คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมคิด มงคลชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานมีและขายยาเสพติดเป็นความผิดต่างกรรมกัน แม้จะใช้ยาเสพติดจำนวนเดียวกัน
ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้เพื่อขายกระทงหนึ่งและฐานขายเฮโรอีนอีกกระทงหนึ่ง แม้เฮโรอีนที่ขายไปจะเป็นจำนวนเดียวกันกับที่จำเลยมีไว้เพื่อขาย ก็เป็นความผิดต่างกรรมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์สินจากการบังคับคดี: กำหนดเวลาและข้อยกเว้นตามมาตรา 290 วรรคสี่
จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย และในวันที่ 20 มิถุนายน 2518 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลอายัดเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน 52,600 บาท ซึ่งจะได้รับจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ศาลชั้นต้นออกหมายอายัดในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องและสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินต่อศาลภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งวันที่ 3 กรกฎาคม 2518 ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงิน 52,600 บาทมาให้ตามหมายอายัด หนังสือนำส่งเงินมาถึงศาลชั้นต้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2518 ต่อมาวันที่ 14 กรกฎาคม 2518 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงิน 52,600 บาท ดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินที่พิพาทหลังจากวันที่ศาลชั้นต้นได้รับเงินไว้แล้วถึง 9 หรือ 10 วัน ล่วงพ้นกำหนดเวลาตามความในตอนต้นของมาตรา 290 วรรคสี่ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว
การที่ผู้ร้องเพิ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2518 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ ศาลชั้นต้นได้รับเงินที่อายัดไว้แล้วนั้นย่อมถือไม่ได้ว่าเป็น "กรณีใด" ดังที่บัญญัติไว้ตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่ ตรงกันข้ามกลับจะแสดงว่าในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งให้อายัดเงินที่พิพาทก็ดี หรือวันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินมาให้ศาลก็ดี ผู้ร้องยังหาได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำขอเฉลี่ยเงินจำนวนพิพาทไม่ คำว่า "กรณีใด ๆ " ในตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่นั้นเป็นเพียงข้อยกเว้นของตอนต้นเท่านั้น เมื่อกรณีใดต้องด้วยข้อความในตอนต้นโดยตรงแล้ว ก็ย่อมจะนำข้อยกเว้นมาใช้แก่กรณีนั้นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์สินจากการบังคับคดี: ผู้ร้องต้องยื่นคำขอภายในกำหนดตามกฎหมาย แม้เป็นเจ้าหนี้รายใหม่
จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย และในวันที่ 20 มิถุนายน2518 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลอายัดเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน 52,600 บาท ซึ่งจะได้รับจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ศาลชั้นต้นออกหมายอายัดในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องและสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินต่อศาลภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งวันที่ 3 กรกฎาคม 2518 ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงิน 52,600 บาทมาให้ตามหมายอายัด หนังสือนำส่งเงินมาถึงศาลชั้นต้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2518 ต่อมาวันที่ 14 กรกฎาคม 2518 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงิน 52,600 บาท ดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินที่พิพาทหลังจากวันที่ศาลชั้นต้นได้รับเงินไว้แล้วถึง 9 หรือ 10 วันล่วงพ้นกำหนดเวลาตามความในตอนต้นของมาตรา 290 วรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว
การที่ผู้ร้องเพิ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2518 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ศาลชั้นต้นได้รับเงินที่อายัดไว้แล้ว นั้นย่อมถือไม่ได้ว่าเป็น " กรณีใด" ดังที่บัญญัติไว้ในตอนท้ายของมาตรา 290วรรคสี่ ตรงกันข้ามกลับจะแสดงว่าในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งให้อายัดเงินที่พิพาทก็ดี หรือวันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินมาให้ศาลก็ดี ผู้ร้องยังหาได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำขอเฉลี่ยเงินจำนวนพิพาทไม่ คำว่า"กรณีใดๆ" ในตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่นั้นเป็นเพียงข้อยกเว้นของตอนต้นเท่านั้น เมื่อกรณีใดต้องด้วยข้อความในตอนต้นโดยตรงแล้ว ก็ย่อมจะนำข้อยกเว้นมาใช้แก่กรณีนั้นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างที่กระทำตามหน้าที่ในทางการที่จ้าง
การที่ลูกจ้างผู้มีหน้าที่ซ่อมรถยนต์ได้นำรถยนต์ของนายจ้างออกขับทดลองเครื่อง เป็นการกระทำในทางการที่จ้าง เมื่อเกิดการละเมิดขึ้น นายจ้างก็ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของลูกจ้างที่กระทำในทางการที่จ้าง แม้เป็นการทดลองรถหลังซ่อม
การที่ลูกจ้างผู้มีหน้าที่ซ่อมรถยนต์ได้นำรถยนต์ของนายจ้างออกขับทดลองเครื่อง เป็นการกระทำในทางการที่จ้าง เมื่อเกิดการละเมิดขึ้น นายจ้างก็ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งกระละเมิดนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่ออายุสัญญาเช่านาตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 และความผิดฐานบุกรุก
ขณะที่พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มีผลใช้บังคับ คือวันที่ 18 ธันวาคม 2517 ผู้เสียหายเช่ายังเช่านาพิพาทอยู่ และเป็นการเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา หรือมีกำหนดเวลาแต่ต่ำกว่า 6 ปี กำหนดการเช่านาที่ทำไว้เดิมนั้นก็ต้องยืดออกไปอีก 6 ปี โดยผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องแสดงเจตนาจะเช่านาต่อไป และต้องไปตกลงกันใหม่กับจำเลยเจ้าของนาอีก เว้นแต่ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะเช่านาต่อไปตามมาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาและแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน: คำสั่งศาลชั้นอุทธรณ์ให้ดำเนินคดีแพ่งต่อย่อมถึงที่สุดในส่วนอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา และมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ประทับฟ้องโจทก์รวมทั้งคดีส่วนแพ่งไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ดังนี้ คำสั่งศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาในส่วนอาญา แต่มีสิทธิฎีกาสำหรับคดีส่วนแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการบุกรุกที่ดิน: การครอบครองต่อเนื่องแม้มีข้อพิพาท ไม่ถือเป็นการบุกรุกใหม่
จำเลยฟ้องคดีแพ่งว่า ม.บุกรุกที่ดินของจำเลย ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แต่ม.แย่งการครอบครองไปแล้ว คงเป็นของจำเลย 15 ไร่ ระหว่างฎีกาจำเลยจ้างคนเข้าหยอดปอในที่ดินส่วนที่ศาลพิพากษาว่าเป็นของม. และพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยข้อหาบุกรุก ศาลพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าที่ดินที่กล่าวหายังพิพาทเป็นคดีแพ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ฟังไม่ได้ว่าใครเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิโดยแน่แท้ ยังไม่มีมูลความผิดทางอาญาคดีถึงที่สุด ต่อมาเมื่อคดีแพ่งยุติลงว่าที่ดินเป็นของจำเลย 15 ไร่แล้ว จำเลยได้จ้างคนเข้าไถที่ดินที่เป็นส่วนของม.อีก ดังนี้ จำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทตั้งแต่เข้าหยอดปอ ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องฐานบุกรุกไปแล้ว เป็นเรื่องที่จำเลยยังไม่ยอมสละการครอบครอง มิใช่เข้าไปไถที่พิพาทเป็นการแย่งการครอบครองใหม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการแย่งการครอบครอง: การเข้าครอบครองโดยเชื่อว่าเป็นเจ้าของ ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยฟ้องคดีแพ่งว่า ม.บุกรุกที่ดินของจำเลย ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แต่ ม. แย่งการครอบครองไปแล้ว คงเป็นของจำเลย 15 ไร่ ระหว่างฎีกาจำเลยจ้างคนเข้าหยอดปอในที่ดินส่วนที่ศาลพิพากษาว่าเป็นของ ม. และพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลย ข้อหาบุกรุก ศาลพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าที่ดินที่กล่าวหายังพิพาทเป็นคดีแพ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ฟังไม่ได้ว่าใครเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิโดยแน่แท้ ยังไม่มีมูลความผิดทางอาญาคดีถึงที่สุด ต่อมาเมื่อคดีแพ่งยุติลงว่าที่ดินเป็นของจำเลย 15 ไร่แล้ว จำเลยได้จ้างคนเข้ารื้อที่ดินเป็นส่วนของ ม. อีก ดังนี้ จำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทตั้งแต่เข้าหยอดปอ ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องฐานบุกรุกไปแล้ว เป็นเรื่องที่จำเลยยังไม่ยอมสละการครอบครอง มิใช่เข้าไปไถ่ที่พิพาทเป็นการแย่งการครอบครองใหม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน และการนับโทษจำเลย
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวไม่ปรากฏว่าจำเลยอื่นมีหรือใช้อาวุธปืนด้วยจำเลยอื่นจึงไม่มีความผิดฐานทำการปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามมาตรา 340ตรีที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่21พฤศจิกายนพ.ศ.2514 ข้อ15 ด้วยและเป็นเหตุในลักษณะคดีศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์
และเมื่อปรากฏจากฎีกาของโจทก์ว่า คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยที่ 1,2 ต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำที่ 546/2518 นั้น จำเลยที่ 1,2 ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแล้วปรากฏตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 764/2518 ของศาลชั้นต้นศาลฎีกาให้นับโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่อกันได้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์
of 49