงานการประชุมและข้อมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมกรรมการนั้น เป็นแต่เพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องและเป็นไปโดยชอบเท่านั้น จึงอาจนำสืบหักล้างว่าไม่ถูกต้องหรือเป็นไปโดยมิชอบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานการประชุมเท็จและการโต้แย้งสิทธิในหุ้น: การฟ้องเพิกถอนและการส่งมอบกิจการ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนรายงานการประชุมของบริษัทอันเป็นเท็จห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับบริษัท มิใช่ฟ้องเรียกหุ้นคืนจากจำเลย ตามข้อต่อสู้ของจำเลยก็มีประเด็นเพียงว่า โจทก์โอนหุ้นให้แก่ผู้อื่นไปแล้วหรือไม่ มิใช่โต้เถียงว่าโจทก์ไม่มีหุ้นตามฟ้อง จึงไม่ใช่เป็นคดีมีทุนทรัพย์
โจทก์มิได้มีข้อโต้แย้งกับบริษัท แต่จำเลยเป็นผู้กระทำให้สิทธิในหุ้นของโจทก์สิ้นไป เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงและตามคำฟ้องของโจทก์ก็ไม่รับรองว่าจำเลยเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทโดย ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลหากแต่เป็นผู้ทำละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1151 ที่ว่าที่ประชุมใหญ่เท่านั้นอาจจะตั้งหรือถอนกรรมการได้ ใช้บังคับเฉพาะผู้ที่เป็นกรรมการโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
การประชุมใหญ่ที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอน มิใช่เป็นการประชุมใหญ่ที่ผิดระเบียบตามความหมายของประมวลกฎมหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 แต่เป็นรายงานการประชุมเท็จ เพราะไม่มีการประชุมกันจริง จึงไม่อยู่ในบังคับให้ต้องฟ้องเพิกถอนภายในกำหนดเดือนหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว
บัญชีผู้ถือหุ้น บันทึกรายงานการประชุมและข้อมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมกรรมการนั้น เป็นแต่เพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องและเป็นไปโดยชอบเท่านั้น จึงอาจนำสืบหักล้างว่าไม่ถูกต้องหรือเป็นไปโดยมิชอบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานและการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลมีอำนาจพิจารณาตามขั้นตอน
ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงแล้วสั่งงดสืบพยาน แล้วต่อมา 7 วันจึงพิพากษายกฟ้อง เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 โจทก์ไม่คัดค้านคำสั่งนั้น โจทก์อุทธรณ์ขอให้สืบพยานไม่ได้ ในกรณีนี้ถ้าศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่ได้ตาม มาตรา 226 โจทก์ร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์สั่งให้รับอุทธรณ์แล้วพิพากษายืน โจทก์ฎีกาขอให้สืบพยานต่อไป ดังนี้ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำเลยจากคำรับสารภาพ: ศาลฎีกาแก้ไขการคำนวณโทษให้ถูกต้องตามสำนวน
จำเลยรับสารภาพตั้งแต่ชั้นจับกุม สอบสวนและชั้นพิจารณาของศาล แต่ศาลล่างลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามเพราะเหตุรับสารภาพชั้นจับกุมและสอบสวนเท่านั้น ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดไปจากสำนวนจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยฎีกาขอให้ลดโทษให้จำเลยคนละกึ่งหนึ่งได้
of 43