คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมคิด มงคลชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินจำนองที่ดิน: การนำสืบการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
คดีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จำนวนหนึ่งแสนบาทคืนจากจำเลย และจำเลยให้การว่าได้นำที่ดินตามฟ้องทำจำนองไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันเงินกู้หนึ่งแสนบาทจริง แต่ได้กู้ยืมและรับเงินกันเพียง 80,000 บาท อีก 20,000 บาท เป็นดอกเบี้ยที่โจทก์คิดรวมเข้าไว้ด้วยนั้น จำเลยมีสิทธินำสืบพยานบุคคลได้ว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์เพียง 80,000 บาท แต่โจทก์คิดดอกเบี้ย 20,000 บาทรวมไปด้วยเพราะเป็นการนำสืบถึงการชำระดอกเบี้ย ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (อ้างฎีกาที่ 936/2504) แต่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระเงินต้นบางส่วนให้แก่โจทก์แล้วไม่ได้ เพราะมูลคดีนี้เป็นเรื่องกู้ยืมโดยมีที่ดินจำนองเป็นประกันอันมีหลักฐานเป็นหนังสือ จะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผุ้ให้ยืมหรือได้เวนคืน หรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินของกลางแก่ผู้เสียหายที่ถูกเรียกรับเงินโดยมิชอบ แม้จะมอบเงินให้ตามแผนตำรวจเพื่อจับกุมผู้กระทำผิด
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้เรียกเงินจากโจทก์ร่วมสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อช่วยเหลือมิให้ห้างที่โจทก์ร่วมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น การที่โจทก์ร่วมนำเงินของกลางไปให้จำเลยตามแผนการของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อจะได้จับกุมจำเลยนั้น จึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อผูกมัดตัวจำเลยผู้กระทำผิด โจทก์ร่วมหาได้สมัครใจให้เงินจำเลยไม่ จะถือว่าเป็นการร่วมมือ ส่งเสริมสนับสนุนหรือจูงใจให้จำเลยกระทำผิดไม่ได้ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้คืนเงินของกลางแก่โจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบตัวหลังเกิดเหตุและการปฏิเสธฐานที่อยู่ ไม่เป็นเหตุลุแก่โทษ
จำเลยเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานหลังเกิดเหตุ 2 เดือนต่อสู้คดีปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ ไม่เป็นการลุแก่โทษตาม มาตรา 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางถนนและการฟ้องแทนผู้เยาว์
รถจักรยานยนต์กับรถบรรทุกหินชนกัน โดยรถยนต์ไม่ชลอความเร็วเมื่อถึงสี่แยก รถจักรยานยนต์ขับเร็วผ่านสี่แยกเป็นฝ่ายประมาทมาก ฝ่ายรถยนต์ก็ยังต้องรับผิด แต่มีส่วนผิดน้อยกว่า จึงให้รับผิด 1 ใน 3 ของความเสียหายของฝ่ายรถจักรยานยนต์ซึ่งผู้ขับถึงตาย
บิดาเด็กผู้เยาว์ถูกรถยนต์ชนตาย มารดาทิ้งเด็กไปได้สามีใหม่ไม่ทราบที่อยู่ เด็กอยู่กับปู่และย่า ถือว่ามารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กทำหน้าที่ไม่ได้ ศาลอนุญาตให้ปู่ฟ้องแทนเด็กได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศประกอบกิจการในไทย การจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ และอากรแสตมป์
โจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกาและมีสาขาที่กรุงเทพดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฏากรมาตรา 76ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆเมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีของบริษัทต่างชาติมีสาขาในไทย: ดอกเบี้ยเงินกู้, การจำหน่ายกำไร, และอากรแสตมป์
โจทก์ไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกา และมีสาขาที่กรุงเทพ ดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ เมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทย เสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้บัญญัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65 ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65 ทวิ ดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5 ของสาขากรุงเทพฯ แต่ละปี ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสอง ทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทย การส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ จะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตาม แต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศ ก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปี คิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าว จึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากร ตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญ เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับกรณีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463-1464/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย - คุณลักษณะสินค้า - การส่งมอบตามสัญญาและตัวอย่าง
กองทัพเรือซื้อแผ่นกั้นแบตเตอรี่จากจำเลยระบุในสัญญาว่าความหนาของพื้นเรียบ 0.9 ม.ม. จำเลยส่งตัวอย่างไว้ด้วยตัวอย่างที่ส่งไว้พื้นเรียบหนาไม่ถึง 0.9 ม.ม. ดังนี้ จำเลยต้องส่งมอบของตรงทั้งตามรายละเอียดและตัวอย่างคือต้องหนา 0.9 ม.ม. ด้วย ค่าเสียหายคือราคาที่ผู้ซื้อต้องซื้อแพงขึ้นเต็มตามจำนวนในสัญญาตามที่ต้องการซื้อ แม้ผู้ซื้อยังซื้อของใหม่ไม่เต็มตามจำนวนในสัญญาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรุกล้ำที่ดิน การยินยอมโดยปริยาย และสิทธิในที่ดินของเจ้าของเดิม
เดิมที่ดินแปลงใหญ่ทั้งโฉนดเป็นของจำเลยร่วม จำเลยร่วมให้ผู้รับเหมาก่อสร้างตึกแถว 10 ห้อง พร้อม ๆ สร้างห้องแถวในที่ดินดังกล่าวผู้รับเหมาได้ทำรั้วกำแพงก่ออิฐถือปูนกว้าง 1 เมตร ยาว 3.50 เมตร แทนรั้วสังกะสีเดิมติดด้านหลังตึกแถวทุกห้อง จำเลยร่วมไม่ได้ทักท้วงห้ามปรามอย่างใด แสดงว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ผู้รับเหมาทำรั้วกำแพงได้ ฉะนั้น การที่ผู้รับเหมาก่อสร้างกำแพงหลังตึกดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิด ต่อมาจำเลยร่วมแบ่งแยกโฉนดโอนขายที่ดินนอกเขตที่สร้างตัวตึกแถวให้โจทก์ ขายตึกแถวเฉพาะที่ดินที่สร้างตึกแถวให้บุคคลอื่นและ ส.ส.ขายตึกแถวห้องเลขที่ 464/2 พร้อมทั้งที่ดินให้จำเลยที่ 1 หลังจากโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานกรมที่ดินมารังวัดสอบเขตแล้วความจึงปรากฏว่า รั้วกำแพงด้านหลังตึกแถวทุกห้องรวมทั้งห้องของจำเลยที่ 1 ด้วยก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับคดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทกฎหมายใกล้เคียงที่จะปรับกับข้อเท็จจริงคดีนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบด้วยมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วกำแพง แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลย ดังนี้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ทั้งจะให้จำเลยชำระเงินค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ก็ไม่ได้ เพราะรั้วกำแพงไม่ใช่โรงเรือน กรณีไม่เข้ามาตรา 1312 จำเลยไม่มีสิทธิใช้ที่ดินที่ก่อสร้างและภายในเขตรั้วกำแพงซึ่งเป็นที่พิพาทเพราะเป็นของโจทก์และคดีนี้จะบังคับให้โจทก์ใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้น เพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลยก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งและไม่มีประเด็นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดิน: สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. การยินยอมโดยปริยาย และการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เดิมที่ดินแปลงใหญ่ทั้งโฉนดเป็นของจำเลยร่วม จำเลยร่วมให้ผู้รับเหมาก่อสร้างตึกแถว 10 ห้อง พร้อม ๆ สร้างห้องแถวในที่ดินดังกล่าวผู้รับเหมาได้ทำรั้วกำแพงก่ออิฐถือปูนกว้าง 1 เมตร ยาว 3.50 เมตร แทนรั้วสังกะสีเดิมติดด้านหลังตึกแถวทุกห้อง จำเลยร่วมไม่ได้ทักท้วงห้ามปรามอย่างใด แสดงว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ผู้รับเหมาทำรั้วกำแพงได้ ฉะนั้น การที่ผู้รับเหมาก่อสร้างกำแพงหลังตึกดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิด ต่อมาจำเลยร่วมแบ่งแยกโฉนดโอนขายที่ดินนอกเขตที่สร้างตัวตึกแถวให้ โจทก์ขายตึกแถวเฉพาะที่ดินที่สร้างตึกแถวให้บุคคลอื่นและ ส. ส.ขายตึกแถวห้องเลขที่ 464/2 พร้อมทั้งที่ดินให้จำเลยที่ 1 หลังจากโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานกรมที่ดินมารังวัดสอบเขตแล้วความจึงปรากฏว่า รั้วกำแพงด้านหลังตึกแถวทุกห้องรวมทั้งห้องของจำเลยที่ 1 ด้วย ก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับคดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงตามมาตรา 4 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทกกฎหมายใกล้เคียงที่จะปรับกับข้อเท็จจริงคดีนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบด้วยมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วกำแพง แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลย ดังนี้ โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ทั้งจะให้จำเลยชำระเงินค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ก็ไม่ได้เพราะรั้วกำแพงไม่ใช่โรงเรือน กรณีไม่เข้ามาตรา 1312 จำเลยไม่มีสิทธิใช้ที่ดินที่ก่อสร้างและภายในเขตรั้วกำแพงซึ่งเป็นที่พิพาทเพราะเป็นของโจทก์ และคดีนี้จะบังคับให้โจทก์ใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลยก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งและไม่มีประเด็นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายและการยักย้ายทรัพย์สินเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้
สามีทำร้ายภริยาหลายครั้ง และทำร้ายอย่างไม่ปรานี แม้ในที่สาธารณะ ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินร่วมกันไปเป็นของสามีผิดวิสัยที่สามีภริยาพึงปฏิบัติต่อกัน ภริยาฟ้องหย่าได้
of 49