พบผลลัพธ์ทั้งหมด 348 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำเบิกความจากคดีก่อนเป็นหลักฐานพิสูจน์ความผิดในคดีใหม่ จำเป็นต้องมีการสืบพยานต่อหน้าจำเลย
โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นประจักษ์พยานขณะเกิดเหตุมาเบิกความเพราะตามหาตัวไม่พบ ดังนี้ จะถือเอาคำเบิกความของผู้เสียหายดังกล่าวในคดีเรื่องก่อนมาใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยในคดีนี้หาได้ไม่ เพราะการพิจารณาสืบพยานผู้เสียหายในคดีก่อนไม่ได้กระทำต่อหน้าจำเลยในคดีนี้ ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172ได้บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการติดต่อขอใบอนุญาตลงทุน: จำเลยต้องคืนเงินเมื่อไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาได้
จำเลยทำสัญญารับจะติดต่อทางการให้ออกใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนให้โจทก์จนเป็นผลสำเร็จ โดยโจทก์จะให้ค่าตอบแทนแก่จำเลย 300,000 บาท โจทก์ได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้จำเลยไปแล้ว 100,000 บาท จำเลยได้ออกเช็คพิพาทจำนวนเงิน 100,000 บาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันโดยมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยทำการไม่สำเร็จจะคืนเช็คดังกล่าวให้จำเลย และจำเลยจะต้องคืนเงิน 100,000 บาท ให้โจทก์ ปรากฏว่าขณะโจทก์ยื่นขอรับทุนนั้น ตามเงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนโจทก์จะต้องทำสัญญาและนำเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไปวางเป็นจำนวนเงิน 250,000 บาท ต่อเมื่อได้รับอนุมัติตามคำขอแล้ว แต่ต่อมาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใหม่ และแจ้งตามเงื่อนไขใหม่นี้ให้โจทก์นำเงินหรือสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นมูลค่า 9,000,000 บาท ภายในวันที่กำหนดก่อนได้รับอนุมัติคำขอ ดังนี้จำนวนเงินที่โจทก์ต้องวางสูงกว่าเดิมมาก และภายในเวลาจำกัด ทั้งไม่แน่นอนว่าจะได้รับอนุมัติหรือไม่ การที่โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ของคณะกรรมการที่แจ้งมาดังกล่าว ไม่ใช่ความผิดโดยตรงของโจทก์ ถือว่าจำเลยไม่สามารถติดต่อให้โจทก์ได้มาซึ่งใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนตามสัญญาจำเลยต้องคืนเงิน 100,000 บาท ให้โจทก์ เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้ เมื่อโจทก์นำเช็คพิพาทไปขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยจึงต้องชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างของผู้รับเหมา ไม่ใช่ทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจอายัด
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดสิทธิเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างจำนวน 8ล้านบาท ที่ผู้ร้องมีต่อการเคหะแห่งชาติ เพราะได้สอบสวนแล้วเห็นว่าผู้ล้มละลายเป็นเจ้าหนี้ผู้ร้องโดยเป็นผู้ลงทุนในการก่อสร้างอาคารที่ผู้ร้องเป็นผู้รับจ้างจากการเคหะแห่งชาติ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือยืนยันหนี้จำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องแล้วด้วย ดังนี้ สิทธิเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างจากการเคหะแห่งชาตินี้เป็นของผู้ร้อง หาใช่เป็นสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลายไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันจอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 109 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะอายัดโดยอาศัยอำนาจตาม มาตรา 19 และ 22
ปัญหาที่ว่าผู้ร้องได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างจากการเคหะแห่งชาติให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ผู้ร้องจะมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดได้หรือไม่นั้น ปัญหาข้อนี้ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
ปัญหาที่ว่าผู้ร้องได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างจากการเคหะแห่งชาติให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ผู้ร้องจะมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดได้หรือไม่นั้น ปัญหาข้อนี้ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน ค่าจ้าง และการหักหนี้เบี้ยปรับ: สิทธิของลูกจ้างแม้ของหาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกันซึ่งมีข้อกำหนดตามสัญญาว่าผู้จ้างยอมให้ผู้รับจ้างคิดค่าจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางเป็นจำนวนเงิน 400 บาท นับแต่วันทำสัญญาจนกว่าผู้จ้างจะรับไม้ของกลางคืน หากไม้ของกลางขาดหายหรือเป็นอันตรายไปผู้รับจ้างยอมให้ผู้จ้างปรับไหมเป็นเงินลูกบาศก์เมตรละ200 บาท ดังนี้ ถือได้ว่าผู้จ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยผู้รับจ้างได้เฝ้ารักษาไม้ของกลางให้โจทก์ผู้จ้างแล้วไม้ของกลางหายไปในระหว่างนั้น ซึ่งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าปรับไหมหรือเบี้ยปรับจากจำเลยตามสัญญา และศาลบังคับให้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับตัวเงินไปแทนไม้ของกลางตามสัญญา ทั้งสัญญาไม่มีข้อกำหนดว่า ผู้จ้างจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างในกรณีไม้ของกลางสูญหายไป จำเลยจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากโจทก์ตามสัญญา และขอหักหนี้ค่าจ้างจากเบี้ยปรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน ค่าจ้าง และการหักหนี้เบี้ยปรับ: แม้ของกลางสูญหาย ผู้รับจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้าง
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกันซึ่งมีข้อกำหนดตามสัญญาว่าผู้จ้างยอมให้ผู้รับจ้างคิดค่าจ้างเฝ้ารักษาไม้ ของกลางเป็นจำนวนเงิน 400 บาท นับแต่วันทำสัญญาจนกว่าผู้จ้างจะรับไม้ของกลางคืน หากไม้ของกลางขาดหายหรือเป็นอันตรายไป ผู้รับจ้างยอมให้ผู้จ้างปรับไหมเป็นเงินลูกบาศก์เมตรละ 200 บาท ดังนี้ ถือได้ว่าผู้จ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยผู้รับจ้างได้เฝ้ารักษาไม้ของกลางให้โจทก์ผู้จ้างแล้วไม้ของกลางหายไปในระหว่างนั้นซึ่งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าปรับไหมหรือเบี้ยปรับจากจำเลยตามสัญญา และศาลบังคับให้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับตัวเงินไปแทนไม้ของกลางตามสัญญา ทั้งสัญญาไม่มีข้อกำหนดว่าผู้จ้างจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างในกรณีไม้ของกลางสูญหายไป จำเลยจึงมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างจากโจทก์ตามสัญญา และขอหักหนี้ค่าจ้างจากเบี้ยปรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นซื้อขายในสัญญาเช่า: ผลของการไม่ตอบรับข้อเสนอ
สัญญาเช่ามีข้อความว่า "ผู้ให้เช่าขอให้สัญญาว่า หากผู้เช่าจะซื้อที่ดินแปลงนี้ ผู้ให้เช่าจะขายให้ในราคาที่ดินใกล้เคียงเขาซื้อขายกัน เมื่อผู้เช่ายอมซื้อผู้ให้เช่าจะขายให้ผู้อื่นไม่ได้ จะต้องขายให้ผู้เช่าและจะโอนกรรมสิทธิ์กันได้ทันที" ดังนี้ เป็นคำมั่นในการซื้อขายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 454 วรรคแรก เมื่อผู้ให้เช่าได้บอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบแล้วว่าถ้าประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าวให้แจ้งให้ทราบภายใน 7 วัน แต่ผู้เช่าได้รับหนังสือแล้วไม่ตอบในข้อนั้นอย่างใด คำมั่นในการซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นอันไร้ผลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 454 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่า: การกระทำไม่บรรลุผลจากความบกพร่องของอาวุธปืน (ไม่ใช่ความตั้งใจของผู้กระทำ) และการรวมโทษกระทง
จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งบรรจุกระสุนพร้อมยิงเจ้าพนักงานตำรวจในระยะกระชั้นชิด 3 นัด แต่กระสุนปืนไม่ลั่น มีรอยตำหนิที่จานท้ายกระสุนปืนซึ่งเกิดจากเข็มแทงชนวนของอาวุธปืนกระทบ เช่นนี้ ถือได้ว่า จำเลยกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่า: การใช้อาวุธปืนที่ไม่บรรลุผลจากความบกพร่องของอาวุธ vs. ความไม่สามารถบรรลุผลโดยสิ้นเชิง
จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งบรรจุกระสุนพร้อมยิงเจ้าพนักงานตำรวจในระยะกระชั้นชิด 3 นัด แต่กระสุนปืนไม่ลั่น มีรอยตำหนิที่จานท้ายกระสุนปืนซึ่งเกิดจากเข็มแทงชนวนของอาวุธปืนกระทบ เช่นนี้ ถือได้ว่า จำเลยกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075-2079/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงออกเพื่อเสนอบริการทางเพศในที่สาธารณะเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี
หญิงมีป้ายหมายเลขติดที่อกเสื้อนั่งคอยในห้องกระจกบ้างนั่งในห้องโถงบ้าง ในโรงแรม เพื่อชายเลือกไปร่วมประเวณี เป็นการแสดงออกด้วยกิริยาในที่สาธารณสถาน เป็นการแนะนำตัวตาม พระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่า: การแยกอยู่และทัณฑ์บนที่ไม่เกี่ยวกับความประพฤติ
สามีภริยาอยู่กินกันที่ร้านของภริยา สามีกลับไปอยู่บ้านของสามีไม่ไปอยู่ร่วมกับภริยาดังเดิม ภริยาไม่เป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรง ส่วนภริยาทำทัณฑ์บนว่าจะอยู่ร่วมบ้านกับสามีนั้น ไม่ใช่ทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติจึงไม่เป็นเหตุหย่า