พบผลลัพธ์ทั้งหมด 421 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่ชำระแล้ว ไม่นำมารวมกับหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อฟ้องล้มละลายได้
การที่จำเลยได้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาในคดีแพ่งให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และให้จำเลยชำระแทนนั้น ถือได้ว่าเป็นเงินที่ผู้แพ้คดีได้ชำระหนี้โดยการนำมาวางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบด้วยมาตรา 247 เมื่อหนี้ตามคำพิพากษามีจำนวนเพียง 27,500 บาท โจทก์จะนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยได้นำไปชำระต่อศาลไว้แล้ว จำนวน 2,720 บาท มารวมกับหนี้ตามคำพิพากษา ให้เป็นหนี้ที่มีจำนวนไม่น้อยกว่า 30,000 บาท เพื่อฟ้องเป็นคดีล้มละลายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161-162/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธปืนผิดกฎหมาย: ผลกระทบจากกฎหมายใหม่และการไม่ลงโทษ
จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนผิดกฎหมาย ศาลล่างลงโทษจำคุก ริบของกลาง ระหว่างฎีกามี พระราชบัญญัติ อาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ออกใช้บังคับให้นำอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนมาขอรับอนุญาตได้โดยไม่ต้องรับโทษศาลฎีกาไม่ลงโทษฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการบริษัทในการลงนามสัญญาเช่าซื้อ, ความถูกต้องของสัญญา, และการคิดดอกเบี้ยค่าเสียหาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 และมาตรา 1144 กรรมการบริษัทจำกัดเป็นผู้แทนของบริษัท มีอำนาจดำเนินกิจการทุกอย่างภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทได้ หาได้มีอำนาจจำกัดเพียงเท่าที่ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจทั่วไปมีอยู่ไม่ มาตรา 1167 เป็นเรื่องความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอก เป็นต้นว่า กรรมการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัวหรือไม่ ดังนี้ จึงจะบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน หาได้หมายความว่ากรรมการบริษัทเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปของบริษัทไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574 ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติดๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใดๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญา ข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574 ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติดๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใดๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญา ข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญา การยึดทรัพย์ และดอกเบี้ย ค่าเสียหาย การมอบอำนาจกรรมการบริษัท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 และมาตรา 1144กรรมการบริษัทจำกัดเป็นผู้แทนของบริษัท มีอำนาจดำเนินกิจการทุกอย่างภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทได้ หาได้มีอำนาจจำกัดเพียงเท่าที่ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจทั่วไปมีอยู่ไม่ มาตรา 1167 เป็นเรื่องความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอก เป็นต้นมา กรรมการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัวหรือไม่ ดังนี้ จึงจะบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน หาได้หมายความว่ากรรมการบริษัทเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปของบริษัทไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติด ๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติด ๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินและหน้าที่คืนเงิน แม้รายละเอียดการส่งมอบจะต่างกันเล็กน้อย ศาลยังคงบังคับคดีได้หากพิสูจน์ได้ว่าจำเลยได้รับเงินจริง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าได้ฝากเงินจำเลยไว้ แต่นำสืบว่าโจทก์ได้ฝากเงินให้จำเลยไปฝากธนาคารนั้น เป็นเรื่องการแตกต่างกันเล็กๆน้อยๆ เท่านั้น ข้อใหญ่ใจความของคดีคงอยู่ที่ว่า โจทก์ได้อ้างว่าเงินของโจทก์อยู่ที่จำเลย และขอให้จำเลยส่งคืนซึ่งข้อนี้จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่เคยได้รับฝากเงินจากโจทก์ไว้เลยในวันที่โจทก์อ้างตามฟ้องนั้น จำเลยก็ไม่ได้รับเงินไว้จากโจทก์ ฉะนั้น หากทางพิจารณาคดีฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินของโจทก์ไว้ ศาลก็ชอบที่จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์การรับเงินและการบังคับชำระหนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยการรับเงินจริงและการบังคับตามคำพิพากษาชั้นต้น
มีเฮโรอีนฯ และเสพเฮโรอีนที่มีไว้นั้น เป็นการกระทำโดยเจตนาคนละอันต่างกันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2465 มาตรา 20 ตรี กระทงหนึ่งกับ มาตรา 22 อีกกระทงหนึ่ง แก้ไขฉบับที่ 4 พ.ศ. 2504 มาตรา 7 และ 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินตามการครอบครองจริง แม้เนื้อที่ตามโฉนดไม่ตรงกับที่รังวัดได้ ศาลต้องยึดส่วนสัดการครอบครองเป็นหลัก
ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลย 4 คนแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวมซึ่งมีเนื้อที่ตามโฉนด 81 ไร่ 2 งาน 42ตารางวา ให้เป็นส่วนของโจทก์เนื้อที่ 27 ไร่84 ตารางวาตามที่ครอบครอง เมื่อได้ความจากพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาว่าโจทก์จำเลยต่างได้ปกครองที่พิพาทกันตามส่วนของตน และเมื่อคำนวณตามส่วนสัดของที่ดินทั้งหมดเป็นเกณฑ์แล้ว ผลปรากฏว่าโจทก์มีอยู่ 2 ส่วน จำเลยทั้งสี่มีคนละ 1 ส่วนย่อมเห็นได้ว่าความสำคัญตามคำพิพากษาต้องถือเอาส่วนสัดที่ต่างคนต่างปกครองเป็นสำคัญข้อความที่เกี่ยวกับจำนวนเนื้อที่นั้นเป็นเพียงความประสงค์ที่จะแสดงถึงส่วนสัดที่คำนวณได้จากจำนวนเนื้อที่ที่ปรากฏอยู่ในโฉนดเท่านั้นฉะนั้นเมื่อปรากฏในชั้นบังคับคดีว่าเนื้อที่ดินตามโฉนดขาดไป คงรังวัดได้ 71 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา จึงชอบที่จะถือเอาส่วนที่ดินที่โจทก์ครอบครองตามที่ระบุไว้ในคำพิพากษา เป็นเงื่อนไขสำคัญกว่าจำนวนเนื้อที่สำหรับใช้เป็นหลักในการบังคับคดี ศาลย่อมให้แบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ 2 ใน 6 ส่วนของที่ดินที่รังวัดได้ ขาดเกินเพียงใดให้คิดชดเชยกันระหว่างที่ดินที่โจทก์ครอบครองกับที่ดินติดต่อส่วนที่เหลือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดิน: ถือการครอบครองเป็นหลัก แม้เนื้อที่โฉนดไม่ตรงกับที่รังวัดจริง
ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลย 4 คนแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวมซึ่งมีเนื้อที่ตามโฉนด 81 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา ให้เป็นส่วนของโจทก์เนื้อที่ 27 ไร่ 84 ตารางวา ตามที่ครอบครอง เมื่อได้ความจากพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาว่าโจทก์จำเลยต่างได้ปกครองที่พิพาทกันตามส่วนของตน และเมื่อคำนวณตามส่วนสัดของที่ดินทั้งหมดเป็นเกณฑ์แล้ว ผลปรากฏว่าโจทก์มีอยู่ 2 ส่วน จำเลยทั้งสี่มีคนละ 1 ส่วน ย่อมเห็นได้ว่าความสำคัญตามคำพิพากษาต้องถือเอาส่วนสัดที่ต่างคนต่างปกครองเป็นสำคัญ ข้อความที่เกี่ยวกับจำนวนเนื้อที่นั้นเป็นเพียงความประสงค์ที่จะแสดงถึงส่วนสัดที่คำนวณได้จากจำนวนเนื้อที่ที่ปรากฏอยู่ในโฉนดเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อปรากฏในชั้นบังคับคดีว่าเนื้อที่ดินตามโฉนดขาดไป คงรังวัดได้ 71 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา จึงชอบที่จะถือเอาส่วนที่ดินที่โจทก์ครอบครองตามที่ระบุไว้ในคำพิพากษาเป็นเงื่อนไขสำคัญกว่าจำนวนเนื้อที่สำหรับใช้เป็นหลักในการบังคับคดี ศาลย่อมให้แบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ 2 ใน 6 ส่วนของที่ดินที่รังวัดได้ ขาดเกินเพียงใดให้คิดชดเชยกันระหว่างที่ดินที่โจทก์ครอบครองกับที่ดินติดต่อส่วนที่เหลือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องกรมสรรพากรเพื่อเรียกร้องภาษี และผลกระทบของการทุเลาภาษีต่อเงินเพิ่ม
โจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเสียภาษีอากรฝ่ายสรรพากรโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรจำเลยได้ ไม่ต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
เมื่อโจทก์ไม่เสียภาษีการค้าตามกำหนด โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่ม การที่กรมสรรพากรทุเลาการเสียภาษีให้ระหว่างอุทธรณ์ ไม่ทำให้เงินเพิ่มที่ต้องเสียนั้นเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อโจทก์ไม่เสียภาษีการค้าตามกำหนด โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่ม การที่กรมสรรพากรทุเลาการเสียภาษีให้ระหว่างอุทธรณ์ ไม่ทำให้เงินเพิ่มที่ต้องเสียนั้นเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: การกระทำที่ไม่ทำให้สะดุดหยุดนับอายุความ และการออกเช็คซ้ำ
อายุความในคดีอาญานั้นเมื่อเริ่มนับแล้วอายุความก็เดิมเรื่อยไป เว้นแต่กรณีที่ได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริตและศาลสั่งการพิจารณาไว้ จึงจะเริ่มนับอายุความใหม่แต่วันหลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 วรรคสอง
จำเลยออกเช็คให้โจทก์เมื่อเดือนธันวาคม 2517 โจทก์นำเช็คไปรับเงินธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยได้โทรศัพท์ให้โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีอีกครั้งโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2518 ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ฟ้องคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2518 กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มารา 95 วรรคสอง จึงเริ่มรับอายุความใหม่ไม่ได้โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเวลาเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรก คดีจึงขาดอายุความ และการที่จำเลยแจ้งให้โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีอีกครั้งหนึ่ง ก็มิใช่เป็นการออกเช็ค จะปรับว่าจำเลยกระทำผิดครั้งใหม่ไม่ได้
จำเลยออกเช็คให้โจทก์เมื่อเดือนธันวาคม 2517 โจทก์นำเช็คไปรับเงินธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยได้โทรศัพท์ให้โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีอีกครั้งโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2518 ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ฟ้องคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2518 กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มารา 95 วรรคสอง จึงเริ่มรับอายุความใหม่ไม่ได้โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเวลาเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรก คดีจึงขาดอายุความ และการที่จำเลยแจ้งให้โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีอีกครั้งหนึ่ง ก็มิใช่เป็นการออกเช็ค จะปรับว่าจำเลยกระทำผิดครั้งใหม่ไม่ได้