พบผลลัพธ์ทั้งหมด 644 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการแทงด้วยอาวุธมีด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายจริง
ใช้มีดพกปลายแหลมทั้งตัวทั้งด้ามยาว 1 คืบเศษ แทงชายโครงขวา 1 ที โดยมีโอกาสเลือกแทงและจะแทงซ้ำอีกหากผู้เสียหายหนีทันและแพทย์รักษาได้ทันท่วงที เป็นพยายามฆ่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดของบุคคลโรคจิตเภท: การประเมินความสามารถในการรู้ผิดชอบ
จำเลยอายุ 19 ปี เป็นโรคจิตเภท ลักรถยนต์ในเวลารู้ผิดชอบอยู่บ้าง ศาลลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรค 2คงจำคุก 8 เดือน และรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถฝั่งขวาในถนนทางเดินรถทางเดียว: การบังคับใช้มาตรา 18 พ.ร.บ.จราจร แม้มีกฎหมายจราจรอื่น
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 18 เป็นบทบัญญัติบังคับให้นำรถเข้าจอดทางด้านซ้ายของทาง การที่จำเลยนำรถไปจอดด้านขวาของทางโดยที่ไม่มีเครื่องหมายหรือเจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้จอดได้ จึงเป็นการฝ่าฝืนและเป็นความผิด
แม้เจ้าพนักงานจราจรจะได้กำหนดให้ถนนสายหนึ่งสายใดเป็นทางเดินรถทางเดียวไว้ สภาพของถนนหรือทางตอนนั้นก็ยังคงมีสภาพ 2 ขอบทาง คือขอบทางด้านซ้าย กับขอบทางด้านขวาของถนนหรือทางนั้นอยู่เช่นเดิมหาได้ทำให้สภาพของขอบทางของถนนทั้งสองด้าน ให้เป็นหรือรวมอยู่ในความหมายของทางเดินรถด้านซ้ายไม่
การที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้แล่นรถได้ทางเดียวโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 69 ที่ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานจราจรไว้ หาได้ไปยกเลิกบทบัญญัติตามมาตรา 18 แต่ประการใดไม่
แม้เจ้าพนักงานจราจรจะได้กำหนดให้ถนนสายหนึ่งสายใดเป็นทางเดินรถทางเดียวไว้ สภาพของถนนหรือทางตอนนั้นก็ยังคงมีสภาพ 2 ขอบทาง คือขอบทางด้านซ้าย กับขอบทางด้านขวาของถนนหรือทางนั้นอยู่เช่นเดิมหาได้ทำให้สภาพของขอบทางของถนนทั้งสองด้าน ให้เป็นหรือรวมอยู่ในความหมายของทางเดินรถด้านซ้ายไม่
การที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้แล่นรถได้ทางเดียวโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 69 ที่ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานจราจรไว้ หาได้ไปยกเลิกบทบัญญัติตามมาตรา 18 แต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน - สิทธิครอบครอง - การแบ่งแยกที่ดิน - หลักฐานการซื้อขาย - การนำสืบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ทั้งแปลง จำเลยให้การว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์เพียงครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว ย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
ที่จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งที่ดินตามโฉนดกันคนละครึ่งโดยให้ทิศเหนือเป็นของจำเลย ทิศใต้เป็นของโจทก์นั้น แม้ข้อตกลงนี้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์นำสืบมิได้ตามที่กล่าวอ้าง คดีก็จะต้องฟังว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์และจำเลยคนละครึ่งตามที่จำเลยยอมรับ ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีสิทธินำสืบถึงข้อตกลงแบ่งที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่
ที่จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งที่ดินตามโฉนดกันคนละครึ่งโดยให้ทิศเหนือเป็นของจำเลย ทิศใต้เป็นของโจทก์นั้น แม้ข้อตกลงนี้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์นำสืบมิได้ตามที่กล่าวอ้าง คดีก็จะต้องฟังว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์และจำเลยคนละครึ่งตามที่จำเลยยอมรับ ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีสิทธินำสืบถึงข้อตกลงแบ่งที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยไม่แจ้งการซื้อขาย และหน้าที่การนำสืบของผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ทั้งแปลงจำเลยให้การว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์เพียงครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว ย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
ที่จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งที่ดินตามโฉนดกันคนละครึ่งโดยให้ทิศเหนือเป็นของจำเลย ทิศใต้เป็นของโจทก์นั้นแม้ข้อตกลงนี้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่เมื่อโจทก์นำสืบมิได้ตามที่กล่าวอ้างคดีก็จะต้องฟังว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์และจำเลยคนละครึ่งตามที่จำเลยยอมรับดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีสิทธินำสืบถึงข้อตกลงแบ่งที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่
ที่จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งที่ดินตามโฉนดกันคนละครึ่งโดยให้ทิศเหนือเป็นของจำเลย ทิศใต้เป็นของโจทก์นั้นแม้ข้อตกลงนี้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่เมื่อโจทก์นำสืบมิได้ตามที่กล่าวอ้างคดีก็จะต้องฟังว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์และจำเลยคนละครึ่งตามที่จำเลยยอมรับดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีสิทธินำสืบถึงข้อตกลงแบ่งที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: เจ้าของรวมใช้สิทธิแทนกันในคดีเดิม ย่อมผูกพันโจทก์ร่วม การฟ้องคดีประเด็นเดิมจึงต้องห้าม
จำเลยเคยฟ้อง ร. เจ้าของรวมที่พิพาทคนหนึ่งหาว่าบุกรุกที่ดินและในคดีดังกล่าว ร. ได้อ้างสิทธิความเป็นเจ้าของร่วมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ จึงถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์เพื่อต่อสู้กับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแทนโจทก์และโจทก์ร่วมในคดีนี้ (ในฐานะเจ้าของรวม) ด้วย การที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำคดีนี้ซึ่งมีประเด็นข้อโต้เถียงอย่างเดียวกันกับคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้อง ร. ในคดก่อนว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดมาฟ้อง เท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: เจ้าของรวมใช้สิทธิแทนกันได้ หากประเด็นข้อพิพาทเหมือนเดิม คดีต้องห้ามตามมาตรา 148
จำเลยเคยฟ้อง ร. เจ้าของรวมที่พิพาทคนหนึ่งหาว่าบุกรุกที่ดินและในคดีดังกล่าว ร. ได้อ้างสิทธิความเป็นเจ้าของรวมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ จึงถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์เพื่อต่อสู้กับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแทนโจทก์และโจทก์ร่วมในคดีนี้(ในฐานะเจ้าของรวม) ด้วยการที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำคดีนี้ซึ่งมีประเด็นข้อโต้เถียงอย่างเดียวกันกับคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้อง ร. ในคดีก่อนว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดมาฟ้อง เท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเอกสารเพื่อใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่ง: ความครอบครองของบุคคลภายนอกและการรับฟังหลักฐานการชำระหนี้
เอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกนั้นหมายถึงอยู่ในความครอบครองของบุคคลซึ่งมิใช่คู่ความในคดี แม้บุคคลนั้นจะเป็นหลานและอยู่ในครอบครัวเดียวกับจำเลยก็จะถือว่าเอกสารนั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลยไม่ได้จำเลยจึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้แก่โจทก์ก่อนวันนัดสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเอกสารโดยบุคคลภายนอก และการรับฟังพยานหลักฐานการชำระหนี้
เอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกนั้นหมายถึงอยู่ในความครอบครองของบุคคลซึ่งมิใช่คู่ความในคดี แม้บุคคลนั้นจะเป็นหลานและอยู่ในครอบครัวเดียวกับจำเลย ก็จะถือว่าเอกสารนั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลยไม่ได้ จำเลยจึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้แก่โจทก์ก่อนวันนัดสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนอมหนี้ในคดีล้มละลาย: โจทก์ถูกผูกมัดตามการประนอมหนี้ ไม่สามารถฟ้องเรียกหนี้เดิมได้อีก
หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยนี้โจทก์ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 27,91แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 และได้มีการประนอมหนี้ตามมาตรา 56 แล้วด้วย มาตรา 56 บัญญัติไว้ว่า "การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาล เห็นชอบด้วยแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ แต่ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายได้ ฯลฯ" เมื่อหนี้ของโจทก์ไม่ใช่หนี้ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 77 การประนอมหนี้ดังกล่าวมาข้างต้นจึงผูกมัดโจทก์ด้วย โจทก์จะฟ้องจำเลย (ลูกหนี้) ให้ต้องรับผิดในหนี้นั้นอีกไม่ได้ และกรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)