พบผลลัพธ์ทั้งหมด 575 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกกรณีสมรสซ้อน: สุจริตของผู้สมรสย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ" ดังนั้น ปัญหาว่าการสมรสของโจทก์หรือของจำเลยฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของสามีที่ตายจึงต้องวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมจะนำบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ซึ่งออกมาใช้บังคับขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นมาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำว่า สิทธิ ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสนั้น มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า โจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำว่า สิทธิ ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสนั้น มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า โจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการโดยใช้ฉบับที่ซ้ำกับเอกสารที่ส่งเงินแล้ว และความผิดร่วมยักยอกเงิน
จำเลยทำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีรถยนต์ที่ ช. นำมาชำระ แม้ จำเลยจะได้ประทับตราชื่อของจำเลยเป็นผู้รับเงินและมีรายการเสียภาษี ตามความเป็นจริงทุกประการก็ตามแต่จำเลยใช้ฉบับที่และเล่มที่ของใบเสร็จรับเงินเหล่านั้นซ้ำกับฉบับที่และเล่มที่ของใบเสร็จรับเงินที่แท้จริงที่มี การนำส่งเงินภาษีที่เก็บได้ต่อทางราชการโดยจำเลยมีเจตนาจะให้ผู้ที่ได้ พบเห็นใบเสร็จเหล่านั้น เข้าใจว่าเป็นใบเสร็จที่ใช้ฉบับที่และเล่มที่ตามลำดับ ไม่ซ้ำกับฉบับที่และเล่มที่ของใบเสร็จอื่น ๆและได้มีการส่งเงินตามใบเสร็จเหล่านั้นต่อทางราชการตามระเบียบด้วยจำเลยจึงต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ เพราะเป็นเอกสารที่ทางราชการทำขึ้น
ใบเสร็จรับเงินไม่ใช่เอกสารสิทธิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่889/2492)
ใบเสร็จรับเงินไม่ใช่เอกสารสิทธิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่889/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและยักยอกเอกสารราชการ กรณีออกใบเสร็จซ้ำและไม่นำส่งเงินภาษี
จำเลยทำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีรถยนต์ที่ ช.นำมาชำระ แม้จำเลยจะได้ประทับตราชื่อของจำเลยเป็นผู้รับเงินและมีรายการเสียภาษีตามความเป็นจริงทุกประการ ก็ตามแต่จำเลยใช้ฉบับที่และเล่มที่ของใบเสร็จรับเงินเหล่านั้นซ้ำกับฉบับที่และเล่มที่ของใบเสร็จรับเงินที่แท้จริงที่มีการนำส่งเงินภาษีที่เก็บได้ต่อทางราชการโดยจำเลยมีเจตนาจะให้ผู้ที่ได้พบเห็นใบเสร็จเหล่านั้น เข้าใจว่าเป็นใบเสร็จที่ใช้ฉบับที่และเล่มที่ตามลำดับ ไม่ซ้ำกับฉบับที่และเล่มที่ของใบเสร็จอื่น ๆ และได้มีการส่งเงินตามใบเสร็จเหล่านั้นต่อทางราชการตามระเบียบด้วยจำเลยจึงต้อง มีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ เพราะเป็นเอกสารที่ทางราชการทำขึ้น
ใบเสร็จรับเงินไม่ใช่เอกสารสิทธิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 889/2490)
ใบเสร็จรับเงินไม่ใช่เอกสารสิทธิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 889/2490)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยสุจริตแม้เป็นโมฆะ ก็มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้นการสมรส ฯลฯ"ดังนั้น ปัญหาว่าการสมรสของโจทก์หรือของจำเลยฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของสามีที่ตายจึงต้องวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมจะนำบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ซึ่งออกมาใช้บังคับขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นมาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำว่า "สิทธิ" ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติว่า "เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น" มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคลดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำว่า "สิทธิ" ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติว่า "เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น" มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคลดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงใช้พยานหลักฐานจากคดีอื่นได้ และอำนาจฟ้องคดีทรัพย์มรดก
โจทก์จำเลยอาจตกลงกันให้ถือเอาพยานหลักฐานในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งเป็นพยานหลักฐานที่ผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ด้วยโดยโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยานในคดีนี้ก็ได้ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาใหม่ จำเลยต้องแสดงเหตุผลคัดค้านคำตัดสินที่ชัดเจน
จำเลยร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วบางส่วน แต่เป็นเพียงการกล่าวอ้างลอยๆไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่า หากพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิจารณาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิจารณาไปแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา208 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์โดยสุจริตของผู้บังคับคดี แม้ผู้ถูกยึดมีสิทธิในทรัพย์สินร่วม ศาลฎีกาตัดสินไม่เป็นการละเมิด
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของบิดามารดาโจทก์และภริยาของลูกหนี้จำเลย ลูกหนี้จำเลยเป็นผู้ทำนาในที่พิพาทตลอดมาขณะที่จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดที่พิพาทโจทก์ก็อยู่ด้วย โจทก์มิได้คัดค้านว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แต่ผู้เดียวและมิได้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาแสดงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจทราบได้ว่าที่พิพาทไม่ใช่เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา การที่จำเลยนำยึดที่พิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์โดยสุจริต - ผู้ยึดไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์สินของผู้อื่น
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของบิดามารดาโจทก์และภริยาของลูกหนี้จำเลย ลูกหนี้จำเลยเป็นผู้ทำนาในที่พิพาทตลอดมา ขณะที่จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดที่พิพาทโจทก์ก็อยู่ด้วย โจทก์มิได้คัดค้านว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แต่ผู้เดียว และมิได้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาแสดงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจทราบได้ว่าที่พิพาทไม่ใช่เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา การที่จำเลยนำยึดที่พิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: เจตนาโกงสำคัญกว่าสิทธิบังคับคดี แม้กระทำต่อเจ้าหนี้ของผู้อื่นก็ผิดได้
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น ไม่จำต้องกระทำต่อเจ้าหนี้ของตนเท่านั้น แม้กระทำต่อเจ้าหนี้ของบุคคลอื่นก็มีความผิดฐานนี้ได้ และการที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่ได้รับโอนจากบิดามารดาของตนซึ่งโจทก์จะขอเพิกถอนการโอนเพื่อบังคับชำระหนี้ต่อไปให้กับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นลูกหนี้โจทก์ก็อยู่ในความหมายแห่งความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ด้วย แม้ว่าการโอนที่ดินดังกล่าวไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้หมดไปก็ตามก็เป็นความผิดฐานนี้ได้หากฟังได้ว่าจำเลยกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ กล่าวคือ กฎหมายมุ่งถึงเจตนาของจำเลยที่จะโกงเจ้าหนี้ โดยไม่คำนึงว่าสิทธิการบังคับชำระหนี้ของโจทก์ที่มีต่อลูกหนี้ ของตนจะยังมีอยู่หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: เจตนาสำคัญกว่าสิทธิบังคับชำระหนี้ แม้การกระทำต่อเจ้าหนี้บุคคลอื่นก็ผิดได้
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น ไม่จำต้องกระทำต่อเจ้าหนี้ของตนเท่านั้น แม้กระทำต่อเจ้าหนี้ของบุคคลอื่นก็มีความผิดฐานนี้ได้ และการที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่ได้รับโอนจากบิดามารดาของตนซึ่งโจทก์จะขอเพิกถอนการโอนเพื่อบังคับชำระหนี้ต่อไปให้กับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นลูกหนี้โจทก์ก็อยู่ในความหมายแห่งความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ด้วย แม้ว่าการโอนที่ดินดังกล่าวไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้หมดไปก็ตาม ก็เป็นความผิดฐานนี้ได้หากฟังได้ว่าจำเลยกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ กล่าวคือ กฎหมายมุ่งถึงเจตนาของจำเลยที่จะโกงเจ้าหนี้ โดยไม่คำนึงว่าสิทธิการบังคับชำระหนี้ของโจทก์ที่มีต่อลูกหนี้ของตนจะยังมีอยู่หรือไม่