คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศิริ อติโพธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยที่ 4 ว่าจ้างจำเลยที่ 1,2,3 ให้นำรถยนต์เข้าไปบรรทุกไม้ยางของกลางที่ป่า ขณะจำเลยที่ 1,2,3 กำลังใช้รถยนต์นำไม้ของกลางจะออกจากป่าก็ถูกเจ้าพนักงานจับกุมโดยจำเลยที่ 1,2,3 ทราบอยู่แล้วว่าไม้ของกลางยังไม่ได้ตีตราค่าภาคหลวง เป็นไม้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ แม้จำเลยที่ 4 แต่ผู้เดียวมีไม้ของกลางไว้ในความครอบครองอันจะต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้แต่การที่จำเลยที่ 1,2,3 รู้ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ผิดกฎหมายก็ยังขืนรับจ้างขนไม้ของกลางนั้นเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 4 ในการกระทำความผิดฐานมีไม้ของกลางไว้ในความครอบครองโดยผิดกฎหมาย จำเลยที่ 1, 2,3 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ แม้ผู้กระทำผิดหลักครอบครองไม้ผิดกฎหมาย
จำเลยที่ 4 ว่าจ้างจำเลยที่ 1, 2, 3 ให้นำรถยนต์เข้าไปบรรทุกไม้ยางของกลางที่ป่า ขณะจำเลยที่ 1, 2, 3 กำลังใช้รถยนต์นำไม้ของกลางจะออกจากป่าก็ถูกเจ้าพนักงานจับกุม โดยจำเลยที่ 1, 2, 3 ทราบอยู่แล้วว่าไม้ของกลางยังไม่ได้ตีตราค่าภาคหลวง เป็นไม้ที่ไม้ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ แม้จำเลยที่ 4 แต่ผู้เดียวมีไม้ของกลางไว้ในความครอบครองอันจะต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ แต่การที่จำเลยที่ 1, 2, 3 รู้ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ผิดกฎหมายก็ยังขืนรับจ้างขนไม้ของกลางนั้น เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 4 ในการกระทำความผิดฐานมีไม้ของกลางไว้ในความครอบครองโดยผิดกฎหมาย จำเลยที่ 1, 2, 3 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมหลายบทของเจ้าพนักงาน โดยใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดและเรียงกระทง
จำเลยกระทำผิดหลายกรรม แต่ละกรรมเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนี้ ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยทุกกรรม เรียงกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมหลายบท: ใช้บทที่มีโทษหนักสุด และกระทงความผิดเรียงกระทง
จำเลยกระทำผิดหลายกรรม แต่ละกรรมเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนี้ ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยทุกกรรม เรียกกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินไถ่จำนองแล้วโจทก์ไม่รับ ศาลสั่งให้ใช้เงินตามที่วางโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย
จำเลยวางเงินไถ่จำนองต่อศาลโดยยอมรับผิดและยอมให้โจทก์รับไปได้ แต่โจทก์ไม่รับไปโดยเห็นว่าควรได้มากกว่านั้น ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงินตามที่จำเลยวางต่อศาล ดังนี้ จำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินนั้นตั้งแต่วันที่วางเงิน ข้อนี้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ฉบับแก้ไขต่อคดีอาญา: การยกฟ้องจากเหตุขออนุญาตภายในเก้าสิบวัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานปล้นทรัพย์และร่วมกันมีอาวุธปืนฯ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องในข้อหาปล้นทรัพย์ และยกฟ้องโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 ในข้อหามีอาวุธปืนฯ โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้ฎีการะหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ออกมาใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติความว่า ผู้มีอาวุธปืนฯซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตถ้าได้นำมาขอรับอนุญาตภายในกำหนดเก้าสิบวันผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ฉะนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับโทษ
แม้ข้อหาฐานมีอาวุธปืนฯ สำหรับจำเลยที่ 2 จะยุติในชั้นอุทธรณ์แล้วก็ตาม แต่คดีของจำเลยที่ 2 ก็ยังไม่ถึงที่สุด จึงต้องนำพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานนี้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายอาวุธปืนใหม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดก่อนหน้า: ยกฟ้องอาวุธสงคราม หากมอบภายใน 90 วัน
ภายหลังจากวันที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 แล้ว ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 ออกใช้บังคับ และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้บุคคลที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครอง ซึ่งเป็นความผิดมาแต่ก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด สามารถนำมามอบให้นายทะเบียนท้องที่ได้ภายในกำหนด 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จึงเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดยิ่งกว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด ต้องใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 บังคับแก่การกระทำของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายใหม่คุ้มครองผู้ครอบครองอาวุธสงครามเดิม หากมอบให้เจ้าหน้าที่ภายในกำหนด
ภายหลังจากวันที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 แล้ว ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ออกใช้บังคับ และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้บุคคลที่มีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครองซึ่งเป็นความผิดมาแต่ก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับไม่ว่าการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด สามารถนำมามอบให้นายทะเบียนท้องที่ได้ภายในกำหนด 90 วันโดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จึงเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดยิ่งกว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต้องใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 บังคับแก่การกระทำของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีป้าย: เลือกวิธีคำนวณแบบ ก. หรือ ข. แบบใดแบบหนึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีอากร
ป้ายพิพาทคำนวณพื้นที่ได้สองแบบ คือ ตามแบบ ก. หรือ แบบ ข.แบบบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ถ้าคำนวณตามแบบ ก. คือถือว่าป้ายมีขอบเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1,200 เซนติเมตรยาว 3,000 เซนติเมตร แม้ด้านบนมีตัวอักษร ที ในภาษาอังกฤษล้ำออกจากขอบเขต 75 เซนติเมตรก็ตาม จะถือว่าป้ายมีความกว้าง 1,275 เซนติเมตรไม่ได้เพราะด้านบนของตัวอักษร ที นั้นไม่ใช่ขอบเขตของป้ายตามแบบ ก. ของบัญชีอัตราภาษีป้ายดังกล่าว ถ้าคำนวณตามแบบ ข. คือถือเอาตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมายเป็นเกณฑ์ ป้ายจะมีความกว้าง 1,205 เซนติเมตร และยาว 2,650เซนติเมตร จะวัดขอบเขตของป้ายเข้าไว้ในเนื้อที่ป้ายด้วยไม่ได้ เพราะขอบเขตของป้ายมิใช่ตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมาย
จริงอยู่ตามบัญชีอัตราภาษีป้ายดังกล่าวไม่ได้ห้ามการคำนวณเนื้อที่ป้ายโดยวิธีคำนวณแบบ ก. และ ข. รวมกันโดยตรงก็ดี แต่พระราชบัญญัติภาษีป้ายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หากจะต้องตีความเพราะตัวบทกฎหมายไม่แจ้งชัดเช่นนี้ ก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่ไม่เป็นโทษแก่ราษฎรผู้จะต้องเสียภาษีอากรเมื่อพิเคราะห์บัญญัติ ที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัตินี้แล้วอนุมานได้ว่าเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ คือ จะต้องประเมินภาษีป้ายโดยเลือกคำนวณเนื้อที่ป้ายเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งในสองแบบนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เลือกคำนวณตามแบบ ก. แล้ว ก็ต้องคำนวณตามแบบนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโฉนดไขว้กัน โจทก์รู้ข้อเท็จจริงแต่ยังซื้อขาย ถือเป็นการได้สิทธิโดยไม่สุจริต
น. มีที่ดินสองแปลงคือ ที่พิพาทและที่ดินโฉนดที่ 2785 น. ได้ขายที่พิพาทให้กับบิดาของภริยาจำเลย แต่ด้วยความเข้าใจผิดได้นำโฉนดที่ 2785 มาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ บิดาของภริยาจำเลยครอบครองที่พิพาทมากว่า 30 ปีแล้วถึงแก่กรรม ภริยาจำเลยรับมรดกที่พิพาทแต่จดทะเบียนในโฉนดที่ 2785 แล้วจำเลยกับภริยาครอบครองที่พิพาทตลอดมา ส่วนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2785 น. ขายให้กับผู้มีชื่อโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันในโฉนดสำหรับที่พิพาท แล้วโอนกันต่อมาจนตกเป็นของ จ. จ. จดทะเบียนโอนขายให้โจทก์ เมื่อได้ความว่าโจทก์มีเจตนาจะซื้อที่ดินแปลงที่ จ. ครอบครองเป็นเจ้าของอยู่เป็นสำคัญยิ่งกว่าที่ดินแปลงตามหน้าโฉนดที่ถูกต้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์อ้างเอาที่พิพาท การมีชื่อ จ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในโฉนดสำหรับที่พิพาท ไม่ทำให้ จ. มีสิทธิ์ขายที่ดินตามหน้าโฉนดนี้เพราะที่ดินไม่ใช่ของ จ. เมื่อโจทก์รู้อยู่แล้วเช่นนี้ ยังรับซื้อและรับโอนทางทะเบียนมา ถือได้ว่าเป็นการได้สิทธิ์และได้จดทะเบียนสิทธิ์โดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท
of 22