คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมคิด มงคลชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว เจ้าหนี้ไม่มีหน้าที่รับผิดค่าใช้จ่ายโดยตรง
เดิมศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ (จำเลย) ล้มละลาย ลูกหนี้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ในระหว่างฎีกา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวตามคำขอของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ หลังจากนั้นผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันและได้ยื่นคำขอรับประกันหนี้ไว้แล้ว ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอทำการแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ขอนำยึดทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งหมดและรับรองจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์ครั้งนี้ ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ด้วย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจัดการยึดทรัพย์ตามคำขอของผู้ร้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวและให้ถอนการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจัดการถอนการยึดคืนทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้ และแจ้งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมถอนการยึดไปชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังนี้ อำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามมาตรา 22 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามธรรมดาผู้หนึ่งไม่มีหน้าที่และความรับผิดใด ๆ เป็นส่วนตัวโดยตรง ตามกฎหมายล้มละลายในเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจทำการยึดทรัพย์เองโดยเชื่อตามคำเสนอแนะของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการถอนการยึดมาชำระได้ ส่วนปัญหาที่ว่าผู้ร้องจะต้องรับผิดตามสัญญาหรือไม่นั้น หากจะฟังว่ามีผลบังคับได้ก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการขอให้ศาลบังคับผู้ร้องตามสัญญาเสียก่อน ศาลจะบังคับผู้ร้องไปทันทีในคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863-885/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์รับรองเขตแดนโบราณสถานพระธาตุร่องอ้อ
ตำนานพระธาตุร่องอ้อที่กล่าวถึงวัดศรีดอนคำหรือวัดห้วยอ้อซึ่งเขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2403 โดยคัดลอกจากตำนานเดิมที่เก็บอยู่ ณ หอพระแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่ตามตำนานเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งของไทย และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำหรับชาติไว้แล้ว ทั้งยังมีแผ่นป้ายที่คัดสำเนามามีชื่อเจ้าอาวาสวัดตั้งแต่ พ.ศ.2202 เรื่อยตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ด้วย ตำนานดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ข้อความตามตำนานที่กล่าวถึงเขตแดนพระธาตุร่องอ้อจึงรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยใช้ราคาขายส่งที่สมเหตุสมผล แม้ไม่มีนิยามราคาตลาดที่ชัดเจนในกฎหมาย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18)พ.ศ.2504 มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาทเรื่องนี้ ไม่มีบทนิยามคำว่า 'ราคาตลาด' ของรถยนต์ให้มีความหมายโดยเฉพาะดั่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2508มาตรา 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ขึ้นใหม่ โดยให้ถือตามราคาขายปลีก จึงย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าราคาตลาดของรถยนต์หมายถึงราคาของรถยนต์ชนิด ขนาด สภาพคุณภาพ เหมือนกับที่ซื้อขายกันเป็นปกติในท้องตลาดทั่วๆไป ซึ่งอาจมีทั้งราคาขายส่งและราคาขายปลีก
โจทก์เป็นผู้ผูกขาดในการสั่งรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งเข้ามาและในการประกอบรถยนต์ยี่ห้อดังกล่าวในประเทศไทยโดยผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อนี้ในต่างประเทศกำหนดให้โจทก์ต้องขายรถยนต์แก่บริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายอยู่ก่อนแต่ผู้เดียว จะขายส่งหรือขายปลีกแก่ผู้อื่นไม่ได้และโจทก์ต้องคิดราคารถที่ขายแก่บริษัท ก. ตามราคาที่ บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศกำหนดมา ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงต้องขายส่งรถยนต์ให้แก่บริษัท ก. ในราคาเกือบเท่าต้นทุนและราคาที่โจทก์ขายส่งกับราคาที่บริษัท ก. ขายปลีกจึงแตกต่างกันมาก การที่โจทก์นำเอาราคารถยนต์ที่โจทก์ขายส่งแก่บริษัทก. มาเป็นรายรับคำนวณเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้จึงชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินจะถือเอาราคาที่บริษัท ก. ขายปลีกมาเป็นราคาตลาดแล้วกำหนดราคาขายและรายรับของโจทก์ขึ้นใหม่ แล้วประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นจากโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยใช้ราคาขายส่งเป็นฐานคำนวณ กรณีผู้ผูกขาดจำหน่ายและมีข้อตกลงราคาจากผู้ผลิต
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาทเรื่องนี้ ไม่มีบทนิยามคำว่า "ราคาตลาด" ของรถยนต์ให้มีความหมายโดยเฉพาะดั่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 มาตรา 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ขึ้นใหม่ โดยให้ถือตามราคาขายปลีก จึงย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่า ราคาตลาดของรถยนต์หมายถึงราคาของรถยนต์ชนิด ขนาด สภาพ คุณภาพ เหมือนกับที่ซื้อขายกันเป็นปกติในท้องตลาดทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจมีทั้งราคาขายส่งและราคาขายปลีก
โจทก์เป็นผู้ผูกขาดในการสั่งรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งเข้ามาและในการประกอบรถยนต์ยี่ห้อดังกล่าวในประเทศไทย โดยผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อนี้ในต่างประเทศกำหนดให้โจทก์ต้องขายรถยนต์แก่บริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายอยู่ก่อนแต่ผู้เดียว จะขายส่งหรือขายปลีกแก่ผู้อื่นไม่ได้ และโจทก์ต้องคิดราคารถที่ขายแก่บริษัท ก. ตามราคาที่บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศกำหนดมา ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงต้องขายส่งรถยนต์ให้แก่บริษัท ก. ในราคาเกือบเท่าต้นทุน และราคาที่โจทก์ขายส่งแก่บริษัท ก. มาเป็นรายรับคำนวณเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้จึงชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินจะถือเอาราคาที่บริษัท ก. ขายปลีกมาเป็นราคาตลาดแล้วกำหนดราคาขายและรายรับของโจทก์ขึ้นใหม่ แล้วประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นจากโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยและการหักรายจ่ายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
ธนาคารโจทก์กับสาขาต่างประเทศและสาขากรุงเทพฯ เป็นนิติบุคคลเดียวกัน เมื่อสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศส่งเงินมาให้สาขากรุงเทพฯ ใช้เป็นเงินกองทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ แม้เงินที่ส่งมานั้นจะเคยเป็นเงินฝากของลูกค้าของสาขาต่างประเทศซึ่งมีความผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากก็ตามการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งดอกเบี้ยสำหรับเงินจำนวนนี้ไปให้สาขาต่างประเทศก็เป็นเพียงการผ่อนภาระของสาขาต่างประเทศเท่านั้นมิใช่รายจ่ายโดยตรงของสาขากรุงเทพฯ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงและเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง ทั้งเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเองตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) ซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้
บริษัท ป. กู้เงินจากสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศดอกเบี้ยที่บริษัท ป. ขอให้สาขากรุงเทพฯ หักจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ป. ส่งไปให้สาขาต่างประเทศ ถือว่าเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันและการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งเงินดอกเบี้ยทั้งสองรายนี้ออกไปให้สาขาต่างประเทศย่อมเป็นการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 70 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยและการเสียภาษีเงินได้ของธนาคารที่มีสาขาต่างประเทศ
ธนาคารโจทก์กับสาขาต่างประเทศและสาขากรุงเทพฯ ย่อมเป็นนิติบุคคลเดียวกัน เงินที่สาขาต่างประเทศส่งมาใช้เป็นเงินกองทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ ต้องถือเป็นเงินทุนและเงินสำรองของโจทก์ เพราะพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 10, 12 ประกอบด้วยมาตรา 6 วรรคสองมีเจตนารมณ์ให้ธนาคารพาณิชย์ มีฐานะมั่นคงปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้เป็นลูกค้าหรื่อผู้ติดต่อทำธุรกิจ ไม่ประสงค์และไม่ได้บัญญัติให้ธนาคารสาขามีเงินทุน เงินสำรองต่าง ๆ หรือเงินกองทุนของตนเองแยกต่างหากจากสำนักงานใหญ่และสาขาอื่น ๆ
สาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศส่งเงินมาให้สาขากรุงเทพฯ ใช้เป็นเงินกองทุน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ แม้เงินที่ส่งมานั้นจะเคยเป็นเงินฝากของลูกค้าของสาขาต่างประเทศที่มีความผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากก็ตาม การที่สาขากรุงเทพฯ ส่งดอกเบี้ยสำหรับเงินจำนวนนี้ไปให้สาขาต่างประเทศ ก็เป็นเพียงการจ่ายเพื่อผ่อนภาระของสาขาต่างประเทศเท่านั้น มิใช่รายจ่ายโดยตรงของสาขากรุงเทพฯ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง ทั้งเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุนเงินสำรองต่าง ๆ หรือเงินกองทุนของตนเอง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) (10) (11) ซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้
บริษัท ป. กู้เงินจากสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศ ดอกเบี้ยที่บริษัท ป. ขอให้สาขากรุงเทพฯ หักจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ป. ส่งไปให้สาขาต่างประเทศนั้น ถือว่าเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้เช่นเดียวกับเงินดอกเบี้ยที่สาขากรุงเทพฯ ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวมาแล้ว และการที่ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ ส่งเงินดอกเบี้ยทั้งสองรายนี้ออกไปให้สาขาต่างประเทศ ย่อมเป็นการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทย ต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซิเมนต์ผงขายให้บริษัทในเครือเพื่อผลิตต่อ ไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป เสียภาษีตามอัตราวัสดุ
ซิเมนต์ผงที่โจทก์ขายให้แก่บริษัทในเครือของตนเพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่นขาย มิใช่สินค้าสำเร็จรูป จึงเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภท 1 การขายของชนิด 9(ก)อัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซิเมนต์ผงขายให้บริษัทในเครือเพื่อผลิตต่อ ไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป เสียภาษีตามอัตราวัตถุดิบ
ซิเมนต์ผงที่โจทก์ขายให้แก่บริษัทในเครือของตนเพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่นขาย มิได้นำไปจำหน่ายโดยตรง ไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูปตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 จึงต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 การขายของชนิด 9 (ก) อัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 85/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาจ้างเหมา, ตัวแทน/ตัวการ, ความรับผิดตามสัญญา, การพิสูจน์ข้อเท็จจริง
คดีฟ้องเรียกให้ชำระค่าก่อสร้าง บรรยายฟ้องเกี่ยวกับงานก่อสร้างเพิ่มเติมแต่เพียงว่า จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินค่าก่อสร้างเพิ่มเติมอีกเป็นเงิน 14,600 บาท โดยมิได้บรรยายรายละเอียดว่าจำเลยตกลงจ้างโจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมเมื่อไร เป็นงานอะไรบ้าง คิดค่าจ้างเพิ่มเป็นเงินเท่าใดและจำเลยชำระแล้วเท่าใด เป็นฟ้องที่มิได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นนั้น ฟ้องในส่วนนี้จึงเคลือบคลุม
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 1 ว่าจ้างเหมาโจทก์ก่อสร้างตึกแถวพิพาทตามสำเนาสัญญาท้ายฟ้อง ขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์แต่ตามสัญญาจ้างเหมาท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนั้นปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 เอง ทั้งจำเลยที่ 1 ก็มิได้โต้แย้งแต่อย่างใดว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญา เพราะทำในฐานะตัวแทน ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการทำสัญญาจ้างเหมารายพิพาทนี้เองแล้วจำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลจะยกฟ้องจำเลยที่ 1 เสียโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะเป็นตัวแทน แต่ไม่ได้บรรยายมาในคำฟ้องว่ามีเหตุอย่างใดที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยลำพังสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 ตามที่ขอมาได้นั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาจ้างเหมา, ตัวแทน, ความรับผิดทางสัญญา, การพิสูจน์ข้อเท็จจริง
คดีฟ้องเรียกให้ชำระค่าก่อสร้าง บรรยายฟ้องเกี่ยวกับงานก่อสร้างเพิ่มเติมแต่เพียงว่า จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินค่าก่อสร้างเพิ่มเติมอีกเป็นเงิน 14,600 บาท โดยมิได้บรรยายรายละเอียดว่า จำเลยตกลงจ้างโจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมเมื่อไร เป็นงานอะไร คิดค่าจ้างเพิ่มเป็นเงินเท่าใด และจำเลยชำระแล้วเท่าใด เป็นฟ้องที่มิได้แสดงแจ้งชัดเพื่อมิได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพของข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นนั้น ฟ้องในส่วนนี้จึงเคลือบคลุม
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 1 ว่าจ้างเหมาะโจทก์ก่อสร้างตึกแถวพิพาทตามสัญญาจ้างเหมาท้ายฟ้องซึง่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนั้นปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญา เพราะทำในฐานะจำเลยที่ 1 ก็มิได้โต้แย้งแต่อย่างใดว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญา เพราะทำในฐานะตัวแทน ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการทำสัญญาจ้างเหมารายพิพาทนี้เองแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลจะยกฟ้องจำเลยที่ 1 เสียโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะเป็นตัวแทน แต่ไม่ได้บรรยายมาในคำฟ้องว่ามีเหตุอย่างใดที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยลำพังสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยทึ 1 จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 ตามที่ขอมาได้นั้นข้อหาไม่
of 49