พบผลลัพธ์ทั้งหมด 644 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตาม ม.339 และ ม.340 ตรี ไม่ใช่การเพิ่มโทษ แต่เป็นการรับโทษหนักขึ้น จึงใช้ ม.51 เปลี่ยนโทษไม่ได้
กรณีการรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีเป็นคนละเรื่องกับการเพิ่มโทษ และหาใช่เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่(นัยคำพิพากษาฎีกาที่ 234/2521) จึงจะนำมาตรา 51 มาเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตให้เป็นโทษจำคุก 50ปีไม่ได้
จำเลยได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา339 วรรคสุดท้าย เมื่อเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก50 ปีไม่ได้ก็ไม่มีทางที่จะระวางโทษหนักกว่าหรือหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340ตรี บัญญัติไว้จึงนำมาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339วรรคสุดท้าย
มาตรา 340 ตรี เป็นเพียงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้รับโทษหนักขึ้นเท่านั้นลำพังแต่เพียงมาตรานี้โดยเฉพาะแล้วหาได้เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่
จำเลยได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา339 วรรคสุดท้าย เมื่อเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก50 ปีไม่ได้ก็ไม่มีทางที่จะระวางโทษหนักกว่าหรือหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340ตรี บัญญัติไว้จึงนำมาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339วรรคสุดท้าย
มาตรา 340 ตรี เป็นเพียงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้รับโทษหนักขึ้นเท่านั้นลำพังแต่เพียงมาตรานี้โดยเฉพาะแล้วหาได้เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาต้องระบุวันเวลาที่เกิดเหตุ หากไม่ครบถ้วน ศาลต้องยกฟ้อง แม้มีมูลความผิด
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 จะเกิดขึ้นต่อเมื่อธนาคารผู้มีชื่อเป็นผู้ใช้เงินตามเช็คปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คนั้น แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุวันเวลาที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ยเงินตามเช็คและไม่ได้แนบสำเนาเช็ค และใบคืนเช็คมากับคำฟ้องด้วย ฟ้องของโจทก์ไม่มีรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำผิด จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาต้องระบุเวลาที่เกิดการกระทำผิด โดยเฉพาะคดีเช็ค การระบุวันที่ออกเช็คไม่เพียงพอ
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3 จะเกิดขึ้นต่อเมื่อธนาคารผู้มีชื่อเป็นผู้ใช้เงินตามเช็คปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คนั้นแต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุวันเวลาที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คและไม่ได้แนบสำเนาเช็คและใบคืนเช็คมากับคำฟ้องด้วยฟ้องของโจทก์ไม่มีรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำผิด จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 837/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์และการพาทรัพย์นั้นหลบหนี
จำเลยนำรถยนต์บรรทุกข้าวสารไปจอดรอสมทบกับรถกระบะของพวกจำเลย แล้วนำรถยนต์บรรทุกข้าวสารที่พวกของตนปล้นมาได้หลบหนีไปถือได้ว่าปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกจากราชการ: อำนาจหน้าที่, กระบวนการอุทธรณ์, และการฟ้องละเมิด
โจทก์มีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและจำเลยที่ 1 ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวน แล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการตามมติของ อ.ก.พ.กระทรวงมหาดไทย เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1และที่ 3 กระทำการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากราชการไม่ถูกต้องก็อุทธรณ์ได้และโจทก์ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อนายกรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 มาตรา 104 แล้วคำสั่งของนายกรัฐมนตรีจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 105 ของกฎหมายดังกล่าวเว้นแต่คำสั่งของนายกรัฐมนตรีจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายและการฟังข้อเท็จจริงหรือการใช้ดุลพินิจนั้นไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนเพียงพอหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริตแต่โจทก์ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าคำสั่งของนายกรัฐมนตรีไม่ถูกต้องตามกฎหมายและมิได้บรรยายว่าคณะกรรมการสอบสวนของจำเลยที่ 1 หรือนายกรัฐมนตรีฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอหรือโดยไม่สุจริตโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนคำสั่งที่ไล่โจทก์ออกจากราชการ
ส่วนข้อที่โจทก์ขอให้รับฟ้องฐานละเมิดซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เชื่อข้อเท็จจริงจากสำนวนสอบสวนของคณะกรรมการแล้วนำเข้าประชุม อ.ก.พ.กระทรวงมหาดไทยโดยไม่ให้โอกาสแก่ อ.ก.พ. แต่ละคนพิจารณาสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบจำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์หลงเชื่ออ.ก.พ.กระทรวงฯ และไม่สอบสวนหรือเรียกพยานหลักฐานจากโจทก์มาประกอบการพิจารณาและจำเลยที่ 3ในฐานะประธานอ.ก.พ.กระทรวงฯ ในขณะนั้นใช้อำนาจมิชอบฉวยโอกาสจากความเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชารวบรัดให้ที่ประชุมอ.ก.พ.มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการมีเจตนาไม่สุจริตไม่ให้ความเป็นธรรมเพียงพอโดยพิจารณาอุทธรณ์ในทางที่จะยืนยันคำสั่งซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในขณะออกคำสั่งทำให้จำเลยที่ 2 เห็นชอบกับคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือมิชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิหรือจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ดังที่โจทก์ฟ้อง
ส่วนข้อที่โจทก์ขอให้รับฟ้องฐานละเมิดซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เชื่อข้อเท็จจริงจากสำนวนสอบสวนของคณะกรรมการแล้วนำเข้าประชุม อ.ก.พ.กระทรวงมหาดไทยโดยไม่ให้โอกาสแก่ อ.ก.พ. แต่ละคนพิจารณาสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบจำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์หลงเชื่ออ.ก.พ.กระทรวงฯ และไม่สอบสวนหรือเรียกพยานหลักฐานจากโจทก์มาประกอบการพิจารณาและจำเลยที่ 3ในฐานะประธานอ.ก.พ.กระทรวงฯ ในขณะนั้นใช้อำนาจมิชอบฉวยโอกาสจากความเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชารวบรัดให้ที่ประชุมอ.ก.พ.มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการมีเจตนาไม่สุจริตไม่ให้ความเป็นธรรมเพียงพอโดยพิจารณาอุทธรณ์ในทางที่จะยืนยันคำสั่งซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในขณะออกคำสั่งทำให้จำเลยที่ 2 เห็นชอบกับคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือมิชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิหรือจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ดังที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกจากราชการ: ศาลไม่อำนาจพิจารณาหากมีการอุทธรณ์ตามขั้นตอนกฎหมายแล้ว
โจทก์มีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และจำเลยที่ 1 ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนแล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทย เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากราชการไม่ถูกต้องก็อุทธรณ์ได้และโจทก์ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อนายรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 มาตรา 104 แล้ว คำสั่งของนายกรัฐมนตรีจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 105 ของกฎหมายดังกล่าวเว้นแต่คำสั่งของนายกรัฐมนตรีจะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และการฟังข้อเท็จจริงหรือการใช้ดุลพินิจนั้นไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนเป็นเพียงพอหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต แต่โจทก์ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าคำสั่งของนายกรัฐมนตรีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และมิได้บรรยายว่าคณะกรรมการสอบสวนของจำเลยที่ 1 หรือนายกรัฐมนตรีฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอหรือโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนคำสั่งที่ไล่โจทก์ออกจากราชการ
ส่วนข้อที่โจทก์ขอให้รับฟ้องฐานละเมิด ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เชื่อข้อเท็จจริงจากสำนวนสอบสวนของคณะกรรมการ แล้วนำเข้าประชุม อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทยไม่ให้โอกาสแก่ อ.ก.พ. แต่ละคนพิจารณาสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์หลงเชื่อ อ.ก.พ. กระทรวงฯ และไม่สอบสวนหรือเรียกพยานหลักฐานจากโจทก์มาประกอบการพิจารณา และจำเลยที่ 3 ในฐานะประธาน อ.ก.พ. กระทรวงฯ ในขณะนั้นใช้อำนาจมิชอบฉวยโอกาสจากความเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชารวบรัดให้ที่ประชุม อ.ก.พ. มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการมีเจตนาไม่สุจริต ไม่ให้ความเป็นธรรมเพียงพอ โดยพิจารณาอุทธรณ์ในทางที่จะยืนยันคำสั่งซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในขณะออกคำสั่ง ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นชอบกับคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือมิชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิหรือจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ดังที่โจทก์ฟ้อง
ส่วนข้อที่โจทก์ขอให้รับฟ้องฐานละเมิด ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เชื่อข้อเท็จจริงจากสำนวนสอบสวนของคณะกรรมการ แล้วนำเข้าประชุม อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทยไม่ให้โอกาสแก่ อ.ก.พ. แต่ละคนพิจารณาสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์หลงเชื่อ อ.ก.พ. กระทรวงฯ และไม่สอบสวนหรือเรียกพยานหลักฐานจากโจทก์มาประกอบการพิจารณา และจำเลยที่ 3 ในฐานะประธาน อ.ก.พ. กระทรวงฯ ในขณะนั้นใช้อำนาจมิชอบฉวยโอกาสจากความเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชารวบรัดให้ที่ประชุม อ.ก.พ. มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการมีเจตนาไม่สุจริต ไม่ให้ความเป็นธรรมเพียงพอ โดยพิจารณาอุทธรณ์ในทางที่จะยืนยันคำสั่งซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในขณะออกคำสั่ง ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นชอบกับคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือมิชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิหรือจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ดังที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งสถานบริการรำวงโดยไม่ได้รับอนุญาตและการริบของกลาง
สถานบริการรำวงมีหญิงบริการอาจตั้งได้โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 4จำเลยมิใช่ผู้ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 6 หรือสถานที่ต้องห้ามตาม มาตรา 7ความผิดอยู่ที่ไม่ได้รับอนุญาต เงินที่จำเลยได้รับและบัตรของกลางไม่ใช่ได้มาจากการกระทำผิดโดยตรง ไม่ริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแต่งทนายจากหนังสือมอบอำนาจ และการใช้ถ้อยคำผิดพลาดในคำฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทน ผู้รับมอบอำนาจแต่งทนายความลงชื่อในฟ้องได้โดยไม่ต้องมีใบมอบอำนาจให้แต่งทนายอีก
ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเช่าซื้อตั้งแต่วันฟ้องต่อไปจนกว่าจะออกจากที่ดินที่เช่าซื้อ หมายความถึงค่าเสียหาย ไม่ใช่ค่าเช่าซื้อ โจทก์ใช้ถ้อยคำผิดพลาด ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายได้
ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเช่าซื้อตั้งแต่วันฟ้องต่อไปจนกว่าจะออกจากที่ดินที่เช่าซื้อ หมายความถึงค่าเสียหาย ไม่ใช่ค่าเช่าซื้อ โจทก์ใช้ถ้อยคำผิดพลาด ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ทิ้งฟ้องและขาดนัดพิจารณาคดี ศาลไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่
โจทก์ทิ้งฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 ขาดนัดให้การ ศาลนัดพิจารณาฝ่ายเดียวโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน ศาลจำหน่ายคดี โจทก์ขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องข้ามลำดับศาลและการพิจารณาคำร้องนอกเหนือจากคดีที่อยู่ในศาล
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา และกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาวาง แต่จำเลยไม่วางเงินภายในกำหนด กลับอุทธรณ์ ฎีกา ครั้นศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืน จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นขยายเวลาวางเงินศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น แต่กลับยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลอุทธรณ์ขอให้กำหนดเวลาให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมอีก คำร้องของจำเลยไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะรับไว้พิจารณา เพราะไม่มีคดีของจำเลยอยู่ในศาลอุทธรณ์ในขณะนั้น และกรณีไม่เป็นไปตามลำดับศาลดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคำร้องของจำเลยให้นั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249