พบผลลัพธ์ทั้งหมด 348 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับจ้างลากจูงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในสภาพกระแสน้ำเชี่ยว หากเกิดความเสียหายจากการชนเนื่องจากความประมาทเลินเล่อ ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
จำเลยรับจ้างลากจูงแพไม้ของโจทก์แล้วแพไม้แตกเพราะชนเสาสะพานขณะลากจูงไป มิใช่ถูกกระแสน้ำพัดขาดลอยแตกไปจำเลยทราบดีว่ากระแสน้ำไหลเชี่ยวจึงมีหน้าที่ต้องระมัดระวังอย่างดีในการลากจูง เมื่อแพไม้ชนเสาสะพานแตกจึงเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าขาดผลกำไรจากจำเลยค่าเสียหายของโจทก์จึงต้องคิดตามราคาไม้ที่โจทก์ซื้อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมต่างกันของการมีและสูบกัญชา
ตามฟ้องโจทก์บรรยายแยกกันมาว่า จำเลยมีกัญชากระทงหนึ่งและสูบกัญชาอีกกระทงหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพจึงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ – สิทธิครอบครอง – การจัดสรรนิคม – การครอบครองก่อนกฎหมายหวงห้าม
ที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ภายในแนวเขตของการจัดสรรนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 246 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 ดังนี้ ที่พิพาทเป็นที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลพรหมพิราม ตำบลหนองแขม ตำบลมะต้อง ตำบลวงฆ้อง ตำบลหอกลอง ตำบลวัดโบสถ์ และตำบลท่างาม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2487 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญํติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ที่พิพาทคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตลอดมาจนบัดนี้ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 นั้น ที่พิพาทย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์ครอบครองที่พิพาทมาประมาณ 14 - 15 ปี แต่ก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่ที่พิพาทตกเป็นที่หวงห้ามตามกฎหมายแล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ การครอบครองที่พิพาทของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสี่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำกินในที่พิพาทโดยเจ้าหน้าที่ของนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้จัดให้เช่นนี้ จำเลยทั้งสี่ย่อมมีสิทธิครอบครองที่พิพาท การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ: สิทธิครอบครองของผู้ได้รับอนุญาตจากนิคมฯ เหนือกว่าการครอบครองโดยมิชอบ
ที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ภายในแนวเขตของการจัดสรรนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 246 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 ดังนี้ ที่พิพาทเป็นที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลพรหมพิราม ตำบลหนองแขม ตำบลมะต้องตำบลวงฆ้องตำบลหอกลอง ตำบลวัดโบสถ์ และตำบลท่างาม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2487 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ที่พิพาทคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตลอดมาจนบัดนี้ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้นที่พิพาทย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์ครอบครองที่พิพาทมาประมาณ 14-15 ปี แต่ก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่ที่พิพาทตกเป็นที่หวงห้ามตามกฎหมายแล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ การครอบครองที่พิพาทของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยทั้งสี่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำกินในที่พิพาทโดยเจ้าหน้าที่ของนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้จัดให้เช่นนี้ จำเลยทั้งสี่ย่อมมีสิทธิครอบครองที่พิพาท การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในเหตุฉุกเฉิน: คำสั่งศาลชั้นต้น/อุทธรณ์เป็นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอหรือยกเลิกคำสั่งคุ้มครองในเหตุฉุกเฉินแล้วไม่ว่าคำสั่งเช่นนี้จะเป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ก็ตาม คำสั่งเช่นนี้ให้เป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลยกเลิกคุ้มครองชั่วคราวในเหตุฉุกเฉินถือเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 คำสั่งศาลที่ให้ยกคำขอหรือยกเลิกคำสั่งคุ้มครองในเหตุฉุกเฉินนั้น ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ก็ตามย่อมเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความคุ้มครองประกันภัย กรณีเกิดจากความประมาทเลินเล่อและการตีความเงื่อนไขกรมธรรม์
คนงานของโจทก์จุดไฟหม้อน้ำตามปกติ แต่ไม่ได้ตรวจดูสายน้ำมันซึ่งเก่าหลวม น้ำมันไหลออกมากจนระเบิดขึ้นเพราะไฟลุกไหม้ เป็นประมาทเลินเล่อแต่ไม่ถึงกับร้ายแรงลิ้นหม้อน้ำเปิดไม่ทันเพราะความร้อนมากก็ไม่ใช่ความไม่สมประกอบของวัตถุที่เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดในความเสียหายแม้เกิดจากการระเบิด ซึ่งเป็นผลจากไฟนั้นเอง แต่เฉพาะความเสียหายต่อวัตถุที่ประกันภัยซึ่งไม่รวมถึงอาคารและสต๊อกสินค้า ไม่รวมถึงวัตถุดิบข้อกำหนดในกรมธรรม์ให้ฟ้องใน 3 เดือน ขัดต่อ มาตรา191,882 บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและอำนาจฟ้อง รวมถึงความรับผิดทางละเมิดของนายจ้าง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่า จำเลยให้การว่าหลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแล้วจำเลยได้ตั้งตัวแทนไปตกลงกับโจทก์ โจทก์ตกลงจะให้ค่าขนย้ายแก่จำเลย 10,000 บาท และยินยอมให้จำเลยอยู่ในที่เช่าอีก 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญา โดยได้ทำบันทึกลงชื่อกันไว้ แล้วนัดไปทำสัญญากันที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 16 มกราคม 2517 แต่โจทก์บิดพลิ้วไม่ไปทำสัญญาตามกำหนดนัด ดังนี้ หากเป็นความจริงก็แสดงว่าโจทก์จำเลยเจตนาจะให้สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดขึ้นเมื่อได้ทำสัญญาแล้ว เมื่อสัญญายังมิได้ทำขึ้นย่อมถือไม่ได้ว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2 จำเลยจึงหามีสิทธิอยู่ในที่เช่าต่อไปอีกไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อตกลงซึ่งทำเป็นบันทึกลงชื่อโจทก์และตัวแทนจำเลยเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งผูกพันโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจนกว่าจะปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไป แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการขอให้สืบพยานต่อไปในเรื่องค่าขนย้ายอันเป็นประเด็นตามฟ้องแย้ง ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งไม่รับและยุติไปแล้วจึงอุทธรณ์ไม่ได้ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งจำเลยอาจอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีกก็ได้
จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อตกลงซึ่งทำเป็นบันทึกลงชื่อโจทก์และตัวแทนจำเลยเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งผูกพันโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจนกว่าจะปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไป แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการขอให้สืบพยานต่อไปในเรื่องค่าขนย้ายอันเป็นประเด็นตามฟ้องแย้ง ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งไม่รับและยุติไปแล้วจึงอุทธรณ์ไม่ได้ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งจำเลยอาจอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีกก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องทำเป็นสัญญาเพื่อให้มีผลผูกพัน มิใช่แค่บันทึกตกลงเบื้องต้น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าจำเลยให้การว่าหลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแล้วจำเลยได้ตั้งตัวแทนไปตกลงกับโจทก์ โจทก์ตกลงจะให้ค่าขนย้ายแก่จำเลย 10,000 บาท และยินยอมให้จำเลยอยู่ในที่เช่าอีก 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญา โดยได้ทำบันทึกลงชื่อกันไว้แล้วนัดไปทำสัญญากันที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 16 มกราคม 2517 แต่โจทก์บิดพลิ้วไม่ไปทำสัญญาตามกำหนดนัด ดังนี้ หากเป็นความจริงก็แสดงว่าโจทก์จำเลยเจตนาจะให้สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดขึ้นเมื่อได้ทำสัญญาแล้ว เมื่อสัญญายังมิได้ทำขึ้นย่อมถือไม่ได้ว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง จำเลยจึงหามีสิทธิอยู่ในที่เช่าต่อไปอีกไม่ จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อตกลงซึ่งทำเป็นบันทึกลงชื่อโจทก์และตัวแทนจำเลยเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งผูกพันโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจนกว่าจะปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไป แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการขอให้สืบพยานต่อไปในเรื่องค่าขนย้ายอันเป็นประเด็นตามฟ้องแย้ง ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งไม่รับและยุติไปแล้วจึงอุทธรณ์ไม่ได้ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งจำเลยอาจอุทธรณ์ได้ศาลฎีกาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีกก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่มีหลักฐาน การขับไล่ผู้เช่า และข้อยกเว้นการบอกเลิกสัญญา
เช่าบ้านไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ให้เช่าขับไล่ผู้เช่าได้โดยไม่ต้องบอกเลิกตาม มาตรา 566 ซึ่งใช้ในกรณีมีหนังสือเช่าเป็นหลักฐานใบเสร็จรับเงินค่าเช่าเป็นหลักฐานการเช่าได้หรือไม่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มิใช่จะยกขึ้นอ้างเมื่อใดก็ได้