คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล วัลยะเพ็ชร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 644 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คชำระค่าเช่าซื้อเรือ: สิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คแม้สัญญาเลิกกันแล้ว
จำเลยที่ 2 เช่าซื้อเรือประมงจากโจทก์ ในวันทำสัญญาเช่าซื้อจำเลยที่ 2 มอบเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังให้โจทก์เพื่อชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา เช็คดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าเช่าซื้อเรือที่โจทก์ได้รับชำระไว้แล้วโดยจำเลยที่ 2 ชำระด้วยเช็คแทนเงิน มิใช่เป็นค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับและจำเลยที่ 2 ยังค้างชำระ ดังนั้น เมื่อเช็คพิพาทขึ้นเงินไม่ได้และแม้ว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วโดยปริยาย โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คนั้นได้ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็ค - สัญญาซื้อขายระงับ - ไม่เป็นความผิดอาญา
จำเลยออกเช็คชำระค่าซื้อโรงงานและเครื่องมือให้ ต. ต่อมาต. สลักหลังเช็คดังกล่าวให้โจทก์แล้ว ต. ผิดสัญญาไม่โอนโรงงานให้จำเลย จำเลยบอกเลิกสัญญา และขอเช็คคืน ต. บอกว่าฉีกทิ้งแล้วและลงชื่อรับรองว่าฉีกทิ้งแล้วไว้ให้ โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่าย ดังนี้ เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญากับ ต. แล้ว สัญญาจึงเป็นอันระงับไปและคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่ ต. และจำเลยเชื่อต่อไปว่าจะไม่มีผู้ใดนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร จำเลยจึงไม่จำต้องนำเงินเข้าบัญชีในธนาคารให้มีจำนวนพอจ่ายตามเช็ค การกระทำของจำเลยไม่มีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คไม่เป็นความผิดทางอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คซื้อขายแล้วสัญญาเป็นโมฆะ: ไม่ถึงเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คชำระค่าซื้อโรงงานและเครื่องมือให้ ต. ต่อมา ต. สลักหลังเช็คดังกล่าวให้โจทก์ แล้ว ต.ผิดสัญญาไม่โอนโรงงานให้จำเลย จำเลยบอกเลิกสัญญา และขอเช็คคืน ต. บอกว่าฉีกทิ้งแล้วและลงชื่อรับรองว่าฉีกทิ้งแล้วไว้ให้ โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่าย ดังนี้ เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญากับต. แล้ว สัญญาจึงเป็นอันระงับไป และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่ ต. และจำเลยเชื่อต่อไปว่าจะไม่มีผู้ใดนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร จำเลยจึงไม่จำต้องนำเงินเข้าบัญชีในธนาคารให้มีจำนวนพอจ่ายตามเช็ค การกระทำของจำเลยไม่มีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คไม่เป็นความผิดทางอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษตาม ม.340 ตรี: ต้องตีความโดยเคร่งครัดเฉพาะตัวผู้กระทำ
มาตรา 340 ตรี ลงโทษผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 339,339 ทวิ,340,340 ทวิ หนักขึ้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหมายความเฉพาะตัวผู้กระทำ ไม่เป็นเหตุในลักษณะคดีตามมาตรา 89

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยฟ้องเคลือบคลุม, อายุความคดีแพ่ง, การฟ้องเรียกทรัพย์คืนหลังมีคำพิพากษาอาญา
กรุงเทพมหานครโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 และมีสิทธิทำกิจการเทศพาณิชย์ได้ตามมาตรา 57 ประกอบด้วยมาตรา 55(12) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2511 การที่โจทก์จัดทำกิจการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ซึ่งเป็นการค้าขายอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ย่อมถือได้ว่าเป็นการจัดทำกิจการเทศพาณิชย์อย่างหนึ่ง เพราะคำว่า "เทศพาณิชย" หมายความถึงการค้าขายของประเทศของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น
จำเลยไม่ได้ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่าการค้ำประกันเริ่มตั้งแต่เมื่อใด เมื่อจำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน พ. รายละเอียดปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง และตามเอกสารท้ายฟ้องก็เป็นสำเนาสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน พ. ต่อโจทก์ตรงกับที่บรรยายฟ้อง ดังนี้ แม้สำเนาค้ำประกันท้ายสำเนาฟ้องที่ส่งให้จำเลยจะเป็นสำเนาค้ำประกันบุคคลอื่นไม่ใช่สำเนาค้ำประกัน พ. ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะจำเลยอาจขอดูสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องหรือขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ส่งสำเนาค้ำประกันที่ถูกต้องให้จำเลยได้
พ.กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไป โจทก์ย่อมฟ้องเรียกคืนทรัพย์หรือให้ใช้ราคาได้อันเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และปรากฏว่าการที่ พ. ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวศาลอาญาพิพากษาจำคุก พ. คดีถึงที่สุดแล้วก่อนโจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้ สิทธิของโจทก์ซึ่งจะเรียกร้องให้ พ. รับผิดในทางแพ่งย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม มิใช่มีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ซึ่งจำเลยยกข้อต่อสู้ของ พ.ผู้เป็นลูกหนี้ที่มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ตามมาตรา 694

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาฟ้องเคลือบคลุม, อายุความคดีแพ่ง, และการฟ้องเรียกทรัพย์คืนหลังมีคำพิพากษาอาญา
กรุงเทพมหานครโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และมีสิทธิทำกิจการเทศพาณิชย์ได้ตามมาตรา 57 ประกอบด้วยมาตรา 54 (12) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2511 การที่โจทก์จัดทำกิจการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ซึ่งเป็นการค้าขายอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ย่อมถือได้ว่าเป็นการจัดทำกิจการเทศพาณิชย์อย่างหนึ่ง เพราะคำว่า "เทศพาณิชย" หมายความถึงการค้าขายของประเทศ ของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น
จำเลยไม่ได้ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่าการค้ำประกันเริ่มตั้งแต่เมื่อใด เมื่อจำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน พ. รายละเอียดปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง และตามเอกสารท้ายฟ้องก็เป็นสำเนาสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน พ.ต่อโจทก์ตรงกับที่บรรยายฟ้อง ดังนี้ แม้สำเนาค้ำประกันท้ายสำเนาฟ้องที่ส่งให้จำเลยจะเป็นสำเนาค้ำประกันบุคคลอื่นไม่ใช่สำเนาค้ำประกัน พ.ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะจำเลยอาจขอดูสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องหรือขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ส่งสำเนาค้ำประกันที่ถูกต้องให้จำเลยได้
พ.กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไป โจทก์ย่อมฟ้องเรียกคืนทรัพย์หรือให้ใช้ราคาได้ อันเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และปรากฏว่าการที่ พ.ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวศาลอาญาพิพากษาจำคุก พ.คดีถึงที่สุดแล้วก่อนโจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้ สิทธิของโจทก์ซึ่งจะเรียกร้องให้ พ.รับผิดในทางแพ่งย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม มิใช่มีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ซึ่งจำเลยยกข้อต่อสู้ของ พ.ผู้เป็นลูกหนี้ที่มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ตามมาตรา 694

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทนและการฟ้องคดีหลังพ้นกำหนด ทำให้เกิดความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดนายจ้างไม่จ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทน ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานยกอุทธรณ์เพราะยื่นเกิน 30 วัน อันเป็นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ นายจ้างไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งอธิบดีต่อศาลภายใน 30 วัน คำสั่งนั้นถึงที่สุด นายจ้างนำคดีมาฟ้องศาลภายหลัง การไม่จ่ายเงินเป็นความผิดตาม ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม 2515 ข้อ 8 นายจ้างจ่ายเงินเมื่ออัยการฟ้องนายจ้างแล้วนายจ้างไม่พ้นความผิด หุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นผู้ทำการแทนนิติบุคคลมีความผิดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ: พฤติการณ์ข่มขู่และความจำเป็นในการใช้ปืน
ผู้เสียหายกับจำเลยเคยรักใคร่กัน ต่อมาจำเลยเลิกติดต่อกับผู้เสียหาย ผู้เสียหายโกรธเคยตบหน้าจำเลยและมีหนังสือแจ้งว่าจะทำลายล้างจำเลยและมารดาจำเลยจะเอาน้ำกรดสาดหน้าจำเลย วันเกิดเหตุผู้เสียหายมาที่ประตูบ้านจำเลย จำเลยร้องบอกให้มารดาผู้เสียหายมาเอาตัวผู้เสียหายไป มารดาผู้เสียหายบอกให้ผู้เสียหายกลับบ้านแต่ผู้เสียหายกลับเดินเข้าไปหาจำเลย จำเลยบอกให้ออกไป ผู้เสียหายกลับพูดว่าไม่มีใครช่วยมึงได้หรอก พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าผู้เสียหายเข้าไปเพื่อจะทำร้ายจำเลย แต่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายมีอาวุธ การที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหายจึงเป็นการพยายามฆ่าโดยป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ: ผู้เสียหายมีพฤติกรรมคุกคาม จำเลยมีสิทธิป้องกันตนเองได้ แต่ต้องไม่เกินความจำเป็น
ผู้เสียหายกับจำเลยเคยรักใคร่กัน ต่อมาจำเลยเลิกติดต่อกับผู้เสียหายผู้เสียหายโกรธเคยตบหน้าจำเลยและมีหนังสือแจ้งว่าจะทำลายล้างจำเลยและ มารดาจำเลยจะเอาน้ำกรดสาดหน้าจำเลย วันเกิดเหตุผู้เสียหายมาที่ประตูบ้านจำเลย จำเลยร้องบอกให้มารดาผู้เสียหายมาเอาตัวผู้เสียหายไป มารดาผู้เสียหายบอกให้ผู้เสียหายกลับบ้านแต่ผู้เสียหายกลับเดินเข้าไปหาจำเลย จำเลยบอกให้ออกไปผู้เสียหายกลับพูดว่าไม่มีใครช่วยมึงได้ พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าผู้เสียหายเข้าไปเพื่อจะทำร้ายจำเลยแต่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายมีอาวุธ การที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหายจึงเป็นการพยายามฆ่าโดยป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมอุทธรณ์ในคดีอาญา: กรอบเวลาและข้อยกเว้น
ในคดีอาญาผู้อุทธรณ์อาจเพิ่มเติมอุทธรณ์ได้ ถ้าเป็นการเพิ่มประเด็นจากอุทธรณ์เดิมต้องทำภายในกำหนด 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 ถ้าเป็นแต่เพิ่มข้อความในประเด็นเดิมก็ไม่อยู่ในจำกัดเวลาตาม มาตรา 198
of 65