คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
รื่น วิไลชนม์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 348 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับสัญญาจำนำ/ขายฝากก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องพิจารณากิริยาคู่สัญญาและกฎหมายที่ใช้บังคับก่อน
สัญญาจำนำที่ดินที่ได้ทำกันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ต้องบังคับตามกฎหมายที่มีอยู่ก่อน ได้แก่ พระราชบัญญัติการขายฝากและจำนำที่ดิน ร.ศ.115 และโดยเฉพาะประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ซึ่งให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้ในสัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่นก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกันตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1044/2492
บิดาโจทก์ได้ตกลงกับผู้รับจำนำมอบที่พิพาทให้ไว้เอาค่าเช่าหักชำระดอกเบี้ยและค่าภาษีแล้ว บิดาโจทก์ได้อพยพไปอยู่ที่อื่นและเคยมาคิดเงินกับผู้รับจำนำเป็นบางปี บิดาโจทก์ตายไปประมาณ 30 ปีแล้ว ก่อนตายไม่เคยพูดขอไถ่จำนำเลย แสดงว่าบิดาโจทก์ได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำทำกินต่างดอกเบี้ยมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว การปฏิบัติของคู่สัญญาเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการขายฝาก ซึ่งประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ข้อ 6 มีข้อความว่า ในการขายฝากที่ดิน ถ้ามีข้อสัญญาจะให้ไถ่ได้เกินกว่า 10 ปีไป อย่าให้วินิจฉัยว่าไถ่ได้เมื่อพ้น10 ปีไปเลยเมื่อบิดาโจทก์ได้จำนำที่พิพาทไว้ตั้งแต่ปี 2460 และได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำทำกินต่างดอกเบี้ยตั้งแต่ปี 2473 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีไปมากแล้ว ที่พิพาทจึงหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับซื้อฝาก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิไถ่ถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนำก่อนใช้ป.พ.พ. หากมีพฤติการณ์เป็นการขายฝาก เกิน 10 ปี สิทธิไถ่ระงับ
สัญญาจำนำที่ดินที่ได้ทำกันก่อนประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ต้องบังคับตามกฎหมายที่มีอยู่ก่อน ได้แก่พระราชบัญญัติการขายฝากและจำนำที่ดิน ร.ศ.115 และโดยเฉพาะประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ซึ่งให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้ในสัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่นก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกันตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1044/2492
บิดาโจทก์ได้ตกลงกับผู้รับจำนำมอบที่พิพาทให้ไว้เอาค่าเช่าหักชำระดอกเบี้ยและค่าภาษีแล้ว บิดาโจทก์ได้อพยพไปอยู่ที่อื่นและเคยมาคิดเงินกับผู้รับจำนำเป็นบางปี บิดาโจทก์ตายไปประมาณ 30 ปีแล้ว ก่อนตายไม่เคยพูดขอไถ่จำนำเลย แสดงว่าบิดาโจทก์ได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำทำกินต่างดอกเบี้ยมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว การปฏิบัติของคู่สัญญาเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการขายฝากซึ่งประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ข้อ 6 มีข้อความว่า ในการขายฝากที่ดิน ถ้ามีข้อสัญญาจะให้ไถ่ได้เกินกว่า 10 ปีไป อย่าให้วินิจฉัยว่าไถ่ได้เมื่อพ้น10 ปีไปเลย เมื่อบิดาโจทก์ได้จำนำที่พิพาทไว้ตั้งแต่ปี 2460 และได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำทำกินต่างดอกเบี้ยตั้งแต่ปี 2473 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีไปมากแล้ว ที่พิพาทจึงหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับซื้อฝาก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิไถ่ถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สมบูรณ์ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบุตรของ ย. แต่ต่างมารดากันมารดาโจทก์และมารดาจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับ ย.มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5. ใครจะเป็นภริยาหลวงหรือภริยาน้อยก็ตาม ก็อยู่ในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. ด้วยกันทั้งคู่ การที่สามีจะยกสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้ใดโดยเสน่หานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 สามีต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อน เว้นแต่จะเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสังคม และตามมาตรา 1476การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมจากกัน. ถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ในระหว่างสมรส ย. ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยโดยเสน่หา การให้ในกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสมาคม เมื่อไม่ปรากฏว่าภริยาของ ย. ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การให้ดังกล่าวแล้วจึงไม่สมบูรณ์ หลังจากบิดาและมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของมารดาซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลย โดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย. จำเลยให้การต่อสู้ว่าย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สมบูรณ์ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบุตรของ ย. แต่ต่างมารดากันมารดาโจทก์และมารดาจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับ ย.มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใครจะเป็นภริยาหลวงหรือภริยาน้อยก็ตาม ก็อยู่ในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. ด้วยกันทั้งคู่ การที่สามีจะยกสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้ใดโดยเสน่หานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1473 สามีต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนเว้นแต่จะเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสังคม และตามมาตรา 1476การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมจากกัน ถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ในระหว่างสมรส ย.ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยโดยเสน่หา การให้ในกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสมาคม เมื่อไม่ปรากฏว่าภริยาของ ย.ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การให้ดังกล่าวแล้วจึงไม่สมบูรณ์หลังจากบิดาและมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของมารดาซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย.จำเลยให้การต่อสู้ว่า ย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143-2146/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เจตนาสุจริตในการครอบครองที่ดินสาธารณะ: จำเป็นต้องมีการสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินหนองน้ำสาธารณะนายอำเภอมีคำสั่งให้ออกไป จำเลยฝ่าฝืนไม่ยอมออก ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368จำเลยให้การปฏิเสธ แม้จะปรากฏจากคำฟ้องเองว่าจำเลยครอบครองที่ดินนั้นมานานแล้ว แต่การครอบครองมานานก็มิใช่เหตุผลที่แสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยเชื่อมั่นโดยสุจริตใจว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลยเองไม่ใช่ที่สาธารณะ และแม้จำเลยจะให้การว่าที่ดินนั้นมี ส.ค.1 แล้ว ซึ่งอาจเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งแสดงว่าจำเลยครอบครองมาโดยไม่รู้ว่าเป็นที่สาธารณะได้ และโจทก์แถลงรับว่าจำเลยได้ยื่น ส.ค.1 ไว้ต่อพนักงานสอบสวนจริง แต่โจทก์ก็ยังแถลงโต้แย้งอยู่ว่าที่ดินตาม ส.ค.1 ที่จำเลยอ้างนั้นเป็นคนละแห่งกับที่ที่โจทก์ฟ้อง เรื่อง ส.ค.1 อันจะเป็นเรื่องสนับสนุนข้อแก้ตัวของจำเลยจึงยังเป็นข้อโต้เถียงกันอยู่อีกเช่นกัน ตามคำฟ้อง คำให้การ และคำแถลงของโจทก์ ดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความเชื่อมั่นโดยสุจริตใจ ว่าที่ดินเป็นของจำเลยอันจะพึงถือว่าจำเลยมีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายอำเภอ ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143-2146/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยเจตนาสุจริตและการพิสูจน์ความเชื่อมั่นในกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินหนองน้ำสาธารณะนายอำเภอมีคำสั่งให้ออกไป จำเลยฝ่าฝืนไม่ยอมออก ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368จำเลยให้การปฏิเสธ แม้จะปรากฏจากคำฟ้องเองว่าจำเลยครอบครองที่ดินนั้นมานานแล้ว แต่การครอบครองมานานก็มิใช่เหตุผลที่แสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยเชื่อมั่นโดยสุจริตใจว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลยเองไม่ใช่ที่สาธารณะ และแม้จำเลยจะให้การว่าที่ดินนั้นมี ส.ค.1 แล้ว ซึ่งอาจเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งแสดงว่าจำเลยครอบครองมาโดยไม่รู้ว่าเป็นที่สาธารณะได้และโจทก์แถลงรับว่าจำเลยได้ยื่น ส.ค.1 ไว้ต่อพนักงานสอบสวนจริงแต่โจทก์ก็ยังแถลงโต้แย้งอยู่ว่าที่ดินตาม ส.ค.1 ที่จำเลยอ้างนั้นเป็นคนละแห่งกับที่ที่โจทก์ฟ้อง เรื่อง ส.ค.1 อันจะเป็นเรื่องสนับสนุนข้อแก้ตัวของจำเลยจึงยังเป็นข้อโต้เถียงกันอยู่อีกเช่นกัน ตามคำฟ้องคำให้การ และคำแถลงของโจทก์ ดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความเชื่อมั่นโดยสุจริตใจ ว่าที่ดินเป็นของจำเลยอันจะพึงถือว่าจำเลยมีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายอำเภอ ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับสิ้นเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ศาลจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินคืนโจทก์ศาลล่างพิพากษาตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ถึงแก่กรรมบุตรจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย เมื่อจำเลยซึ่งในระหว่างพิจารณายังมีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินได้ถึงแก่กรรมไปแล้วเช่นนี้ สัญญาเช่าอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับสิ้นไป การที่จะบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ย่อมไม่อาจทำได้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไป ศาลฎีกาย่อมสั่งจำหน่ายคดีเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับสิ้นเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ศาลจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินคืนโจทก์ ศาลล่างพิพากษาตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ถึงแก่กรรมบุตรจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย เมื่อจำเลยซึ่งในระหว่างพิจารณายังมีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินได้ถึงแก่กรรมไปแล้วเช่นนี้ สัญญาเช่าอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับสิ้นไป การที่จะบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ย่อมไม่อาจทำได้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไป ศาลฎีกาย่อมสั่งจำหน่ายคดีเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับฝาก กรณีประมาทเลินเล่อจนทรัพย์สินสูญหาย แม้ไม่มีวัตถุประสงค์รับฝาก
ผู้จัดการจำเลยเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล อนุญาตให้โจทก์จอดรถที่ปั๊มน้ำมันของจำเลย. แม้จำเลยจะไม่ได้รับบำเหน็จตอบแทนก็หาพ้นจากความรับผิดในฐานเป็นผู้รับฝากไม่
คนงานของจำเลยให้รถที่โจทก์ฝากแก่คนอื่นไปโดยมิได้ตรวจดูหนังสือที่มีผู้นำมาขอรับรถให้ดีเสียก่อนว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์หรือไม่ ทั้ง ๆ ที่คนขายน้ำมันของจำเลยจำลายมือโจทก์ได้ ดังนี้ เป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยต้องรับผิดใช้คืนแก่โจทก์
โจทก์เรียกเอาทรัพย์ที่ฝากไว้กับจำเลยคืน ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลจะมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการประการใด จำเลยก็มีหน้าที่จะต้องคืนให้โจทก์จะอ้างว่าผิดวัตถุประสงค์ไม่ได้
แม้ตามฟ้องโจทก์จะเรียกเอาค่าเสียหาย แต่โจทก์เรียกร้องเอาเท่ากับราคารถยนต์ จึงเป็นการเรียกเอาทรัพย์ที่ฝากคืนนั่นเองเมื่อรถสูญหายไป โจทก์จึงเรียกราคาแทน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับฝากประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินสูญหาย มีหน้าที่รับผิดใช้คืน แม้ไม่มีวัตถุประสงค์รับฝาก
ผู้จัดการจำเลยเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล อนุญาตให้โจทก์จอดรถที่ปั๊มน้ำมันของจำเลย. แม้จำเลยจะไม่ได้รับบำเหน็จตอบแทนก็หาพ้นจากความรับผิดในฐานเป็นผู้รับฝาก ไม่
คนงานของจำเลยให้รถที่โจทก์ฝากแก่คนอื่นไปโดยมิได้ตรวจดูหนังสือที่มีผู้นำมาขอรับรถให้ดีเสียก่อนว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์หรือไม่ ทั้งๆ ที่คนขายน้ำมันของจำเลยจำลายมือโจทก์ได้ ดังนี้ เป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยต้องรับผิดใช้คืนแก่โจทก์
โจทก์เรียกเอาทรัพย์ที่ฝากไว้กับจำเลยคืน ดังนั้นไม่ว่าจำเลยซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลจะมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการประการใด จำเลยก็มีหน้าที่จะต้องคืนให้โจทก์ จะอ้างว่าผิดวัตถุประสงค์ไม่ได้
แม้ตามฟ้องโจทก์จะเรียกเอาค่าเสียหาย แต่โจทก์เรียกร้องเอาเท่ากับราคารถยนต์ จึงเป็นการเรียกเอาทรัพย์ที่ฝากคืนนั่นเอง เมื่อรถสูญหายไป โจทก์จึงเรียกราคาแทน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
of 35