คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมคิด มงคลชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด: ศาลมีอำนาจพิพากษาตามจำนวนหนี้จริงได้ แม้ต่างจากที่ฟ้อง
จำเลยตกลงจ้างโจทก์ขนส่งมันสำปะหลังจากไร่เข้าสู่โรงงาน มีบัญชีต่อกันไว้และมีการตัดทอนบัญชีอันเกิดแต่กิจการระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกัน และชำระส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาคนับเป็นบัญชีเดินสะพัด อายุความมีกำหนด10 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามบัญชีหนี้สินที่จดลงบัญชีกันไว้เป็นเงิน 33,494 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ 31,767 บาท จำเลยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่ามีจำนวนเงินที่เป็นหนี้กันอยู่จริงเพียง29,030 บาท ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับตามจำนวนที่เป็นหนี้แท้จริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์ให้มูลนิธิยังไม่จดทะเบียน: พินัยกรรมไม่ไร้ผล ผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการให้มูลนิธิจดทะเบียน
ในขณะที่ ค. เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิ จ. และต่อมาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทถวายเป็นมูลนิธิ จ. ปรากฏว่าขณะที่ ค. ถึงแก่กรรม มูลนิธิ จ. ยังมิได้ก่อตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แต่กำลังดำเนินการอยู่ ดังนี้ ถือได้ว่า ค. ทำพินัยกรรมสั่งจัดสรรที่ดินพิพาทเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ จ. ไว้แล้ว เพียงแต่มูลนิธิยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจึงได้รับโอนที่ดินตามพินัยกรรมทางทะเบียนไม่ได้เท่านั้น แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. จะต้องดำเนินการให้มีผลทางกฎหมายในการรับโอนที่ดินไปตามเจตนาของ ค. เหตุที่มูลนิธิ จ. ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจนถึงขณะที่โจทก์ฟ้องนั้น ยังถือไม่ได้ว่าพินัยกรรมของ ค. ไร้ผล เพราะเหตุไม่มีผู้รับทรัพย์ ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะตกลงกันเอาที่ดินพิพาทไปโอนให้มูลนิธิอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้มูลนิธิที่ยังมิได้จดทะเบียน: ศาลยืนตามเจตนาเดิมของผู้บริจาค
ในขณะที่ ค. เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิ จ. และต่อมาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทถวายเป็นมูลนิธิ จ. ปรากฏว่าขณะที่ ค. ถึงแก่กรรมมูลนิธิ จ. ยังมิได้ก่อตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแต่กำลังดำเนินการอยู่ ดังนี้ ถือได้ว่า ค. ทำพินัยกรรมสั่งจัดสรรที่ดินพิพาทเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ จ. ไว้แล้ว เพียงแต่มูลนิธิยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจึงรับโอนที่ดินตามพินัยกรรมทางทะเบียนไม่ได้เท่านั้น แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. จะต้องดำเนินการให้มีผลทางกฎหมายในการรับโอนที่ดินไปตามเจตนาของ ค.เหตุที่มูลนิธิ จ. ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจนถึงขณะที่โจทก์ฟ้องนั้นยังถือไม่ได้ว่าพินัยกรรมของ ค. ไร้ผลเพราะเหตุไม่มีผู้รับทรัพย์ ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะตกลงกันเอาที่ดินพิพาทไปโอนให้มูลนิธิอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลพฤติการณ์หลอกลวงของบุคคลให้ธนาคารทราบเพื่อป้องกันความเสียหาย ไม่เป็นหมิ่นประมาท
จำเลยที่ 2 ในฐานะเลขาธิการ ได้แจ้งข่าวการประชุมของสมาคมธนาคารไทย จำเลยที่ 1 ตามมติของที่ประชุม โดยทำเป็นหนังสือเวียนลับเฉพาะถึงสมาชิก แจ้งให้ทราบถึงพฤติการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ไปขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารสมาชิกแล้วไม่มาติดต่อขอรับเอกสารไปรับของทำให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหาย โดยในหนังสือเวียนได้ระบุชื่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวซึ่งมีชื่อโจทก์รวมอยู่ด้วย เพื่อมิให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหายดังที่มีมาอีก เช่นนี้ ถือได้ว่าการแจ้งข่าวดังกล่าวเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลความเสียหายจากกลุ่มบุคคลของสมาคมธนาคารไทย ไม่เป็นหมิ่นประมาท หากทำโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะเลขาธิการ ได้แจ้งข่าวการประชุมของสมาคมธนาคารไทย จำเลยที่ 1 ตามมติของที่ประชุม โดยทำเป็นหนังสือเวียนลับเฉพาะถึงสมาชิก แจ้งให้ทราบถึงพฤติการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ไปขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารสมาชิก แล้วไม่มาติดต่อขอรับราชการไปรับของ ทำให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหาย โดยในหนังสือเวียนได้ระบุชื่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวซึ่งมีชื่อโจทก์รวมอยู่ด้วย เพื่อมิให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหายดังที่มีมาอีก เช่นนี้ ถือได้ว่าการแจ้งข่าวดังกล่าวเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาฐานลงรายการเท็จในบัญชี ต้องพิสูจน์การออกประกาศรัฐมนตรี กำหนดประเภทธุรกิจที่ต้องทำบัญชีตามกฎหมาย
ข้อ 31 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายนพ.ศ. 2515 ระบุโยงไปให้ใช้พระราชบัญญัติการบัญชี พุทธศักราช 2482 บังคับในกรณีที่ยังไม่มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดธุรกิจที่ต้องขัดทำบัญชี ออกตามข้อ 5 ของประกาศคณะปฏิวัติดังกล่าวใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติการบัญชีฯมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496มาตรา 3 ก็บัญญัติให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า กิจการประเภทใดในท้องที่ ใดที่จะต้องทำบัญชีขึ้น หาใช่ว่าบุคคลผู้ประกอบกิจการทุกประเภทจะต้องจัดทำบัญชีไม่ เหตุนี้ เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่ารัฐมนตรีผู้มีอำนาจหน้าที่ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีการจัดทำบัญชีสำหรับการประกอบกิจการในประเภทที่โจทก์ฟ้องให้เป็นการถูกต้องตามข้อ 31 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติการบัญชีฯดังกล่าวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดความสำคัญซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ลงโทษจำเลยไม่ได้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาฐานลงรายการบัญชีเท็จต้องมีประกาศรัฐมนตรีฯ กำหนดประเภทธุรกิจที่ต้องจัดทำบัญชี มิเช่นนั้นฟ้องไม่สมบูรณ์
ข้อ 31 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ระบุโยงไปให้ใช้พระราชบัญญัติการบัญชี พุทธศักราช 2482 บังคับในกรณีที่ยังไม่มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดธุรกิจที่ต้องจัดทำบัญชี ออกอตามข้อ 5 ของประกาศคณะปฏิวัติดังกล่าวใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติการบัญชีฯ มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496 มาตรา 3 ก็บัญญัติให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า กิจการประเภทใด ในท้องที่ใด ที่จะต้องทำบัญชีขึ้น หาใช่ว่าบุคคลผู้ประกอบกิจการทุกประเภทจะต้องจัดทำบัญชีไม่ เหตุนี้ เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่ารัฐมนตรีผู้มีอำนาจที่ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีการจัดทำบัญชีสำหรับการประกอบกิจการในประเภทที่โจทก์ฟ้องให้เป็นการถูกต้องตามข้อ 31 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติการบัญชีฯ ดังกล่าวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดความสำคัญซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ลงโทษจำเลยไม่ได้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดเผยข้อมูลรถยนต์ที่เคยชนก่อนทำประกันภัย ไม่ถือเป็นสาระสำคัญที่ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ หากผู้รับประกันภัยยังยินดีรับประกันในจำนวนเงินเดิม
เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าการที่จำเลยผู้รับประกันภัยถือว่าข้อความจริงที่ว่ารถเคยถูกชนมาก่อน ซึ่งโจทก์ผู้เอาประกันมิได้เปิดเผยให้จำเลยทราบนั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญอันจะมีผลเป็นการจูงใจจำเลยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นกว่าที่เรียกไว้หรือเป็นเหตุบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย เพียงแต่มีผลให้จำเลยไม่ยอมรับประกันภัยในจำนวนเงินที่โจทก์เอาประกันภัยไว้ เท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 อันจะทำให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดเผยข้อมูลการชนก่อนทำประกันภัย ไม่ใช่สาระสำคัญทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ หากไม่ส่งผลต่อเบี้ยหรือการรับประกัน
เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าการที่จำเลยผู้รับประกันภัยถือว่าข้อความจริงที่ว่ารถเคยถูกชนมาก่อน ซึ่งโจทก์ผู้เอาประกันมิได้เปิดเผยให้จำเลยทราบนั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญอันจะมีผลเป็นการจูงใจจำเลยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นกว่าที่เรียกไว้ หรือเป็นเหตุบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย เพียงแต่มีผลให้จำเลยไม่ยอมรับประกันภัยในจำนวนเงินที่โจทก์เอาประกันภัยไว้เท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 อันจะทำให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย และความรับผิดของเจ้าหนี้ที่ช่วยเหลือ
เดิมศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ (จำเลย) ล้มละลาย ลูกหนี้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ในระหว่างฎีกา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวตามคำขอของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หลังจากนั้นผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันและได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอทำการแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ขอนำยึดทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งหมดและรับรองจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์ครั้งนี้ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ด้วย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจัดการยึดทรัพย์ตามคำขอของผู้ร้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวและให้ถอนการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจัดการถอนการยึดคืนทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้ และแจ้งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมถอนการยึดไปชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังนี้ อำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามมาตรา 22 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามธรรมดาผู้หนึ่งไม่มีหน้าที่และความรับผิดใด ๆเป็นส่วนตัวโดยตรงตามกฎหมายล้มละลายในเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจทำการยึดทรัพย์เองโดยเชื่อตามคำเสนอแนะของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมมและค่าใช้จ่ายในการถอนการยึดมาชำระได้ ส่วนปัญหาที่ว่าผู้ร้องจะต้องรับผิดตามสัญญาหรือไม่นั้น หากจะฟังว่ามีผลบังคับได้ก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการขอให้ศาลบังคับผู้ร้องตามสัญญาเสียก่อน ศาลจะบังคับผู้ร้องไปทันทีในคดีนี้ไม่ได้
of 49