พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนกรมทางหลวงผูกพันตามราคาที่ปรองดอง แม้ขัดระเบียบภายใน
ในการจัดซื้อที่ดินเพื่อขยายถนนสุขุมวิทจากกรุงเทพฯ - ตราด ตอนศรีราชา - สัตหีบ กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการปรองดองเพื่อพิจารณาค่าทำขวัญให้แก่ เจ้าของทรัพย์สิน และที่ดินโดยให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาปรองดองค่าทำขวัญกับเจ้าของทรัพย์ และที่ดินเพื่อการก่อสร้างดังกล่าวได้ด้วย เมื่อต่อมาคณะกรรมการปรองดองชุดนี้ได้ตีราคาที่ดินในโซนที่ดินพิพาท เสนอกรมทางหลวง จำเลย ซึ่งเป็นราคาที่ดินปานกลาง และจำเลยเห็นชอบด้วยและอนุมัติให้ดำเนินการได้ จนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทกับผู้รับมอบอำนาจช่วงจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาแบ่งขายที่ดินพิพาทกันตามราคาปานกลางดังกล่าว และคณะกรรมการปรองดองกับโจทก์ยังได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมในเรื่องค่าทดแทนที่ดินพิพาทดังกล่าวนี้ไว้อีกด้วย ต้องถือว่า คณะกรรมการปรองดองเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น จำเลยจะอ้างระเบียบการภายในมาปฏิเสธความผูกพันและความรับผิดไม่ได้ และการที่ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาแบ่งขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ไปก็มิใช่เป็นการฉ้อฉลหรือเกินกว่าขอบอำนาจที่จำเลยได้มอบหมายให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนมีอำนาจผูกพันตามสัญญา แม้มีระเบียบภายในขัดแย้ง ศาลยืนตามสัญญาซื้อขายที่ดิน
ในการจัดซื้อที่ดินเพื่อขยายถนนสุขุมวิทจากกรุงเทพฯ - ตราด ตอนศรีราชา สัตหีบ กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการปรองดองเพื่อพิจารณาค่าทำขวัญให้แก่เจ้าของทรัพย์สิน และที่ดินโดยให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาปรองดองค่าทำขวัญกับเจ้าของทรัพย์สิน และที่ดินเพื่อการก่อสร้างดังกล่าวได้ด้วย เมื่อต่อมาคณะกรรมการปรองดองชุดนี้ได้ตีราคาที่ดินในโซนที่ดินพิพาท เสนอกรมทางหลวง จำเลยซึ่งเป็นราคาที่ดินปานกลาง และจำเลยเห็นชอบด้วยและอนุมัติให้ดำเนินการได้จนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทกับผู้รับมอบอำนาจช่วงจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาแบ่งขายที่ดินพิพาทกันตามราคาปานกลางดังกล่าวและคณะกรรมการปรองดองกับโจทก์ยังได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมในเรื่องค่าทดแทนที่ดินพิพาทดังกล่าวนั้นไว้อีกด้วย ต้องถือว่า คณะกรรมการปรองดองเป็นตัวแทนของจำเลยจำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น จำเลยจะอ้างระเบียบการภายในมาปฏิเสธความผูกพันและความรับผิดไม่ได้ และการที่ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาแบ่งขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ไปก็มิใช่เป็นการฉ้อฉลหรือเกินกว่าขอบอำนาจที่จำเลยได้มอบหมายให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-สภาพแห่งข้อหาต่างกัน แม้คำขอบังคับเหมือนกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีแรก โจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับปลอมไปทำการโอนที่พิพาทเป็นของจำเลย คดีนี้ โจทก์ฟ้องอ้างว่าหลังจากฟ้องคดีแรกแล้วโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยตกลงโอนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ยอมยกหนี้สินให้จำเลยและยอมถอนฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยอยู่ โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีจึงต่างกัน แม้คำขอบังคับจะเป็นการให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์เช่นเดียวกัน ก็มิใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-สัญญาประนีประนอม: แม้คำขอบังคับเหมือนกัน แต่สภาพแห่งข้อหาต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีแรกโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับปลอมไปทำการโอนที่พิพาทเป็นของจำเลยคดีหลังโจทก์อ้างว่าหลังจากฟ้องคดีแรกแล้ว โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยตกลงโอนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ยอมยกหนี้สินให้จำเลยและยอมถอนฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยอยู่ โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีจึงต่างกัน แม้คำขอบังคับจะเป็นการให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์เช่นเดียวกัน ก็มิใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีหลังไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินหาย: การจับกระบือที่เพริดหาย ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร
กระบือของผู้เสียหายมิได้ถูกลัก แต่ติดสัดเพริดหายไป ผู้เสียหายติดตามอยู่เพียง 3 วัน แล้วมิได้ติดตามอีก ระยะเวลาหลังจากที่ผู้เสียหายมิได้ติดตามกระบือ จึงขาดการครอบครองในกระบือของตน และเป็นทรัพย์สินหายตลอดมา จำเลยจับกระบือได้หลังจากวันที่เพริดหายไปถึง 10 วัน และได้ไปแจ้งให้ผู้ใหญ่บ้านทราบทันที ดังนี้ จำเลยไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ รับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินหาย และความผิดฐานลักทรัพย์/รับของโจร กรณีสัตว์เลี้ยงหลุดหาย
กระบือของผู้เสียหายมิได้ถูกลัก แต่ติดสัดเพริดหายไปผู้เสียหายติดตามอยู่เพียง 3 วัน แล้วมิได้ติดตามอีกระยะเวลาหลังจากที่ผู้เสียหายมิได้ติดตามกระบือ จึงขาดการครอบครองในกระบือของตน และเป็นทรัพย์สินหายตลอดมาจำเลยจับกระบือได้หลังจากวันที่เพริดหายไปถึง 10 วัน และได้ไปแจ้งให้ผู้ใหญ่บ้านทราบทันที ดังนี้ จำเลยไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ รับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด vs. อายุความผิดสัญญาเช่าซื้อ: ศาลวินิจฉัยอายุความตามมาตรา 165 ไม่ได้
ค่าเสียหายฐานละเมิดต้องไม่เกี่ยวกับมูลหนี้ตามสัญญาเรียกค่าเสียหายเนื่องจากผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไม่มีกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 164
ในศาลชั้นต้นจำเลยยกอายุความตาม มาตรา 448 ขึ้นต่อสู้จำเลยฎีกาให้ศาลวินิจฉัยถึงอายุความตาม มาตรา 165 ไม่ได้
ในศาลชั้นต้นจำเลยยกอายุความตาม มาตรา 448 ขึ้นต่อสู้จำเลยฎีกาให้ศาลวินิจฉัยถึงอายุความตาม มาตรา 165 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีชิงทรัพย์ที่เกิดก่อนประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก ยังคงอยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ฟ้องต่อศาลพลเรือน
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 เหตุเกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2516 เวลากลางคืน ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พ.ศ.2514 แม้ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 พ.ศ.2517 มาตรา 3 ยกเลิกความผิดบางประเภทรวมทั้งความผิดนี้ แต่มาตรา 4 ให้คดีที่เกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เวลา 20.11 นาฬิกา จนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2517 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คงอยู่ในอำนาจศาลทหาร พิจารณาพิพากษา และแม้จะมีประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดลงวันที่ 18 มีนาคม 2517 ให้ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดรวมทั้งจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2517 เวลา 6.00 นาฬิกา เป็นต้นไปก็ตามแต่พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503มาตรา 4 ก็บัญญัติว่า เมื่อเลิกใช้กฎอัยการศึกศาลทหารยังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ค้างอยู่ในศาล หรือที่ยังมิได้ฟ้องเช่นคดีนี้ได้ฉะนั้น ศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราและศาลอุทธรณ์รับคำฟ้องและดำเนินการพิจารณาพิพากษามา จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจศาล คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหารยังคงมีผลแม้เลิกใช้กฎอัยการศึก คดีชิงทรัพย์ที่เกิดก่อนหน้านี้ยังอยู่ในอำนาจพิจารณา
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2516 เวลากลางคืน ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 แม้ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2517 มาตรา 3 ยกเลิกความผิดบางประเภทรวมทั้งความผิดนี้ แต่มาตรา 4 ให้คดีที่เกิดขึ้นหรือหลังวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เวลา 20.11 นาฬิกา จนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2517 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้คงอยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษา และแม้จะมีประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัด ลงวันที่ 18 มีนาคม 2517 ให้ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดรวมทั้งจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2517 เวลา 6.00 นาฬิกา เป็นต้นไปก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 มาตรา 4 ก็บัญญัติว่า เมื่อเลิกใช้กฎอัยการศึกศาลทหารยังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ค้างอยู่ในศาลหรือที่ยังมิได้ฟ้องเช่นคดีนี้ได้ ฉะนั้น ศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ที่ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราและศาลอุทธรณ์รับคำฟ้องและดำเนินการพิจารณาพิพากษามา จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวดับอำนาจศาล คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำขอท้ายฟ้องที่ให้ถือคำพิพากษาแทนเจตนาจำเลย และการบังคับคดีตามสัญญาให้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ประสงค์จะยกที่ดินให้ ฉ. และจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง จำเลยร่วมกันหลอกลวงให้โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 ทั้งแปลงก่อน โดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะแบ่งให้ ฉ. ครึ่งหนึ่งภายหลัง และจะระบุข้อตกลงไว้ในหนังสือสัญญาให้ด้วย โจทก์จึงลงลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือสัญญาให้ ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ไม่แบ่งที่ดินให้ ฉ. มิได้ระบุข้อตกลงไว้ในสัญญาให้ และได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 จำนองที่พิพาทไว้กับธนาคาร สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์ ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง โดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย และแบ่งที่พิพาทที่ไถ่ถอนแล้วให้ ฉ. ครึ่งหนึ่ง ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ ในกรณีที่โจทก์ชนะคดีและจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาจะด้วยเหตุใดก็ตาม โจทก์ก็อาจไถ่ถอนที่ดินพิพาทอันมีผลผูกพันส่วนที่จะยกให้ ฉ. เสียเอง แล้วมาฟ้องเรียกร้องเอาค่าไถ่ถอนคืนจากจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งก็ได้ สำหรับผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็อาจร้องสอดหรืออาจถูกเรียกให้เข้ามาในคดีนี้ได้อยู่แล้ว หรือคู่กรณีจะเลือกฟ้องร้องกันใหม่เป็นอีกคดีหนึ่งก็ได้
ความประสงค์ของโจทก์ตามคำขอก็คือต้องการให้จำเลยโอนที่พิพาทครึ่งหนึ่งให้ ฉ. โดยปลอดจำนองเท่านั้น ซึ่งถ้าปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์รับที่ดินพิพาทไว้โดยมีข้อตกลงดังกล่าว จำเลยก็ถูกผูกมัดโดยสัญญาที่จะต้องโอนที่ดินให้ ฉ. ตามที่โจทก์ขอมา ส่วนการที่ ฉ. จะรับการให้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งในชั้นบังคับคดี หาทำให้คำขอของโจทก์บังคับไม่ได้แต่อย่างไรไม่
ความประสงค์ของโจทก์ตามคำขอก็คือต้องการให้จำเลยโอนที่พิพาทครึ่งหนึ่งให้ ฉ. โดยปลอดจำนองเท่านั้น ซึ่งถ้าปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์รับที่ดินพิพาทไว้โดยมีข้อตกลงดังกล่าว จำเลยก็ถูกผูกมัดโดยสัญญาที่จะต้องโอนที่ดินให้ ฉ. ตามที่โจทก์ขอมา ส่วนการที่ ฉ. จะรับการให้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งในชั้นบังคับคดี หาทำให้คำขอของโจทก์บังคับไม่ได้แต่อย่างไรไม่