พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: ความรับผิดของจำเลยแต่ละคน และการนับโทษรวม
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวไม่ปรากฏว่าจำเลยอื่นมีหรือใช้อาวุธปืนด้วย จำเลยอื่นจึงไม่มีความผิดฐานทำการปล้นทรัพย์ โดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามมาตรา 340 ตรี ที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ข้อ 15 ด้วย และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์
และเมื่อปรากฏจากฎีกาของโจทก์ว่า คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยที่ 1,2 ต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำที่ 546/2518 นั้น จำเลยที่ 1,2 ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแล้ว ปรากฏตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 764/2518 ของศาลชั้นต้น ศาลฎีกาให้นับโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่อกันได้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์
และเมื่อปรากฏจากฎีกาของโจทก์ว่า คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยที่ 1,2 ต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำที่ 546/2518 นั้น จำเลยที่ 1,2 ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแล้ว ปรากฏตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 764/2518 ของศาลชั้นต้น ศาลฎีกาให้นับโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่อกันได้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจที่รับรองโดยโนตารีมีน้ำหนักเบื้องต้น, การพิสูจน์อำนาจลงนาม, ความรับผิดของนิติบุคคล
โนตารี่ปับลิคเป็นพนักงานของรัฐต่างประเทศ มีอำนาจตามกฎหมายในการรับรองการกระทำ คือหนังสือมอบอำนาจ ไม่เพียงแต่รับรองการมีอยู่และลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจต่อหน้าตนเท่านั้น จึงฟังได้ในเบื้องต้นว่าเอกสารที่โนตารี่ปับลิครับรองเป็นเอกสารที่ทำขึ้นถูกต้องตามกฎหมายของรัฐนั้น ส่วนใครบ้างจะลงลายมือชื่อแทนบริษัทได้เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องนำสืบ เมื่อจำเลยโต้แย้งหนังสือมอบอำนาจ แต่ไม่นำสืบ จึงฟังตามหนังสือมอบอำนาจได้
ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดนิติบุคคลทำผิด และลงโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274,275 ได้
ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดนิติบุคคลทำผิด และลงโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274,275 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอพิจารณาคดีใหม่ กรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณา และศาลพิพากษาให้แพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้มีการพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ได้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 205(3) ซึ่งเป็นเรื่องคู่ความที่ขาดนัดมาศาลภายหลังที่ได้เริ่มต้นสืบพยานไปบ้างแล้วในระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียว และศาลเห็นว่าการขาดนัดเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอขอเป็นผู้จัดการมรดกเพิ่มเติมหลังศาลกำหนดประเด็นแล้ว ถือเป็นการไม่ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทำให้ฎีกาต้องห้าม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านและขอเป็นผู้จัดการมรดกเองหรือเป็นร่วมกับผู้ร้อง แล้วผู้คัดค้านได้ขอถอนคำร้องคัดค้านนั้นโดยอ้างว่าจะไปยื่นคำร้องใหม่ เมื่อศาลอนุญาตแล้ว คำร้องคัดค้านดังกล่าวก็หมดไป ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเข้ามาใหม่ว่าผู้ร้องไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็นไว้เพียงว่า ผู้ร้องสมควรเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ผู้คัดค้านมิได้คัดค้านอย่างใด จนเมื่อสืบพยานผู้ร้องไปหมดแล้ว ผู้คัดค้านจึงยื่นคำร้องคัดค้านเพิ่มเติมของเป็นผู้จัดการมรดกด้วย ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต แล้วพิพากษาตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า การที่ศาลชั้นต้นไม่ตั้งประเด็นว่าผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่นั้นไม่ชอบผู้คัดค้านมีพยานหลักฐานแสดงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ร้องกับผู้ตาย ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนี้ด้วย และให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ศาลอุทธรณ์สั่งยกอุทธรณ์โดยเหตุที่ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอเพิ่มเติมคำคัดค้านของจำเลย หรืออุทธรณ์คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ปัญหาที่ผู้คัดค้านขอร่วมเป็นผู้จัดการมรดกมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ผู้คัดค้านฎีกาต่อมาจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้และยกฎีกาเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การยกประเด็นใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยถูกยกขึ้นในศาลล่าง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านและขอเป็นผู้จัดการมรดกเองหรือเป็นร่วมกับผู้ร้องแล้วผู้คัดค้านได้ขอถอนคำร้องคัดค้านนั้นโดยอ้างว่าจะไปยื่นคำร้องใหม่ เมื่อศาลอนุญาตแล้ว คำร้องคัดค้านดังกล่าวก็หมดไปต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาใหม่ว่าผู้ร้องไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็นไว้เพียงว่า ผู้ร้องสมควรเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ผู้คัดค้านมิได้คัดค้านอย่างใด จนเมื่อสืบพยานผู้ร้องไปหมดแล้วผู้คัดค้านจึงยื่นคำร้องคัดค้านเพิ่มเติมขอเป็นผู้จัดการมรดกด้วย ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต แล้วพิพากษาตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า การที่ศาลชั้นต้นไม่ตั้งประเด็นว่าผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่นั้นไม่ชอบ ผู้คัดค้านมีพยานหลักฐานแสดงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ร้องกับผู้ตาย ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนี้ด้วย และให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องศาลอุทธรณ์สั่งยกอุทธรณ์โดยเหตุที่ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอเพิ่มเติมคำคัดค้านของจำเลย หรืออุทธรณ์คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้ปัญหาที่ผู้คัดค้านขอร่วมเป็นผู้จัดการมรดกมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ผู้คัดค้านฎีกาต่อมาจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้และยกฎีกาเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: เงินผลประโยชน์จากการปลดลูกจ้างเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ได้ให้คำจำกัดความของ"ค่าชดเชย" ไว้ว่า หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่นายจ้าง เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทโจทก์มีว่า บริษัทโจทก์จะจ่ายเงินผลประโยชน์ในการปลดลูกจ้างเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าค่าชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งตามข้อบังคับดังกล่าวแสดงเจตนาไว้ว่า บริษัทโจทก์ประกาศข้อบังคับนี้ก็เพราะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อความตามข้อบังคับนี้จึงแสดงถึงความเอื้อเฟื้อของบริษัทโจทก์ที่สัญญาว่าจะจ่ายเงินค่าชดเชยในการปลดลูกจ้างออกจากงานให้เป็นจำนวนมากกว่าที่ทางราชการกำหนดไว้ ดังนั้น เงินผลประโยชน์ในการปลดที่บริษัทโจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าว จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง อันเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ไม่อาจแปลได้ว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
นับเกี่ยวกับฎีกา 1444/2519 (ประชุมครั้งที่ 17/2519)
นับเกี่ยวกับฎีกา 1444/2519 (ประชุมครั้งที่ 17/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน: เงินผลประโยชน์ในการปลดลูกจ้างตามข้อบังคับบริษัท เข้าข่ายเป็นค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ได้ให้คำจำกัดความของ 'ค่าชดเชย' ไว้ว่า หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทโจทก์มีว่า บริษัทโจทก์จะจ่ายเงินผลประโยชน์ในการปลดลูกจ้างเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าค่าชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยทั้งตามข้อบังคับดังกล่าวแสดงเจตนาไว้ว่า บริษัทโจทก์ประกาศข้อบังคับนี้ก็เพราะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อความตามข้อบังคับนี้จึงแสดงถึงความเอื้อเฟื้อของบริษัทโจทก์ที่สัญญาว่าจะจ่ายเงินค่าชดเชยในการปลดลูกจ้างออกจากงานให้เป็นจำนวนมากกว่าที่ทางราชการกำหนดไว้ดังนั้น เงินผลประโยชน์ในการปลดที่บริษัทโจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าว จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างอันเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ไม่อาจแปลได้ว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การตีความข้อความและขอบเขตความเสียหายต่อชื่อเสียง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใส่ความ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์รายวันว่า 'ชาวบ้านที่ไปติดต่อแผนกที่ดิน จังหวัดนครสวรรค์ ร้องกันอู้จู่ๆถูกสาวก้นแฉะทรงศรีใช้วจีไม่ค่อยรื่นหูเจตน์ สุวรรณ ที่ดินจังหวัดคนตงฉินได้ยินแล้วอบรมซะบ้าง' เป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้นางสาวทรงศรีโจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง ว่าเป็นคนประพฤติไม่ดี ชอบร่วมประเวณีกับชายทั่วๆ ไปเป็นประจำไม่เลือกหน้า และได้จำหน่ายจ่ายแจกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวไปทั่วทุกจังหวัดดังนี้เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายและอธิบายความหมายของข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ทั้งได้บรรยายให้เห็นว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ไปนั้น ได้แพร่หลายไปยังบุคคลที่สามอีกเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง ถือได้ว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ไปนั้นเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม จึงไม่จำต้องแปลข้อความให้เห็นเป็นอย่างอื่นนอกเหนือที่จำเลยรับสารภาพ จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยการลงข้อความในหนังสือพิมพ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อความดังกล่าวทำให้เสียชื่อเสียง จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใส่ความ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์รายวันว่า "ชาวบ้านที่ติดต่อแผนกที่ดิน จ.นครสวรรค์ ร้องกันอู้ จู่ ๆ ถูกสาวก้นแฉะ ทรงศรี ใช้วจีไม่ค่อยรื่นหู เจตน์ สุวรรณ ที่ดินจังหวัดคนตงฉินได้ยินแล้วอบรมซะบ้าง" เป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้นางสาวทรงศรีโจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง ว่าเป็นคนประพฤติไม่ดี ชอบร่วมประเวณีกับชายทั่ว ๆ ไปเป็นประจำไม่เลือกหน้า และได้จำหน่ายจ่ายแจกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวไปทั่วทุกจังหวัด ดังนี้เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายและอธิบายความหมายของข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ทั้งได้บรรยายให้เห็นว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ไปนั้น ได้แพร่หลายไปยังบุคคลที่สามอีก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง ถือได้ว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ไปนั้นเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม จึงไม่จำต้องแปลข้อความให้เห็นเป็นอย่างอื่นนอกเหนือที่จำเลยรับสารภาพ จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทติดกัน เจ้าของร่วมตามสันนิษฐานกฎหมาย หากต่างฝ่ายไม่พิสูจน์การครอบครอง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง ปรากฏว่าที่พิพาทตามแผนที่วิวาทเป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่บนคันนาด้านเหนือหมายอักษร ก. มีหลักไม้แก่นปักอยู่เป็นจุดรวม ในชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยท้าดื่มน้ำสาบานกันว่าแต่ละฝ่ายปั้นคันนาพิพาทขึ้นก่อน เมื่อดื่มน้ำสาบานกันตามคำท้าแล้ว จึงขอให้ศาลชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใด ประเด็นเดียว โดยต่างไม่สืบพยานกันและแถลงรับกันว่าที่พิพาทอยู่บนคันนาซึ่งเป็นเขตที่ดินของที่ดินโจทก์จำเลยที่อยู่ติดต่อกัน และต่างฝ่ายต่างถือว่าเป็นเขตของตน ดังนี้ เมื่อที่พิพาทเป็นคันนากั้นเขตที่ดินของโจทก์จำเลยติดต่อกัน และต่างไม่นำสืบพยานว่าใครเป็นฝ่ายครอบครองก็ต้องถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันตามข้อสันนิษฐานของ ป.พ.พ.มาตรา 1344 และศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทคนละครึ่งโดยลากเส้นจากหมายอักษร ก.มายังจุดแบ่งครึ่งด้านทิศใต้และให้ด้านที่ติดต่อกับที่ดินของฝ่ายใดเป็นของฝ่ายนั้น