พบผลลัพธ์ทั้งหมด 644 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้ที่ตัดจากที่ดิน น.ส.3 ไม่ใช่ไม้หวงห้าม ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
ไม้ที่ตัดไปจากที่นาของบุคคลตามกฎหมายที่ดิน มี น.ส.3 แล้วไม่ใช่ไม้สัก ไม้ยาง ไม่ใช่ไม้หวงห้าม ที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน การบังคับคดีหลังถอนฟ้องคดีอาญา
สัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยยอมใช้เงินแก่โจทก์ตามกำหนดเวลาที่ระบุ โจทก์ยอมถอนคดีอาญาเรื่องเช็คใน 7 วัน เป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ยังไม่ถอนฟ้อง จำเลยก็ยังไม่ต้องใช้เงินแก่โจทก์ โจทก์จึงยังบังคับคดียึดทรัพย์ไม่ได้ศาลให้ถอนการยึดแต่เมื่อโจทก์ถอนคดีตามยอมแล้วโจทก์ก็ขอให้บังคับคดียึดทรัพย์ได้ ไม่ใช่ออกหมายบังคับคดีซ้ำหรือฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขู่โดยการแจ้งความดำเนินคดีอาญาไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 127 สัญญาประนีประนอมยังใช้บังคับได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยจะผ่อนชำระหนี้ค่าซื้อที่ดินที่ค้างอยู่ให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยแก้ตัวเลขปีกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจาก 2521 เป็น 2520 และลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย เพราะโจทก์กับพวกขู่ว่า หากจำเลยไม่แก้ โจทก์จะเอาเช็คที่จำเลยออกให้แก่ ผู้อื่น ซึ่งมาตกอยู่ในครอบครองของโจทก์ฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยฐานออกเช็คไม่มีเงิน ดังนี้ การขู่ของโจทก์เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 127 ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ การที่จำเลยแก้กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียะ และมีผลใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีภาษี: ผู้จ่ายภาษีมีหน้าที่อุทธรณ์ก่อนฟ้อง หากไม่ทำ ไม่มีอำนาจฟ้อง
กรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ได้หักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างหรือหัก และนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในภาษีเงินได้ที่ไม่ได้หักหรือนำส่งตามจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 วรรคแรก จึงถือได้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และเงินเพิ่ม หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งตามมาตรา 30 เสียก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินเสียก่อนย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องมีการอุทธรณ์การประเมินก่อน หากมิได้อุทธรณ์ถือเป็นขาดอำนาจฟ้อง
กรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ได้หักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือหักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในภาษีเงินได้ที่ไม่ได้หักหรือนำส่งตามจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา54 วรรคแรก จึงถือได้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และเงินเพิ่ม หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งตามมาตรา 30 เสียก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินเสียก่อนย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก
จำเลยที่ 4 เป็นบุตรของ อ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นบุตรและผู้จัดการมรดกของ อ. โจทก์เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ อ. ก่อนตาย อ. ได้ลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้ หลังจาก อ. ตายแล้วโจทก์นำใบมอบอำนาจดังกล่าวไปโอนที่พิพาทมาเป็นของตน เจ้าพนักงานที่ดินไม่ทราบว่า อ. ตายแล้ว จึงจัดทำให้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับบรรดาทายาทของ อ. ทำหนังสือรับรองและรับรู้ว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ อ. ยกที่ดินพิพาท และทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปโอนกรรมสิทธิ์ ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้ถอนชื่อโจทก์ออกจากโฉนด เพราะรับโอนมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลงชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 4 เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. มีหน้าที่แบ่งมรดกของ อ.ให้แก่ทายาทโดยธรรม โจทก์มิใช่ทายาทโดยธรรมของอ.ไม่มีสิทธิรับมรดกที่โจทก์เอาหนังสือมอบอำนาจของ อ. ไปขอโอนกรรมสิทธิ์หลัง อ. ตายแล้ว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และทายาทของ อ. จะได้ทำหนังสือรับรองและรับรู้ดังกล่าวข้างต้น ก็เป็นเพียงมีความหมายว่า ไม่ติดใจยกเอาเรื่องดังกล่าวเป็นข้ออ้าง เพื่อฟ้องร้องเรียกที่ดินนั้นคืนจากโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ถูกเพิกถอนชื่อออกจากโฉนด เป็นเพราะเจ้าพนักงานที่ดินเห็นว่าการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ อ. เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, วันชำระหนี้, การบอกกล่าวทวงถาม, การงดสืบพยาน, และผลของการไม่ยื่นบัญชีพยาน
จำเลยทำหนังสือให้โจทก์ไว้มีใจความว่า 'ข้าพเจ้านายศุภวัตรแก้วประดับได้ยืมเงินจากนายยีซบมูฮำหมัดจำนวน 130,000 บาท และจะชำระคืนให้ตามเช็คธนาคารชาร์เตอร์เลขที่ 917820 ซึ่งได้ให้ไว้เป็นการค้ำประกัน' แล้วลงลายมือชื่อไว้ ดังนี้ หนังสือนั้นเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามกฎหมายแล้ว
เช็คธนาคารชาร์เตอร์ฉบับดังกล่าวลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2518 ซึ่งเป็นวันสั่งจ่ายนั้น ถือว่าหนี้เงินยืมนั้นได้กำหนดวันชำระไว้แล้ว คือวันที่ลงในเช็คดังกล่าวนั้นเอง เมื่อเช็คถึงกำหนดแล้วโจทก์นำไปขึ้นเงินไม่ได้ย่อมถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่าย
การที่โจทก์รับเช็คของบุคคลอื่นไว้เป็นการค้ำประกันหนี้ นั้น ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์แห่งหนี้และเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันจะทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามหนี้นั้น
ศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานและแจ้งวันกำหนดนัดสืบพยานให้โจทก์จำเลยทราบ หลังจากนั้นมีการเลื่อนการสืบพยานโจทก์สองคราวนับตั้งแต่วันทำการชี้สองสถานเป็นต้นมาจนกระทั่งวันสืบพยานโจทก์ครั้งหลังสุดเป็นเวลา 2 เดือนเศษหากจำเลยมีความสนใจในคดีของตนตามสมควรย่อมมีเวลาที่จะตระเตรียมคดีได้เพียงพอ แต่จำเลยก็มิได้ยื่นบัญชีพยานเมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีพยานก็มีผลเท่ากับจำเลยไม่มีพยานจะนำสืบ จำเลยจะอ้างตนเองเข้าสืบย่อมไม่ได้ที่ศาลล่างไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
เมื่อจำเลยรับว่าได้ทำเอกสารการกู้ยืมแล้ว ย่อมไม่มีประเด็นเรื่องปิดอากรแสตมป์
เช็คธนาคารชาร์เตอร์ฉบับดังกล่าวลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2518 ซึ่งเป็นวันสั่งจ่ายนั้น ถือว่าหนี้เงินยืมนั้นได้กำหนดวันชำระไว้แล้ว คือวันที่ลงในเช็คดังกล่าวนั้นเอง เมื่อเช็คถึงกำหนดแล้วโจทก์นำไปขึ้นเงินไม่ได้ย่อมถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่าย
การที่โจทก์รับเช็คของบุคคลอื่นไว้เป็นการค้ำประกันหนี้ นั้น ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์แห่งหนี้และเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันจะทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามหนี้นั้น
ศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานและแจ้งวันกำหนดนัดสืบพยานให้โจทก์จำเลยทราบ หลังจากนั้นมีการเลื่อนการสืบพยานโจทก์สองคราวนับตั้งแต่วันทำการชี้สองสถานเป็นต้นมาจนกระทั่งวันสืบพยานโจทก์ครั้งหลังสุดเป็นเวลา 2 เดือนเศษหากจำเลยมีความสนใจในคดีของตนตามสมควรย่อมมีเวลาที่จะตระเตรียมคดีได้เพียงพอ แต่จำเลยก็มิได้ยื่นบัญชีพยานเมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีพยานก็มีผลเท่ากับจำเลยไม่มีพยานจะนำสืบ จำเลยจะอ้างตนเองเข้าสืบย่อมไม่ได้ที่ศาลล่างไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
เมื่อจำเลยรับว่าได้ทำเอกสารการกู้ยืมแล้ว ย่อมไม่มีประเด็นเรื่องปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกดำเนินการระหว่างอุทธรณ์คำสั่ง หรือ ขอพิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ ศาลวินิจฉัยว่าใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาแล้วผู้ร้องขอไม่พอใจคำสั่งนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมแล้วได้ให้สิทธิแก่ผู้ร้องขอที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ หรือยื่นคำร้องขอศาลชั้นต้นนั้นพิจารณาคำฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ได้ แต่เป็นการให้สิทธิเลือกวิธีดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียวจำเลยแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวน แล้วมีคำสั่งยกคำขอ จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเพราะยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลา ดังนี้จำเลยเลือกเอาการใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งเสียแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณาคำขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็ค แม้ผู้สั่งจ่ายจะไม่มีหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็ค และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คให้ชำระเงินตามเช็คพิพาทแม้จำเลยที่ 1จะไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คเพราะมิใช่เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังซึ่งมีผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายไว้จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความที่ระบุไว้ในเช็คพิพาทนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็คเมื่อเช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็ค และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คให้ชำระเงินตามเช็คพิพาท แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็ค เพราะมิใช่เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังซึ่งมีผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายไว้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความที่ระบุไว้ในเช็คพิพาทนั้น