คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
รื่น วิไลชนม์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 348 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการมรดก ไม่ใช่การฟ้องคดีมรดก จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1754
การร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก มิใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อใช้สิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของกองมรดก ไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการมรดก ไม่เป็นการฟ้องคดีมรดก จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
การร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก มิใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อใช้สิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของกองมรดกไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ความผิดฐานฉ้อโกงที่เกิดจากหลายท้องที่ ศาลแขวงธนบุรีมีอำนาจพิจารณา
ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353,84 โดยบรรยายว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโจทก์ที่ 1 กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต ด้วยการยุยงส่งเสริมของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 นำเช็คของโจทก์ที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ต่อมาจำเลยที่ 2 นำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 ให้เรียกเก็บเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 ธนาคารได้ตัดเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 จ่ายให้ไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ได้ความตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คที่ตำบลลาดยาวอำเภอบางเขน แล้วจำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร ก. สาขาภาษีเจริญ การนำเช็คไปเข้าบัญชีและรับเงินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความผิดตามฟ้องสำเร็จบริบูรณ์ ท้องที่ที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็ค และท้องที่ที่จำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชี ต่างก็เป็นที่เกิดเหตุคดีนี้ ธนาคาร ก. สาขาภาษีเจริญ อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรีศาลแขวงธนบุรีจึงมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การกระทำความผิดหลายท้องที่ถือเป็นที่เกิดเหตุทั้งหมด
ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353, 84 โดยบรรยายว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโจทก์ที่ 1 กระทำผิดหน้าที่โดยสุจริตด้วยการยุยงส่งเสริมของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 นำเช็คของโจทก์ที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ต่อมาจำเลยที่ 2 นำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 ให้เรียกเก็บเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 ธนาคารได้ตัดเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 จ่ายให้ไปทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ได้ความตามฟ้องว่าจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คที่ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน แล้วจำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร ก. สาขาภาษีเจริญ การนำเช็คไปเข้าบัญชีและรับเงินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความผิดตามฟ้องสำเร็จบริบูรณ์ ท้องที่ที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คและท้องที่ที่จำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชีต่างก็เป็นที่เกิดเหตุคดีนี้ ธนาคาร ก.สาขาภาษีเจริญ อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงธนบุรีจึงมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีและขายเฮโรอีน: มาตรา 20 ทวิ บัญญัติเฉพาะไม่ต้องปรับบท
มีและขายเฮโรอีนไฮโดรโคลไรด์เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2465(ฉบับที่ 4) มาตรา 20 ทวิ ซึ่งบัญญัติเฉพาะแล้วไม่ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 20 ตรีอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีและการอุทธรณ์ หากมิได้อุทธรณ์ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด จะไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
ภาษีการค้าอันเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ทวิซึ่งตามมาตรา 84 วรรค 2 ผู้ประกอบการค้าในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนด ทุกครั้งนั้น เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินตามรายการที่ยื่นเพื่อเสียภาษีอากรนั้นแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไป ยังผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา 18 หากผู้ประกอบการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้เองตามมาตรา 87(1) และต้องแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 88 เมื่อได้มีการประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าแล้วผู้ประกอบการค้ามีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18, 88 การอุทธรณ์นั้นให้อุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกำหนด และอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 30 วันตามมาตรา 30 เมื่อไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 30(2) โจทก์สั่งเครื่องอะไหล่ของเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้แทนของเก่าเมื่อชำรุด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแก่จำเลยไปแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้นเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าของโจทก์เอง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามมาตรา 79 ตรี (11) จึงได้ยื่นหนังสือต่อจำเลยขอเงินค่าภาษีอากรนั้นคืน จำเลยยังมิได้พิจารณาดังนี้แม้เป็นกรณีที่อ้างว่าได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากรก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้เสียภาษีอากรและแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอนที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีและการอุทธรณ์: ผู้เสียภาษีต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอนก่อนฟ้องคดี แม้ได้รับยกเว้นภาษี
ภาษีการค้าอันเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ทวิ ซึ่งตามมาตรา 84 วรรค 2 ผู้ประกอบการค้าในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนดทุกครั้งนั้น เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินตามรายการที่ยื่นเพื่อเสียภาษีอากรนั้นแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา18 หากผู้ประกอบการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้เองตามมาตรา 87(1) และต้องแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 88 เมื่อได้มีการประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าแล้ว ผู้ประกอบการค้ามีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18,88 การอุทธรณ์นั้นให้อุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกำหนดและอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 30 วันตามมาตรา 30 เมื่อไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 30(2) โจทก์สั่งเครื่องอะไหล่ของเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้แทนของเก่าเมื่อชำรุด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแก่จำเลยไปแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้นเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าของโจทก์เอง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามมาตรา 79 ตรี(11) จึงได้ยื่นหนังสือต่อจำเลยขอเงินค่าภาษีอากรนั้นคืน จำเลยยังมิได้พิจารณา ดังนี้แม้เป็นกรณีที่อ้างว่าได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากรก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้เสียภาษีอากรและแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ขายฝากแล้วฟ้องแย้งสิทธิ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ส่วนโรงงานน้ำแข็งในที่ดินของผู้อื่นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินโฉนดที่พิพาท แต่โจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว และโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 แต่แล้วโจทก์ที่ 1 กลับใช้สิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินร่วมฟ้องเรียกที่ดินส่วนของโจทก์ที่ 1 คืนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เอกสารสัญญาเช่าซื้อนั้น แม้ในขณะทำสัญญากันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์แต่ต่อมาได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว จะโดยผู้อ้างปิดอากรแสตมป์เองหรือผู้อ้างจะขอศาลให้สั่งเจ้าหน้าที่สรรพากรจัดการปิดให้ก็มีผลเช่นเดียวกัน ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อโรงงานทำน้ำแข็งและอุปกรณ์เครื่องทำน้ำแข็งพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 2 ได้ก่อสร้างลงในที่ดินโฉนดที่ 2295 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ และโจทก์ที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน โดยโจทก์ที่1และจำเลยที่1ได้ยินยอมให้ปลูกลงในที่ดินเพื่อให้โจทก์ที่ 1 เช่าซื้อ แต่โจทก์ที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ที่ 2 ยังไม่ครบถ้วน โรงงานน้ำแข็งและเครื่องทำน้ำแข็งจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งดังกล่าวจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอันผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกทำลงไว้ในที่ดินนั้น จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดที่ 2295 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 แม้ภายหลังต่อมาที่ดินโฉนดที่ 2295 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาขายฝาก โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งก็ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่ส่วนควบของที่ดินจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 1 ออกจากโรงงานทำน้ำแข็ง และเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 2 มิได้ครอบครองโรงงานทำน้ำแข็งพิพาทจากโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้จำนอง/ขายฝากแล้วฟ้องขอคืนสิทธิ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และกรรมสิทธิ์โรงงานยังเป็นของเจ้าของเดิม
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินโฉนดที่พิพาท แต่โจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว และโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 แต่แล้วโจทก์ที่ 1 กลับใช้สิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินร่วมฟ้องเรียกที่ดินส่วนของโจทก์ที่ 1 คืนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เอกสารสัญญาเช่าซื้อนั้น แม้ในขณะทำสัญญากันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์แต่ต่อมาได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว จะโดยผู้อ้างปิดอากรแสตมป์เองหรือผู้อ้างจะขอศาลให้สั่งเจ้าหน้าที่สรรพากรจัดการปิดให้ ก็มีผลเช่นเดียวกัน ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อโรงงานทำน้ำแข็งและอุปกรณ์เครื่องทำน้ำแข็งพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 2 ได้ก่อสร้างลงในที่ดินโฉนดที่ 2295 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ และโจทก์ที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน โดยโจทก์ที่1และจำเลยที่1ได้ยินยอมให้ปลูกลงในที่ดินเพื่อให้โจทก์ที่ 1 เช่าซื้อ แต่โจทก์ที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ที่ 2 ยังไม่ครบถ้วน โรงงานน้ำแข็งและเครื่องทำน้ำแข็งจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งดังกล่าวจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอันผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกทำลงไว้ในที่ดินนั้น จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดที่ 2295 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 แม้ภายหลังต่อมาที่ดินโฉนดที่ 2295 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาขายฝาก โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งก็ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่ส่วนควบของที่ดิน จึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 1 ออกจากโรงงานทำน้ำแข็ง และเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 2มิได้ครอบครองโรงงานทำน้ำแข็งพิพาทจากโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องรับผิดตามมาตรา 340 วรรคท้าย แม้ไม่ได้ร่วมลงมือฆ่า
จำเลยทั้งสี่ปรึกษากันจะปล้นรถที่ผ่านมา แล้วจอดรถรออยู่ เมื่อผู้เสียหายขับรถมาถึง จำเลยที่ 1 ยืนส่องไฟฉายให้รถหยุด ผู้เสียหายถามว่ารถเป็นอะไร จำเลยที่ 1 แกล้งบอกว่าไฟช้อต แล้วกระโดดขึ้นรถของจำเลยและขับหนีไปก่อน โดยร้องตะโกนบอกจำเลยที่ 2,3 และ 4ว่า จัดการให้เรียบร้อย จำเลยที่ 2,3 และ 4 ก็จับผู้เสียหายกับพวกที่มาด้วยมัดแล้วยิง พวกผู้เสียหายถูกยิงตายหมด แล้วจำเลยที่ 2,3,4 ก็เอารถไป การปล้นทรัพย์รายนี้เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำการปล้นในระยะแรก แม้มิได้อยู่ด้วยในขณะที่จำเลยอื่นฆ่าเจ้าทรัพย์กับพวก จำเลยที่ 1 ก็ต้องมีความผิดตามวรรคท้ายของมาตรา 340 แห่งประมวลกฎหมายอาญาด้วย
of 35