พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเบิกเกินบัญชีไม่ใช่การกู้เงิน ไม่ต้องมีหลักฐานหนังสือก็ฟ้องได้
ข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่ใช่กู้เงิน ไม่ต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือก็ฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีหลังจากมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วในคดีเดิม
ง. ฟ้อง จ. ว่าที่ดินที่ จ. ขายฝาก ง.หลุดเป็นสิทธิแก่ง. ขอให้ขับไล่ จ. ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่ จ. แล้ว จ. มาฟ้อง ง. ค. ว่าสมคบกันปลอมใบมอบอำนาจขายที่ดินแปลงเดียวกันนั้น ขอให้เพิกถอนการขายฝากดังนี้ เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลหลังศาลพิพากษาคดีแล้ว ถือเป็นการยอมรับคำสั่ง
โจทก์ขอแก้คำฟ้อง จำเลยคัดค้าน ศาลอนุญาตให้แก้ จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลนั้นอีก จำเลยอุทธรณ์คำสั่งนั้นเมื่อศาลพิพากษาคดีแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วอุทธรณ์ฎีกา ขอพิจารณาใหม่ไม่ได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยผู้ขาดนัดพิจารณาแพ้คดี จำเลยมิได้ขอให้พิจารณาใหม่ แต่อุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาดังนี้ จะขอในฎีกาให้มีการพิจารณาใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการแทงเจ้าพนักงานขณะหลบหนี: พิจารณาจากบาดแผลและพฤติการณ์
จำเลยวิ่งหนีเพื่อให้พ้นจากการจับกุมของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานแล้วล้มลง ผู้เสียหายเข้าจับกุมจำเลยจำเลยจึงใช้มีดของกลางที่ถือติดมืออยู่ยาวทั้งด้ามและตัวมีดประมาณ 1 คืบ แทงถูกที่บริเวณหน้าท้องของผู้เสียหาย 1 ทีในที่มืดโดยไม่มีโอกาสเลือกแทงเพราะกำลังดิ้นให้หลุดจากการจับกุมของผู้เสียหาย ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการทำร้ายเจ้าพนักงาน: การพิจารณาจากลักษณะบาดแผลและพฤติการณ์
จำเลยวิ่งหนีเพื่อให้พ้นจากการจับกุมของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานแล้วล้มลงผู้เสียหายเข้าจับกุมจำเลย จำเลยจึงใช้มีดของกลางที่ถือติดมืออยู่ยาวทั้งด้ามและตัวมีดประมาณ 1 คืบ แทงถูกที่บริเวณหน้าท้องของผู้เสียหาย 1 ทีในที่มืดโดยไม่มีโอกาสเลือกแทงเพราะกำลังดิ้นให้หลุดจากการจับกุมของผู้เสียหาย ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตราย สาหัสเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเอาสัญญาที่ผู้ไม่มีอำนาจลงนาม และการกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขาย
ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทลงนามเป็นผู้ขายในนามของบริษัทเมื่อบริษัทได้รับเอาสัญญาที่ผู้จัดการฝ่ายขายลงนามไว้กับผู้ซื้อเป็นของบริษัทแล้ว ต่อมาบริษัทจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าผู้จัดการฝ่ายขายลงนามเป็นผู้ขายในนามบริษัทโดยไม่มีหนังสือมอบอำนาจหาได้ไม่
สัญญาซื้อขายข้อ 7 ที่มีข้อความว่า "ถ้าผู้ขายไม่นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อให้ถูกต้องภายในกำหนดสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นเงินร้อยละ 5 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้ส่ง โดยคิดเป็นรายเดือนจนกว่าผู้ขายจะได้นำสิ่งของนั้นๆ มาส่งให้ผู้ซื้อจนครบถ้วนและถูกต้องตามสัญญา" นั้นเป็นเรื่องผู้ขายส่งมอบสิ่งของล่าช้ากว่ากำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิปรับผู้ขายได้จนกว่าผู้ขายจะส่งมอบให้ผู้ซื้อครบถ้วนตามสัญญา แต่กรณีที่ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้ผู้ซื้อไม่ได้เลยนั้น ผู้ซื้อจะคำนวณเอาค่าปรับจากผู้ขายตามสัญญาข้อ 7 นี้ไม่ได้ การที่ผู้ซื้อตั้งมูลฟ้องให้บังคับผู้ขายตามสัญญาข้อ 7 พอจะแปลเจตนาของผู้ซื้อได้ว่า เพื่อจะคิดเป็นเกณฑ์กำหนดค่าเสียหายในการเลิกสัญญากับผู้ขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391นั่นเอง เมื่อผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้ผู้ซื้อไม่ได้เป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ย่อมเกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ และเมื่อความเสียหายไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ศาลย่อมกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ตามควรแก่กรณี (อ้างฎีกาที่ 1086/2509)
สัญญาซื้อขายข้อ 7 ที่มีข้อความว่า "ถ้าผู้ขายไม่นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อให้ถูกต้องภายในกำหนดสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นเงินร้อยละ 5 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้ส่ง โดยคิดเป็นรายเดือนจนกว่าผู้ขายจะได้นำสิ่งของนั้นๆ มาส่งให้ผู้ซื้อจนครบถ้วนและถูกต้องตามสัญญา" นั้นเป็นเรื่องผู้ขายส่งมอบสิ่งของล่าช้ากว่ากำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิปรับผู้ขายได้จนกว่าผู้ขายจะส่งมอบให้ผู้ซื้อครบถ้วนตามสัญญา แต่กรณีที่ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้ผู้ซื้อไม่ได้เลยนั้น ผู้ซื้อจะคำนวณเอาค่าปรับจากผู้ขายตามสัญญาข้อ 7 นี้ไม่ได้ การที่ผู้ซื้อตั้งมูลฟ้องให้บังคับผู้ขายตามสัญญาข้อ 7 พอจะแปลเจตนาของผู้ซื้อได้ว่า เพื่อจะคิดเป็นเกณฑ์กำหนดค่าเสียหายในการเลิกสัญญากับผู้ขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391นั่นเอง เมื่อผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้ผู้ซื้อไม่ได้เป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ย่อมเกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ และเมื่อความเสียหายไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ศาลย่อมกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ตามควรแก่กรณี (อ้างฎีกาที่ 1086/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธความรับผิดในสัญญาซื้อขายเนื่องจากไม่มีหนังสือมอบอำนาจ และการกำหนดค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทลงนามเป็นผู้ขายในนามของบริษัทเมื่อบริษัทได้รับเอาสัญญาที่ผู้จัดการฝ่ายขายลงนามไว้กับผู้ซื้อเป็นของบริษัทแล้ว ต่อมาบริษัทจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าผู้จัดการฝ่ายขายลงนามเป็นผู้ขายในนามบริษัทโดยไม่มีหนังสือมอบอำนาจหาได้ไม่
สัญญาซื้อขายข้อ 7 ที่มีข้อความว่า "ถ้าผู้ขายไม่นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อให้ถูกต้องภายในกำหนดสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นเงินร้อยละ 5 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้ส่ง โดยคิดเป็นรายเดือนจนกว่าผู้ขายจะได้นำสิ่งของนั้น ๆ มาส่งให้ผู้ซื้อจนครบถ้วนและถูกต้องตามสัญญา" นั้นเป็นเรื่องผู้ขายส่งมอบสิ่งของล่าช้ากว่ากำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิปรับผู้ขายได้จนกว่าผู้ขายจะส่งมอบให้ผู้ซื้อครบถ้วนตามสัญญา แต่กรณีที่ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้ผู้ซื้อไม่ได้เลยนั้น ผู้ซื้อจะคำนวณเอาค่าปรับจากผู้ขายตามสัญญาข้อ 7 นี้ไม่ได้ การที่ผู้ซื้อตั้งมูลฟ้องให้บังคับผู้ขายตามสัญญาข้อ 7 พอจะแปลเจตนาของผู้ซื้อได้ว่า เพื่อจะคิดเป็นเกณฑ์กำหนดค่าเสียหายในการเลิกสัญญากับผู้ขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 นั่นเอง เมื่อผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้ผู้ซื้อไม่ได้เป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ย่อมเกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ และเมื่อความเสียหายไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ศาลย่อมกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ตามควรแก่กรณี (อ้างฎีกาที่ 1086/2509)
สัญญาซื้อขายข้อ 7 ที่มีข้อความว่า "ถ้าผู้ขายไม่นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อให้ถูกต้องภายในกำหนดสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นเงินร้อยละ 5 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้ส่ง โดยคิดเป็นรายเดือนจนกว่าผู้ขายจะได้นำสิ่งของนั้น ๆ มาส่งให้ผู้ซื้อจนครบถ้วนและถูกต้องตามสัญญา" นั้นเป็นเรื่องผู้ขายส่งมอบสิ่งของล่าช้ากว่ากำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิปรับผู้ขายได้จนกว่าผู้ขายจะส่งมอบให้ผู้ซื้อครบถ้วนตามสัญญา แต่กรณีที่ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้ผู้ซื้อไม่ได้เลยนั้น ผู้ซื้อจะคำนวณเอาค่าปรับจากผู้ขายตามสัญญาข้อ 7 นี้ไม่ได้ การที่ผู้ซื้อตั้งมูลฟ้องให้บังคับผู้ขายตามสัญญาข้อ 7 พอจะแปลเจตนาของผู้ซื้อได้ว่า เพื่อจะคิดเป็นเกณฑ์กำหนดค่าเสียหายในการเลิกสัญญากับผู้ขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 นั่นเอง เมื่อผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้ผู้ซื้อไม่ได้เป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ย่อมเกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ และเมื่อความเสียหายไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ศาลย่อมกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ตามควรแก่กรณี (อ้างฎีกาที่ 1086/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761-2764/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ การรับช่วงทำเหมือง และสิทธิครอบครองที่ดิน
สัญญาเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้ทำกันไว้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2509 สรุปความได้ว่าที่ดินตามสัญญาที่ได้รับประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1คงเป็นผู้ถือประทานบัตรอยู่ ที่ดินที่ยังไม่ได้รับประทานบัตรเป็นหน้าที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้ได้ประทานบัตรแต่เงินค่าธรรมเนียมต่างๆที่จะต้องเสีย โจทก์เป็นคนออก และโจทก์เป็นผู้ทำเหมืองแร่ในที่ดินที่ได้ประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1จะได้รับผลประโยชน์ซึ่งเรียกว่าค่าเช่าร้อยละสามของแร่ที่ทำได้สัญญามีผลบังคับตลอดไปจนกว่าโจทก์จะขุดแร่หมดเนื้อที่ข้อสัญญาดังนี้ ไม่ใช่การโอนประทานบัตรตามความในมาตรา 45แห่งพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 เพราะจำเลยที่ 1ยังเป็นผู้ถือประทานบัตร มีนิติสัมพันธ์กับทางราชการอยู่ โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าทำเหมืองแร่โดยอาศัยประทานบัตรของจำเลยที่ 1 เท่านั้นหากแต่เป็นการรับช่วงเข้ามาทำเหมือง ซึ่งไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญากัน แต่พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 นี้ ต่อมาได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510ซึ่งมีมาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมืองเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายและให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองได้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาต ก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นการชำระหนี้ตามสัญญารายนี้ จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาทเว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเอง ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาทเว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเอง ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761-2764/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงทำเหมืองและสิทธิในที่ดิน: สัญญาเช่าประทานบัตร มิใช่การโอนประทานบัตร แต่เป็นการรับช่วงที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้ทำกันไว้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2509 สรุปความได้ว่า ที่ดินตามสัญญาที่ได้รับประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1 คงเป็นผู้ถือประทานบัตรอยู่ ที่ดินที่ยังไม่ได้รับประทานบัตร เป็นหน้าที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้ได้ประทานบัตร แต่เงินค่าธรรมเนียมต่างๆที่จะต้องเสีย โจทก์เป็นคนออก และโจทก์เป็นผู้ทำเหมืองแร่ในที่ดินที่ได้ประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1จะได้รับผลประโยชน์ซึ่งเรียกว่าค่าเช่าร้อยละสามของแร่ที่ทำได้สัญญามีผลบังคับตลอดไปจนกว่าโจทก์จะขุดแร่หมดเนื้อที่ข้อสัญญาดังนี้ ไม่ใช่การโอนประทานบัตรตามความในมาตรา 45แห่งพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461. เพราะจำเลยที่ 1ยังเป็นผู้ถือประทานบัตร มีนิติสัมพันธ์กับทางราชการอยู่ โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าทำเหมืองแร่โดยอาศัยประทานบัตรของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หากแต่เป็นการรับช่วงเข้ามาทำเหมือง ซึ่งไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญากัน แต่พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 นี้ ต่อมาได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ซึ่งมีมาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตร ยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมืองเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายและให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองได้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาต ก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้น การชำระหนี้ตามสัญญารายนี้ จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาท เว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเองฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาท เว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเองฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว