พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร การพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา และสิทธิขอคืนของกลาง
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2499 มาตรา 4(คือมาตรา 27 ทวิ).ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น. เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกันความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27. ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น. ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร.โดยไม่เสียภาษี.จึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา27 ทวิ. เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิ. มิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร.จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว. การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องก็ย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ด้วย.
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว. คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง. ซึ่งร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512).
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว. คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง. ซึ่งร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลมีอำนาจพิจารณาคืนของกลางให้เจ้าของได้ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว โดยอาศัยหลักประมวลกฎหมายอาญา
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2499 มาตรา 4(คือมาตรา 27 ทวิ) ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกันความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27 ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่เสียภาษีจึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา 27 ทวิ เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิ มิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องก็ย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ด้วย
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง ซึ่งร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512)
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง ซึ่งร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถของกลาง ผู้ซื้อโดยสุจริตได้รับกรรมสิทธิ์ แม้รถยังถูกยึดเป็นของกลางอยู่
รถยนต์ของกลางของจำเลยในคดีความผิดฐานรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร และใช้รถยนต์วิ่งบนทางหลวงที่ยังมิได้เปิดเป็นถนนสาธารณโดยไม่รับอนุญาตซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้และได้มอบให้บุคคลอื่นรักษาไว้ในระหว่างคดี หากจำเลยได้เอารถคันนั้นไปโอนขายให้บุคคลภายนอก และบุคคลภายนอกได้รับซื้อไว้โดยสุจริตโดยไม่รู้ว่าเป็นรถที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางในคดีบุคคลภายนอกผู้นั้นย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นต่อมาภายหลังเมื่อคดีถึงศาล และศาลได้พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง บุคคลภายนอกผู้นั้นย่อมร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบนั้นได้รูปคดีเช่นนี้จะปรับด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลางตามคำพิพากษาศาล และการพิสูจน์ตัวตนเจ้าของสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร
ในคดีกระทำผิดพระราชบัญญัติศุลกากร เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนสินค้าของกลางแก่ผู้ร้องแล้ว ถ้ากรมศุลกากรไม่มีเหตุโต้แย้งก็จะต้องคืนให้ตามคำพิพากษา แต่กรมศุลกากรโต้แย้งอยู่ว่า ผู้ร้องมิใช่นายเบ๊หรือจือเฮ้าตัวจริง เพราะตัวจริงตายไปนานแล้วตามมรณบัตร และโต้แย้งด้วยว่า ตั้งแต่กรมศุลกากรจับยึดสินค้ารายนี้แล้ว ไม่มีผู้ใดมาขอคืนในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขฉบับที่ 12 พ.ศ.2497 มาตรา 3 ผู้ร้องจึงชอบที่จะว่ากล่าวเอาเองเป็นคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 48 วรรคสอง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดของเจ้าพนักงานและสิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้น ประสงค์แต่เพียงแก้ไขเพื่อกำหนดว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยทั่วไปก็มีอำนาจทำการยึดได้เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่วิเคราะห์ศัพท์ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดศุลกากร หากไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดจะถือเป็นของไม่มีเจ้าของและตกเป็นของแผ่นดิน
การขอคืนทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดศุลกากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องแปลว่าเมื่อเจ้าของไม่มาติดตามและร้องขอคืนภายในกำหนดก็หมดสิทธิเพราะกฎหมายให้ถือว่าพ้นกำหนดแล้วเท่ากับเป็นของไม่มีเจ้าของ ให้ตกเป็นของแผ่นดินไป
เรือยนต์ที่ให้เช่าไปแล้วผู้เช่าเอาไปใช้หลบหนีภาษีจนศาลสั่งริบ แม้เจ้าของผู้ให้เช่าจะไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ก็ต้องมายื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ยึด(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2504)
เรือยนต์ที่ให้เช่าไปแล้วผู้เช่าเอาไปใช้หลบหนีภาษีจนศาลสั่งริบ แม้เจ้าของผู้ให้เช่าจะไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ก็ต้องมายื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ยึด(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2504)