พบผลลัพธ์ทั้งหมด 348 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์ แม้ไม่ได้ระบุชัดในคำฟ้อง
แม้ในตอนต้นของคำฟ้องจะมีชื่อโจทก์เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ปรากฏจากคำฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาของผู้ตายและเป็นมารดาของผู้เยาว์ทั้ง 3 คน ทั้งได้เรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาของบุตรทั้ง 3 คนนั้นด้วย จึงถือได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์ด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1784/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระบุความเสียหายต่อผู้อื่นหรือประชาชน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมแต่ไม่ได้ระบุมาว่าการที่จำเลยปลอมเอกสารขึ้นนั้น น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และแม้จะอ่านคำบรรยายฟ้องโจทก์โดยตลอดก็ไม่อาจทราบความหมายนี้ได้ฟ้องโจทก์ดังนี้ไม่ครบองค์ความผิดตามกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1784/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีปลอมแปลงเอกสารต้องระบุความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้อื่นหรือประชาชน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมแต่ไม่ได้ระบุมาว่าการที่จำเลยปลอมเอกสารขึ้นนั้น น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และแม้จะอ่านคำบรรยายฟ้องโจทก์โดยตลอด ก็ไม่อาจทราบความหมายนี้ได้ฟ้องโจทก์ดังนี้ไม่ครบองค์ความผิดตามกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมแพ้คดีจากการท้าสาบาน: ผลผูกพันการใช้ค่าเสียหายตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องอ้างว่านาพิพาทเป็นของโจทก์ ได้มาโดยนางสีทามารดายกให้แก่โจทก์แต่ผู้เดียว จำเลยบุกรุกเข้าแย่งทำนาของโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านาพิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายปีละ 2,500 บาท จนกว่าจะออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การปฏิเสธว่านางสีทามารดาไม่ได้ยกนาพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จำเลยครอบครองนาพิพาทร่วมกันมาเป็นส่วนสัด จำเลยไม่ได้เข้าแย่งทำนาของโจทก์โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ระหว่างสืบพยานโจทก์จำเลยตกลงท้ากันว่า ถ้าโจทก์ยอมสาบานและดื่มน้ำสาบานต่อหน้าพระสังกัดจายวัดสระทอง ว่านางสีทายกนาพิพาทให้โจทก์ทั้งหมด จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าโจทก์ไม่ยอมสาบานและดื่มน้ำสาบาน โจทก์ยอมแพ้คดี ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้สาบานและดื่มน้ำสาบานตามคำท้าแล้วจำเลยย่อมจะต้องแพ้คดีทั้งหมดรวมทั้งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งหมดตามฟ้องจำเลยจะอ้างว่าศาลอาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการท้าสาบานในคดีแพ่ง: การยอมแพ้คดีทั้งหมดและการรับผิดค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องอ้างว่านาพิพาทเป็นของโจทก์ ได้มาโดยนางสีทามารดายกให้แก่โจทก์แต่ผู้เดียว จำเลยบุกรุกเข้าแย่งทำนาของโจทก์ ขอให้ศาลพิพากษาว่านาพิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายปีละ 2,500 บาทจนกว่าจะออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การปฏิเสธว่านางสีทามารดาไม่ได้ยกนาพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จำเลยครอบครองนาพิพาทร่วมกันมาเป็นส่วนสัด จำเลยไม่ได้เข้าแย่งทำนาของโจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ระหว่างสืบพยาน โจทก์จำเลยตกลงท้ากันว่า ถ้าโจทก์ยอมสาบานและดื่มน้ำสาบานต่อหน้าพระสังกัดจายวัดสระทอง ว่านางสีทายกนาพิพาทให้โจทก์ทั้งหมด จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าโจทก์ไม่ยอมสาบานและดื่มน้ำสาบาน โจทก์ยอมแพ้คดี ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้สาบานและดื่มน้ำสาบานตามคำท้าแล้วจำเลยย่อมจะต้องแพ้คดีทั้งหมด รวมทั้งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งหมดตามฟ้อง จำเลยจะอ้างว่าศาลอาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายมีผลลบล้างการยื่นคำขอ และต้องยื่นใหม่ตามกฎหมาย
จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ ในระหว่างสอบสวนผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งอนุญาตจำหน่ายจากบัญชีเจ้าหนี้ต่อมาศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ด้วยความหลงผิดว่าจะเป็นทางให้ลูกหนี้พ้นจากการถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ จึงขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รายงานมายังศาลชั้นต้นว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่สั่งไปโดยชอบได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องกลับคืนสู่ฐานะเจ้าหนี้ตามเดิม ดังนี้ หามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งของตนที่ได้สั่งไปโดยชอบไม่ คงร้องขอให้ศาลมีคำสั่งได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการใดที่เป็นปัญหาในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 143 และศาลจะสั่งเพิกถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ก็ไม่ได้ เพราะการที่ผู้ร้องยื่นคำขอถอนคำขอรับชำระหนี้ก็ดี คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่สั่งอนุญาตให้ถอนได้ก็ดี ไม่เป็นการผิดระเบียบหรือกฎหมายแต่อย่างใด เมื่อผู้ร้องถอนคำขอรับชำระหนี้ไปแล้ว ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำขอ และทำให้ผู้ร้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้เลย หากผู้ร้องประสงค์จะขอรับชำระหนี้ ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 91 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ซึ่งได้สั่งไปโดยชอบแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ย่อมลบล้างผล และต้องยื่นคำขอใหม่ตามกฎหมาย
จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในระหว่างสอบสวนผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งอนุญาตจำหน่ายจากบัญชีเจ้าหนี้ ต่อมาศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ด้วยความหลงผิดว่าจะเป็นทางให้ลูกหนี้พ้นจากการถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ จึงขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รายงานมายังศาลชั้นต้นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่สั่งไปโดยชอบได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องกลับคืนสู่ฐานะเจ้าหนี้ตามเดิม ดังนี้ หามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งของตนที่ได้สั่งไปโดยชอบไม่ คงร้องขอให้ศาลมีคำสั่งได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการใดที่เป็นปัญหาในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 143 และศาลจะสั่งเพิกถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ก็ไม่ได้เพราะการที่ผู้ร้องยื่นคำขอถอนคำขอรับชำระหนี้ก็ดี คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่สั่งอนุญาตให้ถอนได้ก็ดี ไม่เป็นการผิดระเบียบ หรือกฎหมายแต่อย่างใด เมื่อผู้ร้องถอนคำขอรับชำระหนี้ไปแล้ว ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำขอ และทำให้ผู้ร้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้เลย หากผู้ร้องประสงค์จะขอรับชำระหนี้ ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 91 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ซึ่งได้สั่งไปโดยชอบแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าสำหรับธุรกิจค้ำประกัน: มิใช่การเป็นนายหน้าหรือตัวแทน แต่เป็นการประกอบธุรกิจการค้าประเภทธนาคาร
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจการค้าหลายประเภทซึ่งรวมทั้งการเข้าทำสัญญาค้ำประกันต่อธนาคารในการประกอบธุรกิจในทางค้ำประกันโจทก์ได้ทำสัญญาต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด โดยโจทก์จะรับเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในบรรดาธุรกิจต่างๆ ซึ่งธนาคารจะมอบหมายให้เป็นผู้ค้ำประกันผู้เคยค้าที่จะทำนิติกรรมผูกพันกับธนาคาร ซึ่งในการนี้ธนาคารได้ช่วยค่าใช้จ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนๆ ละไม่น้อยกว่า 5,000 บาททุกเดือน และยังแบ่งผลประโยชน์ที่ธนาคารจะพึงได้รับจากดอกเบี้ยที่โจทก์เข้าค้ำประกันให้อีก ทั้งธนาคารยอมให้โจทก์เรียกผลประโยชน์ในการค้ำประกันจากลูกหนี้ตามสมควร โดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคาร เพื่อประกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของโจทก์ โจทก์ได้นำหลักทรัพย์มูลค่าสิบล้านบาทมาวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารการประกอบกิจการค้าของโจทก์ดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบธุรกิจของโจทก์เอง โดยโจทก์ใช้ทรัพย์สินเป็นการลงทุนวางเป็นประกันต่อธนาคารและในการที่โจทก์เข้าทำสัญญาค้ำประกันลูกหนี้กับธนาคารนั้น แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์ตอบแทน โจทก์ก็เสี่ยงในการที่จะได้รับความเสียหายในฐานะร่วมรับผิดต่อธนาคารในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันเป็นส่วนตัว การประกอบกิจการค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นนายหน้าและตัวแทน ทั้งมิใช่เป็นการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 10แต่เป็นการประกอบธุรกิจการค้าในประเภทการค้า 12 ธนาคารโดยกิจการของโจทก์เข้าลักษณะกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจค้ำประกันไม่เข้าข่ายนายหน้า/ตัวแทน เสียภาษีตามประเภทธุรกิจธนาคาร
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจการค้าหลายประเภทซึ่งรวมทั้งการเข้าทำสัญญาค้ำประกันต่อธนาคาร ในการประกอบธุรกิจในทางค้ำประกันโจทก์ได้ทำสัญญาต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด โดยโจทก์จะรับเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในบรรดาธุรกิจต่างๆ ซึ่งธนาคารจะมอบหมายให้เป็นผู้ค้ำประกันผู้เคยค้าที่จะทำนิติกรรมผูกพันกับธนาคาร ซึ่งในการนี้ธนาคารได้ช่วยค่าใช้จ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนๆ ละไม่น้อยกว่า 5,000 บาททุกเดือน และยังแบ่งผลประโยชน์ที่ธนาคารจะพึงได้รับจากดอกเบี้ยที่โจทก์เข้าค้ำประกันให้อีก ทั้งธนาคารยอมให้โจทก์เรียกผลประโยชน์ในการค้ำประกันจากลูกหนี้ตามสมควร โดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคาร เพื่อประกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของโจทก์ โจทก์ได้นำหลักทรัพย์มูลค่าสิบล้านบาทมาวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารการประกอบกิจการค้าของโจทก์ดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบธุรกิจของโจทก์เองโดยโจทก์ใช้ทรัพย์สินเป็นการลงทุนวางเป็นประกันต่อธนาคารและในการที่โจทก์เข้าทำสัญญาค้ำประกันลูกหนี้กับธนาคารนั้น แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์ตอบแทน โจทก์ก็เสี่ยงในการที่จะได้รับความเสียหายในฐานะร่วมรับผิดต่อธนาคารในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันเป็นส่วนตัว การประกอบกิจการค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นนายหน้าและตัวแทน ทั้งมิใช่เป็นการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 10 แต่เป็นการประกอบธุรกิจการค้าในประเภทการค้า 12 ธนาคาร โดยกิจการของโจทก์เข้าลักษณะกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542-1543/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่รัฐ: การกำหนดความรับผิดชอบในการเก็บรักษาเงิน และความผิดของลูกจ้าง
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นสำนวนเดียวกัน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นสำนวนใหม่ ต่อมาคู่ความฎีกาทั้งสองสำนวน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าคดีทั้งสองสำนวนนี้เกี่ยวพันกัน ย่อมให้รวมการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันได้เพื่อสะดวกแก่การพิจารณา
จำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันทำงานอยู่ที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาลเดียวกัน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คิดราคายา และเขียนราคายาลงในใบสั่งยา จำหน่ายยาให้คนไข้ เมื่อเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่มอบใบเสร็จรับเงินและยาให้แก่คนไข้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลการออกใบเสร็จรับเงินและสำเนาให้ตรงตามใบสั่งยา เมื่อรับเงินค่าจำหน่ายยาแล้ว จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เก็บรักษาไว้เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่การเงิน เวลาจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ ถ้าจำเลยที่ 1 ช่วยเขียนใบเสร็จรับเงินก็ต้องมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 กลับมา จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสำเนาใบเสร็จรับเงินโดยลงจำนวนเงินราคายาน้อยกว่าราคาที่จำหน่ายไปจริง แล้วร่วมกันยักยอกเอาเงินที่เกินกว่าจำนวนในสำเนาใบเสร็จ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะรับสารภาพตามฟ้องว่ากระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังเงินซึ่งมีหน้าที่รักษาไว้ แต่เมื่อรวมการพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน จำเลยที่ 2จึงมีความผิดตามมาตรา 352 เท่านั้นเหมือนกัน
จำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันทำงานอยู่ที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาลเดียวกัน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คิดราคายา และเขียนราคายาลงในใบสั่งยา จำหน่ายยาให้คนไข้ เมื่อเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่มอบใบเสร็จรับเงินและยาให้แก่คนไข้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลการออกใบเสร็จรับเงินและสำเนาให้ตรงตามใบสั่งยา เมื่อรับเงินค่าจำหน่ายยาแล้ว จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เก็บรักษาไว้เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่การเงิน เวลาจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ ถ้าจำเลยที่ 1 ช่วยเขียนใบเสร็จรับเงินก็ต้องมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 กลับมา จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสำเนาใบเสร็จรับเงินโดยลงจำนวนเงินราคายาน้อยกว่าราคาที่จำหน่ายไปจริง แล้วร่วมกันยักยอกเอาเงินที่เกินกว่าจำนวนในสำเนาใบเสร็จ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะรับสารภาพตามฟ้องว่ากระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังเงินซึ่งมีหน้าที่รักษาไว้ แต่เมื่อรวมการพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน จำเลยที่ 2จึงมีความผิดตามมาตรา 352 เท่านั้นเหมือนกัน