พบผลลัพธ์ทั้งหมด 348 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและผลกระทบต่อการจำหน่ายคดี: การที่โจทก์ขาดนัด แม้มีการยื่นคำร้องขอเลื่อน แต่ไม่ดำเนินการพิจารณา ทำให้ศาลจำหน่ายคดีได้
ในวัดนัดสืบพยาน แม้ทนายโจกท์จะได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาแต่เมื่อศาลสั่งไม่อนุญาต ก็ยังมีการนับสืบพยานอยู่ และแม้ทนายโจทก์จะมาศาลในวันนั้นโดยมายื่นคำรองต่อเจ้าพนักงานศาลขอเลื่อนการพิจารณา แต่ไม่อยู่เพื่อดำเนินกระบวนการพิจารณาก็ต้องถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณาและจำเลยแถลงไม่ติดใจให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งคดีเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 จำเลยจะอ้างว่าต้องถือว่าโจทก์ไม่มีพยานนำสืบและพิพากษายกฟ้องนั้นหาถูกต้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่สมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การไม่ระบุสถานที่เกิดเหตุ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองบังอาจร่วมกันลักเอาเงินสดจำนวน 1,000 บาท ของ ส. ไปโดยทุจริตโดยใช้กุญแจปลอมไขลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินแล้วลักเอาทรัพย์ดังกล่าวไปแต่มิได้ระบุสถานที่เกิดเหตุหรือรายละเอียดที่เกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจได้ว่าถูกกล่าวหาว่าลักทรัพย์ ณ สถานที่แห่งใด ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องลักทรัพย์ที่ไม่ระบุสถานที่เกิดเหตุทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองบังอาจร่วมกันลักเอาเงินสดจำนวน 1,000 บาท ของส.ไปโดยทุจริตโดยใช้กุญแจปลอมไขลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินแล้วลักเอาทรัพย์ดังกล่าวไป แต่มิได้ระบุสถานที่เกิดเหตุหรือรายละเอียดที่เกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุ พอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจได้ว่าถูกกล่าวหาว่าลักทรัพย์ ณ สถานที่แห่งใด ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะสัญญา: สัญญาจ้างแรงงาน vs. สัญญาฝากทรัพย์ และอายุความการฟ้องเรียกค่าปรับ
สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้ระบุชื่อว่า "สัญญาจ้างเฝ้ารักษา" มีข้อกำหนดว่าผู้ว่าจ้าง (โจทก์) ตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้าง(จำเลย) เฝ้ารักษาไม้ของกลางโดยคิดค่าจ้างเฝ้ารักษาเป็นเงิน 4,500 บาท จนกว่าผู้จ้างจะรับไม้ของกลางคืน หากไม้ของกลางสูญหายหรือเป็นอันตราย ผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายลูกบาศก์เมตร ระหว่างนั้นผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือบางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใดๆ ก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบ และทำใบรับไม้ของกลางไว้ ทั้งตามบัญชีรายการไม้ของกลางต่อท้ายสัญญา ก็ระบุว่าไม้ของกลางอยู่ที่ป่าใดด้วย ทำสัญญาแล้วก็ไม่ปรากฏว่าผู้รับจ้างได้ชักลากไม้ของกลางจากป่านั้นไปเก็บรักษาไว้ในความอารักขาของตนเแต่อย่างใด ไม้ยังคงอยู่ที่เดิม พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าอำนาจครอบครองไม้ของกลางยังอยู่แก่ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษาระวังไม่ให้เป็นอันตรายหรือสูญหายไปเท่านั้น สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นสัญญาฝากทรัพย์ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 685/2512)
การฟ้องให้ผู้รับจ้างใช้เบี้ยปรับ เพราะไม้ของกลางดังกล่าวสูญหายไปมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อนับตั้งแต่วันที่ไม้ของกลางหายไปจนถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี จึงหาขาดอายุความไม่
การฟ้องให้ผู้รับจ้างใช้เบี้ยปรับ เพราะไม้ของกลางดังกล่าวสูญหายไปมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อนับตั้งแต่วันที่ไม้ของกลางหายไปจนถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี จึงหาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้: ลักษณะสัญญาและอายุความค่าปรับ
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยระบุชื่อว่า 'สัญญาจ้างเฝ้ารักษา' มีข้อกำหนดว่าผู้จ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางเป็นเงิน 3,200 บาทจนกว่าผู้จ้างจะรับไม้ของกลางคืน หากไม้ของกลางสูญหายหรือเป็นอันตรายผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายลูกบาศก์เมตร ระหว่างนั้นผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือบางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใด ๆก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ของกลางไว้ ดังนี้การครอบครองไม้ของกลางยังคงอยู่แก่ผู้จ้าง ผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษาระวังมิให้ไม้ของกลางเป็นอันตรายเท่านั้น เป็นสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่สัญญาฝากทรัพย์ไม่ สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงานมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในประเด็นการเป็นทายาทและสิทธิในที่ดินหลังศาลตัดสินถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อน โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นบุตรและทายาทโดยธรรมของ ฟ. ขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโดยทางรับมรดก ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว ว่าโจทก์มิใช่บุตรของ ฟ. ไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นบุตรและทายาทโดยธรรมของ ฟ. และเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนี้โดยทางรับมรดกอีก เป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้ำ
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8 /2519)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8 /2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ตามสัญญาส่งมอบทรัพย์สินก่อนล้มละลาย เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้โดยเสมอภาค
การที่บริษัทจำเลยซึ่งมีเจ้าหนี้อยู่ทั้งหมดประมาณ 40 ราย และมีฐานะการเงินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้เฉพาะ 8-9 ราย ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้ 8-9 ราย ภายในระยะเวลา 3 เดือนก่อนถูกฟ้องล้มละลายนั้น การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำที่มุ่งหมายให้เจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่น เป็นการฝ่าฝืนเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 ที่ประสงค์จะให้เจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้โดยเสมอภาคทั่วหน้ากัน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยผู้ล้มละลายจึงขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ตาม มาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ก่อนล้มละลายเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้โดยเสมอภาค
ก่อนถูกฟ้องให้ล้มละลาย จำเลยมีหนี้สิน 100 ล้านบาทเศษ และมีเจ้าหนี้ 40 กว่าราย ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งได้ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยได้ชำระหนี้ให้ผู้คัดค้านในวันทำสัญญา 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่ยังค้างชำระอยู่จะชำระให้เสร็จภายใน 10 ปี และจะเริ่มชำระครั้งแรกในปีที่ 5 เป็นต้นไปจนกว่าจะหมด หลังจากนั้นผู้คัดค้านได้ถอนฟ้องคดี อันเป็นการกระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยให้เป็นบุคคลล้มละลาย ในคราวเดียวกันนั้น มีเจ้าหนี้อื่นอีก 7 - 8 ราย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความทำนองเดียวกันนั้นกับจำเลยด้วย ขณะนั้นจำเลยมีฐานะการเงินไม่ดี โดยมีฐานะการเงินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้เฉพาะเท่าที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยเท่านั้น ดังนี้ การที่จำเลยชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านไปดังกล่าวย่อมทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่นซึ่งมิได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งประสงค์ให้เจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้โดยเสมอภาคทั่วหน้ากัน เจ้าพนักงานพิทักษ์จึงขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ เอาเงินที่ได้ชำระไปกลับคืนมาเข้ากองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายได้ ตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการรับของโจร: การช่วยเหลือตามคำขอ ไม่ถือเป็นเจตนาทุจริต
มีคนร้ายลักทรัพย์ของโรงเรียนอยู่ในความครอบครองของครูใหญ่ไป ครูใหญ่ให้จำเลยช่วยสืบหาและไถ่ทรัพย์ของกลางคืน จำเลยก็ไปไถ่มาให้ ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิด จึงไม่มีความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการไถ่ทรัพย์คืน ไม่ถือเป็นความผิดฐานรับของโจร
การที่ผู้เสียหายให้จำเลยไปช่วยสืบหาและไถ่ทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักเอาไปจำเลยจึงไปไถ่ทรัพย์ดังกล่าวคืนมาให้ เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิด จำเลยไม่มีความผิดฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357