พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องคดีภาษีอากร: โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาล หรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีภาษีอากร: โจทก์ฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทนและอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลหรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากร เป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องคดีภาษีอากร: โจทก์มีสิทธิฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือเจ้าพนักงานประเมิน/กรมสรรพากรก็ได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาล หรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องคดีภาษีอากร: การฟ้องจำเลยที่เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทนและอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2)บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลหรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้หาขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์สัญญาประกันภัย: โจทก์ผู้ออกเงินค่าประกันภัยไม่มีอำนาจฟ้องผู้รับประกันภัยโดยตรง
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อว่า โจทก์เป็นผู้เสียค่าประกันภัยรถยนต์ในนามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถ แล้วจำเลยที่ 1 ได้ไปทำสัญญาประกันภัยรถคันนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย และโจทก์เป็นผู้ออกเงินในการประกัน ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 เอาประกันภัยรถคันที่เช่าซื้อ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดใช้เงินค่ารถยนต์คันที่เช่าซื้อซึ่งได้หายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเช็ค: อัตราดอกเบี้ยตามเช็คชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่างจากอัตราทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่ง
ดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินที่ต้องรับผิดตามเช็คนั้น คิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี หาใช่คิดเพียงอัตราร้อยละห้าต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 968 ไม่ เพราะมาตรา 989 มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 968 มาบังคับในเรื่องเช็คด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นเรื่องอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งแรกของบริษัทจำเลย ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของรถร่วมนำรถประจำทางมาลงหุ้นแทนเงิน โดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว รวม 6,355 หุ้น ต่อมาได้มีการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งแรกโดยที่ประชุมขอให้ลงมติยืนยันการประชุมครั้งแรกอีกครั้ง ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์อีก แม้โจทก์จะมิได้เข้าประชุมครั้งหลังนี้ก็ต้องถือว่าที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยได้มีมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้นที่จะเพิ่มทุนอีก 6,345 หุ้น โดยการนำรถประจำทางมาใช้แทนเงินและถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าบริษัทจำเลยรับรถยนต์ที่ได้ลงหุ้นไว้แล้วมาลงหุ้นใหม่ และรับรถยนต์ที่อยู่ระหว่างเช่าซื้อมาเป็นหุ้นใหม่อีกก็เท่ากับโจทก์กล่าวหาว่า การลงมติของที่ประชุมฝ่าฝืนกฎหมายและโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนกรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการร้องขอให้เพิกถอน มติของที่ประชุมใหญ่ที่ลงมติฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมาตรา1195 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า โจทก์ต้องร้องขอให้เพิกถอนภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันลงมติเมื่อโจทก์ไม่ร้องเสียในกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและการหมดสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 1195 ป.พ.พ.
โจทก์ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งแรกของบริษัทจำเลย ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของรถร่วมนำรถประจำทางมาลงหุ้นแทนเงิน โดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว รวม 6,355 หุ้น ต่อมาได้มีการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งแรกโดยที่ประชุมขอให้ลงมติยืนยันการประชุมครั้งแรกอีกครั้ง ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์อีก แม้โจทก์จะมิได้เข้าประชุมครั้งหลังนี้ก็ต้องถือว่าที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยได้มีมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้นที่จะเพิ่มทุนอีก 6,345 หุ้น โดยการนำรถประจำทางมาใช้แทนเงินและถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าบริษัทจำเลยรับรถยนต์ที่ได้ลงหุ้นไว้แล้วมาลงหุ้นใหม่ และรับรถยนต์ที่อยู่ระหว่างเช่าซื้อมาเป็นหุ้นใหม่อีกก็เท่ากับโจทก์กล่าวหาว่า การลงมติของที่ประชุมฝ่าฝืนกฎหมายและโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนกรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ที่ลงมติฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมาตรา1195 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า โจทก์ต้องร้องขอให้เพิกถอนภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันลงมติ เมื่อโจทก์ไม่ร้องเสียในกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจที่มีการประทับตราวันที่ ถือเป็นการขีดฆ่าอากรแสตมป์ สัญญา Trust Receipt มีผลผูกพัน และการรับฟังดอกเบี้ยจากพยาน
การประทับตราวันที่แต่เพียงอย่างเดียวลงบนอากรแสตมป์ที่ปิดในหนังสือมอบอำนาจ.เป็นการกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกถือได้ว่าเป็นการขีดฆ่าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว หนังสือมอบอำนาจจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทคือสัญญาระหว่างธนาคารผู้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต และลูกค้าผู้ขอให้เปิดเครดิตโดยธนาคารสัญญาจะมอบเอกสารที่จะใช้ในการรับมอบสินค้าให้ผู้ขอเครดิตเพื่อไปรับสินค้าและนำสินค้านั้นไปขายได้แต่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังเป็นของธนาคารอยู่ และทางฝ่ายผู้ขอเปิดเครดิตก็สัญญาว่าจะยึดถือเอกสารที่จะใช้ในการรับมอบสินค้ากับสินค้าที่รับมารวมทั้งเงินที่ขายสินค้านั้นได้ไว้ในนามของธนาคาร และจะนำเงินชำระให้แก่ธนาคารเมื่อหักกับเงินที่เป็นหนี้ตามดราฟท์ สัญญาเช่นนี้มีผลผูกพันคู่กรณีตามกฎหมาย กรณีนี้หาใช่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 ไม่
คำเบิกความของพยานโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานผู้ทำหน้าที่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทำทรัสต์รีซีทของธนาคารโจทก์ที่ยืนยันว่าลูกหนี้ผิดนัดมีประเพณีของธนาคารให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อไป ซึ่งจำเลยก็มิได้นำสืบในข้อนี้อย่างใด เช่นนี้ เป็นหลักฐานให้รับฟังได้แล้วว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวนั้นได้ไม่จำต้องมีพยานเอกสารประกอบอีก
สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทคือสัญญาระหว่างธนาคารผู้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต และลูกค้าผู้ขอให้เปิดเครดิตโดยธนาคารสัญญาจะมอบเอกสารที่จะใช้ในการรับมอบสินค้าให้ผู้ขอเครดิตเพื่อไปรับสินค้าและนำสินค้านั้นไปขายได้แต่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังเป็นของธนาคารอยู่ และทางฝ่ายผู้ขอเปิดเครดิตก็สัญญาว่าจะยึดถือเอกสารที่จะใช้ในการรับมอบสินค้ากับสินค้าที่รับมารวมทั้งเงินที่ขายสินค้านั้นได้ไว้ในนามของธนาคาร และจะนำเงินชำระให้แก่ธนาคารเมื่อหักกับเงินที่เป็นหนี้ตามดราฟท์ สัญญาเช่นนี้มีผลผูกพันคู่กรณีตามกฎหมาย กรณีนี้หาใช่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 ไม่
คำเบิกความของพยานโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานผู้ทำหน้าที่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทำทรัสต์รีซีทของธนาคารโจทก์ที่ยืนยันว่าลูกหนี้ผิดนัดมีประเพณีของธนาคารให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อไป ซึ่งจำเลยก็มิได้นำสืบในข้อนี้อย่างใด เช่นนี้ เป็นหลักฐานให้รับฟังได้แล้วว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวนั้นได้ไม่จำต้องมีพยานเอกสารประกอบอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วยังผูกพันสัญญาได้ หากเป็นการกระทำเพื่อรักษาประโยชน์ของห้างฯ ก่อนการชำระบัญชี
แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมาย เนื่องจากหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดตาย แต่ก็พึงถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 การที่ตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการตลอดจนสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ มาดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้สั่งซื้อกระดาษมาใช้ดำเนินกิจการด้านโรงพิมพ์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ยังค้างอยู่ตามที่ไปรับงานมา แม้จะมิใช่เป็นการกระทำเพื่อชำระบัญชีก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อปกปักรักษาประโยชน์อันสมควรมิให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นตัวการต้องเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828ห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวจึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายนั้น