คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
รื่น วิไลชนม์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 348 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีอาญาที่เกิดในภาวะกฎอัยการศึก และการพิจารณาคดีโดยศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลพลเรือนขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276, 284, 309 เหตุเกิดในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 และความผิดตามมาตรา 284 นั้น อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามความในข้อ 1 ของประกาศดังกล่าวประกอบกับบัญชีท้ายประกาศ ข้อ (6) อีกทั้งคดีนี้ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่าง แม้การกระทำผิดตามมาตรา 276 และ 309 นั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 แต่ก็อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาด้วยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 36 ลงวันที่ 9 มกราคม 2515 ความผิดทุกข้อหาในคดีนี้จึงมิได้อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีนายหน้า: การหลอกลวงไม่ทำให้จำเลยได้เงินจากโจทก์ ถือเป็นข้อพิพาททางแพ่ง ไม่ใช่ความผิดอาญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นนายหน้าหาคนซื้อที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ร้อยละ 10 โจทก์ชักนำให้จำเลยที่ 2 ไปซื้อ จำเลยที่ 2 พา บ. และ ก. ไปซื้อ โดยโจทก์เป็นผู้จัดการให้จำเลยที่ 2 นำไปซื้อ ต่อมาเมื่อโจทก์สอบถาม จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทุจริตแจ้งข้อความอันเป็นเท็จปกปิดความจริงต่อโจทก์โดยบอกว่ายังไม่ได้ขายที่ดินให้ใคร ซึ่งความจริงได้ขายให้ บ.และก.ไปแล้ว การแจ้งเท็จและปกปิดความจริง ทำให้จำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งค่านายหน้าอันเป็นสิทธิของโจทก์เป็นเงิน 3,500 บาท ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ดังนี้ หากจะฟังว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ตามฟ้องจริง การหลอกลวงเช่นนั้นก็มิได้ทำให้จำเลยได้เงินไปจากโจทก์ซึ่งอ้างว่าถูกหลอกลวงหรือจากบุคคลที่สามแต่อย่างใด เงินที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ไปนั้นเป็นเพียงเงินค่านายหน้าซึ่งโจทก์ถือว่าตนมีสิทธิจะได้ และจำเลยไม่ชำระให้เท่านั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่ง การกระทำของจำเลยไม่มีมูลเป็นความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเกี่ยวกับค่านายหน้าไม่ทำให้เกิดความผิดอาญา หากไม่ได้เงินจากโจทก์โดยตรง คดีเป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นนายหน้าหาคนซื้อที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ร้อยละ 10 โจทก์ชักนำให้จำเลยที่ 2 ไปซื้อ จำเลยที่ 2 พา บ. และ ก. ไปซื้อ โดยโจทก์เป็นผู้จัดการให้จำเลยที่ 2 นำไปซื้อ ต่อมาเมื่อโจทก์สอบถามจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทุจริตแจ้งข้อความอันเป็นเท็จปกปิดความจริงต่อโจทก์ โดยบอกว่ายังไม่ได้ขายที่ดินให้ใคร ซึ่งความจริงได้ขายให้ บ. และ ก. ไปแล้ว การแจ้งเท็จและปกปิดความจริง ทำให้จำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งค่านายหน้าอันเป็นสิทธิของโจทก์เป็นเงิน 3,500 บาท ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ดังนี้ หากจะฟังว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ตามฟ้องจริง การหลอกลวงเช่นนั้นก็มิได้ทำให้จำเลยได้เงินไปจากโจทก์ซึ่งอ้างว่าถูกหลอกลวงหรือจากบุคคลที่สามแต่อย่างใด เงินที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ไปนั้นเป็นเพียงเงินค่านายหน้าซึ่งโจทก์ถือว่าตนมีสิทธิจะได้ และจำเลยไม่ชำระให้เท่านั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่ง การกระทำของจำเลยไม่มีมูลเป็นความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนไม่มีหน้าที่รับผิดในละเมิดที่ลูกจ้างตัวการกระทำ เว้นแต่ทำสัญญาแทนตัวการ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือเดินสมุทรชื่อไตชุนชาน ซึ่งอยู่ต่างประเทศ ให้รับผิดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดแก่โจทก์ เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของกัปตันผู้ควบคุมเรือดังกล่าว ซึ่งเป็นลูกจ้างของเจ้าของเรือ ขณะปฏิบัติหน้าที่ตามทางการที่จ้างระหว่างเข้ามาในประเทศไทย เป็นเหตุให้เรือดังกล่าวนั้นกระแทกเรือของโจทก์แตกและจมเสียหาย ตัวแทนของตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศจะต้องรับผิดตามลำพังตนเองก็แต่เฉพาะกรณีตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของตัวการได้กระทำไปในหน้าที่การงานของตัวการด้วยเลย ไม่ว่าตัวการจะอยู่ต่างประเทศหรือในประเทศ ฉะนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดโดยลำพังตนเองตามที่โจทก์ฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 987/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนของเจ้าของเรือต่างประเทศไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่ลูกจ้างกระทำ หากไม่มีสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือเดินสมุทรชื่อไตชุนชาน ซึ่งอยู่ต่างประเทศ ให้รับผิดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดแก่โจทก์ เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของกัปตันผู้ควบคุมเรือดังกล่าว ซึ่งเป็นลูกจ้างของเจ้าของเรือ ขณะปฏิบัติหน้าที่ตามทางการที่จ้างระหว่างเข้ามาในประเทศไทย เป็นเหตุให้เรือดังกล่าวนั้นกระแทกเรือของโจทก์แตกและจมเสียหาย ตัวแทนของตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศจะต้องรับผิดตามลำพังตนเองก็แต่เฉพาะกรณีตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของตัวการได้กระทำไปในหน้าที่การงานของตัวการด้วยเลย ไม่ว่าตัวการจะอยู่ต่างประเทศหรือในประเทศ ฉะนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดโดยลำพังตนเองตามที่โจทก์ฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 987/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินที่ยึดตามคำพิพากษาและการรบกวนการครอบครอง รวมถึงอำนาจฟ้องในความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์
การยึดถือทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278 นั้นหมายถึงการเข้าควบคุมหรือครอบครองทรัพย์สิน ซึ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดีจะระวังรักษาทรัพย์สินนั้นเสียเองหรือจะตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินนั้นก็ได้
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดอาคารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แล้วทำสัญญามอบหมายให้โจทก์ร่วมเป็นผู้รักษา โดยโจทก์ร่วมให้สัญญาว่าจะรักษาด้วยความระมัดระวังมิให้เสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ และจะไม่เอาออกใช้สอย ถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายจะชดใช้ราคาให้ แล้วโจทก์ร่วมใส่กุญแจห้องล่ามโซ่ใส่กุญแจอาคาร แม้มิได้เข้าไปอยู่ในตัวอาคารก็เป็นการครอบครองรักษาทรัพย์ตามสัญญาแล้ว เมื่อจำเลยเข้าไปรื้อห้องตกแต่งอาคารใหม่ และเปิดทำการค้าในอาคารนั้น จึงเป็นการเข้าไปกระทำการอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งโจทก์ร่วมครอบครองอยู่โดยปกติสุขและทำให้เสียทรัพย์ โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย และมีอำนาจฟ้องฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินที่ยึดและการรบกวนการครอบครองของผู้รับรักษาทรัพย์ ผู้รับรักษาฯ มีอำนาจฟ้องรบกวนและทำให้เสียทรัพย์
การยึดถือทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 278 นั้นหมายถึงการเข้าควบคุมหรือครอบครองทรัพย์สิน ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะระวังรักษาทรัพย์สินนั้นเสียเองหรือจะตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินนั้นก็ได้
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดอาคารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แล้วทำสัญญามอบหมายให้โจทก์ร่วมเป็นผู้รักษา โดยโจทก์ร่วมให้สัญญาว่าจะรักษาด้วยความระมัดระวังมิให้เสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ และจะไม่เอาออกใช้สอย ถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายจะชดใช้ราคาให้ แล้วโจทก์ร่วมใส่กุญแจห้องล่ามโซ่ใส่กุญแจอาคาร แม้มิได้เข้าไปอยู่ในตัวอาคารก็เป็นการครอบครองรักษาทรัพย์ตามสัญญาแล้ว เมื่อจำเลยเข้าไปรื้อห้องตกแต่งอาคารใหม่ และเปิดทำการค้าในอาคารนั้น จึงเป็นการเข้าไปกระทำการอันเป็นการ รบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งโจทก์ร่วมครอบครองอยู่โดยปกติสุขและทำให้เสียทรัพย์โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยและมีอำนาจฟ้องฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า และความแตกต่างระหว่างความผิดตามมาตรา 272 กับ 274
ความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นตามมาตรา 274 ไม่ใช่เป็นความผิดอันยอมความได้ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 96
ถ้าการกระทำผิดของจำเลยยังกระทำสืบเนื่องตลอดมาจนถึงวันที่ผู้เสียหายร้องทุกข์แล้ว คดีย่อมไม่มีทางขาดอายุความ
การกระทำเพียงแต่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น มิได้เอาเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาใช้โดยตรง ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 274 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 272 ด้วย (อ้างฎีกาที่ 782-783/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดเลียนเครื่องหมายการค้า และความผิดตามมาตรา 274 เท่านั้น
ความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นตามมาตรา 274 ไม่ใช่เป็นความผิดอันยอมความได้ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 96
ถ้าการกระทำผิดของจำเลยยังกระทำสืบเนื่องตลอดมาจนถึงวันที่ผู้เสียหายร้องทุกข์แล้ว คดีย่อมไม่มีทางขาดอายุความ
การกระทำเพียงแต่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น มิได้เอาเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาใช้โดยตรง ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 274 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 272 ด้วย (อ้างฎีกาที่ 782-783/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิการรับเงินชดเชยของลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในข้อ 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 คำว่า "ลูกจ้างประจำ" หมายถึงลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้เป็นการประจำ ไม่ว่าค่าจ้างนั้นจะกำหนดเป็นรายเดือนรายสัปดาห์รายวันรายชั่วโมงรายระยะเวลาอย่างอื่นหรือกำหนดตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ โจทก์เป็นช่างเย็บ รับจ้างเย็บกางเกงสตรีอยู่ที่ร้านของจำเลยซึ่งเป็นร้านรับตัดเย็บเสื้อผ้าโจทก์มีเครื่องมือในการเย็บผ้า จำเลยมีจักรเย็บผ้าและผ้าให้เย็บงานมีให้ทำเป็นประจำทุกวัน และโจทก์ได้ค่าจ้างเย็บเป็นรายตัว ซึ่งเป็นค่าจ้างที่กำหนดตามผลงานที่ทำได้ ทั้งจำเลยยังเลี้ยงอาหารโจทก์เป็นประจำอีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์มิได้อยู่กับจำเลยก็ไม่ทำให้เปลี่ยนจากลักษณะของการเป็นลูกจ้างประจำไปได้
จำเลยบอกลดค่าจ้างที่โจทก์เคยได้เป็นปกติ โจทก์ขอร้องให้จ่ายตามอัตราเดิม จำเลยไม่ยอมและกลับพูดว่าถ้าใครไม่ทำก็ให้เก็บของออกไป ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) ข้อ 2 ที่ว่าลดค่าจ้างปกติของลูกจ้างโดยมิได้รับความยินยอมจากลูกจ้างนั้นแล้ว
การที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานจากนายจ้างนั้น มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษในเรื่องอายุความจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
of 35